โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พินอินและหลี่ น่า

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พินอินและหลี่ น่า

พินอิน vs. หลี่ น่า

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน. หลี่ น่า เป็นนักเทนนิสหญิงชาวจีนจากเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ปัจจุบันเป็นนักเทนนิสหญิงมืออันดับ 2 ของโลก จัดอันดับโดยดับเบิลยูทีเอ หลี่ชนะรายการเทนนิสหญิงเดี่ยวในระดับดับเบิลยูทีเอมาแล้ว 7 ครั้ง และระดับไอทีเอฟ 19 ครั้ง หลี่เป็นผู้ชนะเลิศเทนนิสเฟรนช์โอเพน รายการระดับแกรนสแลมด์ประเภทหญิงเดี่ยวประจำปี 2011 โดยเอาชนะฟรานเชสกา สเคียโวเนจากอิตาลีในรอบชิงชนะเลิศ 6–4, 7–6(0) เป็นนักเทนนิสชาวเอเชียคนแรกที่ชนะเลิศเทนนิสแกรนด์สแลม ก่อนหน้านั้นเธอเคยพ่ายแพ้คิม ไคลจ์สเตอร์ในรอบชิงชนะเลิศเทนนิสออสเตรเลียนโอเพนประจำปี 2011 ทำให้เธอเป็นนักเทนนิสชาวเอเชียคนแรกที่เข้าถึงรอบชิงชนะเลิศเทนนิสแกรนด์สแลม และเธอยังคว้าอันดับ 4 ในการแข่งขัน ต่อมาในเทนนิสออสเตรเลียนโอเพนประจำปี 2013 เธอก็สามาจผ่านเข้ารอบชีงชนะเลิศอีกคั้งแต่ก็ต้องพ่ายแพ้ให้กับคู่ปรับอย่างวิคตอเรีย อซาเรนกาไปอย่างน้าเสียดายทั้งที่นำคู่แข่ง 1-0 แซต และ พ่ายไปด้วยสกอร์ 6–4, 4–6, 3–6.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พินอินและหลี่ น่า

พินอินและหลี่ น่า มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พินอินและหลี่ น่า

พินอิน มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ หลี่ น่า มี 10 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (13 + 10)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พินอินและหลี่ น่า หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »