โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พังก์ร็อกและแดนซ์พังก์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พังก์ร็อกและแดนซ์พังก์

พังก์ร็อก vs. แดนซ์พังก์

ังก์ร็อก เป็นดนตรีร็อกประเภทหนึ่ง (โดยมากมักเรียกสั้นๆว่า พังก์) มีการเคลื่อนไหวและเป็นที่รู้จักในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 พังก์ร็อกได้พัฒนาระหว่างปี 1974 และ 1977 ในสหรัฐอเมริกา,สหราชอาณาจักร และ ออสเตรเลีย โดยมีวงอย่าง เดอะราโมนส์, เซ็กซ์พิสทอลส์ และ เดอะแคลช ที่เป็นที่รู้จักในฐานะแนวหน้าของดนตรีประเภทนี้ ลักษณะดนตรีแบบ พังก์ร็อกมีลักษณะท่วงทำนองที่รุนแรง หยาบกระด้าง ด้วยความขาดทักษะของการเล่นดนตรี ส่วนการร้องก็จะเป็น "ตะโกน"หรือ "บ่น" และแฝงนัยยะของ "การต่อต้าน " และการยกย่อง "ความเป็นเลิศ" เครื่องดนตรีจะประกอบด้วย กีตาร์ไฟฟ้า 1 หรือ 2 ตัว,เบสไฟฟ้าและชุดกลอง มักมีการเล่นแบบ 2 คอร์ด เพลงพังก์มักมีความยาวระหว่าง 2 ถึง 2 นาทีครึ่ง มีบางเพลงมีความยาวน้อยกว่า 1 นาทีก็มี เพลงพังก์ในช่วงแรกรับอิทธิพลจากร็อกแอนด์โรลคือมีท่อนประสานเสียง พังก์ร็อกกลายเป็นกระแสนิยมหลักในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1970 แต่ความโด่งดังในที่อื่นมีในจำกัด จนกระทั่งทศวรรษที่ 80 พังก์ร็อกได้เป็นที่รู้จักในกลุ่มเล็กๆ ทั่วทุกมุมโลก ส่วนมากจะถูกปฏิเสธจากดนตรีกระแสหลัก ในช่วงปลายยุคทศวรรษที่ 1970 ดนตรีพังก์ร็อกได้แตกแยกแขนง ไปหลากหลายทิศทาง เช่นเพลงแนว นิวเวฟ, โพสต์พังก์ โดยหลายวงได้ทำการทดลองแนวดนตรีไปในทิศทางอื่น เช่นแนวฮาร์ดคอร์พังก์ และ ออย! และ อะนาร์โค-พังก์ เป็นต้น และพังก์ร็อกยุคใหม่ได้พัฒนาไปอีกขึ้น โดยเพลงแนวออลเทอร์นาทิฟร็อกได้รับความนิยมเหมือนตอนที่ได้พังก์ร็อกรับความนิยมในช่วงแรก. แดนซ์พังก์ (Dance-punk) ในบางครั้งอาจเรียกว่า ดิสโก้พังก์ และ อินดี้แดนซ์ เป็นแนวเพลงที่กำเนิดในปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1970 และ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการเคลื่อนไหวของดนตรีแนวโพสต์พังก์ และ โนเวฟ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พังก์ร็อกและแดนซ์พังก์

พังก์ร็อกและแดนซ์พังก์ มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กลองชุดกีตาร์ไฟฟ้ากีตาร์เบสอินดี้ร็อกโพสต์พังก์โนเวฟเครื่องสังเคราะห์เสียง

กลองชุด

กลองชุด ประกอบด้วย (1) Bass drum (2) Floor tom (3) Snare (4) Toms (5) Hi-hat (6) Crash cymbal และ Ride cymbal กลองชุด เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ ประกอบด้วยตัวกลองและฉาบจำนวนหลายใบ และใช้"ไม้กลอง"เพื่อตีควบคุมจังหวะ กลองชุดเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงหนักแน่น สามารถเพิ่มพลังให้กับบทเพลงได้หลากหลายแนว เช่น ร็อก, บลูส์, ป็อป, ฟังก์, ดิสโก้ และ แจ๊ส เป็นต้น กลองชุดเป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก.

กลองชุดและพังก์ร็อก · กลองชุดและแดนซ์พังก์ · ดูเพิ่มเติม »

กีตาร์ไฟฟ้า

กีตาร์ไฟฟ้า กีตาร์ไฟฟ้า (Electric Guitar) คือ กีตาร์ ที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ที่มักเรียกว่า Pick Up ทำหน้าที่แปลงเสียงที่เกิดจากสั่นของสายกีตาร์ให้กลายเป็นสัญญาณอิเล็คทรอนิคส์ ส่งผ่านสายสัญญาณ (Cable) ไปยังเครื่องขยายสัญญาณ (แอมปลิฟายเออร์)และออกสู่ลำโพงในที่สุด กีตาร์ไฟฟ้ามีความแตกต่างจากกีต้าร์โปร่ง (Acoustic Guitar) และ กีต้าร์โปร่งไฟฟ้า (Acoustic Electric Guitar) ตรงที่ลำตัวของกีตาร์ไฟฟ้าโดยส่วนมากจะไม่มีโพรงเสียง หรืออาจเรียกว่า "ลำตัวตัน" (Solid Body) อย่างไรก็ดี กีตาร์ไฟฟ้าอาจหมายรวมถึง กีตาร์ที่มีโพรงเสียงบางประเภทที่มีการติดตั้ง Pick Up (Hollow Body Guitar)ซึ่งนิยมใช้เล่นในแนวดนตรีประเภทแจ๊ส หรือ บลูส์ ปัจจุบันนิยมนำสัญญาณเสียงที่ได้จากกีตาร์ไฟฟ้ามาดัดแปลงผ่านอุปกรณ์ดัดแปลงสัญญาณ (Guitar Effect) ก่อนเข้าสู่เครื่องขยายสัญญาณกีตาร์ เพื่อให้ได้ลักษณะเสียงที่มีความแตกต่างหลากหลายมากขึ้นจากกีตาร์ตัวเดียว กีตาร์ไฟฟ้าเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก และใช้เล่นกันในแทบทุกประเภทดนตรี เนื่องจากความสะดวกในการใช้งานและการปรับแต่งเสียง กีตาร์ไฟฟ้าผลิตออกมาในหลายระดับคุณภาพและราคา บริษัทที่ผลิตกีตาร์ไฟฟ้ามีหลายบริษัทอาทิเช่น gibson fender prs framus B.C Rich guitars ESP Ibanez Ernie Ball - Musicman Rickenbacker Schecter Washburn YAMAHA Epiphone เป็นต้น หมวดหมู่:กีตาร์ หมวดหมู่:เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ หมวดหมู่:สิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐอเมริกา.

กีตาร์ไฟฟ้าและพังก์ร็อก · กีตาร์ไฟฟ้าและแดนซ์พังก์ · ดูเพิ่มเติม »

กีตาร์เบส

ป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ในทางสากลสามารถเรียกได้ทั้ง electric bass (เบสไฟฟ้า), electric bass guitar (กีตาร์เบสไฟฟ้า) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า bass (เบส) ลักษณะของเบสมีขนาดใหญ่กว่ากีตาร์ มีโครงสร้างของคอที่ใหญ่และยาวกว่า มีย่านความถี่เสียงต่ำ มีหน้าที่โดยหลัก ๆ ในการให้จังหวะ คือคุมจังหวะตาม rhythm, line, pattern และ groove ของดนตรี ในขณะเดียวกันก็สามารถขยายระดับความสามารถการเล่นให้สูงขึ้นตามแนวเพลงและการประยุกต์ใช้ต่าง ๆ เช่น เทคนิคการ Slap หรือการตบเบส (รวมไปถึงเทคนิคอื่นที่ใช้ร่วมกันกับการ Slap) ในดนตรี Funk, Jazz และอีกหลายแนว การ Tapping การเดิน Improvising การเล่น Harmonics การเล่น Picking เป็นต้น เบสไฟฟ้าจัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ถือกำเนิดหลังเครื่องดนตรีอื่น ๆ ในประเภทวงสตริงคือสร้างขึ้นหลัง กีตาร์ กลอง คีย์บอร์ดหรือซินธิไซเซอร์ (รายละเอียดจะมีในหัวข้อประวัติ) เครื่องดนตรีประเภทเบสที่ใช้กันในวงดนตรีและแนวต่าง ๆ ก็จะมี เบสไฟฟ้า เบสโปร่งไฟฟ้า fretless bass (เบสไม่มีเฟรต) และ double bass, upright bass บ้างทีก็เรียกกันว่า acoustic bass แต่ก็มีภาษาพูดเรียกกันติดปากสำหรับนักดนตรีบางคนว่า เบสใหญ่ เบสไฟฟ้าที่ใช้โดยทั่วไปจะมี 4 สาย 5 สาย และ 6 สาย ส่วนสายที่มากไปกว่านี้ก็มีเนื่องจากนักดนตรีบางคนอาจจะออกแบบเพื่อประยุกต์ใช้ทางการเล่นเฉพาะตัว เบส 4 สายการตั้งสายตามมาตรฐานคือ E-A-D-G (เรียงจากต่ำ-สูง) เบส 5 สายคือ B-E-A-D-G ส่วน 6 สายคือ B-E-A-D-G-C แต่อย่างไรก็ตามเบสก็ได้ถูกขยายขอบเขตออกไปตามแนวคิดและการประยุกต์ใช้ของมือเบสต่าง ๆ จำนวนสายก็อาจจะมีอื่น ๆ อีก เช่น 3 สาย, 7 สาย, 8 สาย, 9 สาย เป็นต้น.

กีตาร์เบสและพังก์ร็อก · กีตาร์เบสและแดนซ์พังก์ · ดูเพิ่มเติม »

อินดี้ร็อก

อินดี้ร็อก (Indie rock) เป็นแนวเพลงย่อยของร็อก ที่เกิดขึ้นในสหราชอาณาจักร และในสหรัฐอเมริกาในคริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นคำที่อธิบายถึงการผลิตและการเผยแพร่โดยค่ายเพลงใต้ดินอิสระ เช่นเดียวกับเป็นลักษณะแนวเพลงที่แรกทีมีลักษณะความหมายการผลิตเช่นนี้http://www.allmusic.com/explore/style/indie-rock-d2687 เหตุผลที่ยังคงต้องอยู่กับค่ายอิสระเพื่อต่อต้านระบบทุนของค่ายเพลงใหญ่ ซึ่งค่ายใหญ่เหล่านี้มักจะผูกขาดการทำงานทั้งหมด ตั้งแต่การแต่งเพลง จนทุกขั้นตอน และความจงรักภักดีต่อระบบ DIY นี้เอง ก็ทำให้กิจการของค่ายอิสระเติบโตขึ้นได้ แนวเพลงอินดี้ร็อกมีอิสระในการค้นหาแนวเพลงใหม่ อารมณ์และสาระเนื้อเพลงที่ไม่ปรากฏทั่วไปกับกลุ่มผู้ฟังกระแสหลัก ที่ไม่คำนึงถึงความชอบของผู้ฟังมากนัก และยังเป็นต้นแบบของเพลงใต้ดินอเมริกันและเพลงออลเทอร์นาทิฟร็อก ในคริสต์ทศวรรษ 1980 ซึ่งแนวเพลงอินดี้ร็อกก็ต่างจากออลเทอร์นาทิฟร็อกในช่วงเวลาต่อมาที่วงอย่างเนอร์วาน่า ก้าวเข้าสู่กระแสหลัก ในยุคคริสต์ทศวรรษ 1990 แนวเพลงอินดี้ร็อกพัฒนาแนวทางและมีความใกล้ชิดกับแนวเพลงอย่าง อินดี้ป็อป, ดรีมป็อป, นอยส์-ป็อป, โล-ไฟ, แมธร็อก, โพสต์-ร็อก, สเปซร็อก และอีโม ที่ยังคงก้าวอยู่ในกระแสเพลงใต้ดินเป็นพิเศษ.

พังก์ร็อกและอินดี้ร็อก · อินดี้ร็อกและแดนซ์พังก์ · ดูเพิ่มเติม »

โพสต์พังก์

ต์พังก์ (post-punk) เป็นแนวพังก์ร็อกที่เกิดขึ้นปลายทศวรรษที่ 70 เกิดขึ้นหลังพังค์ร็อกได้รับความนิยมในทศวรรษที่ 70 มีการหยิบซาวนด์มาทดลองมากกว่า อย่างเช่น ซาวนด์ของอิเล็กทรอนิกส์ เร้กเก้ แอฟริกันบีต แจ๊ส โฟล์ค เข้าไปใช้ โพสต์พังก์ได้รับความนิยมมากเมื่อประมาณปี 1977-1984 อย่าง ทอล์คกิ้ง เฮด เป็นต้น วงโพสต์พังก์รุ่นใหม่ เช่น เดอะ ฟิวเจอร์เฮดส์, ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์, เดอะ สโตรคส์ เป็นต้น.

พังก์ร็อกและโพสต์พังก์ · แดนซ์พังก์และโพสต์พังก์ · ดูเพิ่มเติม »

โนเวฟ

โนเวฟ (No Wave) เป็นแนวเพลงที่มีช่วงอายุสั้น ๆ ได้รับอิทธิพลมาจากอาร์ตมิวสิก และยุคศิลปะที่รุ่งเรืองในช่วงสั้น ๆ ในนิวยอร์ก ในช่วงปลายทศวรรษที่ 70 และต้นยุคทศวรรษที่ 80 ควรคู่ไปกับแนวย่อยของวัฒนธรรมพังค์ร็อก คำว่าโนเวฟ เป็นคำถากถางที่ปฏิเสธ การได้รับความนิยมของนิวเวฟ ดังนั้นคำว่าโนเวฟ จึงไม่ได้เจาะจงเฉพาะถึงแนวเพลงเท่านั้น มีหลาย ๆ อย่างที่ โนเวฟนั้นมีความหมายที่ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวดนตรี มีหลาย ๆ วง ที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงอย่าง ฟังค์, แจ๊ส, พังค์ร็อก, อวองต์การ์ด และแนวเพลงทดลอง ที่กล่าวมานั้นก็มีความหมายร่วมของดนตรีแนวโนเวฟ อย่างเช่น ทำนองเพลงที่กัดกร่อน, การเคลื่อนของจังหวะที่ซ้ำ ๆ และ มีแนวโน้มว่าจะเน้นที่ texture ของดนตรีมากกว่าเมโลดี้ ส่วนเนื้อเพลงนั้นจะไปในทางปฏิวัติ และ การเผชิญหน้าต่อสิ่งหนึ่ง หมวดหมู่:แนวดนตรี.

พังก์ร็อกและโนเวฟ · แดนซ์พังก์และโนเวฟ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องสังเคราะห์เสียง

Synthesizer เครื่องสังเคราะห์เสียง หรือ ซินธิไซเซอร์ (synthesizer) คือ เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ออกแบบมาเพื่อสร้างเสียงจำลองโดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การเพิ่มเสียง, การ ลดเสียง, การใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุโดยเปลี่ยนความถี่คลื่น (Frequency Modulate; FM), การสังเคราะห์ เสียงกายภาพ, การทำให้คลื่นเสียงผิดเพี้ยนรูปร่างไป ซินธิไซเซอร์สร้างเสียงผ่านการปรับเปลี่ยนโดยตรงของกระแสไฟฟ้าซึ่งถูกใช้ในซินธิไซเซอร์แบบอนาล็อก, การปรับเปลี่ยนทางคณิตศาสตร์ของค่าตัวแปรที่พอใจ โดยใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ใน ซินธิไซเซอร์แบบที่เป็นโปรแกรมสำเร็จรูป หรือจากการรวมทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน ในขั้นตอนสุดท้ายของซินธิไซเซอร์กระแสไฟฟ้าจะถูกใช้เพื่อสร้างการสั่นให้กับแผ่นที่ใช้สั่นของ ลำโพง หรือ หูโทรศัพท์ เป็นต้น เสียงซินธิไซเซอร์นี้ถูกจำลองไว้จากการอัดเสียงธรรมชาติ เมื่อพลังงานทางกลของคลื่นเสียงถูกแปลงไปเป็นสัญญาณ และที่สุดจะถูกเปลี่ยนกลับไปเป็นพลังงานทางกลจากการเล่นเทปที่อัดไว้ผ่านการสุ่ม ส่วนสำคัญที่ขาดหายไปของเสียงซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของซินธิไซเซอร์ ซินธิไซเซอร์เสียงพูด ยังถูกใช้ใน กรรมวิธีสร้างเสียงพูด อิเล็กทรอนิกส์ มักจะใช้ใน โวโคดเดอร์ (Vocoders) หรือการสร้างเสียงพูดนั่นเอง.

พังก์ร็อกและเครื่องสังเคราะห์เสียง · เครื่องสังเคราะห์เสียงและแดนซ์พังก์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พังก์ร็อกและแดนซ์พังก์

พังก์ร็อก มี 151 ความสัมพันธ์ขณะที่ แดนซ์พังก์ มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 4.27% = 7 / (151 + 13)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พังก์ร็อกและแดนซ์พังก์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »