โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พันธุศาสตร์และอาหารดัดแปรพันธุกรรม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พันธุศาสตร์และอาหารดัดแปรพันธุกรรม

พันธุศาสตร์ vs. อาหารดัดแปรพันธุกรรม

ีเอ็นเอเป็นโมเลกุลพื้นฐานของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ดีเอ็นเอแต่ละสายประกอบขึ้นจากสายโซ่นิวคลีโอไทด์จับคู่กันรอบกึ่งกลางกลายเป็นโครงสร้างที่ดูเหมือนบันไดซึ่งบิดเป็นเกลียว พันธุศาสตร์ (genetics) เป็นอีกสาขาหนึ่งของชีววิทยา ศึกษาเกี่ยวกับยีน การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม และความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต พันธุศาสตร์ว่าด้วยโครงสร้างเชิงโมเลกุลและหน้าที่ของยีน พฤติกรรมของยีนในบริบทของเซลล์สิ่งมีชีวิต (เช่น ความเด่นและอีพิเจเนติกส์) แบบแผนของการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น การกระจายของยีน ความแตกต่างทางพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต (เช่นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของยีนตลอดทั่วทั้งจีโนม) เมื่อถือว่ายีนเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด พันธุศาสตร์จึงเป็นวิชาที่นำไปใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งไวรัส แบคทีเรีย พืช สัตว์ และมนุษย์ (เวชพันธุศาสตร์) ได้มีการสังเกตมาแต่โบราณแล้วว่าสิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นความรู้ที่มนุษย์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ด้วยวิธีการคัดเลือกพันธุ์ อย่างไรก็ดี ความรู้พันธุศาสตร์สมัยใหม่ที่ว่าด้วยการพยายามทำความเข้าใจกระบวนการการถ่ายทอดลักษณะเช่นนี้เพิ่งเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเกรเกอร์ เมนเดล แม้เขาไม่สามารถศึกษาเจาะลึกไปถึงกระบวนการทางกายภาพของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม แต่ก็ค้นพบว่าลักษณะที่ถ่ายทอดนั้นมีแบบแผนจำเพาะ กำหนดได้ด้วยหน่วยพันธุกรรม ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า ยีน ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว ลำดับนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดนี้คือข้อมูลทางพันธุกรรมที่ถูกเก็บและมีการถ่ายทอดในสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอตามธรรมชาติอยู่ในรูปเกลียวคู่ โดยนิวคลีโอไทด์บนแต่ละสายจะเป็นคู่สมซึ่งกันและกันกับนิวคลีโอไทด์บนสายดีเอ็นเออีกสายหนึ่ง แต่ละสายทำหน้าที่เป็นแม่แบบในการสร้างสายคู่ขึ้นมาได้ใหม่ นี่คือกระบวนการทางกายภาพที่ทำให้ยีนสามารถจำลองตัวเอง และถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ ลำดับของนิวคลีโอไทด์ในยีนจะถูกแปลออกมาเป็นสายของกรดอะมิโน ประกอบกันเป็นโปรตีน ซึ่งลำดับของกรดอะมิโนที่มาประกอบกันเป็นโปรตีนนั้นถ่ายทอดออกมาจากลำดับของนิวคลีโอไทด์บนดีเอ็นเอ ความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของนิวคลีโอไทด์และลำดับของกรดอะมิโนนี้เรียกว่ารหัสพันธุกรรม กรดอะมิโนแต่ละชนิดที่ประกอบขึ้นมาเป็นโปรตีนช่วยกำหนดว่าสายโซ่ของกรดอะมิโนนั้นจะพับม้วนเกิดเป็นโครงสร้างสามมิติอย่างไร โครงสร้างสามมิตินี้กำหนดหน้าที่ของโปรตีนนั้น ๆ ซึ่งโปรตีนมีหน้าที่ในกระบวนการเกือบทั้งหมดของเซลล์สิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับดีเอ็นเอในยีนยีนหนึ่ง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับกรดอะมิโนในโปรตีน เปลี่ยนโครงสร้างโปรตีน เปลี่ยนการทำหน้าที่ของโปรตีน ซึ่งอาจส่งผลต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้อย่างมาก แม้พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจะมีบทบาทมากในการกำหนดลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แต่ผลสุดท้ายแล้วตัวตนของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ เป็นผลที่ได้จากการผสมผสานกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ประสบ ตัวอย่างเช่น ขนาดของสิ่งมีชีวิตไม่ได้ถูกกำหนดโดยยีนเพียงอย่างเดียว แต่ได้รับผลจากอาหารและสุขภาพของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ด้วย เป็นต้น. อาหารดัดแปรพันธุกรรม (genetically modified foods หรือ GM foods) เป็นอาหารที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตที่ดีเอ็นเอของมันมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างโดยใช้วิธีการทางพันธุวิศวกรรม เทคนิคเหล่านี้ทำให้เกิดลักษณะทางพันธุกรรมใหม่ซึ่งทำให้ต้องมีการควบคุมมากยิ่งขึ้นกว่าการสร้างทางพันธุกรรมในอาหารแบบเก่าก่อนหน้านี้โดยวิธีการเช่นการปรับปรุงพันธุ์แบบคัดเลือก (selective breeding) และการปรับปรุงพันธุ์แบบกลายพันธุ์ (mutation breeding) การนำออกสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ของพืชดัดแปรพันธุกรรมได้เริ่มต้นขึ้นในปี 1994 เมื่อบริษัท Calgene วางตลาด Flavr SAVR (มะเขือเทศสุกช้า) เป็นครั้งแรก จนถึงปัจจุบัน การดัดแปรพันธุกรรมของอาหารส่วนใหญ่ได้เน้นหลักในพืชทำเงินที่มีความต้องการสูงโดยเกษตรกรเช่นถั่วเหลืองดัดแปลง ข้าวโพดดัดแปลง คาโนลา และน้ำมันเมล็ดฝ้าย พืชเหล่านี้ได้รับการดัดแปลงให้มีความต้านทานต่อเชื้อโรคและสารเคมีกำจัดวัชพืชและมีรูปแบบของสารอาหารที่ดีกว่า ปศุสัตว์ก็ได้รับการพัฒนาดัดแปลงแบบทดลองเช่นกัน แม้ว่า ณ เดือนพฤศจิกายน 2013 ยังไม่มีอยู่ในตลาด มีฉันทามติทางวิทยาศาสตร์ในวงกว้างว่าอาหารในตลาดที่ได้มาจากพืชจีเอ็มโอไม่ได้แสดงความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์มากไปกว่าอาหารธรรมดาAmerican Association for the Advancement of Science (AAAS), Board of Directors (2012).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พันธุศาสตร์และอาหารดัดแปรพันธุกรรม

พันธุศาสตร์และอาหารดัดแปรพันธุกรรม มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พันธุวิศวกรรมสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม

พันธุวิศวกรรม

ันธุวิศวกรรม หรือ วิศวกรรมพันธุศาสตร์ (Genetic engineering), หรือที่เรียกว่า "การดัดแปลงพันธุกรรม" (genetic modification) คือการยักย้ายถ่ายเทโดยตรงของจีโนมของสิ่งมีชีวิตโดยใช้เทคโนโลยีชีว.

พันธุวิศวกรรมและพันธุศาสตร์ · พันธุวิศวกรรมและอาหารดัดแปรพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม

กลฟิช (GloFish) สัตว์ดัดแปรพันธุกรรมอย่างแรกที่มีขายเป็นสัตว์เลี้ยง สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (genetically modified organism, GMO) คือ สิ่งมีชีวิตที่องค์ประกอบทางพันธุกรรมถูกดัดแปลงโดยใช้กลวิธีทางพันธุวิศวกรรม จีเอ็มโอเป็นแหล่งของยาและอาหารดัดแปรพันธุกรรมและมีใช้แพร่หลายในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และในการผลิตสินค้าอื่น คำว่าจีเอ็มโอคล้ายกับศัพท์กฎหมายเฉพาะวงการ "สิ่งมีชีวิตดัดแปรที่ยังมีชีวิต" (living modified organism) ที่นิยามว่า "สิ่งมีชีวิตที่ยังมีชีวิตใด ๆ ที่มีการรวมสารพันธุกรรมใหม่ที่ได้มาโดยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่" ในพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ (Cartagena Protocol on Biosafety) ที่กำกับการค้าจีเอ็มโอที่ยังมีชีวิตระหว่างประเทศ หนูดัดแปรพันธุกรรมตัวแรกกำเนิดในปี 2524 พืชต้นแรกผลิตในปี 2526 และมนุษย์ดัดแปรพันธุกรรมคนแรก (ดีเอ็นเอไมโทคอนเดรียดัดแปร) เกิดเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2540.

พันธุศาสตร์และสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม · สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมและอาหารดัดแปรพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พันธุศาสตร์และอาหารดัดแปรพันธุกรรม

พันธุศาสตร์ มี 136 ความสัมพันธ์ขณะที่ อาหารดัดแปรพันธุกรรม มี 5 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 1.42% = 2 / (136 + 5)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พันธุศาสตร์และอาหารดัดแปรพันธุกรรม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »