เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ฟรานซิส เดรกและยุคแห่งการสำรวจ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ฟรานซิส เดรกและยุคแห่งการสำรวจ

ฟรานซิส เดรก vs. ยุคแห่งการสำรวจ

ซอร์ฟรานซิส เดรก) เซอร์ฟรานซิส เดรก (Sir Francis Drake, พ.ศ. 2083 - 2139) นักสำรวจและนักเดินเรือชาวอังกฤษที่เคยเป็นโจรสลัดปล้นเรือสเปนมาก่อน ในปี พ.ศ. 2110 (ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่หนึ่ง 2 ปี) ได้เป็นผู้บัญชาการเรือ จูดิท ในเที่ยวการเดินทางสำรวจอินเดียตะวันตก (อเมริกากลาง) ที่ล้มเหลวของผู้เป็นญาติคือ จอน ฮอว์กินส์ และได้เดินทางกลับไปที่นั่นอีกหลายครั้งเพื่อไปเก็บรวบรวมทรัพย์สินที่เสียหายจากพวกสเปน การกระทำของเดรกในงานนี้ทำให้เขาได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2120 เดรกได้ออกเดินทางพร้อมกับเรือ 5 ลำสู่มหาสมุทรแปซิฟิกผ่านทางช่องแคบมาเจลลัน แต่หลังจากที่เรือหลายลำได้รับความเสียหายอย่างหนักจากพายุและไฟที่ใหม้เรือ เดรกได้เดินทางเพียงลำพังด้วยเรือชื่อ โกลเดนไฮนด์ แล่นข้ามหาสมุทรแปซิฟิกจนถึงเกาะเปลิวแล้วจึงเดินทางกลับอังกฤษผ่านแหลมกู๊ดโฮปเมื่อ พ.ศ. 2123 นับเป็นการเดินทางรอบโลกได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของชาวอังกฤษ ในปีต่อมา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ได้เสด็จเยี่ยมเรือของเดรกและทรงแต่งตั้งให้เขาเป็นอัศวิน (เซอร์) ในปี พ.ศ. 2128 เซอร์ฟรานซิส เดรก ได้นำขบวนเรือจำนวน 25 ลำรบกับพวกอินเดียนแดงที่เป็นฝ่ายสเปนและขนยาสูบ มันฝรั่ง และชาวอาณานิคมเวอร์จิเนียที่ท้อแท้กลับบ้าน ในสงครามที่รบกับกองเรืออาร์มาดา (Spanish Armada) ที่ยิ่งใหญ่และไม่มีใครเคยเอาชนะได้ของสเปนที่ประกอบด้วยเรือถึง 130 ลำ (พ.ศ. 2131) ได้สู้รบกันนานถึงหนึ่งสัปดาห์ในช่องแคบอังกฤษที่อังกฤษเป็นฝ่ายชนะ ความกล้าหาญและความเชี่ยวชาญในการรบทางเรือยิ่งทำให้เซอร์ฟรานซิสที่ตำแหน่งหน้าที่เป็นรองผู้บัญชาการกองเรือยิ่งโดดเด่นมากขึ้น การได้ชัยชนะครั้งสำคัญนี้ ทำให้อังกฤษมีแสนยานุภาพทางทะเลมากที่สุด ปี พ.ศ. 2138 เซอร์ฟรานซิสได้ออกเดินทางอีกครั้งหนึ่งเพื่อไปยังอินเดียตะวันตกแต่ก็ได้เสียชีวิตด้วยโรคบิดที่นอกชายฝั่งเมืองปอร์โตเบโล (ในประเทศปานามาปัจจุบัน) ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาร. แห่งการสำรวจ หรือ ยุคแห่งการค้นพบ (Age of Exploration หรือ Age of Discovery) เป็นช่วงระยะเวลาในประวัติศาสตร์โลกที่เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่ชาวยุโรปออกเดินทางไปสำรวจทางทะเลในโลกที่กว้างออกไปจากตัวทวีปยุโรปเองโดยมีจุดประสงค์เพื่อหาคู่ค้าขายใหม่ และโดยเฉพาะเพื่อการแสวงหาสินค้าเพื่อสนองความต้องการของตลาดตามต้องการ สินค้าที่เป็นที่ต้องการกันมากในยุโรปในขณะนั้นคือทอง เงิน และ เครื่องเทศ ยุคแห่งการสำรวจประจวบกับช่วงที่ชาวยุโรปตะวันตกเริ่มใช้เข็มทิศในการกำหนดและระบุเส้นทาง, การใช้วิธีการเดินเรือเดินทะเลแบบใหม่, การมีแผนที่ใหม่ และความก้าวหน้าทางดาราศาสตร์ ความก้าวหน้าเหล่านี้ช่วยในการแสวงหาเส้นทางการค้าขายใหม่ไปยังเอเชียโดยเลี่ยงอุปสรรคถ้าการใช้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของมหาอำนาจที่เป็นปฏิปักษ์ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่วิวัฒนาการขึ้นสำหรับการเดินทางทางทะเลคือเรือชนิดใหม่สองแบบที่ออกแบบโดยโปรตุเกส--เรือคาร์แร็ค (Carrack) และ เรือคาราเวล (Caravel) ที่วิวัฒนาการมาจากการออกแบบเรือในยุคกลางที่ใช้ในการเดินเรือในทะเลเหนือและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เรือสองชนิดนี้เป็นเรือสองชนิดแรกที่ให้ความปลอดภัยพอที่จะฝ่าคลื่นฝ่าลมในมหาสมุทรแอตแลนติกได้เมื่อเทียบกับเรือรุ่นก่อนหน้านั้นที่ใช้กันเฉพาะในบริเวณที่คลื่นลมไม่รุนแรงเทียบเท่ากับการเดินทางกลางมหาสมุทร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฟรานซิส เดรกและยุคแห่งการสำรวจ

ฟรานซิส เดรกและยุคแห่งการสำรวจ มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ช่องแคบมาเจลลันมหาสมุทรแปซิฟิกประเทศสเปนแหลมกู๊ดโฮป

ช่องแคบมาเจลลัน

วเทียมบริเวณช่องแคบมาเจลลัน ช่องแคบมาเจลลัน (Strait of Magellan, Magellanic Strait; Estrecho de Magallanes) เป็นทางเดินเรือที่ตั้งอยู่ระหว่างตอนใต้ของแผ่นดินใหญ่ทวีปอเมริกาใต้กับกลุ่มเกาะเตียร์ราเดลฟวยโก ตั้งชื่อตามชื่อของเฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน นักเดินเรือชาวโปรตุเกส ช่องแคบนี้เป็นทางเชื่อมสำคัญระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติก มีความยาวประมาณ 570 กิโลเมตร ส่วนที่แคบที่สุดอยู่บริเวณเกาะการ์โลสที่ 3 ทางด้านตะวันตกของช่องแคบ ซึ่งกว้างเพียง 2 กิโลเมตร เนื่องจากมาเจลลันเดินเรือมาถึงที่นี่ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันสมโภชนักบุญทั้งหลายพอดี ในตอนแรกเขาจึงตั้งชื่อว่า "ช่องแคบแห่งเหล่านักบุญ" (Strait of All Saints) แต่ต่อมาพระมหากษัตริย์แห่งสเปนที่มาเจลลันถวายงานทรงเปลี่ยนชื่อมาเป็น "ช่องแคบมาเจลลัน" เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา ปัจจุบันตลอดช่องแคบมาเจลลันถือเป็นน่านน้ำของชิลี แต่ปากทางด้านแอตแลนติกบางจุดเป็นอาณาเขตของอาร์เจนตินา อย่างไรก็ตาม เรือชาติต่าง ๆ ยังสามารถเดินทางผ่านช่องแคบนี้ได้อย่างเสรี ก่อนที่จะมีการเปิดใช้คลองปานามาซึ่งสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1914 ช่องแคบนี้เป็นเส้นทางข้ามมหาสมุทรที่สำคัญและปลอดภัยสำหรับเรือกลจักรไอน้ำ แต่ถ้าเป็นเรือใบ เช่น เรือแบบคลิปเปอร์ จะนิยมใช้ช่องแคบเดรกซึ่งอยู่ใต้ลงไปอีก เพราะมีเนื้อที่ให้กลับลำเรือได้กว้างกว่า แต่ก็ต้องเสี่ยงกับสภาพอากาศที่ปั่นป่วนและคาดคะเนได้ยาก.

ช่องแคบมาเจลลันและฟรานซิส เดรก · ช่องแคบมาเจลลันและยุคแห่งการสำรวจ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ฟรานซิส เดรกและมหาสมุทรแปซิฟิก · มหาสมุทรแปซิฟิกและยุคแห่งการสำรวจ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ประเทศสเปนและฟรานซิส เดรก · ประเทศสเปนและยุคแห่งการสำรวจ · ดูเพิ่มเติม »

แหลมกู๊ดโฮป

“แหลมกู๊ดโฮป” มองไปทางตะวันตก แหลมกู๊ดโฮป (Cape of Good Hope; Kaap die Goeie Hoop; Kaap de Goede Hoop) คือแหลมที่ยื่นออกไปทางด้านมหาสมุทรแอตแลนติกไม่ไกลจากเคปทาวน์ของประเทศแอฟริกาใต้ โดยทั่วไปมักจะเข้าใจผิดกันว่าแหลมกู๊ดโฮปตั้งอยู่ตอนปลายสุดของทวีปแอฟริกาและเป็นจุดที่แบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย แต่ตามความเป็นจริงแล้วแหลมที่อยู่ปลายสุดของทวีปแอฟริกาคือแหลมอะกะลัส (Cape Agulhas) ประมาณ 150 กิโลเมตรไปทางตะวันออกเฉียงใต้ แต่ความสำคัญของแหลมกู๊ดโฮปเป็นความสำคัญทางจิตวิทยา เพราะถ้าเดินทางตามแนวฝั่งจากเส้นศูนย์สูตรแล้วแหลมกู๊ดโฮปก็จะเป็นจุดที่เป็นการเริ่มหันการเดินทางไปทางตะวันออกมากกว่าที่จะเดินทางต่อไปทางใต้ ฉะนั้นการเดินทางรอบแหลมกู๊ดโฮปในปี..

ฟรานซิส เดรกและแหลมกู๊ดโฮป · ยุคแห่งการสำรวจและแหลมกู๊ดโฮป · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ฟรานซิส เดรกและยุคแห่งการสำรวจ

ฟรานซิส เดรก มี 25 ความสัมพันธ์ขณะที่ ยุคแห่งการสำรวจ มี 104 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 3.10% = 4 / (25 + 104)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ฟรานซิส เดรกและยุคแห่งการสำรวจ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: