โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟล็อก

ดัชนี ฟล็อก

ฟล็อก (Flock) เป็นชื่อเว็บเบราว์เซอร์ และชื่อทีมพัฒนาโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ฟล็อก ฟล็อกออกแบบแตกต่างจากเว็บเบราว์เซอร์ทั่วไปคือเป็น เว็บเบราว์เซอร์ชุมชน โดยเน้นลักษณะการใช้งาน สู่สังคมออนไลน์ โดยรวมโปรแกรมหรือเว็บไซต์เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมฟล็อกได้แก่ del.icio.us แชร์แฟเวอริทหรือบุกมาร์ก, ฟลิคเกอร์ แชร์ภาพ, และการลิงก์บล็อก ภายในตัวโปรแกรมฟล็อกเอง ตัวโปรแกรมฟล็อกพัฒนามาจากเว็บเบราว์เซอร์ไฟร์ฟอกซ.

13 ความสัมพันธ์: บล็อกฟลิคเกอร์มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ยูทูบสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนูสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปแบบผ่อนปรนของกนูทวิตเตอร์ข้ามแพลตฟอร์มดิกก์ดิลิเชียสคั่นหน้าเฟซบุ๊กเว็บเบราว์เซอร์

บล็อก

ล็อก (blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอ ในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์" บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ เว็บค้นหาบล็อกเทคโนราที ได้อ้างไว้ว่าปัจจุบันในอินเทอร์เน็ต มีบล็อกมากกว่า 112 ล้านบล็อกทั่วโลก.

ใหม่!!: ฟล็อกและบล็อก · ดูเพิ่มเติม »

ฟลิคเกอร์

ฟลิคเกอร์ ฟลิคเกอร์ (Flickr) เป็น เว็บไซต์สำหรับเก็บรูปภาพดิจิตัล โดยอัปโหลดจากผู้ใช้งาน และสามารถแบ่งปันให้ผู้อื่นดูได้ บริการของฟลิคเกอร์เป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่ใช้เขียนบล็อก เนื่องจากสามารถนำรูปจากฟลิคเกอร์มาใช้ในบล็อกได้โดยตรง โดยเนื่องจากความสามารถในการแท็กเขียนคำอธิบายรูป และค้นหาตามชื่อที่เขียนโดยผู้ใช้งาน นอกจากผู้ใช้จะสามารถอัปโหลดไฟล์ภาพจากในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ยังสามารถอัปโหลดภาพโดยตรงจากโทรศัพท์มือถือ (Nokia Nseries) บางรุ่น ขึ้น Flickr ได้โดยตรงอีกด้ว.

ใหม่!!: ฟล็อกและฟลิคเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ (Mozilla Firefox) รู้จักในชื่อ ไฟร์ฟอกซ์ เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่สามารถใช้ได้ในหลายระบบปฏิบัติการ พัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบันอยู่ใต้การดำเนินงานของบริษัท มอซิลลา ปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมอันดับ 3 รองจากอินเทอร์เน็ต เอกซ์พลอเรอร์และกูเกิล โครม และเมื่อแบ่งตามรุ่นของแต่ละเบราว์เซอร์ ไฟร์ฟอกซ์ รุ่น 3.5 เป็นเบราว์เซอร์ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก ไฟร์ฟอกซ์มีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ทั่วโลกร้อยละ 24.61 และมีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ในประเทศไทยร้อยละ 15.28 (ข้อมูลเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2552) 21 ตุลาคม 2554 ไฟร์ฟอกซ์ใช้เกกโกตัวเรนเดอริงเอนจินโอเพนซอร์ซซึ่งจัดการตามมาตรฐานเว็บสอดคล้องกับทางดับเบิลยูธรีซีกำหนดไว้ และเพิ่มคำสั่งพิเศษเข้าไป คำสั่งไฟร์ฟอกซ์เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้โปรแกรมเมอร์ที่เรียกว่า "แอด-ออนส์" ทำงานร่วมกับตัวโปรแกรม โดยปัจจุบันมีมากกว่า 2,000 ตัว โดยตัวที่นิยมมากที่สุดตามลำดับคือ ฟอกซีทูนส์ (ควบคุมโปรแกรมเล่นเพลง) สตัมเบิลอัปออน (ค้นหาเว็บไซต์) แอดบล็อกพลัส (บล็อกโฆษณา) ดาวน์เดมออล! (ดาวน์โหลด) และเว็บเดเวลอปเปอร์ (เครื่องมือสำหรับทำเว็บ) ไฟร์ฟอกซ์ทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการรวมถึง วินโดวส์ แมคโอเอสเท็น ลินุกซ์ รุ่นปัจจุบันคือรุ่น 12.0 ออกเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555 ตัวโค้ดโปรแกรมเขียนขึ้นในภาษา C++ XUL XBL และ จาวาสคริปต์ โดยโค้ดทั้งหมดเปิดให้ใช้ฟรีภายใต้ลิขสิทธิ์ MPL GPL / LGPL และ Mozilla EULA โดยที่ในรุ่นนี้ได้ทำารแก้Bugในรุ่น9.0ที่ทำให้เบราว์เซอร์Crashบนระบบปฏิบัติการหลักทั้งสามตัว ในกรณีที่ติดตั้งTools Barบางตัวลงไป ไฟร์ฟอกซ์ในปัจจุบันรับรองการใช้ 75 ภาษ.

ใหม่!!: ฟล็อกและมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูทูบ

ูทูบ ตามสำเนียงอเมริกัน หรือ ยูทิวบ์ ตามสำเนียงบริเตน (YouTube) เป็นเว็บไซต์เผยแพร่วิดีโอโดยมีสำนักงานอยู่ที่แซนบรูโน แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เว็ปไซต์ดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาจากอดีตพนักงาน 3 คนในบริษัทเพย์แพล อันประกอบด้วยแชด เฮอร์ลีย์ สตีฟ เชน และยาวีด คาริม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ในเดือนพฤศจิกายน 2549 ยูทูบถูกกูเกิลซื้อไปในราคา 1.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ ยูทูบเป็นหนึ่งในบริษัทย่อยของกูเกิล เว็บไซต์ยังสามารถให้ผู้ใช้งานสามารถอัปโหลด ดู หรือแบ่งปันวิดีโอได้.

ใหม่!!: ฟล็อกและยูทูบ · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู

รื่องหมายการค้าของกนู สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู หรือ กนูจีพีแอล หรือ จีพีแอล (GNU General Public License, GNU GPL, GPL) เป็นสัญญาอนุญาตสำหรับซอฟต์แวร์เสรี ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในปัจจุบัน ฉบับแรกสุดเขียนโดย ริชาร์ด สตอลล์แมน เริ่มต้นใช้กับโครงการกนู ในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991).

ใหม่!!: ฟล็อกและสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปแบบผ่อนปรนของกนู

รื่องหมายการค้าของกนิว สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปแบบผ่อนปรนของกนิว หรือ แอลจีพีแอล (GNU Lesser General Public License, LGPL) เป็นสัญญาอนุญาตของซอฟต์แวร์เสรีรูปแบบหนึ่ง คล้ายคลึงกับสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนิวหรือจีพีแอล ซึ่งจัดทำโดยมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีเช่นกัน แอลจีพีแอลถูกเขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 และดัดแปลงเมื่อ พ.ศ. 2542 โดย ริชาร์ด สตอลล์แมน โดยได้รับคำปรึกษาจาก อีเบน โมเกลน แอลจีพีแอลใช้งานส่วนใหญ่กับไลบรารีมากกว่าตัวซอฟต์แวร์ โดยข้อแตกต่างระหว่างกับจีพีแอลคือ ตัวแอลจีพีแอลสามารถเชื่อมเข้ากับซอฟต์แวร์ทั่วไปได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นแอลจีพีแอลหรือจีพีแอลเหมือนกัน นั่นคือ "การผ่อนปรน" กว่าตามชื่อสัญญาอนุญาตนั่นเอง ซอฟต์แวร์ของมอซิลลาและโอเพนออฟฟิศดอตอ็อกใช้สัญญาอนุญาตแอลจีพีแอล.

ใหม่!!: ฟล็อกและสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปแบบผ่อนปรนของกนู · ดูเพิ่มเติม »

ทวิตเตอร์

ทวิตเตอร์ (Twitter) เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 280 ตัวอักษร ว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่ โดยเรียกการส่งข้อความนี้ว่า ทวีต (Tweet) ซึ่งแปลว่า เสียงนกร้อง ทวิตเตอร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: ฟล็อกและทวิตเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ข้ามแพลตฟอร์ม

้ามแพลตฟอร์ม หรือ หลายแพลตฟอร์ม (Cross-platform) หมายถึงการที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม ระบบปฏิบัติการ หรือ ซอฟต์แวร์ชนิดอื่น ๆ สามารถทำงานได้ในหลายแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้บนไมโครซอฟท์วินโดวส์ สำหรับสถาปัตยกรรม x86 และ Mac OS X บน PowerPC สวัสดี.

ใหม่!!: ฟล็อกและข้ามแพลตฟอร์ม · ดูเพิ่มเติม »

ดิกก์

กก์ (Digg) เป็นเว็บไซต์ที่เน้นข่าวเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ โดยผสม social bookmarking บล็อก และการเชื่อมโยงเนื้อหาเว็บ เข้าด้วยกัน และมีการกรองคัดเลือกเนื้อหาในลักษณะการร่วมลงคะแนนที่ทุกคนเท่าเทียมกัน (ไม่มีลำดับชั้น) เนื้อหาข่าวและเว็บไซต์จะถูกส่งเข้ามาโดยผู้ใช้ จากนั้นจะถูกเลื่อนให้ไปแสดงที่หน้าแรกผ่านระบบการจัดอันดับโดยผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างจากระบบการกรองคัดเลือกเนื้อหาในเว็บไซต์อื่น ๆ จำนวนมากใช้อยู.

ใหม่!!: ฟล็อกและดิกก์ · ดูเพิ่มเติม »

ดิลิเชียส

ลิเชียส (Delicious ชื่อเดิม del.icio.us) เป็นเว็บไซต์สำหรับเก็บเว็บบุกมาร์ก เชื่อมยังกันในลักษณะเครือข่ายสังคมที่ได้รับความนิยมสูง เปิดบริการสิ้นปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) พัฒนาระบบโดยโจชัว สแคชเทอร์ (Joshua Schachter) บริษัทยาฮู!ได้ซื้อดิลิเชียสในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2548.

ใหม่!!: ฟล็อกและดิลิเชียส · ดูเพิ่มเติม »

คั่นหน้า

ั่นหน้า หรือ บุ๊กมาร์ก (bookmark) คือคำสั่งหนึ่งที่ใช้บันทึกการเชื่อมโยงไปที่ยูอาร์แอล (URL) ใดๆ ในเบราว์เซอร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการจดจำตำแหน่งของหน้านั้นๆ โดยเก็บค่าคั่นหน้าไว้ในเครื่องของผู้ใช้ เปรียบเทียบเหมือนการสอดที่คั่นหนังสือในหน้าที่อ่านค้างไว้ คั่นหน้าเริ่มมีการใช้ตั้งแต่เบราว์เซอร์รุ่นแรก ๆ อย่างโมเสก จนถึงในปัจจุบันมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ต่างๆ ที่ช่วยในการจัดเรียงคั่นหน้า โปรแกรมค้นดูอินเทอร์เน็ต เช่น อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ คั่นหน้าจะเรียกว่า เฟเวอริต (favorite) ส่วนโมเสกใช้ชื่อว่า ฮอตลิสต์ (hotlist) เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันมีความสามารถใหม่เรียกว่า ไลฟ์บุ๊กมาร์ก (live bookmark คั่นหน้าแบบถ่ายทอดสด) ใน โปรแกรมไฟร์ฟอกซ์ และโปรแกรมค้นดูอินเทอร์เน็ตตัวใหม่ที่วางแผนออกในปี พ.ศ. 2549 จะมีความสามารถในการอ่านอาร์เอสเอส (RSS) ที่เปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงภายในเว็บนั้น เช่น การอ่านหัวเรื่อง หรือการอ่านหัวข้อบล็อก โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปดูในเว็บ ในปัจจุบัน ผู้พัฒนาคั่นหน้าที่แยกต่างหากและได้รับความนิยมมากได้แก่ เว็บไซต์ del.icio.us (อ่านว่า ดิ-ลิ-เชียส) ปรับปรุงระบบการใช้คั่นหน้าโดยเก็บข้อมูลบนเว็บเพื่อสะดวกในการใช้ คั่นหน้าออนไลน์ (online bookmark) และเชื่อมโยงระหว่างคั่นหน้าของผู้ใช้แต่ละบุคคล.

ใหม่!!: ฟล็อกและคั่นหน้า · ดูเพิ่มเติม »

เฟซบุ๊ก

ฟซบุ๊ก (Facebook) เป็นบริการเครือข่ายสังคมสัญชาติอเมริกัน สำนักงานใหญ่อยู่ที่ เมนโลพาร์ก รัฐแคลิฟอร์เนีย เฟซบุ๊กก่อตั้งเมื่อวันพุธที่ 4 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ฟล็อกและเฟซบุ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเบราว์เซอร์

วิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลก ไม่มีข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ (web browser), เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ เวิลด์ไวด์เว็บ ขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) คือ กูเกิล โครม รองลงมาคือมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ และอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ ตามลำดั.

ใหม่!!: ฟล็อกและเว็บเบราว์เซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Flockฟล็อกก์ฟล็อคฟล็อคก์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »