โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์

ดัชนี พันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์

ันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์ หมายถึง ข้อตกลงระหว่างสหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง ในความร่วมมือระหว่างกันในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกโจมตีโดยประเทศในทวีปยุโรป ตามข้อตกลงลับในข้อตกลง "ประเทศในทวีปยุโรป" นี้เป็นที่เข้าใจว่าคือ เยอรมนี.

17 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2464พ.ศ. 2482พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์กองทัพแดงการทรยศโดยชาติตะวันตกกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพลอนดอนสหราชอาณาจักรสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2ความตกลงมิวนิกฉนวนโปแลนด์ประเทศกรีซประเทศโรมาเนียปารีสนาซีเยอรมนีเสรีนครดันท์ซิช4 พฤษภาคม

พ.ศ. 2464

ทธศักราช 2464 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1921 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์และพ.ศ. 2464 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2482

ทธศักราช 2561 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1939.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์และพ.ศ. 2482 · ดูเพิ่มเติม »

พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์

นธิสัญญาพันธมิตรทางการทหารระหว่างฝรั่งเศส-โปแลนด์ มักจะหมายถึง พันธมิตรทางการทหารระหว่างสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สองกับฝรั่งเศส ซึ่งมีผลอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1921 - ค.ศ. 1940.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์และพันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพแดง

accessdate.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์และกองทัพแดง · ดูเพิ่มเติม »

การทรยศโดยชาติตะวันตก

แฟรงกลิน โรสเวลต์ และโจเซฟ สตาลิน การทรยศโดยชาติตะวันตก (Western betrayal) หรืออาจใช้ว่า การทรยศที่ยัลตา (Yalta betrayal) เป็นคำที่มักจะใช้กันในกลุ่มประเทศยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโปแลนด์และเช็กเกีย ซึ่งหมายความถึงนโยบายด้านการต่างประเทศของกลุ่มประเทศตะวันตกหลายประเทศ ซึ่งได้ละเลยสนธิสัญญาพันธมิตรและข้อตกลงหลายฉบับนับตั้งแต่สนธิสัญญาแวร์ซาย สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ไปจนถึงสมัยสงครามเย็น ซึ่งมีสาเหตุมาจากการหลอกลวงและการทรยศ ในการใช้คำว่า "การทรยศ" นี้ เป็นผลมาจากความจริงที่ว่า ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก ซึ่งแม้ว่าจะได้สนับสนุนให้เกิดระบอบประชาธิปไตยและการวางนโยบายด้วยตนเอง ได้ลงนามในสนธิสัญญาและก่อตั้งพันธมิตรทางการทหารทั้งก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กระนั้น ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกกลับทรยศพันธมิตรของตนในยุโรปกลางโดยการละเลยที่จะปฏฺบัติตามข้อผูกมัดตามสนธิสัญญานั้น ยกตัวอย่างเช่น ไม่ช่วยป้องกันนาซีเยอรมนีจากการยึดครองเชโกสโลวาเกีย แต่กลับยกให้ในข้อตกลงมิวนิก (ค.ศ. 1938) หรือการทอดทิ้งโปแลนด์ในรับมือกับเยอรมนีและสหภาพโซเวียตตามลำพังระหว่างการบุกครองโปแลนด์ (ค.ศ. 1939) และการลุกฮือในกรุงวอร์ซอ ในปี ค.ศ. 1944 นอกจากนี้ ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกยังได้ลงนามในข้อตกลงยัลตา และภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ไม่ให้การป้องกันหรือยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือรัฐเหล่านี้จากการตกอยู่ภายใต้อิทธิพลและการควบคุมของสหภาพโซเวียต และระหว่างการปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956 ฮังการีก็ไม่ได้รับทั้งการสนับสนุนทั้งทางทหารและการสนับสนุนในด้านกำลังใจจากฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกเลย และทำให้การปฏิวัติถูกปราบปรามโดยกองทัพแดงในที่สุด สถานการณ์เดียวกันเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1968 เมื่อกองทัพร่วมของกลุ่มประเทศสนธิสัญญาวอร์ซอเพื่อกำจัดยุคฤดูใบไม้ผลิปรากในเชโกสโลวาเกีย และยุติการเปลี่ยนแปลงการปกครองกลับมาสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ดังเดิม ดังที่ได้เกิดความกังวลในการประชุมยัลตา แนวคิดของมันก็ถูกโต้เถียงกัน โดยนักประวัติศาสตร์มองว่าการที่นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิลล์ และประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากยอมรับความต้องการของผู้นำโซเวียต โจเซฟ สตาลิน ทั้งในการประชุมเตหะรานและในการประชุมครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกเองก็ได้ประเมินอำนาจของสหภาพโซเวียตผิดไปบ้าง เช่นเดียวกับที่ประเมินนาซีเยอรมนีผิดไปหนึ่งทศวรรษก่อนหน้านั้น แต่ผู้สนับสนุนการประชุมยอลตามีแนวคิดว่า การประชุมในครั้งนี้เป็นการทรยศกลุ่มประเทศในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก โดยไม่มีการพิจารณาถึงชะตากรรมของโปแลนด์ในอนาคต กองกำลังโปแลนด์ถือเป็นกองกำลังที่ต่อสู้กับนาซีเยอรมนีเป็นเวลายาวนานกว่าประเทศอื่นใดในสงครามโลกครั้งที่สอง และทำการรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับกองกำลังสหรัฐอเมริกา อังกฤษและโซเวียตในการทัพที่สำคัญหลายครั้ง รวมไปถึงในยุทธการที่เบอร์ลินครั้งสุดท้าย ซึ่งกองกำลังติดอาวุธโปแลนด์ทางตะวันตกมีจำนวนกว่า 249,000 นาย (กองทัพสัมพันธมิตรตะวันตกมีจำนวนกว่า 4 ล้านนาย) และ 180,000 นายทางตะวันออก (กองทัพโซเวียตมีจำนวนกว่า 6 ล้านนาย) และมีอีกกว่า 300,000 นายที่ทำการรบใต้ดิน หรือในกองกำลังกู้ชาติ ในตอนปลายสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพโปแลนด์มีจำนวนกว่า 600,000 นาย โดยที่ไม่นับกองกำลังกู้ชาติhttp://www.ww2.pl/Polish,contribution,to,the,Allied,victory,in,World,War,2,(1939-1945),132.html ซึ่งทำให้โปแลนด์มีกองกำลังขนาดใหญ่เป็นอันดับสี่ในสงคราม รองมาจากสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร รัฐบาลผลัดถิ่นโปแลนด์เป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ แต่กระนั้นประธานาธิบดีโรสเวลต์ก็ยังนิ่งนอนใจได้เมื่อรัฐบาลโปแลนด์ถูกแทนที่ด้วยรัฐบาลหุ่นของโซเวียต โดยได้มีข้อสังเกตว่าโรสเวลต์ได้วางแผนที่จะมอบโปแลนด์ให้กับสตาลิน นักประวัติศาสตร์คนอื่น ๆ เสนอว่า เชอร์ชิลล์กระตุ้นให้โรสเวลต์ดำเนินกิจการทางทหารต่อในทวีปยุโรป แต่ต่อต้านสหภาพโซเวียต เพื่อป้องกันการแสวงหาดินแดนเพิ่มเติมจากพรมแดนของตน รูสเวลต์ดูเหมือนว่าจะเชื่อใจในการรับประกันของสตาลินและปฏิเสธที่จะสนับสนุนเจรนาของเชอร์ชิลล์ในการรักษาเสรีภาพของทวีปยุโรปนอกเหนือจากอิทธิพลของสหภาพโซเวียต โดยปราศจากการหนุนหลังของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรที่เหนื่อยอ่อน อดอยาก และแทบจะสิ้นเนื้อประดาตัวจึงไม่สามารถดำเนินการตามที่ตั้งใจเอาไว้ และถึงแม้ว่าจะมีการหนุนหลังจากสหรัฐอเมริกาก็ตาม ผลจากกิจการทางทหารนั้นก็ยังคงไม่แน่นอนอยู่มาก.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์และการทรยศโดยชาติตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ

นื้อหาของข้อตกลงลับ (เป็นภาษาเยอรมัน) กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ (Molotov–Ribbentrop Pact) เป็นสนธิสัญญาที่ได้ชื่อตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของโซเวียต วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของนาซีเยอรมนี โยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ โดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า กติกาสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนีกับสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (German–Soviet Non-aggression Pact) และได้รับการลงนามในกรุงมอสโก เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 24 สิงหาคม 1939 (แต่ในกติกาสัญญาระบุเป็นวันที่ 23 สิงหาคม)Blank Pages by G.C.Malcher ISBN 1-897984-00-6 Page 7 ความตกลงดังล่าวเป็นการประกาศวางตัวเป็นกลางหากภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกโจมตีโดยประเทศที่สาม ภาคีผู้ลงนามทั้งสองสัญญาจะไม่เข้าร่วมกลุ่มกับอำนาจอื่นซึ่ง "พุ่งเป้าหมายไปยังคู่เจรจาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยตรงหรือโดยอ้อม" กติกาสัญญาดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในหลายชื่อด้วยกัน ซึ่งรวมไปถึง กติกาสัญญานาซี–โซเวียต (Nazi–Soviet Pact), กติกาสัญญาฮิตเลอร์–สตาลิน, กติกาสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนี–โซเวียต หรือบางครั้งก็เรียกว่า พันธมิตรนาซี–โซเวียตBenjamin B. Fischer, "", Studies in Intelligences, Winter 1999–2000, last accessed on 10 December 2005 กติกาสัญญามีผลจนถึงวันที่ 22 มิถุนายน 1941 เมื่อเยอรมนีเริ่มปฏิบัติการบาร์บารอสซา นอกเหนือจากการกำหนดเงื่อนไขในการไม่รุกรานระหว่างกันแล้ว กติกาสัญญาดังกล่าวยังรวมไปถึงข้อตกลงลับ ซึ่งแบ่งยุโรปตะวันออกให้อยู่ภายใต้เขตอิทธิพลของเยอรมนีและโซเวียต เพื่อให้มีการจัดระเบียบทางดินแดนและทางการเมืองในพื้นที่ดังกล่าวใหม่ หลังจากนั้น เยอรมนีและสหภาพโซเวียตได้ร่วมกันบุกครองโปแลนด์ ตามด้วยการผนวกเอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนียและดินแดนทางตอนเหนือของโรมาเนียเข้าไปอยู่ในเขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียต รวมไปถึงการผนวกดินแดนทางตะวันออกของฟินแลนด์ หลังจากความพยายามรุกรานของสหภาพโซเวียตในสงครามฤดูหนาว ภาคผนวกลับดังกล่าวถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ และเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดสงครามแห่งการรุกราน.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์และกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์และลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์และสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2

รณรัฐโปแลนด์ที่ 2 หรือเครือจักรภพโปแลนด์ที่สองหรือโปแลนด์ระหว่างสงคราม หมายความถึงประเทศโปแลนด์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง (ค.ศ. 1918–1939) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐโปแลนด์หรือเครือจักรภพโปแลนด์ (Rzeczpospolita Polska) รัฐโปแลนด์ถูกสร้างใหม่ใน ค.ศ. 1918 เป็นผลสืบเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังความขัดแย้งในภูมิภาคหลายครั้ง เขตแดนของรัฐถูกชี้ชัดใน ค.ศ. 1922 ประเทศโปแลนด์มีเพื่อนบ้าน ได้แก่ เชโกสโลวาเกีย เยอรมนี นครเสรีดันซิก ลิทัวเนีย ลัตเวีย โรมาเนียและสหภาพโซเวียต มีทางเข้าทะเลบอลติกโดยทางชายฝั่งสั้น ๆ ที่อยู่ข้างนครกดือเนีย (Gdynia) ระหว่างเดือนมีนาคมและสงหาคม ค.ศ. 1939 โปแลนด์ยังมีเขตแดนร่วมกับรูธีเนียคาร์พาเธีย (Carpathian Ruthenia) ซึ่งขณะนั้นเป็นจังหวัดของฮังการี แม้มีแรงกดดันทั้งในและนอกประเทศ ประเทศยังคงอยู่จน ค.ศ. 1939 เมื่อโปแลนด์ถูกนาซีเยอรมนี สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐสโลวักบุกครอง เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป สาธารณรัฐที่สองมีพื้นที่ต่างจากรัฐโปแลนด์ปัจจุบันมาก โดยมีดินแดนทางทิศตะวันออกมากกว่าและทางทิศตะวันตกน้อยกว.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์และสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

ความตกลงมิวนิก

นแดนซูเดเทินลันด์ ความตกลงมิวนิก (Munich Agreement; Mnichovská dohoda; Mníchovská dohoda; Münchner Abkommen; Accords de Munich) เป็นการประชุมระหว่างประเทศในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อตกลงเกี่ยวกับแคว้นซูเดเทินลันด์และดินแดนเชโกสโลวาเกีย จัดขึ้นในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1938 ที่เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี โดยประเทศมหาอำนาจได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นายเนวิล เชมเบอร์ลิน จากสหราชอาณาจักร อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ จากนาซีเยอรมนี เบนิโต มุสโสลินี จากอิตาลี และดาลาดิเยร์ แห่งฝรั่งเศส โดยมีเป้าหมายเพื่อประชุมกันถึงอนาคตของเชโกสโลวาเกียกับความต้องการดินแดนเพิ่มเติมของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผลจากสนธิสัญญาดังกล่าว ซึ่งลงนามโดยเยอรมนี อิตาลี สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสได้อนุญาตให้เยอรมนียึดครองดินแดนซูเดเทินลันด์ โดยดินแดนดังกล่าวมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์อย่างมากต่อเชโกสโลวาเกีย และการป้องกันชายแดนส่วนใหญ่ของประเทศก็ตั้งอยู่ที่นั่น.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์และความตกลงมิวนิก · ดูเพิ่มเติม »

ฉนวนโปแลนด์

The Polish Corridor in 1923–1939 ฉนวนโปแลนด์ (Polnischer Korridor; Pomorze, Korytarz polski), หรือที่รู้จักในชื่อ ฉนวนดานซิก, ฉนวนสู่ทะเล หรือ ฉนวนกดัญสก์, เป็นดินแดนของภูมิภาคPomerelia (จังหวัดปอมอแช, พอเมอเรเนียตะวันออก, อดีตเป็นส่วนหนึ่งของปรัสเซียตะวันตก) โดยดินแดนเป็นของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง ซึ่งทำให้โปแลนด์มีทางออกสู่ทะเลและแยกปรัสเซียตะวันออกออกจากเยอรมนีแผ่นดินใหญ่ ส่งผลให้อาณาเขตโดยประมาณของฉนวนกลับไปมีขนาดเท่ายุค Polish Crown ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Royal Prussia ในปี 1466–1772.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์และฉนวนโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกรีซ

กรีซ (Greece; Ελλάδα, Elládha เอลาฑา หรือ Ελλάς, Ellás) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Hellenic Republic; Ελληνική Δημοκρατία, Ellinikí Dhimokratía) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์และประเทศกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโรมาเนีย

รมาเนีย (Romania; România) แต่ก่อนเรียกว่า รูมาเนีย (Rumania หรือ Roumania) เป็นประเทศในทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตทิศตะวันออกเฉียงเหนือจดประเทศยูเครนและประเทศมอลโดวา ทิศตะวันตกจดประเทศฮังการีและประเทศเซอร์เบีย ทิศใต้จดประเทศบัลแกเรีย โรมาเนียมีชายฝั่งบนทะเลดำด้ว.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์และประเทศโรมาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์และปารีส · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์และนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

เสรีนครดันท์ซิช

รีนครดันท์ซิช (Freie Stadt Danzig; Wolne Miasto Gdańsk) เป็นเมืองของรัฐกึ่งอิสระที่มีอยู่ระหว่างปี 1920 และ 1939 ประกอบด้วยท่าเรือบนทะเลบอลติกของเมืองดันท์ซิชและเมืองเกือบ 200 เมืองในพื้นที่โดยรอ.ถูกสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 1920 ตามเงื่อนไขของมาตรา 100 (มาตรา 10 ของหน้า 3) ของสนธิสัญญาแวร์ซาย หลังจากการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นครเสรีรวมเมืองดันท์ซิชและเมือง หมู่บ้าน และถิ่นฐานใกล้เคียงอื่น ๆ ที่ได้ตั้งที่อยู่อาศัยเป็นหลักโดยชาวเยอรมัน ตามสนธิสัญญาได้ระบุเอาไว้ ภูมิภาคจะยังคงแยกออกมาจากหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (สาธารณรัฐไวมาร์) และประเทศที่ได้รับเอกราชใหม่ของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง ("โปแลนด์ในช่วงสมัยระหว่างสงคราม") แต่ก็ไม่ได้เป็นรัฐเอกราช เมืองเสรีนครอยู่ภายใต้การคุ้มครองของสันนิบาตชาติและถูกบรรจุลงในความผูกผันทางด้านสหภาพศุลกากรกับโปแแลนด์ ประเทศโปแลนด์ได้รับสิทธิในการพัฒนาและดูแลในด้านการขนส่ง การสื่อสาร และความอำนวยความสะดวกบนท่าเรือในเมือง เสรีนครได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อให้โปแลนด์สามารถเข้าถึงท่าเรือขนาดพอดี ในขณะที่ประชากรของเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวเยอรมัน มีชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์โปแลนด์อย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน ประชาชนชาวเยอรมันไม่พอใจอย่างมากที่ถูกแยกออกจากเยอรมนี ถูกรังแกข่มเหงจากชนกลุ่มน้อยชาวโปแลนด์ นี่คือความจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่พรรคนาซีได้เข้ามาควบคุมทางการเมืองในปี 1935-1936.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์และเสรีนครดันท์ซิช · ดูเพิ่มเติม »

4 พฤษภาคม

วันที่ 4 พฤษภาคม เป็นวันที่ 124 ของปี (วันที่ 125 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 241 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์และ4 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สนธิสัญญาพันธมิตรทางการทหารระหว่างอังกฤษ-โปแลนด์พันธมิตรทางการทหารระหว่างอังกฤษ-โปแลนด์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »