เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พัชรศรี เบญจมาศและเรื่องเด่นเย็นนี้

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พัชรศรี เบญจมาศและเรื่องเด่นเย็นนี้

พัชรศรี เบญจมาศ vs. เรื่องเด่นเย็นนี้

ัชรศรี เบญจมาศ (ชื่อเล่น: แมร์) หรือ กาละแมร์ เป็นทั้งพิธีกร ผู้ประกาศ และเป็นคอลัมนิสต์ให้กับนิตยสาร มติชนสุดสัปดาห์ Cleo และ chicmistry.com ในข้อ Good Girl Living in sin ก่อนหน้านั้นเธอเคยเขียนให้กับ เนชั่นสุดสัปดาห์ มาร์ ดีมานด์ ลิซ่า discazine และ i-mono อีกด้วย และยังได้เป็นนักแสดงแสดงภาพยนตร์เรื่อง แก๊งชะนีกับอีแอบ ร่วมกับเพื่อนพิธีกรรายการผู้หญิงถึงผู้หญิง และ ปุณยวีร์ สุขกุลวรเศรษฐ์ พัชรศรีเกิดที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เรียนจบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนไผทอุดมศึกษา กับโรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ จากนั้น เข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ก่อนเข้าเป็นนิสิตจุฬาฯ เริ่มฝึกงานในตำแหน่งผู้สื่อข่าวช่อง 3 จบปริญญาตรีนิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารมวลชน (วิทยุโทรทัศน์) ปี 2539 พัชรศรีมีชื่อเสียงจากนิสัยที่เปิดเผย และตรงไปตรงมา เธอโด่งดังจากการเขียนหนังสือในปี 2545 เรื่อง "กายกรรมบนเส้นด้าย" และ "ผู้ชายเลวกว่าหมาและไม่ได้มาจากดาวอังคาร" ซึ่งเป็นที่วิจารณ์อย่างมากจากผู้อ่านเพศชาย ตามด้วย "ผู้หญิงยิงฟัน" และหลังจากนั้นก็ได้มีงานเขียนตามออกมาอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น "ผู้หญิงร้าย ผู้ชายรัก" ที่เธอทำหน้าที่เรียบเรียงจากหนังสือ Why Men Love Bitches ก็มียอดขายนับแสนเล่ม โดยหนังสือเล่มล่าสุด คือ “คิด-เช่น-แมร์ ” (Kitchen Mare) นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 เล่มที่ร่วมเขียน คือ "บอลเข้าเส้น" กับ "รักแรก" พัชรศรียังเคยเป็นพิธีกรรายการผู้หญิงถึงผู้หญิงทางช่อง 3 ซึ่งเป็นรายการที่สร้างชื่อเสียงให้กับเธอเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ พัชรศรียังได้เป็นต้นแบบให้กับการ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่อง "4 Angies" ที่นำบุคลิกของทั้ง 4 สาวจากรายการผู้หญิงถึงผู้หญิงมาเป็นแบบให้กับตัวการ์ตูน และยังเป็นผู้พากย์บรรยายตอนต้นและตอนจบของการ์ตูนในแต่ละตอนอีกด้วย อีกทั้งยังได้ไปปรากฏตัวในวรรณกรรมไทยเรื่อง The White Road Spirit II วรรณอันดับ 1 Sci-Fi Fantasy เมืองไทย ของ ดร.ป๊อป ในบทตัวละคร"แมร์". รื่องเด่นเย็นนี้ (1 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน) เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเล่าข่าว ผลิตโดยฝ่ายข่าว สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ร่วมกับบริษัท เซิร์ช ไลฟว์ จำกัด ในเครือเซิร์ช เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 15.40-16.45 น. ทางไทยทีวีสีช่อง 3 (เดิมคือรายการ สถานการณ์ประจำวัน ซึ่งมีสถานะเป็นข่าวประจำวันของสถานีฯ).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พัชรศรี เบญจมาศและเรื่องเด่นเย็นนี้

พัชรศรี เบญจมาศและเรื่องเด่นเย็นนี้ มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พีรพล เอื้ออารียกูลกรุงเทพมหานครสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3ประเทศไทย

พีรพล เอื้ออารียกูล

ีรพล เอื้ออารียกูล หรือ แชมป์ เป็นพิธีกร ผู้ประกาศข่าว คอลัมนิสต์ นักร้อง ในโปรเจกต์ "the Album อยากบอกต้องออกเทป" และ ดีเจจัดรายการวิทยุ แชมป์เริ่มเข้าวงการ ด้วยการเป็น ผู้ประกาศข่าวกีฬา รายการ ทันโลกกีฬา และหลังจากนั้นได้รับโอกาส เป็นพิธีกร ในรายการสีสันบันเทิงสด "สีสันบันเทิงสด Saturday" "Sport Gossip" "168 Hrs." แชมป์ได้ชื่อว่าเป็น ไพโอเนียร์ ที่ทำทั้งสองสถานะในเวลาเดียวกัน คือเป็นทั้งผู้ประกาศข่าวกีฬา และ พิธีกรวาไรตี้รายการบันเทิง ปัจจุบันแชมป์ เป็นพิธีกรรายการ เที่ยงวันทันเหตุการณ์ ช่วง ชอตเด็ด กีฬาแชมป์ สีสันบันเทิงสด 168 ชั่วโมง ทางช่อง 3 และ ดีเจ รายการวิทยุ แชมป์คลับ แชมป์ครับ ทาง.ทร.

พัชรศรี เบญจมาศและพีรพล เอื้ออารียกูล · พีรพล เอื้ออารียกูลและเรื่องเด่นเย็นนี้ · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

กรุงเทพมหานครและพัชรศรี เบญจมาศ · กรุงเทพมหานครและเรื่องเด่นเย็นนี้ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

นีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ..ม.ท. เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) แห่งที่ 4 ของประเทศไทย ดำเนินกิจการโดยบริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ภายใต้สัญญาสัมปทานกับบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 เวลา 10:00 น. ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟ ความถี่ต่ำ ทางช่องสัญญาณที่ 3 จนถึงปี พ.ศ. 2550 หลังจากนั้น จึงเปลี่ยนมาออกอากาศในระบบยูเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 32 โดยที่เริ่มแพร่ภาพคู่ขนาน (simulcast) กับโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ช่องหมายเลข 33 ภาพคมชัดสูง ของบริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ตามคำสั่งของศาลปกครอง ตั้งแต่เวลา 21:19 น. ของวันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557 มีคำขวัญประจำสถานีฯ ว่า คุ้มค่าทุกนาที ดูทีวีสีช่อง 3 โดยมีประสาร มาลีนนท์ รักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555 แทนประวิทย์ มาลีนนท์ ที่ขอลาออกเนื่องจากมีปัญหาเรื่อง.

พัชรศรี เบญจมาศและสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 · สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3และเรื่องเด่นเย็นนี้ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ประเทศไทยและพัชรศรี เบญจมาศ · ประเทศไทยและเรื่องเด่นเย็นนี้ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พัชรศรี เบญจมาศและเรื่องเด่นเย็นนี้

พัชรศรี เบญจมาศ มี 41 ความสัมพันธ์ขณะที่ เรื่องเด่นเย็นนี้ มี 69 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 3.64% = 4 / (41 + 69)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พัชรศรี เบญจมาศและเรื่องเด่นเย็นนี้ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: