โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟรีเมสันและอไญยนิยม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ฟรีเมสันและอไญยนิยม

ฟรีเมสัน vs. อไญยนิยม

ัญลักษณ์ไม้ฉากและวงเวียนของ “องค์กรฟรีเมสัน” องค์กรฟรีเมสัน (Freemasonry) เป็นองค์กรภราดรภาพที่มีที่มาของเบื้องหลังอันลึกลับตั้งแต่ราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 องค์กรฟรีเมสันในปัจจุบันมีด้วยกันหลายรูปหลายแบบในประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยมีสมาชิกประมาณ 5 ล้านคนที่รวมทั้งเกือบ 2 ล้านคนในสหรัฐอเมริกา และราว 480,000 คนในอังกฤษ, สกอตแลนด์ และ ไอร์แลนด์ แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดองค์กรฟรีเมสันจะถือปรัชญาจริยธรรม และอภิปรัชญาเดียวกันที่ในเกือบทุกกรณีก็จะเป็นการประกาศธรรมนูญของความเชื่อใน “ผู้เหนือสิ่งทั้งปวง” (Supreme Being) องค์กรฟรีเมสันจัดระบบบริหารเป็นหน่วยที่เรียกว่า “แกรนด์ลอดจ์” (Grand Lodges) หรือ “แกรนด์โอเรียนท์” (Grand Orients) แต่ละหน่วยก็จะมีอำนาจบริหารเครือข่ายของตนเอง ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยหรือ “Constituent Lodges” แกรนด์ลอดจ์บ่งตนเองระหว่างกันได้โดยกระบวนการที่เรียกว่า “บัญญัติเมสัน” (Masonic Landmarks) และ “ระเบียบเมสัน” (Regular Masonic jurisdictions) นอกจากนั้นก็ยังมี “องค์กรเมสันย่อย” (Masonic bodies) ที่มีความสัมพันธ์กันองค์กรหลักแต่มีระบบการบริหารของตนเอง องค์กรฟรีเมสันใช้อุปลักษณ์ของเครื่องมือช่างหินและวัดโซโลมอนที่ทั้งสมาชิกขององค์กรและผู้วิพากษ์กล่าวว่าเป็น “ระบบของจริยธรรมที่พรางอยู่เบื้องหลังอุปมานิทัศน์ ที่ออกมาในรูปของสัญลักษณ์” องค์กรฟรีเมสัน เป็นองค์กรภราดรภาพ ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานย้อนไปถึงต้นกำเนิดคือ องค์กรภราดรภาพของพวกช่างหินตามท้องถิ่นต่างๆ เมื่อปลายศตวรรษที่ 14 ที่มีหน้าที่คอยควบคุมดูแลมาตรฐานฝีมือการทำงานของพวกช่างหิน และเป็นองค์กรกลางที่คอยประสานงาน กับผู้ปกครอง และลูกค้า ของพวกเขา ระดับขั้นของฟรีเมสัน แบ่งออกเป็นสามระดับ ตามระดับการแบ่งฝีมือของช่างหินโดยสมาคมช่างหิน (mason guild) ในยุคกลางของยุโรป ดังนี้ ช่างฝึกหัด (Apprentice) ช่างฝีมือ (Journeyman or fellow (now called Fellowcraft))  เป็นช่างที่ผ่านการฝึก และได้รับการพิสูจน์ว่ามีฝีมือแล้วจะได้รับใบแสดงความสามารถที่จะเดินทางไปทำงานในที่อื่นๆได้) และ นายช่าง (Master Mason) เป็นผู้ที่มีฝีมือโดดเด่น และได้รับเลือกจากสมาชิกสมาคมให้เป็นผู้นำ ในปัจจุบันองค์กรฟรีเมสัน ที่เราเรียกว่า Blue Lodge ซึ่งเป็นองค์กรฐานรากของฟรีเมสัน เป็นผู้แต่งตั้งระดับเหล่านี้ให้กับสมาชิก นอกจากนี้ยังมี ระดับเพิ่มเติมไปอีกหลายระดับ แตกต่างกันไปตาม พื้นที่ปกครองของ Grand Lodge ต่างๆ โดยระดับเพิ่มเติมนี้มักจะตั้งองค์กรของตัวเองควบคุมขึ้นมาโดยเฉพาะ โดยพื้นฐานแล้ว หน่วยที่เล็กที่สุดของฟรีเมสัน คือ สภาฟรีเมสันท้องถิ่น หรือเรียกว่าลอดจ์ (Lodge) โดยจะถูกกำกับดูแล โดย สภาฟรีเมสันระดับภาค หรือประเทศ หรือเรียกว่า แกรนด์ลอดจ์ หรือ แกรนด์ โอเรียนท์ (Grand Lodge or Grand Orient) โดยส่วนมาก แบ่งพื้นที่เป็น ประเทศ จังหวัด แคว้น หรือมลรัฐ เช่นใน สหรัฐอเมริกา แบ่งพื้นที่ออกเป็นมลรัฐ ฟรีเมสันไม่มีองค์กรกลางระดับนานาชาติที่เข้ามาควบคุมหรือเป็นตัวแทนของ ฟรีเมสันทั้งหมด โดยแต่ละแกรนด์ลอดจ์ มีอิสระที่จะกำหนดข้อกำหนดเอง และมีสิทธิ์ที่จะรับรู้รับรองการมีอยู่ของแกรนด์ลอดจ์ อื่นๆ โดยอิสระ ในปัจจุบัน องค์กรฟรีเมสัน มีอยู่สองแบบ ด้วยกัน คือ องค์กรฟรีเมสันแบบปกติ (Regular Freemason) เป็นองค์กรฟรีเมสันที่เมื่อมีการประกอบพิธีการประชุมของลอดจ์ ต้องเปิดคัมภีร์ทางศาสนา กลางห้องประชุมเสมอ อีกทั้งทุกคนที่จะเข้ามาเป็นสมาชิก ต้องเชื่อในสิ่งที่ดำรงอยู่สูงสุด (นับถือศาสนา) ไม่รับสมาชิกผู้หญิง และการพูดคุยถกเถียงกันใน เรื่องการเมืองและศาสนา ในลอดจ์ เป็นเรื่องต้องห้าม อีกประเภทหนึ่งคือ ฟรีเมสันแบบภาคพื้น (Continental Freemason) หรือเรียกกันว่า ฟรีเมสันแบบเสรีนิยม โดยลอดจ์ที่เป็นฟรีเมสันแบบเสรีนิยมจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบบ้างส่วน ที่เป็นหลักยึดถือของฟรีเมสันแบบปกติ เช่นการรับผู้หญิง หรือผู้ไม่นับถือศาสนาเป็นสมาชิก หรือสามารถพูดคุยเรื่อง ศาสนา และการเมืองในลอดจ์ได้ เป็นต้น โดยฟรีเมสันแบบนี้เกิดขึ้นในภาคพื้นยุโรป คือประเทศฝรั่งเศสเป็นสำคัญ . อไญยนิยม (agnosticism) เป็นมุมมองที่ว่าค่าความจริงของการอ้างบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ้างเกี่ยวกับการมีอยู่หรือไม่มีอยู่ของพระเจ้าใด ๆ ตลอดจนการอ้างอภิปรัชญา ศาสนาอื่นๆ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเรื่องเหนือธรรมชาติอื่นๆ ว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่หรือไม่มีอยู่ หรือไม่สามารถหยั่งรู้ได้ ตามคำกล่าวของนักปรัชญา William L. Rowe ในสำนึกซึ่งเป็นที่นิยม พวกอไญยนิยมคือผู้ที่ไม่ได้เชื่อหรือไม่ได้ไม่เชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้าองค์ใด ขณะที่พวกเทวนิยมและอเทวนิยมเชื่อและไม่เชื่อ ตามลำดับ ลัทธิอไญยนิยม คือ ทัศนะที่เชื่อว่ามนุษย์เราไม่อาจรู้หรือพิสูจน์ได้ว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่ คำว่า “อไญย” หมายความว่า “โดยปราศจากความรู้” ทัศนะอไญยนิยม คือ ทัศนะที่มีเหตุผลต่อยอดขึ้นมาจากลัทธิอเทวนิยม (Atheism) ลัทธิอเทวนิยมไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า – พิสูจน์ไม่ได้ – แต่ลัทธิอไญยนิยมบอกว่าการทรงดำรงอยู่ของพระเจ้าพิสูจน์ไม่ได้ ดังนั้นมันจึงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะรู้ว่าพระเจ้าทรงมีอยู่หรือไม่ พูดอีกอย่างคือ ลัทธิอไญยนิยมเชื่อว่าพระเจ้าอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ ไม่ปักใจเชื่อว่ามี และไม่ปักใจเชื่อว่าไม่มี เนื่องจากการเชื่อความไม่มีอยู่ของพระเจ้าจึงสอดคล้องกับ ลัทธิซาตาน ในประเภทแบบเชื่อว่าพระเจ้าไม่มีอยู่จริง ซึ่งมุ่งเน้น ความเป็นเอกบุคคลและอัตนิยมเช่นเดียวกัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฟรีเมสันและอไญยนิยม

ฟรีเมสันและอไญยนิยม มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อภิปรัชญา

อภิปรัชญา

อภิปรัชญา (Metaphysics) ซึ่งเป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของ ปรัชญา ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะ (Reality Essence) ซึ่งรวมทั้ง ชีวิต โลก และ ภาวะเหนือธรรมชาติ เช่น พระเจ้าอดิศักดิ์ ทองบุญ, คู่มืออภิปรัชญา, ราชบัณฑิตยสถาน ISBN 974-575-939-2 มีปรัชญาอีกสาขาหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ อภิปรัชญาคือ Ontology แปลว่า ภววิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความมี (being) ศาสตร์ทั้งสองนี้มีความเกี่ยวข้องกันเพราะว่า Metaphysics คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะว่ามีจริงหรือไม่ Ontology ก็ศึกษาเรื่องความมีอยู่ของความแท้จริง หรือสารัตถะนั้นเป็นจริงอย่างไรโดยทั่วไปถือว่าศาสตร์ทั้งสองนี้ศึกษาเรื่องเดียวกัน คือ ความมีอยู่ของความแท้จริง หรือความแท้จริงที่มีอยู่ เพราะฉะนั้นจึงถือว่าศาสตร์ทั้งสองเป็นเรื่องเดียวกัน.

ฟรีเมสันและอภิปรัชญา · อภิปรัชญาและอไญยนิยม · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ฟรีเมสันและอไญยนิยม

ฟรีเมสัน มี 8 ความสัมพันธ์ขณะที่ อไญยนิยม มี 5 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 7.69% = 1 / (8 + 5)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ฟรีเมสันและอไญยนิยม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »