โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พหุเทวนิยม

ดัชนี พหุเทวนิยม

ทพอียิปต์ พหุเทวนิยม (polytheism) เป็นการบูชาหรือความเชื่อในพระเป็นเจ้าหรือเทพเจ้าหลายองค์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 427 ถือเป็นเทวนิยมแบบหนึ่ง ซึ่งตรงข้ามกับเอกเทวนิยมที่เชื่อในพระเป็นเจ้าองค์เดียว ผู้ที่เชื่อแบบพหุเทวนิยมไม่ได้บูชาเทพเจ้าทุกองค์เสมอกัน แต่อาจบูชาเฉพาะองค์ใดองค์หนึ่งเป็นพิเศษก็ได้ (เรียกว่าอติเทวนิยม) ศาสนาประเภทพหุเทวนิยม เช่น พหุเทวนิยมกรีกและโรมัน เทพปกรฌัมสลาฟ ศาสนาฮินดู ศาสนาชินโต ศาสนาพื้นบ้านจีน ลัทธิเต๋า เป็นต้น.

9 ความสัมพันธ์: ชินโตพระเป็นเจ้าลัทธิเต๋าศาสนาฮินดูสำนักงานราชบัณฑิตยสภาอติเทวนิยมเอกเทวนิยมเทวดาเทวนิยม

ชินโต

ทะริอิ ที่ ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ สัญลักษณ์ที่สำคัญของชินโต ชินโต เป็นลัทธิตามความเชื่อเดิมของชาวญี่ปุ่น คำว่า ชินโต มาจากตัวอักษรจีน หรือคันจิ 2 ตัวรวมกัน คือ ชิน หมายถึงเทพเจ้า (ภาษาจีน: 神, พินอิน: shén, เสิน) และ โต หมายถึงวิถีทางหรือศาสตร์วิชา (ภาษาจีน: 道, พินอิน: dào, เต้า) หรือ เต๋า ในลัทธิเต๋านั่นเอง เมื่อรวมกันแล้ว จะหมายถึงศาสตร์แห่งเทพเจ้า หรือวิถีแห่งเทพเจ้า นั่นเอง ชินโตของญี่ปุ่นมีตำนานความเชื่อว่า เทพเจ้ามีมากมายนับไม่ถ้วน ทั้งในป่า บนภูเขา ทะเล แม่น้ำ ลำธาร ในสายลม แม้แต่ในบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นาในธรรมชาติที่ที่มีความบริสุทธิ์ล้วนเป็นที่สถิตของเทพเจ้าได้ทั้งสิ้น จึงมีคำที่ว่า "เทพแปดล้านองค์" เป็นการรวมคำเพื่อแสดงว่ามีทวยเทพอยู่มากมาย ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถือให้เป็นลัทธิความเชื่อพื้นเมืองประจำประเทศญี่ปุ่น พิธีกรรมของลัทธิชินโตนี้มาจากวัฒนธรรมท้องถิ่นและธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นพิธีกรรมอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งศาสนาพุทธ และ ลัทธิขงจื๊อ กับ ลัทธิเต๋า รวมทั้งภายหลัง ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ได้เริ่มให้เข้ามาในดินแดนญี่ปุ่น ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 พิธีกรรมของลัทธิชินโตได้ถูกบันทึกและบัญญัติเป็นครั้งแรกในคัมภีร์โคะจิคิ และจดหมายเหตุนิฮงโชะกิ ในศตวรรษที่ 8 เพื่อตอบโต้ศาสนาที่มีระดับความพัฒนามากกว่าจากแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ตาม งานเขียนในยุคแรกๆก็ยังมิได้บ่งบอกว่าเป็น ลัทธิชินโต แต่งานเขียนในสมัยต่อมาก็ได้บ่งชี้อย่างชัดเจน พร้อมขนบธรรมเนียบของสังคมเกษตรกรรมและเทศกาลประจำปีเข้าไปด้วย รวมไปถึงความเชื่อเรื่องเทพปกรณัมและการกำเนิดโลกต่าง ๆ ซึ่งเล่าถึงต้นกำเนิดของชนชาติญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะหมายถึงเชื้อสายยะมะโตะ และอิสึโมะ ในสมัยนั้น พุทธศาสนาได้แพร่จากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่น และมีผสมผสานความเชื่อดั้งเดิม อย่างเช่น ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าในลัทธิชินโตและความเชื่อเรื่องพระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถูกจัดให้เป็นลัทธิบูชาเทพเจ้าหลายองค์ หรือ พหุเทวนิยม และลัทธิบูชาภูตผีวิญญาณ ที่เน้นความบริสุทธิ์ของพิธีกรรมเป็นอย่างมาก รวมถึงยกย่องเกียรติและความมีตัวตนของเทพเจ้า ซึ่งมีทั้งเทพเจ้าที่มีมาจากการยกบุคคลให้เป็นเทพ หรือการบูชาธรรมชาติ และเทพเจ้ายังสามารถมีลูกได้ด้วย ลัทธิชินโตเป็นลัทธิที่ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมทางศาสนาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่จะทำให้ศาสนิกชนเข้าถึงและเป็นหนึ่งเดียวกับเทพเจ้าได้มากที่สุด ลัทธิชินโตยุคใหม่ไม่มีสถาบันที่ที่ยกตัวเป็นผู้ควบคุมส่วนกลาง มีเพียงแต่กลุ่มคนที่พยายามรักษาวิถีปฏิบัติของลัทธิชินโตมาตั้งแต่สมัยบรรพกาลจนถึงปัจจุบัน ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ชินโตได้ถูกยกเลิกจากการเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งในปัจจุบันชินโตเริ่มลดหายไปจากวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยที่ยังเห็นได้ในปัจจุบันได้แก่ โอมิคุจิ (การดึงฉลากเสี่ยงโชคในศาลเจ้าชินโต) และการเฉลิมฉลอง งานปีใหม่ญี่ปุ่น ที่มีจัดขึ้นตามศาลเจ้าชินโต.

ใหม่!!: พหุเทวนิยมและชินโต · ดูเพิ่มเติม »

พระเป็นเจ้า

ระนามพระยาห์เวห์ในภาษาฮีบรู พระเป็นเจ้า (God) หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ถือเป็นเทวดาเพียงพระองค์เดียวตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม หรือเป็นเทวดาผู้เป็นสารัตถะเดียวของเอกภพตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยมSwinburne, R.G. "God" in Honderich, Ted.

ใหม่!!: พหุเทวนิยมและพระเป็นเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเต๋า

ัญลักษณ์ หยิน-หยาง ลัทธิเต๋า หรือ ศาสนาเต๋า (道教 Dàojiao; Taoism) เป็นปรัชญาและศาสนาที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน เน้นการใช้ชีวิตกลมกลืนกับเต๋า ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในสำนักปรัชญาจีนส่วนใหญ่ แต่ในศาสนาเต๋า เต๋าหมายถึงต้นกำเนิด แบบแผน และสารัตถะของสรรพสิ่ง ไม่เน้นเรื่องพิธีกรรมซับซ้อนและระเบียบสังคมอย่างลัทธิขงจื๊อ แม้แต่ละนิกายมีคำสอนด้านจริยธรรมแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปเน้นหลักการเดียวกันคือ "อู๋เหวย์" ความเป็นธรรมชาติ ความเรียบง่าย ศาสนาเต๋ากำเนิดขึ้นราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช โดยรับแนวคิดทางจักรวาลวิทยาจากสำนักยินหยาง และแนวปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัฏจักรของธรรมชาติตามคัมภีร์อี้จิง ต่อมาใช้เต้าเต๋อจิงของเล่าจื๊อและคัมภีร์จวงจื๊อเป็นคัมภีร์หลักประจำศาสนา ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ลัทธิเต๋าในจ๊กก๊กเริ่มมีองค์กรและพิธีกรรมเป็นระบบ จนถึงปัจจุบันศาสนาเต๋าแบ่งเป็น 2 นิกายหลักคือ สำนักฉวนเจินและสำนักเจิ้งอี หลังสมัยของเล่าจื๊อและจวงจื๊อ มีการจัดสารบบวรรณกรรมศาสนาเต๋าต่าง ๆ และรวมทุกศาสตร์ทุกแขนงที่เกี่ยวกับเต๋าทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน เช่น พงศาวดาร ประวัติการสร้างศาสนา ตำรายาสมุนไพร ประวัติเทพเซียน องค์การ เพลงสรรเสริญ คู่มือการทำพิธีกรรมทางศาสนา ตำราการทำฮู้(ยันต์) ตำราการทำนายดวงชะตา(อี้จิง) หลักธรรมคำสอนของเล่าจื๊อ,จวงจื๊อ,เลี่ยจื๊อ,และปรมาจารย์ในประวัติศาสตร์ทุกท่านที่ศึกษาเต๋า(ซึ่งบางท่านอาจเกิดก่อนเล่าจื๊อ) บทสวดศาสนา และอื่นๆอีกมากมายเข้าไว้ด้วยกัน จนได้เป็นคัมภีร์เต้าจ้างและพิมพ์เผยแพร่ตามรับสั่งของจักรพรรดิจีน และเป็นศาสนาประจำชาติจีนมาตลอดจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17 จึงไม่ได้อยู่ในอุปถัมภ์ของราชสำนัก ปัจจุบัน ศาสนาเต๋าเป็นหนึ่งในห้าศาสนาที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในประเทศจีนและประเทศไต้หวัน แม้ศาสนานี้จะไม่แพร่หลายนอกประเทศจีนนัก แต่ก็พบว่ามีศาสนิกชนจำนวนหนึ่งในฮ่องกง มาเก๊า และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: พหุเทวนิยมและลัทธิเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: พหุเทวนิยมและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ใหม่!!: พหุเทวนิยมและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

อติเทวนิยม

อติเทวนิยม เป็นคำไทยที่บัญญัติขึ้น เพื่อใช้นิยามแนวคิดทางเทววิทยา Henotheism (ἑνας, henas - หนึ่ง, และ θεός, theos - เทพ) อติเทวนิยม คือ ความเชื่อที่ทั้งเหมือนและแตกต่างไปจาก เอกเทวนิยม โดยเหมือนกันในแง่ที่นับถือบูชาพระเจ้าหรือเทพเจ้าเพียงองค์เดียว แต่ต่างกันตรงที่อติเทวนิยมยอมรับในการมีอยู่ของพระเจ้าหรือเทพเจ้าองค์อื่นๆด้วย ในขณะที่ เอกเทวนิยม จะถือว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวเท่านั้น แม้อาจมีความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณอื่นที่ไม่ใช่พระเจ้าหรือเทพเจ้าปนอยู่ด้วย และอติเทวนิยมก็สอดคล้องกับความเชื่อ พหุเทวนิยม ในประการที่เชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์ ต่างกันตรงที่จะบูชาเพียงพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว ในขณะที่พหุเทวนิยม จะทั้งเชื่อและบูชาพระเจ้าหลายองค์พร้อมๆกัน มักซ์ มึลเลอร์ (1823-1900) นักอินเดียวิทยา และผู้เชี่ยวชาญภาษาสันสกฤตชาวเยอรมัน เป็นบุคคลแรกที่เสนอว่าศาสนาพราหมณ์ หรือศาสนาฮินดู เป็นตัวอย่างที่สำคัญของแนวความคิดแบบอติเทวนิยม แต่ปัจจุบันมีผู้ไม่เห็นด้วยเพราะการจะเป็นอติเทวนิยมโดยแท้ จะต้องเป็นการนับถือบูชาพระเจ้าเพียงองค์เดียว ไม่ใช่บูชาหลายองค์แบบที่ศาสนาพราห์ม-ฮินดูเป็นอยู่ในทุกวันนี้ซึ่งเป็นพหุเทวนิยม เช่นเดียวกับศาสนากรีกและศาสนาจีน.

ใหม่!!: พหุเทวนิยมและอติเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

เอกเทวนิยม

อกเทวนิยมราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 364 (Monotheism มาจากภาษาμόνος, monos - เดียว, และ θεός, theos - เทพ) คือความเชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าเป็นเทวดาองค์เดียว หรือความเชื่อว่าพระเป็นเจ้าเป็นหนึ่งเดียว (ไม่ทรงแบ่งภาค) แนวคิดเอกเทวนิยมแบบบริสุทธิ์พบในศาสนายูดาห์และศาสนาอิสลาม ส่วนแบบอ่อนพบในศาสนาคริสต์ส่วนใหญ่ ลัทธิซาเบียน นิกายมอรมอน และศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาบาไฮ ศาสนาซิกข์ และศาสนาฮินดูในบางสำนัก.

ใหม่!!: พหุเทวนิยมและเอกเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

เทวดา

ระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทวดา (devatā) หรือ เทพ (deva เทว) ตามคติความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ หมายถึง ชาวสวรรค์ที่เป็นโอปปาติกะ มีกายทิพย์ ตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์ และเสวยสุขในสรวงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นภพภูมิที่ดี เทวดาผู้หญิงเรียกว่า เทวี หรือ "เทพี" หรือ นางฟ้า เทวดาผู้มีมิจฉาทิฐิ เรียกว่า มาร คำว่า เทพเจ้า หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ซึ่งเชื่อว่ามีอำนาจควบคุมธรรมชาติบางอย่าง เช่น สุริยเทพ เทพเจ้าแห่งสายฟ้.

ใหม่!!: พหุเทวนิยมและเทวดา · ดูเพิ่มเติม »

เทวนิยม

หล่าทวยเทพในภาพ ''The Triumph of Civilization'' (ชัยชนะแห่งความศิวิไลซ์) เทวนิยม (Theism) ในความหมายอย่างกว้างหมายถึงความเชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าหรือเทพเจ้า ความหมายอย่างแคบคือเชื่อแบบเอกเทวนิยมว่ามีพระเจ้าองค์เดียวและทรงสัมพันธ์กับการดำรงอยู่ของเอกภพ เทวนิยมยังเชื่อว่าพระเจ้าทรงเป็นบุคคล และมีอำนาจปกครองและจัดการโลกและเอกภพ แนวคิดตามแบบแผนนี้อธิบายพระเจ้าในเชิงเอกเทวนิยมซึ่งปรากฏในศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดูในบางสำนัก คำว่า Theism ตามแนวคิดนี้เกิดขึ้นในช่วงการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เพื่อให้ต่างจากคำว่าเทวัสนิยม ที่เชื่อว่ามีพระเจ้าเป็นอุตตรภาวะสูงสุด แต่พระเจ้ามิได้ทรงแทรกแซงโลกตามธรรมชาติ และมนุษย์รู้จักพระองค์ได้ด้วยการใช้เหตุผล ไม่ใช่โดยการวิวรณ์ ส่วนสรรพเทวนิยมเชื่อว่าสรรพสิ่งคือพระเจ้า และพหุเทวนิยมเชื่อว่ามีเทวดาหลายองค์ แต่ละองค์มีอำนาจต่าง ๆ กันไป คำว่า Theism มาจาก theos ในภาษากรีกที่แปลว่า เทพ นักปรัชญาชื่อ Ralph Cudworth ใช้คำนี้เป็นคนแรก ส่วนอเทวนิยมเป็นการปฏิเสธความเชื่อแบบเทวนิยมในความหมายกว้าง คือไม่เชื่อว่ามีพระเจ้าองค์เดียว ถ้าปฏิเสธพระเจ้าในความหมายแคบ จะเรียกว่า เทวัสนิยม สรรพเทวนิยม พหุเทวนิยม ตามแต่ลักษณะของความเชื่อ ถ้าเห็นว่าพระเจ้าหรือเทวดาจะมีอยู่หรือไม่เราก็รู้ไม่ได้เรียกว่าอไญยนิยม ถ้าเชื่อว่ารู้ได้ (ว่ามีหรือไม่มี) ก็ถือว่าเป็นเทวนิยมหรืออเทวนิยม (ตามแต่ลักษณะความเชื่อ) เทวนิยมและอเทวนิยมจึงเป็นยืนยันหรือปฏิเสธการดำรงอยู่ของพระเจ้า แต่อไญยนิยมปฏิเสธการรับรู้ ผู้ที่ไม่มีศาสนาจะไม่เชื่อในเรื่องการมีสิ่งศักดิ์สิทธื์ใด ๆ เลย ศาสนาพุทธอาจจัดว่าเป็นทั้งเทวนิยมและอเทวนิยม นิกายเถรวาทและนิกายเซน เชื่อในกฎธรรมชาติ สร้างสรรพสิ่ง จัดเป็นอเทวนิยม นิกายสุขาวดีและวัชรยาน เชื่อว่ามีพระอาทิพุทธะเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งเฉกเช่นพระเจ้า จึงอาจจัดนิกายเหล่านี้เป็นเทวนิยมได้.

ใหม่!!: พหุเทวนิยมและเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »