พินอินและหยู เหวินเล่อ
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง พินอินและหยู เหวินเล่อ
พินอิน vs. หยู เหวินเล่อ
นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน. หยู เหวินเล่อ (อักษรจีนตัวเต็ม: 余文樂, อักษรจีนตัวย่อ: 余文乐, พินอิน: yu2 wen2 le4) หรือที่นิยมเรียกในชื่อภาษาอังกฤษว่า ชอว์น หยู (Shawn Yue) ดารานักแสดงและนักร้องชาวฮ่องกง เกิดวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1981 หยู เหวินเล่อ เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการเป็นนายแบบพาร์ทไทม์ หลังจากค้นพบโดยตัวแทนจาก บริษัทโมเดลลิ่ง ขณะเดินช็อปปิ้งกับเพื่อน และเป็นนายแบบเต็มตัวหลังจากเรียนจบมัธยมและกลายเป็นนายแบบยอดนิยมในเวลาไม่นาน (ร่วมรุ่นกับ เซียะ ถิงฟง) ต่อมาก็ได้มีโอกาสแสดงซีรีส์ของไต้หวันและออกอัลบั้มเพลง โดยได้รับกล่าวขานว่าเป็นนักแสดงดาวรุ่ง เมื่อมีโอกาสได้แสดงในภาพยนตร์หลายเรื่อง ได้แก่ Just One Look, Infernal Affairs, Infernal Affairs II, The New Option, Feel 100% 2003, Next Station – Tin Hau, Left Hand และ Initial D โดยเฉพาะใน Infernal Affairs II ที่ได้แสดงเป็น "เหยิน" ในวัยรุ่น ทำให้ชื่อเสียงของหยู เหวินเล่อ เป็นที่จดจำมากขึ้น ในปี ค.ศ. 2008 ได้มีโอกาสแสดงในภาพยนตร์ของอเมริกาและฝรั่งเศสเรื่อง I Come with the Rain ทำให้เป็นที่รู้จักในสากลมากขึ้น ในปี ค.ศ. 2010 หยู เหวินเล่อ ได้แสดงในภาพยนตร์ไทยเรื่อง My Best Bodyguard ร่วมกับนักแสดงชาวไทยหลายคน อาทิ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี, ชาคริต แย้มนาม และ ธีรภัทร์ สัจจกุล และเป็นนักแสดงรับเชิญในบทนายพลผู้กู้ชาติจีน ใน Legend of the Fist: The Return of Chen Zhen และ Reign of Assassins.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พินอินและหยู เหวินเล่อ
พินอินและหยู เหวินเล่อ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ พินอินและหยู เหวินเล่อ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง พินอินและหยู เหวินเล่อ
การเปรียบเทียบระหว่าง พินอินและหยู เหวินเล่อ
พินอิน มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ หยู เหวินเล่อ มี 34 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (13 + 34)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พินอินและหยู เหวินเล่อ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: