โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์

ดัชนี พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์

ัณฑ์ลูฟวร์ (Musée du Louvre) หรือในชื่อทางการว่า the Grand Louvre เป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะตั้งอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงที่สุด เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งได้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้เมื่อปี พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์กาเปเซียง ตัวอาคารเดิมเคยเป็นพระราชวังหลวง ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ที่จัดแสดงและเก็บรักษาผลงานทางศิลปะที่ทรงคุณค่าระดับโลกเป็นจำนวนมากกว่า 35,000 ชิ้น จากตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงศตวรรษที่ 19 อย่างเช่น ภาพเขียนโมนาลิซา, The Virgin and Child with St.

47 ความสัมพันธ์: บารอกชาวแฟรงก์ฟร็องซัว บูเชฟร็องซัว มีแตร็องพ.ศ. 2336พ.ศ. 2547พ.ศ. 2548พ.ศ. 2549พระเจ้าชาร์ลที่ 5 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าอ็องรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศสพิพิธภัณฑสถานพีระมิดลูฟวร์การาวัจโจมาสทริชท์มีเกลันเจโลราชวงศ์กาเปเซียงราฟาเอลวังศิลปะกอทิกศิลปะยุคกรีกศิลปะจินตนิยมศิลปะโรมันโบราณศิลปะโรมาเนสก์สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์สถาปนิกอันโตน ฟัน ไดก์จริตนิยมจอตโต ดี บอนโดเนจักรวรรดิเปอร์เชียจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีจิตรกรรมเฟลมิชจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกตารางเมตรประเทศฝรั่งเศสปารีสปาโอโล เวโรเนเซนีกอลา ปูแซ็งแดน บราวน์แคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์โมนาลิซาโรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดินโดเมนีโก กีร์ลันดาโยไอ. เอ็ม. เพเลโอนาร์โด ดา วินชีเวนิสเออแฌน เดอลาครัว

บารอก

“การแต่งงานของนักบุญแคทเธอรินแห่งอเล็กซานเดรีย” (The Mystic Marriage of St. Catherine) โดย อันโตนิโอ ดา คอร์เรจจิโอ บารอก (Baroque) หรือบาโรก เป็นสมัยหนึ่งของศิลปะตะวันตกซึ่งเริ่มประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี บาโรกจะเน้นความเป็นนาฏกรรม ศิลปะจะแสดงความขัดแย้ง (tension) และความหรูหรา โอ่อ่า บาโรกเป็นลักษณะของ ประติมากรรม จิตรกรรม วรรณกรรม นาฏศิลป์ และดนตรี ถ้ากล่าวถึงดนตรีแบบบารอกก็จะหมายถึงสมัยสุดท้ายของเคาน์เตอร์พ็อยต์ (Counterpoint) ที่กล่างวถึงความสัมพันธ์ของการเล่นระหว่างเสียงหรือเครื่องดนตรีมากกว่าสองชนิดที่อาจจะสะท้อนกันและกัน แต่คนละระดับเสียง หรือบางครั้งก็อาจจะสลับเสียงสะท้อน หรือไม่อีกทีก็อาจจะย้อนแก่นสาร (reversing theme) ของดนตรีชิ้นนั้นไปเลย ยุคบารอกรุ่งเรืองขึ้นมาด้วยการสนับสนุนจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก ระหว่างการประชุมสภาสังคายนาแห่งเทรนต์ เมื่อปี..

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และบารอก · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแฟรงก์

หนังสือสำหรับทำพิธีศาสนา “Gelasian Sacramentary” จากราว ค.ศ. 750 แฟรงก์ (Franks, Franci) เป็นกลุ่มชนเจอร์มานิกตะวันตกที่เริ่มก่อตัวขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 โดยมีถิ่นฐานอยู่ทางเหนือและทางตะวันออกของลุ่มแม่น้ำไรน์ตอนล่าง ภายใต้การปกครองโดยราชวงศ์เมโรแว็งเชียง ชนแฟรงก์ก็ก่อตั้งสถาบันพระมหากษัตริย์เจอร์มานิกที่มาแทนจักรวรรดิโรมันตะวันตกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 รัฐของชนแฟรงก์และมารวมตัวกันเป็นอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่กลายมาเป็นจักรวรรดิคาโรลินเจียนและรัฐต่างๆ ที่ตามมา ความหมายของคำว่า “ชนแฟรงก์” ที่กลุ่มชนแตกต่างกันไปตามสมัยและปรัชญา โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นความหมายที่ไม่ชัดเจน ภายในกลุ่มแฟรงเคีย “ชนแฟรงก์” เป็นกลุ่มชนที่มีเป็นกลุ่มชนเอกลักษณ์ที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง รากของคำว่า “แฟรงก์” อาจจะมาจากภาษาละติน “francisca” (จากเจอร์มานิก “*frankon” ที่เกี่ยวเนื่องกับภาษาอังกฤษเก่า “franca”) ที่แปลว่า “แหลน” ชนแฟรงก์ที่โยนขวานได้รับนามว่า “francisca” (ขว้างขวาน) ซึ่งอาจจะเป็นการเรียกกลุ่มชนตามอาวุธที่ใช้ เอ.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และชาวแฟรงก์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟร็องซัว บูเช

ฟร็องซัว บูเช (François Boucher; 29 กันยายน ค.ศ. 1703 - 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1770) เป็นจิตรกรสมัยโรโคโคคนสำคัญชาวฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผู้มีชื่อเสียงในงานเขียนที่เป็นอุดมคติและอวบอิ่ม (voluptuous) ของภาพประเภทคลาสสิก อุปมานิทัศน์ และท้องทุ่ง (pastoral) นอกจากนั้นบูเชก็ยังเขียนภาพเหมือนหลายภาพของมาดาม เดอ ปงปาดูร.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และฟร็องซัว บูเช · ดูเพิ่มเติม »

ฟร็องซัว มีแตร็อง

ฟร็องซัว มอริส อาเดรียง มารี มีแตร็อง (26 ตุลาคม พ.ศ. 2459 - 8 มกราคม พ.ศ. 2539) อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโพ้นทะเลฝรั่งเศส ฟร็องซัว มีแตร็องเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ถึง พ.ศ. 2538 โดยชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีในฐานะตัวแทนพรรคสังคมนิยม (PS) เขาชนะการเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2524 กลายเป็นประธานาธิบดีสังคมนิยมคนแรกของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5และเป็นประมุขแห่งรัฐที่มาจากฝ่ายซ้ายคนแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 และในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2531นั้น เขาก็ชนะอีกครั้งหนึ่งและดำรงตำแหน่งจนถึงปี พ.ศ. 2538 ก่อนที่จะต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในปีเดียวกัน ในการดำรงตำแหน่งทั้งสองวาระนั้น เขาได้ยุบสภาเพื่อที่จะได้เสียงข้างมากในสภา แต่ทว่าพรรคสังคมนิยมก็ได้พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองครั้ง และทำให้เกิด "การบริหารร่วมกัน" ในสองปีสุดท้ายของทั้งสองวาระ โดยมีฌัก ชีรักเป็นแกนนำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ถึง พ.ศ. 2531 และเอดูอาร์ด บัลลาดูร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2538 ในปัจจุบันฟร็องซัว มีแตร็องเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดด้วยระยะเวลา 14 ปี ทั้งยังเป็นประธานาธิบดีที่อาวุโสที่สุดอีกด้วย (สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งเมื่ออายุ 78 ปี) ฟร็องซัว มีแตร็องถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2539 หลังจากเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสที่ประเทศอียิปต.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และฟร็องซัว มีแตร็อง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2336

ทธศักราช 2336 ตรงกับปี คริสต์ศักราช 1793.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และพ.ศ. 2336 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2547

ทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และพ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2548

ทธศักราช 2548 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2005 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรโกเรียน และเป็น.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และพ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2549

ทธศักราช 2549 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2006 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และพ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาร์ลที่ 5 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าชาร์ลที่ 5 แห่งฝรั่งเศส (Charles V of France หรือ Charles the Wise หรือ Charles le Sage; 21 มกราคม ค.ศ. 1338 - 16 กันยายน ค.ศ. 1380) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์วาลัว ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1364 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1380 รัชสมัยของพระองค์เป็นรัชสมัยของสงครามร้อยปีที่ทรงยึดดินแดนที่เสียไปแก่ราชอาณาจักรอังกฤษในสนธิสัญญาเบรทินยี (Treaty of Brétigny) พระเจ้าพระเจ้าชาร์ลที่ 5 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1338 ที่แว็งแซนในประเทศฝรั่งเศส พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าจอห์นที่ 2 แห่งฝรั่งเศสและ โบนนีแห่งโบฮีเมีย ดัชเชสแห่งนอร์ม็องดีผู้ที่สิ้นพระชนม์ไม่นานก่อนที่พระสวามีจะขึ้นครองราชย์ ต่อมาพระองค์ทรงเสกสมรสกับฌานแห่งบูร์บง ในปี ค.ศ. 1350 และมีพระราชโอรสธิดาด้วยกันเก้าพระองค์ที่รวมทั้งพระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศส, หลุยส์ที่ 1 ดยุคแห่งออร์เลอ็อง และกาเตอรีนแห่งวาลัว.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และพระเจ้าชาร์ลที่ 5 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอ็องรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส (ภาษาอังกฤษ: Henry II of France) (31 มีนาคม ค.ศ. 1519- 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1559) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์วาลัว.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และพระเจ้าอ็องรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑสถาน

ท้องฟ้าจำลอง พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ พิพิธภัณฑ์ที่เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้แห่งแรกของโลก ตั้งอยู่ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส หอศิลป์อุฟฟีซี เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในอิตาลี เกาะพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่เบอร์ลิน พิพิธภัณฑ์บริติช ตั้งอยู่ที่ลอนดอน พิพิธภัณฑ์อินเดีย ตั้งอยู่ที่โกลกาตา ประเทศอินเดีย เป็นพิพิธภัณฑเก่าและใหญ่ที่สุดในอินเดีย พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติฟินแลนด์ ตั้งอยู่ที่เฮลซิงกิ พิพิธภัณฑสถาน หรือ พิพิธภัณฑ์ เป็นอาคารหรือสถาบัน ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเก็บรักษาวัตถุที่มนุษย์ทำขึ้น.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และพิพิธภัณฑสถาน · ดูเพิ่มเติม »

พีระมิดลูฟวร์

ีระมิดกระจกยามค่ำคืน พีระมิดลูฟวร์ (Louvre Pyramid) เป็นพีระมิดที่สร้างขึ้นจากกระจกและโลหะ มีพีระมิดขนาดเล็กกว่า 3 หลังตั้งอยู่โดยรอบ ตั้งอยู่ที่ลานหน้าพิพิธภัณฑสถานลูฟวร์ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ทำหน้าที่เป็นทางเข้าหลักของพิพิธภัณฑ์ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2532 และกลายเป็นหนึ่งในจุดสังเกตของกรุงปารี.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และพีระมิดลูฟวร์ · ดูเพิ่มเติม »

การาวัจโจ

ูรายชื่องานที่ รายชื่อภาพเขียนโดยการาวัจโจ; มีเกลันเจโล เมรีซี ดา การาวัจโจ (Michelangelo Merisi da Caravaggio ค.ศ. 1571 - 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1610) เป็นจิตรกรสมัยบาโรกคนสำค้ญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความสำคัญในการเขียนภาพสีน้ำมัน ผู้มีผลงานส่วนใหญ่ที่ โรม เนเปิลส์ ซิซิลี และประเทศมอลตา ระหว่างปี..

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และการาวัจโจ · ดูเพิ่มเติม »

มาสทริชท์

มาสทริชท์ หรือ มาสตริคต์ (Maastricht) เป็นเมืองในประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ในจังหวัดลิมบูร์ก และเป็นเมืองหลวงของจังหวัด ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมาส ใกล้เขตแดนประเทศเบลเยียม เมืองมาสทริชท์เป็นที่รู้จักในฐานะเมืองแห่งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้าน และการศึกษา ยังมีชื่อเสียงด้านการค้าขายและพักผ่อนของนักท่องเที่ยว ด้านอุตสาหกรรม มีการผลิตเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ ซีเมนต์ กระดาษ แก้ว เครื่องปั้นเผา ซิการ์ เป็นตลาดค้าธัญพืชและเนยเหลว การที่อยู่ติดแนวเขตแดนทำให้ถูกปิดล้อมและถูกยึดครองบ่อยครั้ง สเปนได้ยึดครองใน..

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และมาสทริชท์ · ดูเพิ่มเติม »

มีเกลันเจโล

มีเกลันเจโล หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ ไมเคิลแองเจโล มีชื่อเต็มว่า มีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก บูโอนาร์โรตี ซีโมนี (Michelangelo di Lodovico Buonarroti Simoni, 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564) เป็นจิตรกร สถาปนิก และประติมากรชื่อดัง ในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) มีเกลันเจโลเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1475 ที่หมู่บ้านคาปรีส (ปัจจุบันอยู่ในทัสกานี, อิตาลี) เขาเติบโตที่เมืองฟลอเรนซ์ หลังจากที่ไปอยู่ที่กรุงโรมเมื่ออายุ 21 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นถึง 5 ปี มีเกลันเจโลสร้างประติมากรรมรูปสลัก เดวิด ตอนอายุ 26 ปี จากหินอ่อนก้อนมหึมาที่ถูกทิ้งไว้กลางเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาหลายปี จึงกลายเป็นที่ฮือฮาของชาวเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีใครกล้าพอที่จะแตะต้องมัน ความสำเร็จหลังจากงานชิ้นนี้ ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วอิตาลี มีเกลันเจโล เดิมทีเป็นคนที่เกลียดเลโอนาร์โด ดา วินชี ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุห่างกันถึง 23 ปี และไม่ค่อยได้พบกันบ่อยนัก ในช่วงนี้ (ค.ศ. 1497 - ค.ศ. 1500) เขาก็ได้สร้างประติมากรรมหินอ่อนอีกชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า ปีเอตะ (Pietà) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ตอนอายุได้ 30 ปี เขาได้ถูกเชิญให้กลับมาที่กรุงโรม เพื่อออกแบบหลุมฝังศพให้กับสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 40 ปี หลังจากแก้หลายครั้งหลายครา จนมาสำเร็จในปี ค.ศ. 1545 ต่อมาในปี ค.ศ. 1546 เขาเป็นสถาปนิกคนสำคัญในการสร้างมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโดม เขาใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ในกรุงโรม ตลอด 30 ปี ช่วงนี้นั้นเองที่เขาเขียนภาพระดับโลกไว้มากมาย โดยเฉพาะภาพ คำพิพากษาครั้งสุดท้าย (The Last Judgment) ซึ่งเขาใช้เวลาในการเขียนภาพขนาดยักษ์นี้นานถึง 6 ปี มีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี เสียชีวิตที่กรุงโรม เมื่อปี ค.ศ. 1564 รวมอายุได้ 88 ปี ซึ่งมีคำกล่าวจากสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ว่า "ทรงยินดีบั่นทอนชีวิตของท่านลง เพื่อแลกกับชีวิตของมิเกลันเจโลให้ยืนยาวออกไปอีก".

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และมีเกลันเจโล · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์กาเปเซียง

ราชวงศ์กาเปเซียง (Capétiens) หรือ ราชวงศ์คะพีเชียน (Capetians) คือ ราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรฝรั่งเศสในสมัยกลาง มีพระเจ้าอูก กาแป (Hugh Capet) แห่งฝรั่งเศส เป็นต้นพระราชวงศ์ ปัจจุบันราชวงศ์กาเปเซียงที่ยังคงมีพระชนม์ชีพและถือพระราชสมบัติอยู่ คือ กษัตริย์แห่งสเปนและแกรนด์ดุ๊กแห่งลักเซมเบิร์กผ่านทางราชวงศ์บูร์บง คำว่า "คาพีเชียน" มาจากพระนามพระเจ้าอูก กาแป ทั้งที่ "กาแป" มิได้เป็นนามสกุลแต่เป็นฉายานาม แต่กษัตริย์ฝรั่งเศสก็ทรงใช้ "กาแป" เป็นพระนามของพระราชสกุล เช่นเมื่อ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ทรงถูกประหารด้วยกิโยตีนใน ค.ศ. 1793 การปกครองปฏิวัติในสมัยนั้นบันทึกในมรณบัตรว่า "หลุยส์ กาแป" บรรพบุรุษของราชวงศ์กาเปเซียง คือ ตระกูลรอแบร์ (Robertian) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นเคานต์แห่งปารีสในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก ปัจจุบันคือฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 และ 10 ตระกูลรอแบร์อภิเษกกับราชวงศ์คาโรลินเจียน (Carolingian dynasty) ราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกขณะนั้น ทำให้ตระกูลรอแบร์บางคนได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ด้วย แต่ใน ค.ศ. 987 ราชวงศ์กาโรแล็งเชียงสิ้นสุดลงในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก อูก กาแป เคานต์แห่งปารีสที่สืบเชื้อสายจากตระกูลรอแบร์นั้น ได้ขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์กาเปเซียง ราชวงศ์กาเปเซียงในสายตรงฝรั่งเศสสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1328 ด้วยการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าชาร์ลที่ 4 ที่ทรงไร้ทายาท แต่ ราชวงศ์วาลัว (Valois dynasty) และราชวงศ์บูร์บง (Bourbon dynasty) อันเป็นสาขาย่อยของราชวงศ์กาเปเซียงยังคงปกครองฝรั่งเศสต่อไป.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และราชวงศ์กาเปเซียง · ดูเพิ่มเติม »

ราฟาเอล

วาดตัวเองของราฟาเอล ราฟาเอล (Raphael) หรือ รัฟฟาเอลโล ซานซีโอ ดา อูร์บีโน (Raffaello Sanzio da Urbino; พ.ศ. 2026-2063) เป็นจิตรกรชาวอิตาลีที่มีอาวุโสน้อยที่สุดในบรรดาจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยมีอายุน้อยกว่าเลโอนาร์โด ดา วินชี 31 ปี และอ่อนกว่ามีเกลันเจโล บัวนาร์โรตี 8 ปี เมื่อ..

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และราฟาเอล · ดูเพิ่มเติม »

วัง

้านหน้าของพระราชวังดุสิต วัง หรือ พระราชวัง เป็นสิ่งก่อสร้างสำหรับที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยของประมุขของประเทศหรือผู้นำผู้มีตำแหน่งสูงในหลายประเทศในยุโรปเช่นประเทศฝรั่งเศส และ อิตาลี นอกจากนั้นยังเป็นคำที่ใช้สำหรับสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่แต่ไม่จำเป็นต้องใหญ่มากในตัวเมืองที่สร้างสำหรับเจ้านาย หรือผู้มีตระกูล ในปัจจุบันวังหรือพระราชวังหลายแห่งเปลี่ยนไปใช้เป็นพิพิธภัณฑ์หรือสำนักงานรัฐบาล หรือโรงแรม.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และวัง · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะกอทิก

ลปะกอทิก (Gothic art) เริ่มต้นขึ้นประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 17 และมีอิทธิพลอยู่ประมาณ 350 ปีต่อเนื่องมาจากศิลปะโรมาเนสก์ พบในศิลปะศาสนาในการสร้างมหาวิหาร (Cathedral) พอถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ศิลปะแบบนี้ก็เผยแพร่ไปยังศิลปะในประเทศอื่นในยุโรปตะวันตกที่เรียกกันว่าศิลปะกอทิกนานาชาติ ศิลปะกอทิกนิยมกันมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเริ่มวิวัฒนาการมาเป็น ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปะแขนงสำคัญของสมัยกอธิคคือ ประติมากรรม งานกระจกสี จิตรกรรมฝาผนัง การเขียนลวดลายในหนังสือวิจิตร ศิลปะกอธิคเริ่มต้นจากฝรั่งเศสและแพร่หลายไปยังประเทศอื่น ๆ และมีลักษณะตามภูมิภาคนั้น ๆ ด้วย ลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมมีผนังเปิดกว้าง มีส่วนสูงเด่นเป็นพิเศษและมีแบบที่ออกมาเป็นลายเส้นอันซับซ้อน ทุกส่วนล้วนประกอบเข้าด้วยกันเป็นสัญลักษณ์นิยม ทางศาสนา โครงสร้างหลังคาเป็นโค้งแหลม ลักษณะต่างๆ เหล่านี้จะหาดูได้จากมหาวิหารในฝรั่งเศส, เยอรมนี และ อังกฤษ เช่น มหาวิหารแซ็ง-เดอนี (ฝรั่งเศส) มหาวิหารนัวยง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารล็อง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารอามีแย็ง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารกลอสเตอร์ (อังกฤษ) และ มหาวิหารเอ็กซีเตอร์ (อังกฤษ) เป็นต้น มุขด้านตะวันออกของวิหาร Chartres Cathedral (ราว ค.ศ. 1145) รูปปั้นประกอบสถาปัตยกรรมนี้เป็นประติมากรรมศิลปะกอทิกตอนต้น ซึ่งแสดงวิวัฒนาการในรูปแบบเป็นแบบอย่างแก่ประติมากรรุ่นต่อมา ศิลปะกอทิกเป็นศิลปะที่เกิดในยุโรปช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่12-15 มีศูนย์กลางที่ฝรั่งเศส คำว่า"กอธิค" เริ่มใช้ครั้งแรกโดยนักวิจารณ์ศิลปะสมัยสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนปลายของอิตาลี เรียกรูปแบบของศิลปะ ที่เกิดในยุโรปในช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้น ที่เป็นผลงานของพวกกอท แฟรงก์ ลอมบาร์ค สลาฟ และแซกซัน ซึ่งต่างเป็นชนเผ่าป่าเถื่อน ไร้ความเจริญทางศิลปวิทยาการ ประการสำคัญ เป็นชนเผ่าที่ทำลายจักรวรรดิโรมันและถึงพร้อมด้านศิลปวิทยาการ ดังนั้นถ้อยสำเนียงหรือนัยยะ ที่ใช้เรียกว่า "ศิลปะกอทิก" จึงเป็นการเรียกขานที่บ่งบอกไปในทางเย้ยหยันมากกว่าการชื่นชม เมื่อเปรียบเทียบกับคุณค่าศิลปะแบบกรีก-โรมัน ที่มีกฎเกณท์ชัดเจน ซึ่งในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาได้รื้อฟื้นกลับมาปรับใช้ในยุคสมัยของตน จนเรียกชื่อยุคว่าเรอเนซองค์ หรือฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หมายถึงย้อนกลับไปรื้อฟื้นศิลปวิทยาการแบบกรีก-โรมันขึ้นมาอีกนั้น จึงยิ่งส่งผลให้มองศิลปกรรมอันเกิดจากฝีมือของผู้ทำลายอาณาจักรโรมันยิ่งดูไร้คุณค่าไร้รสนิยมยิ่งขึ้น จนนักวิจารณ์บางคนในยุคเรอเนซองส์ใช้คำกล่าวหาศิลปะกอธิคค่อนข้างรุนแรงว่าเป็นศิลปะที่ "ไร้รสนิยม" และ"วิตถาร" อย่างไรก็ตาม สำหรับชาวยุโรปทั่วไปนอกจากอิตาลีแล้ว มักจะเรียกศิลปกรรมกอธิคอย่างยอมรับมากกว่าจะดูแคลน โดยพวกเขาจะเรียกศิลปะกลุ่มนี้เป็นภาษาละตินว่า Opus Modernum หรืองานสมัยใหม่ ศิลปกรรมกอทิกเป็นศิลปะที่มีคุณค่าในตนเองอีกลักษณะรูปแบบหนึ่งของโลก ส่งผลต่อกระแสการหวนกลับไปสู่การชื่นชมและสร้างงานศิลปกรรมกอธิคอีกครั้งในศตวรรษที่ 18 ทั้งในยุโรปและอเมริกา จนกลายเป็นยุคที่เรียกว่า Gothic Revival.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และศิลปะกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะยุคกรีก

ลปะกรีกโบราณ หรือ ศิลปะกรีซโบราณ (750 ปีก่อนค.ศ. - 300 ปีก่อนค.ศ.) ชาวกรีกมีความเชื่อว่า "มนุษย์เป็นมาตรวัดสรรพสิ่ง" ซึ่งความเชื่อนี้เป็นรากฐาน ทางวัฒนธรรมของชาวกรีก เทพเจ้าของชาวกรีกจะมีรูปร่างอย่างมนุษย์ และไม่มี ความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายเหมือนชาวอียิปต์ ดังนั้น จึงไม่มีสุสานหรือพิธี ฝังศพที่ซับซ้อนวิจิตรเหมือนกับชาวอียิปต.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และศิลปะยุคกรีก · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะจินตนิยม

''Wanderer above the Sea of Fog'' ภาพวาดของ แคสเปอร์ เดวิด ฟรีดดริก ในปี 1818 ศิลปะจินตนิยม (Romanticism) เริ่มต้นขึ้นในช่วงหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในยุโรปตะวันตก เป็นการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดทางปรัชญา วรรณกรรม และศิลปกรรม อันนำมาซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป กำเนิดของศิลปะจินตนิยมมีส่วนมาจากการต่อต้านแนวคิดทางสังคมและการเมืองแบบเก่าของยุคแสงสว่าง รวมถึงปฏิกิริยาต่อต้านการศึกษาวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับธรรมชาติ โดยมากแนวคิดของศิลปะในยุคนี้จะสะท้อนออกมาในงานศิลปะแบบภาพวาด ดนตรี และวรรณกรรม ตัวอย่างศิลปินผู้มีชื่อเสียงในยุคจินตนิยม ได้แก่ ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน, เฟรเดริก ชอแป็ง, วิลเลียม เบลก เป็นต้น.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และศิลปะจินตนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะโรมันโบราณ

ลปะโรมัน (พ.ศ. 340 - พ.ศ. 870) แบบอย่างศิลปะโรมันปรากฏลักษณะชัดเจนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 4 เรื่อยมาจนกระทั่งประมาณ พ.ศ. 1040 โดยในช่วงเวลาหลังได้เปลี่ยนสาระเรื่องราวใหม่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ สืบต่อมาเป็นเวลาอีกนานมาก จนกระทั่งเมื่อกรุงคอนสะแตนติโนเปิลได้กลายเป็นเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิโรมัน ในปี พ.ศ. 870 ทำให้สมัยแห่งโรมันต้องสิ้นสุดลง แหล่งอารยธรรมสำคัญของโรมัน คือ อารยธรรมกรีกและอีทรัสกัน.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และศิลปะโรมันโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะโรมาเนสก์

วัดเซ็นต์ออสเตรมอยน์, อิซัว, ฝรั่งเศส ศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque art) หรือเรียกกันว่า ศิลปะนอร์มัน หมายถึงศิลปะที่เกิดขึ้นในยุโรป ราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษ 12 ศิลปะแบบโรมาเนสก์พื้นฐานของศิลปะกอธิคซึ่งเริ่มมีบทบาทเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษ 13 การศึกษาเรื่องศิลปะยุคกลาง เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษ 19 ทำให้มีการจัดแบ่งศิลปะเป็นสมัยๆ คำว่า โรมาเนสก์ เป็นคำที่ใช้บรรยายศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะ สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษ 11 ถึง 12 คำนี้ทั้งมีประโยชน์และทำให้มีความเข้าใจผิด คำนี้มาจากการที่ ช่างปั้นจากประเทศฝรั่งเศสทางไต้ไปจนถึงประเทศสเปนมีความรู้เรื่องอนุสาวรีย์แบบโรมัน แต่ศิลปะแบบโรมาเนสก์ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความคิดของศิลปะแบบโรมัน นอกจากเป็นการฟื้นฟูวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน เช่นเสาที่ใช้ในอาราม Saint-Guilhem-le-Désert หัวเสาที่วัดนี้แกะเป็นรูปใบอาแคนธัส (acanthus) ตกแต่งด้วยรอบปรุซึ่งจะพบตามอนุสาวรีย์แบบโรมัน อีกตัวอย่างหนึ่งคือเพดานวัดที่ Fuentidueña ประเทศสเปนเป็นแบบโค้งเหมือนถังไม้ (barrel vault) ซึ่งใช้กันทั่วไปในสิ่งก่อสร้างของโรมัน แม้จะเน้นความเกี่ยวข้องกับวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน นักประวัติศาสตร์ศิลปะมืได้กล่าวถึงอิทธิพลอื่นๆที่มีต่อศิลปะแบบโรมาเนสก์ เช่นศิลปะทางตอนเหนือของทวีปยุโรป และ ศิลปะไบแซนไทน์ หรือการวิวัฒนาการของ ศิลปะโรมาเนสก์เอง.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และศิลปะโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปนิก

ร่างสถาปนิก กับงานออกแบบ สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม".

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และสถาปนิก · ดูเพิ่มเติม »

อันโตน ฟัน ไดก์

"ภาพเหมือนกับดอกทานตะวัน" แสดงให้เห็นเหรียญที่พระเจ้าชาลส์ที่ 1 พระราชทานเมื่อ ค.ศ. 1633 ดอกทานตะวันอาจจะเป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดิน หรือการอุปถัมภ์หลวงSo Ellis Waterhouse (as refs below). But Levey (refs below) suggests that either van Dyck is the sun to which the sun-flower (of popular acclaim?) turns its face, or that it is the face of the King, on the medal he holds, as presented by van Dyck to the world ภาพเหมือนของครอบครัวโลเมลลี (Lomelli family) ค.ศ. 1623 ภาพเหมือนของลอร์ดจอห์น สจวต และน้องชายลอร์ดเบอร์นาร์ด สจวต--ลักษณะที่ผู้เป็นแบบมีเป็นความกันเองมากขึ้นที่ฟัน ไดก์มาวิวัฒนาการในอังกฤษ, ประมาณ ค.ศ. 1638 พระเจ้าชาลส์ที่ 1 (ราว ค.ศ. 1635) อันโตน ฟัน ไดก์ (Antoon van Dyck, Antoon van Dijck) หรือ แอนโทนี แวน ไดก์ (Anthony van Dyck; 22 มีนาคม ค.ศ. 1599 – 9 ธันวาคม ค.ศ. 1641) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวเฟลมมิชซึ่งมาเป็นจิตรกรคนสำคัญประจำราชสำนักพระเจ้าชาลส์ที่ 1ที่อังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพสีน้ำมัน โดยเฉพาะภาพเหมือน ภาพเขียนที่มีชื่อเสียงของฟัน ไดก์เป็นภาพเหมือนของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 และครอบครัวซึ่งวางท่าลักษณะสบายแต่สง่าแบบที่กลายมาเป็นแบบที่ใช้ในการเขียนภาพเหมือนต่อมาในอังกฤษเป็นเวลาราว 150 ปี นอกจากภาพเหมือนแล้ว ฟัน ไดก์ยังเขียนภาพจากพระคัมภีร์และตำนานเทพ และเป็นจิตรกรคนสำคัญผู้ริเริ่มใช้สีน้ำและกลวิธีพิมพ์กัดกรด (etching).

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และอันโตน ฟัน ไดก์ · ดูเพิ่มเติม »

จริตนิยม

ในภาพเขียน “แม่พระพระศอยาว” (Madonna with the Long Neck)-(ค.ศ. 1534-1540) โดยปาร์มีจานีโน แมนเนอริสม์แสดงโดยการทำให้สัดส่วนยาวขึ้นซึ่งทำให้มีผลต่อการวางรูปและบิดเบือนทัศนมิติไม่กระจ่างแจ้ง จริตนิยม (Mannerism) คือยุคของศิลปะของจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และการตกแต่ง ที่เริ่มตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาสมัยทึ่รุ่งเรืองที่สุดราวปี..

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และจริตนิยม · ดูเพิ่มเติม »

จอตโต ดี บอนโดเน

อตโต ดี บอนโดเน จอตโต ดี บอนโดเน (Giotto di Bondone) (ค.ศ. 1267 – 8 มกราคม ค.ศ. 1337), เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนาม จอตโต (Giotto), เป็นสถาปนิกและจิตรกรชาวอิตาลี จากเมืองฟลอเรนซ์ ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้มีส่วนสร้างสรรค์ผลงาน ที่ก่อให้เกิดกระแสใหม่ในสังคมที่นำไปสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ในที่สุด จอตโต ดี บอนโดเนเป็นจิตรกรร่วมสมัยกับจิโอวานนี วิลลานิผู้กล่าวว่าจอตโตเป็นช่างผู้มีความสามารถที่สุดในสมัยนั้น เป็นผู้วาดภาพตามกฎของธรรมชาติ และจอตโตได้รับเงินเดีอนจากรัฐบาลเมืองฟลอเรนซ์เนื่องมาจากความสามารถBartlett, Kenneth R. (1992).

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และจอตโต ดี บอนโดเน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเปอร์เชีย

ักรวรรดิเปอร์เชีย (Persian Empire) คือจักรวรรดิและอาณาจักรต่างๆในประวัติศาสตร์ของเปอร์เชียที่ปกครองต่อเนื่องกันมาในบริเวณที่ราบสูงอิหร่าน, ถิ่นกำเนิดของเปอร์เชีย และไกลไปทางเอเชียตะวันตก, เอเชียใต้, เอเชียกลาง และ บริเวณคอเคซัส จักรวรรดิเปอร์เชียจักรวรรดิแรกก่อตั้งภายใต้จักรวรรดิมีเดีย (728–559 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หลังจากการโค่นจักรวรรดิอัสซีเรียด้วยความช่วยเหลือของบาบิโลเนีย จักรวรรดิเปอร์เชียอคีเมนียะห์ (550–330 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และมารุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าดาไรอัสมหาราช และ พระเจ้าเซอร์ซีสมหาราช — ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นศัตรูคนสำคัญของรัฐกรีกโบราณ (ดู สงครามกรีก-เปอร์เชีย) บริเวณที่ตั้งเดิมอยู่ในบริเวณที่ในปัจจุบันรู้จักกันว่าจังหวัดพาร์ส (จังหวัดฟาร์ส) ในประเทศอิหร่านปัจจุบัน จักรวรรดิเปอร์เชียก่อตั้งภายใต้พระเจ้าไซรัสมหาราชผู้ทรงยึดจักรวรรดิจากชนมีดีส (Medes) และทรงขยายดินแดนออกไปทางตะวันออกกลางที่รวมทั้งดินแดนของบาบิโบเนีย, อัสซีเรีย, ฟินิเซีย และ ลิเดีย หลังจากนั้นพระเจ้าแคมไบซีสที่ 2 แห่งเปอร์เชีย (Cambyses II of Persia) พระราชโอรสในพระเจ้าไซรัสก็ทรงดำเนินนโยบายการขยายดินแดนต่อไปยังอียิปต์ จักรวรรดิอคีเมนียะห์มาสิ้นสุดลงระหว่างสงครามอเล็กซานเดอร์มหาราช แต่ก็มาฟื้นตัวอีกครั้งในรูปของจักรวรรดิพาร์เธียน และ จักรวรรดิซาสซานิยะห์ แห่ง อิหร่าน ที่ตามมาด้วยยุคประวัติศาสตร์หลังศาสนาอิสลามของจักรวรรดิต่างๆ เช่น จักรวรรดิทาฮิริยะห์, จักรวรรดิซาฟาริยะห์, จักรวรรดิไบอิยะห์, จักรวรรดิซามานิยะห์, จักรวรรดิกาสนาวิยะห์, จักรวรรดิเซลจุค และ จักรวรรดิควาเรซเมีย มาจนถึงอิหร่านปัจจุบัน จักรวรรดิต่างๆ ที่รุ่งเรืองต่อเนื่องกันมาในเกรตเตอร์อิหร่าน ก่อนเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และจักรวรรดิเปอร์เชีย · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

การแต่งงานของเวอร์จินแมรี” ภาพ “พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (Italian Renaissance painting) คือสมัยประวัติศาสตร์ของจิตรกรรมที่เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เกิดขึ้นในบริเวณของประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นแบ่งการปกครองเป็นอาณาบริเวณต่างๆ จิตรกรในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีแม้ว่าจะขึ้นอยู่กับราชสำนักหรือสำนัก หรือเมือง แต่ก็มีโอกาสได้ท่องเที่ยวอย่างกว้างไกลไปทั่วอิตาลี และมักจะได้รับฐานะเป็นทูตในการเผยแพร่อิทธิพลความคิดทั้งทางศิลปะและปรัชญา เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและโดยเฉพาะในสาขาจิตรกรรมก็คือเมืองฟลอเรนซ์ที่อ่านประกอบได้ในบทความ “ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา”, ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี และ “สถาปัตยกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา” จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีแบ่งเป็นสี่สมัย.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมเฟลมิช

ตรกรรมเฟลมิช (Flemish painting) รุ่งเรืองตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 บริเวณฟลานเดอส์เป็นบริเวณที่มีจิตรกรสำคัญ ๆ ทางตอนเหนือของยุโรปและเป็นที่ดึงดูดจิตรกรจากประเทศข้างเคียง จิตรกรเหล่านี้นอกจากจะมีผลงานในฟลานเดอส์แล้วยังได้รับการเชิญให้ไปเป็นช่างเขียนประจำราชสำนักและสำนักต่าง ๆ ในยุโรป.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และจิตรกรรมเฟลมิช · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก

ตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก (Early Netherlandish painting) เป็นงานจิตรกรรมของจิตรกรในบริเวณกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ของสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาตอนเหนือโดยเฉพาะในบริเวณเมืองบรูชและเกนต์ ที่เริ่มในช่วงเวลาเดียวกับที่ยัน ฟัน ไอก์ เริ่มอาชีพเป็นจิตรกร ฟัน ไอก์มีชื่อเสียงจนกระทั่งได้รับชื่อว่าเป็นจิตรกรอะเพลลีสคนใหม่ของยุโรปตอนเหนือ เรื่อยมาจนถึงภาพเขียนโดยกาเริล ฟัน มันเดอร์ (Karel van Mander) ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และมาจบลงด้วยเคราร์ด ดาฟิด ราว ค.ศ. 1520 ยุคนี้เป็นช่วงเวลาไล่เลี่ยกับสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีตอนต้นและตอนสูง แต่เป็นขบวนการศิลปะที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ต่างจากลัทธิมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์ที่รุ่งเรืองในเวลาเดียวกันในตอนกลางของอิตาลีJanson, H.W. Janson's History of Art: Western Tradition.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก · ดูเพิ่มเติม »

ตารางเมตร

ตารางเมตร คือ หน่วยอนุพันธ์ระบบเอสไอของพื้นที่ มักย่อว่า ตร.ม. หรือสัญลักษณ์ ม.2 จากภาษาอังกฤษ m2 1 ตารางเมตร มีค่าเท่ากับ.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และตารางเมตร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และปารีส · ดูเพิ่มเติม »

ปาโอโล เวโรเนเซ

ปาโอโล เวโรเนเซ (Paolo Veronese) หรือ ปาโอโล กาลยารี (Paolo Cagliari; ค.ศ. 1528 - 19 เมษายน ค.ศ. 1588) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีที่ทำงานอยู่ในเวนิสในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนังและจิตรกรรมสีน้ำมัน งานชิ้นสำคัญของเวโรเนเซก็ได้แก่ "งานแต่งงานที่เคนา" และ "งานเลี้ยงที่บ้านของลีวาย" (The Feast in the House of Levi) เวโรเนเซใช้ชื่อ "ปาโอโล กาลยารี" และมารู้จักกันว่า "ปาโอโล เวโรเนเซ" ตามชื่อเมืองเกิดที่เวโรนาในประเทศอิตาลี เวโรเนเซ, ทิเชียน และตินโตเรตโต เป็นจิตรกรคนสำคัญสามคนของเวนิสในปลายสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เวโรเนเซมีชื่อเสียงในการใช้สีและการเขียนตกแต่งแบบลวงตาทั้งในการเขียนจิตรกรรมฝาผนังและจิตรกรรมสีน้ำมัน งานเขียนสำคัญของเวโรเนเซเป็นงานเขียนที่เต็มไปด้วยนาฏกรรมและการใช้สีแบบจริตนิยม (mannerist) เต็มไปด้วยฉากสถาปัตยกรรมและขบวนที่หรูหรา งานเขียนชิ้นใหญ่ของงานเลี้ยงฉลองในคัมภีร์ไบเบิลที่เขียนสำหรับหอฉัน (refectory) ของสำนักสงฆ์ในเวนิสและเวโรนาเป็นงานเขียนชิ้นสำคัญที่ควรจะกล่าวถึง.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และปาโอโล เวโรเนเซ · ดูเพิ่มเติม »

นีกอลา ปูแซ็ง

นีกอลา ปูแซ็ง (Nicolas Poussin; 15 มิถุนายน ค.ศ. 1594 - 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1665) เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมสีน้ำมัน ปูแซ็งเกิดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1594 ที่เมืองเลซ็องเดอลีในนอร์ม็องดีในประเทศฝรั่งเศส และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1665 ลักษณะการเขียนเป็นแบบคลาสสิกซิสม์ งานของปูแซ็งเจะชัดเจน มีเหตุผลและมีระเบียบและนิยมเส้นมากกว่าสี ปูแซ็งมีอิทธิพลต่อจิตรกรที่มีลักษณะเขียนไปทางคลาสสิกมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เช่น ฌัก-หลุยส์ ดาวีด, ปอล เซซาน ปูแซ็งใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วงทำงานเขียนในกรุงโรม นอกจากช่วงที่คาร์ดินัลรีเชอลีเยอ (Cardinal Richelieu) เรียกตัวกลับมาฝรั่งเศสเพื่อมาเป็นเป็นจิตรกรเอกประจำราชสำนักพระเจ้าแผ่นดินฝรั่ง.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และนีกอลา ปูแซ็ง · ดูเพิ่มเติม »

แดน บราวน์

แดน บราวน์ (Dan Brown) นักเขียนชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงกว้างขวางจากผลงานนิยายสืบสวนสอบสวนอิงประวัติศาสตร์อย่าง รหัสลับดาวินชี.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และแดน บราวน์ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์

อีล-เดอ-ฟร็องส์ (Île-de-France) เป็นหนึ่งในแคว้น 18 แคว้นของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่บริเวณกลางประเทศเยื้องไปทางทางทิศเหนือ.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ · ดูเพิ่มเติม »

โมนาลิซา

มนาลิซา (Mona Lisa) หรือ ลาโจกอนดา (La Gioconda) หรือ ลาโชกงด์ (La Joconde) คือภาพวาดสีน้ำมัน สูง 77 เซนติเมตร กว้าง 53 เซนติเมตร วาดโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ระหว่าง พ.ศ. 2046 (ค.ศ. 1503) ถึงปี พ.ศ. 2050 (ค.ศ. 1507) เป็นภาพที่มีชื่อเสียงทั่วโลกภาพหนึ่ง เป็นที่รู้จักในฐานะภาพของสุภาพสตรีที่มีรอยยิ้มอันเป็นปริศนา ที่ไม่รู้ว่าเธอจะยิ้ม หัวเราะ หรือร้องไห้กันแน่ ปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของรัฐบาลฝรั่งเศส และเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (Musée du Louvre) กรุงปารีส ประเทศฝรั่ง.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และโมนาลิซา · ดูเพิ่มเติม »

โรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน

รเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน (Rogier van der Weyden) หรือ รอฌีเย เดอ เลอ ปัสตูร์ (Rogier de le Pasture; ค.ศ. 1399/ค.ศ. 1400 - 18 มิถุนายน ค.ศ. 1464) เป็นจิตรกรคนสำคัญของจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกของประเทศเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เขาเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมันและการเขียนบานพั.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และโรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน · ดูเพิ่มเติม »

โดเมนีโก กีร์ลันดาโย

มนีโก กีร์ลันดาโย (Domenico Ghirlandaio) หรือ โดเมนีโก ดี ตอมมาโซ กูร์ราดี ดี ดอฟโฟ บีกอร์ดี (Domenico di Tommaso Curradi di Doffo Bigordi; ค.ศ. 1449 - 11 มกราคม ค.ศ. 1494) เป็นจิตรกรสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง และการเขียนด้วยสึฝุ่นบนไม้ โดเมนีโกเป็นจิตรกรร่วมสมัยกับซันโดร บอตตีเชลลี และฟิลิปปินโน ลิบปี และมีลูกศิษย์หลายคนรวมทั้งมีเกลันเจโล.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และโดเมนีโก กีร์ลันดาโย · ดูเพิ่มเติม »

ไอ. เอ็ม. เพ

อ.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และไอ. เอ็ม. เพ · ดูเพิ่มเติม »

เลโอนาร์โด ดา วินชี

ลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี (เกิดที่เมืองวินชี วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1452 - เสียชีวิตที่เมืองออมบัวซ์ ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519) เป็นอัจฉริยบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย เป็นทั้ง สถาปนิกแบบเรอเนซองส์ นักดนตรี นักกายวิภาคศาสตร์ นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ นักดาราศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ ดา วินชี มีงานศิลปะที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น เช่น พระกระยาหารมื้อสุดท้าย และ โมนา ลิซ่า งานของ ดา วินชี ยังสร้างคุณประโยชน์กับวิชากายวิภาคศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นบุคคลแรกที่วางรากฐานด้านการบิน รวมถึงวิศวกรรมโยธา ด้วยความที่เป็นบุรุษที่มีจิตวิญญาณที่รักในศาสตร์หลายแขนง เลโอนาร์โดทำให้เกิดจิตวิญญาณของสหวิทยาการในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และกลายเป็นบุคคลสำคัญของยุคนั้น นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการหลายคนต่างยกย่องเลโอนาร์โดเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลมและเป็นผู้รู้รอบด้าน หรือ "ชายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา" (Renaissance Man) บุคคลที่มี "ความอยากรู้อยากเห็นอย่างไม่มีข้อกังขา" และ "จินตนาการที่สร้างสรรค์ขึ้นเรื่อย ๆ".

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และเลโอนาร์โด ดา วินชี · ดูเพิ่มเติม »

เวนิส

วนิส (Venice) หรือ เวเน็ตเซีย (Venezia) เป็นเมืองหลักของแคว้นเวเนโต ประเทศอิตาลี มีประชากร 271,663 คน (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม 2547) เมืองเวนิสได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งทะเลเอเดรียติก (Queen of the Adriatic), เมืองแห่งสายน้ำ (City of Water), เมืองแห่งสะพาน (City of Bridges) และเมืองแห่งแสงสว่าง (The City of Light) เมืองเวนิสถูกสร้างขึ้นจากการเชื่อมเกาะเล็กๆ จำนวนมากเข้าด้วยกันในบริเวณทะเลสาบเวนิเทีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเอเดรียติก ในภาคเหนือของประเทศอิตาลี ทะเลสาบน้ำเค็มนี้ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งระหว่างปากแม่น้ำโปกับแม่น้ำปลาวี มีผู้อยู่อาศัยโดยประมาณ 272,000 คน ซึ่งนับรวมหมดทั้งเวนิส โดยมี 62,000 คนในบริเวณเมืองเก่า 176,000 คนในแตร์ราแฟร์มา (Terraferma) และ 31,000 คนในเกาะอื่น ๆ ในทะเล.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และเวนิส · ดูเพิ่มเติม »

เออแฌน เดอลาครัว

วาดตัวเอง พ.ศ. 2380 (ค.ศ. 1837) แฟร์ดีน็อง-วิกตอร์-เออแฌน เดอลาครัว เป็นศิลปินชาวฝรั่งเศส เขาสามารถเรียนจากงานของยุคอื่นๆ เขานับถือการใช้สีของราฟาเอล และพลังวาดภาพอย่างเต็มที่ของแรมบรังด์และรูเบนส์ การศึกษางานของปีเตอร์ พอล รูเบนส์อย่างใกล้ชิดของเขาทำให้เขาพัฒนารูปแบบภาพวาดที่ทิ้งความเข้มงวดของยุคคลาสสิก นำค่าแท้จริงของสีกลับมา เดอลาครัวมีอำนาจวาสนาจากคลาสสิก ศิลปะของเขาให้ทางเข้าตรงไปสู่สถานะทางอารมณ์ภายใน ดังนั้นมันกลายเป็นบางอย่างที่ศิลปะสมัยใหม่ (Modernism) จะเอาทิศทางมาจากมัน ศิลปะซึ่งปล่อยตัวมันเองให้เป็นอิสระอย่างเพิ่มขึ้นจากความจริงเพื่อหาค่าแท้จริงของมัน ราบเรียบ นามธรรมและเต็มไปด้วยอารมณ.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์และเออแฌน เดอลาครัว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

LouvreLouvre MuseumMusée du Louvreลูฟร์พิพิธภัณฑสถานลูฟร์พิพิธภัณฑ์ลูฟร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »