โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี

ดัชนี พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี

ร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี (Proxima Centauri b) หรือเรียก พร็อกซิมา บี (Proxima b) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบในเขตอาศัยได้ โคจรรอบดาวฤกษ์พร็อกซิมาคนครึ่งม้า ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ประเภทดาวแคระแดงในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า และถือเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด โดยห่างจากโลกราว 4.2 ปีแสง (1.3 พาร์เซก หรือ 40 ล้านล้านกิโลเมตร) ทำให้ดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ที่มีศักยภาพต่อการอยู่อาศัยได้ที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะมากที่สุดเท่าที่รู้จัก ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี ค้นพบโดยคณะนักดาราศาสตร์จากหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป ประกาศการค้นพบในเดือนสิงหาคม..

55 ความสัมพันธ์: บรรยากาศของโลกพร็อกซิมาคนครึ่งม้าพายุสุริยะพาร์เซกกลุ่มดาวคนครึ่งม้ากล้องโทรทรรศน์การหมุนกึ่งแกนเอกมวลดวงอาทิตย์ระบบสุริยะระบบดาวคู่รัศมีดวงอาทิตย์รังสีเอกซ์วอยเอจเจอร์ 1วิทยาลัยควีนแมรี มหาวิทยาลัยลอนดอนหอดูดาวลาซียาหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรปหน่วยดาราศาสตร์อุปกรณ์ตรวจวัดความเร็วเชิงรัศมีของดาวฤกษ์ความแม่นยำสูงองศาเซลเซียสฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ของเหลวดวงอาทิตย์ดาวพุธดาวฤกษ์ดาวแคระแดงดาวแปรแสงดาวเคราะห์คล้ายโลกดาวเคราะห์นอกระบบความสว่างดวงอาทิตย์ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์ความส่องสว่างปรากฏความถี่ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรความเร็วแนวเล็งความเอียงของวงโคจรความเป็นโลหะ (ดาราศาสตร์)คาบดาราคติซีเอ็นเอ็นประเทศชิลีปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ปีแสงนักดาราศาสตร์น้ำแอมพลิจูดแอลฟาคนครึ่งม้าโลกเพลบลูดอตเส้นสเปกตรัมเขตร้อน...เขตอาศัยได้เดอะการ์เดียนเดอะนิวยอร์กไทมส์เคลวินเนเจอร์ (วารสาร) ขยายดัชนี (5 มากกว่า) »

บรรยากาศของโลก

ลักษณะบรรยากาศของโลก บรรยากาศของโลก คือ อากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ วันที่สืบค้น 6 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและบรรยากาศของโลก · ดูเพิ่มเติม »

พร็อกซิมาคนครึ่งม้า

ร็อกซิมาคนครึ่งม้า (Proxima Centauri) คือดาวแคระแดงในกลุ่มดาวคนครึ่งม้าที่อยู่ห่างจากระบบสุริยะของเราในระยะประมาณ 4.2 ปีแสง ค้นพบโดยโรเบิร์ต อินเนส ผู้อำนวยการหอดูดาวยูเนียนในแอฟริกาใต้เมื่อปี พ.ศ. 2458 ได้ชื่อว่าเป็นดาวฤกษ์ดวงที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะมากที่สุดเท่าที่รู้จักกันในปัจจุบัน พร็อกซิมาคนครึ่งม้าอยู่ห่างจากระบบดาวคู่แอลฟาคนครึ่งม้า ซึ่งสว่างกว่าและเป็นดาวที่อยู่ห่างจากโลกเป็นอันดับ 2 และ 3 ประมาณ 0.237 ± 0.011 ปีแสง มีความเป็นไปได้ที่พร็อกซิมาคนครึ่งม้าจะเป็นส่วนหนึ่งในระบบดาวสามดวงร่วมกับแอลฟาคนครึ่งม้า เอ และแอลฟาคนครึ่งม้า บี.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและพร็อกซิมาคนครึ่งม้า · ดูเพิ่มเติม »

พายุสุริยะ

วิดีโอแสดงเปลวสุริยะที่มาจากผิวดวงอาทิตย์ เนื่องจากปรากฏการณ์พายุสุริยะ พายุสุริยะ (Solar storm) เป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดจากการที่ผิวดวงอาทิตย์ระเบิดขึ้นมาที่เรียกว่า "การระเบิดลุกจ้า" ซึ่งทำให้อนุภาคประจุไฟฟ้าพุ่งออกมาจำนวนมหาศาล ประจุไฟฟ้าที่พุ่งออกมานี้จะรบกวนระบบการสื่อสารมีผลทำให้การสื่อสารระยะไกลเป็นอัมพาต ทำให้เครื่องบินไม่สามารถติดต่อกับหอบังคับการได้ โทรศัพท์มือถือใช้งานไม่ได้รวมไปถึงดาวเทียมเสียหาย การทำนายความรุนแรงของพายุสุริยะสามารถทำได้โดยตรวจสอบจุดมืดดวงอาทิตย์ เนื่องจากจุดดำเกิดจากความแปรปรวนของสนามแม่เหล็ก เมื่อมีจุดมืดมากขึ้นก็จะส่งผลให้อนุภาคกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้เกิดความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและพายุสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

พาร์เซก

ร์เซก (Parsec; มาจาก parallax of one arcsecond ตัวย่อ: pc) เป็นหน่วยวัดระยะทางทางดาราศาสตร์ เท่ากับความสูงของสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่มีเส้นฐานยาว 1 หน่วยดาราศาสตร์และมีมุมยอด 1 พิลิปดา มีค่าประมาณ 3.2616 ปีแสง (3.26 ปีแสง)หรือ 206,265 หน่วยดาราศาสตร์ มักใช้วัดระยะทางภายในดาราจักร การวัดระยะจากโลกถึงดาวฤกษ์คือการวัดแพรแลกซ์ของดาวฤกษ์ แพรัลแลกซ์ คือ ปรากฏการณ์ที่ผู้สังเกตมองจาก 2 จุด แล้วเห็นตำแหน่งของวัตถุเปลี่ยนไปเมื่อเทียบกับวัตถุอ้างอิง ทดลองได้โดยใช้มือถือวัตถุยื่นไปข้างหน้า แล้วสังเกตวัตถุดังกล่าวด้วยตาซ้าย และขวาจะสังเกตเห็นตำแหน่งของวัตถุเปลี่ยนไปหรือไม่ หมวดหมู่:หน่วยความยาว หมวดหมู่:มาตรดาราศาสตร์.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและพาร์เซก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวคนครึ่งม้า

กลุ่มดาวคนครึ่งม้า เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าใต้ หนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กลุ่มดาวนี้เป็นกลุ่มดาวที่ขนาดใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งในท้องฟ้า มีดาวสว่างติด 1 ใน 20 อันดับถึง 2 ดวง คือ แอลฟาคนครึ่งม้า (ริเจล เค้นท์) และบีตาคนครึ่งม้า (ฮาดดาร์).

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและกลุ่มดาวคนครึ่งม้า · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์

กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง กล้องโทรทรรศน์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ขยายวัตถุท้องฟ้าโดยอาศัยหลักการรวมแสง เพื่อให้สามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือทำให้มองเห็นได้ชัดขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้องโทรทรรศน์ได้ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1608 โดยฮานส์ ช่างทำแว่นคนหนึ่งซึ่งต่อมาค้นพบว่าหากนำเลนส์มาวางเรียงกับให้ได้ระยะที่ถูกต้องเลนส์สามารถขยายภาพที่อยู่ไกลๆได้ใกล้ขึ้น และ 1 ปีต่อมา กาลิเลโอ กาลิเลอิ ก็ได้ นำมาสำรวจท้องฟ้าเป็นครั้งแรกซึ่งในตอนนั้นเป็นกล้องหักเหแสงที่มีกำลังขยายไม่ถึง 30 เท่า เท่านั้นแต่ก็ทำให้เห็นรายละเอียดต่างๆมากมายของดวงดาวต่างๆที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อนทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มมาสำรวจท้องฟ้าโดยใช้กล้องโทรทรรศน.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและกล้องโทรทรรศน์ · ดูเพิ่มเติม »

การหมุน

ทรงกลมหมุนรอบแกน การหมุน (Rotation) เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุรอบตัวเองในทิศทางเป็นวงกลม วัตถุสองมิติจะหมุนรอบจุด วัตถุสามมิติจะหมุนรอบแกน ถ้าจุดศูนย์กลางการหมุนอยู่ภายนอกวัตถุ จะเรียกว่าการโคจร เช่น การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ หมวดหมู่:กลศาสตร์ดั้งเดิม หมวดหมู่:เรขาคณิตแบบยุคลิด หมวดหมู่:ฟิสิกส์ หมวดหมู่:การกำหนดทิศทาง หมวดหมู่:การหมุน.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและการหมุน · ดูเพิ่มเติม »

กึ่งแกนเอก

กึ่งแกนเอกของวงรี ระยะกึ่งแกนเอก (Semi-major axis) ในทางเรขาคณิต หมายถึงความยาวครึ่งหนึ่งของแกนเอก ซึ่งใช้แสดงถึงมิติของวงรีหรือไฮเพอร์โบลา หมวดหมู่:ภาคตัดกรวย.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและกึ่งแกนเอก · ดูเพิ่มเติม »

มวลดวงอาทิตย์

มวลดวงอาทิตย์ เป็นวิธีพื้นฐานในการบรรยายค่ามวลในทางดาราศาสตร์ สำหรับใช้อธิบายถึงมวลดาวฤกษ์หรือมวลดาราจักร มีค่าเท่ากับมวลของดวงอาทิตย์ คือประมาณ 2 โนนิลเลียนกิโลกรัม หรือเท่ากับ 332,950 เท่าของมวลของโลก หรือ 1,048 เท่าของมวลของดาวพฤหัสบดี สัญลักษณ์และค่าพื้นฐานของมวลดวงอาทิตย์แสดงได้ดังนี้ เราสามารถบรรยายมวลดวงอาทิตย์ในรูปของระยะทางเป็นปี คือระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์ (หนึ่งหน่วยดาราศาสตร์ หรือ AU) กับค่าคงที่แรงโน้มถ่วง (G) ได้ดังนี้ จนกระทั่งปัจจุบันยังไม่สามารถบอกตัวเลขที่แท้จริงของหน่วยดาราศาสตร์หรือค่าคงที่แรงโน้มถ่วงได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ดี การอธิบายถึงมวลสัมพันธ์ของดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะหรือในระบบดาวคู่ด้วยหน่วยของมวลดวงอาทิตย์ มิได้มีความจำเป็นต้องทราบถึงค่าแท้จริงเหล่านั้น ดังนั้นการบรรยายถึงมวลต่างๆ ด้วยหน่วยของมวลดวงอาทิตย์จึงเป็นวิธีที่มีประโยชน์ที.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและมวลดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบดาวคู่

กล้องฮับเบิล ดาวซิริอุส B แทบจะมองไม่เห็น (ล่างซ้าย) ดาวคู่ (Binary star) คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์สองดวงโคจรไปรอบๆ จุดศูนย์กลางมวลของระบบ ดาวแต่ละดวงถือว่าเป็น ดาวเพื่อน ของอีกดวงหนึ่ง การวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ชี้ว่าดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ในดาราจักรทางช้างเผือกมักเป็นระบบดวงเดี่ยวมากกว่าระบบดาวคู่ มีความสำคัญต่อการศึกษาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ เพราะการสังเกตการณ์วงโคจรร่วมของทั้งสองทำให้สามารถประเมินมวลของดาวได้ ขณะที่การประเมินมวลของดาวฤกษ์เดี่ยวจำนวนมากต้องทำจาก extrapolation ที่ได้จากการศึกษาดาวคู่ ดาวคู่เป็นคนละอย่างกับดาวแฝด (Double star) ที่เมื่อมองจากโลกจะเห็นอยู่ใกล้กันอย่างมาก แต่ไม่ได้มีแรงดึงดูดระหว่างกัน ดาวคู่อาจจะไม่สามารถมองเห็นได้ในแสงปกติ หรืออาจต้องใช้วิธีทางอ้อมในการตรวจสอบ เช่นการใช้สเปกโทรสโกปี ถ้าดาวคู่โคจรรอบกันและกันในแนวระนาบเดียวกับสายตา เราจะเห็นมันเกิดคราสบังกันเอง กรณีนี้จะเรียกว่า ดาวคู่คราส (eclipsing binary) ระบบที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์มากกว่า 2 ดวง ที่เรียกกันว่า ระบบดาวหลายดวง ถือเป็นระบบที่ไม่ปกติเช่นกัน องค์ประกอบภายในของระบบดาวคู่สามารถแลกเปลี่ยนมวลซึ่งกันและกันได้ ทำให้วิวัฒนาการของมันดำเนินไปในทิศทางที่ดาวฤกษ์เดี่ยวไม่อาจทำได้ ตัวอย่างของดาวคู่ได้แก่ Algol (เป็นดาวคู่คราส) ดาวซิริอุส และ ดาว Cygnus X-1 (ซึ่งดาวสมาชิกดวงหนึ่งอาจจะเป็นหลุมดำ).

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและระบบดาวคู่ · ดูเพิ่มเติม »

รัศมีดวงอาทิตย์

รัศมีดวงอาทิตย์ เป็นหน่วยวัดระยะทางซึ่งถูกใช้เพื่อแสดงถึงขนาดของดาวฤกษ์ในทางดาราศาสตร์ โดยมีค่าเท่ากับรัศมีในปัจจุบันของดวงอาทิตย์: รัศมีดวงอาทิตย์มีค่าประมาณ 695,500 กิโลเมตร (432,450 ไมล์) หรือประมาณ 110 เท่าของรัศมีโลก หรือราว 10 เท่าของรัศมีโดยเฉลี่ยของดาวพฤหัสบดี ค่าดังกล่าวเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อยเนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของดาว ซึ่งมีผลต่อความรีแป้น 10 ส่วนในล้านส่วน ดูเพิ่มที่ 1 จิกะเมตร สำหรับระยะห่างที่คล้ายกัน.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและรัศมีดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

รังสีเอกซ์

รังสีเอกซ์มือของอัลแบร์ต ฟอน คืลลิเคอร์ ถ่ายโดยวิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน รังสีเอกซ์ (X-ray หรือ Röntgen ray) เป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีความยาวคลื่นในช่วง 10 ถึง 0.01 นาโนเมตร ตรงกับความถี่ในช่วง 30 ถึง 30,000 เพตะเฮิรตซ์ (1015 เฮิรตซ์) ในเบื้องต้นมีการใช้รังสีเอกซ์สำหรับถ่ายภาพเพื่อการวินิจฉัยโรค และงานผลึกศาสตร์ (crystallography) รังสีเอกซ์เป็นการแผ่รังสีแบบแตกตัวเป็นไอออน และมีอันตรายต่อมนุษย์ รังสีเอกซ์ค้นพบโดยวิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน เมื่อ ค.ศ. 1895 ทฤษฎีอิเล็กตรอนสมัยปัจจุบัน อธิบายถึงการเกิดรังสีเอกซ์ว่า ธาตุประกอบด้วยอะตอมจำนวนมากในอะตอมแต่ละตัวมีนิวเคลียสเป็นใจกลาง และมีอิเล็กตรอนวิ่งวนเป็นชั้น ๆ ธาตุเบาจะมีอิเล็กตรอนวิ่งวนอยู่น้อยชั้น และธาตุหนักจะมีอิเล็กตรอนวิ่งวนอยู่หลายชั้น เมื่ออะตอมธาตุหนักถูกยิงด้วยกระแสอิเล็กตรอน จะทำให้อิเล็กตรอนที่อยู่ชั้นในถูกชนกระเด็นออกมาวิ่งวนอยู่รอบนอกซึ่งมีภาวะไม่เสถียรและจะหลุดตกไปวิ่งวนอยู่ชั้นในอีก พร้อมกับปล่อยพลังงานออกในรูปรังสี ถ้าอิเล็กตรอนที่ยิงเข้าไปมีพลังงานมาก ก็จะเข้าไปชนอิเล็กตรอนในชั้นลึก ๆ ทำให้ได้รังสีที่มีพลังงานมาก เรียกว่า ฮาร์ดเอกซเรย์ (hard x-ray) ถ้าอิเล็กตรอนที่ใช้ยิงมีพลังงานน้อยเข้าไปได้ไม่ลึกนัก จะให้รังสีที่เรียกว่า ซอฟต์เอกซเรย์ (soft x-ray) กระบวนการเกิดหรือการผลิตรังสีเอกซ์ทั้งโดยฝีมือมนุษย์และในธรรมชาติ มีอยู่ 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและรังสีเอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

วอยเอจเจอร์ 1

วอยเอจเจอร์ 1 วอยเอเจอร์ 1 (Voyager 1) เป็นยานสำรวจอวกาศที่นาซาปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 5 กันยายน..

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและวอยเอจเจอร์ 1 · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาลัยควีนแมรี มหาวิทยาลัยลอนดอน

วีนแมรี่ มหาวิทยาลัยลอนดอน (Queen Mary University of London: QMUL ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1887 โดยเข้าเป็นหนึ่งในวิทยาลัยในเครือมหาวิทยาลัยลอนดอน ในปี ค.ศ. 1915 และเข้าเป็นหนึ่งในสมาชิก Russell Group ซึ่งเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำและมีความเป็นเลิศด้านการวิจัยของสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 2012 ควีนแมรี่ถูกจัดว่าเป็นหนึ่ง​ในวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาเครือมหาวิทยาลัยลอนดอน มีจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนกว่า 20,000 คน ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก นับว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีการแข่งขันสูงในการรับสมัครเข้าเรียน อีกทั้งควีนแมรี่ยังเป็นวิทยาลัยแห่งเดียวในเครือมหาวิทยาลัยลอนดอนที่เป็น campus-based university ซึ่งมีพื้นที่สำหรับการเรียนการสอน ที่พัก ห้องสมุด ศูนย์อาหาร ฯลฯ ที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณเดียวกัน ควีนแมรี่ยังมีชื่อเสียงด้านวิชาการและผลงานการวิจัยสาขาต่างๆ อย่างกว้างขวางในสหราชอาณาจักร มีวิทยาเขตครอบคลุมทั้งในใจกลางและทางด้านตะวันออกของกรุงลอนดอน ประกอบด้วยวิทยาเขตหลักที่ย่าน Mile End วิทยาเขต Whitechapel ซึ่งเป็นที่ตั้งของ The Barts and The London School of Medicine and Dentistry, วิทยาเขต Lincoln's Inn Fields ซึ่งทำการเรียนการสอนด้านกฎหมายเป็นการเฉพาะ นอกเหนือจากนี้ ควีนแมรี่ถูกจัดอันดับโดย QS และ Times Higher Education ให้เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดติดหนึ่งในร้อยอันดับแรกของมหาวิทยาลัยทั่วโลก ข้อมูลเพิ่มเติม www.qmul.ac.uk.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและวิทยาลัยควีนแมรี มหาวิทยาลัยลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

หอดูดาวลาซียา

หอดูดาวลาซียา (La Silla Observatory) เป็นหอสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ในประเทศชิลี ประกอบด้วยกล้องโทรทรรศน์จำนวน 18 ตัว ในจำนวนนี้ 9 ตัวเป็นกล้องโทรทรรศน์ที่สร้างโดยหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป (ESO) นอกจากนี้กล้องอื่น ๆ ที่เหลือก็ได้รับเงินสนับสนุนการบำรุงรักษาส่วนหนึ่งจาก ESO ด้วย หอดูดาวลาซียานี้ถือเป็นหนึ่งในหอดูดาวที่ใหญ่ที่สุดในการสังเกตการณ์ท้องฟ้าซีกใต้ของโลก ลาซียาเป็นภูเขาสูง 2400 เมตร กินอาณาเขตทางใต้สุดของทะเลทรายอาตากามาในประเทศชิลี ตั้งอยู่ 160 กิโลเมตรทางเหนือของเมืองลาเซเรนา, 27 กิโลเมตรทางใต้ของหอดูดาวลัสกัมปานัส (Las Campanas) และ 100 กิโลเมตรทางเหนือของหอดูดาวเซร์โรโตโลโล (Cerro Tololo).

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและหอดูดาวลาซียา · ดูเพิ่มเติม »

หอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป

หอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป (European Southern Observatory; ESO) มีชื่อเต็มอย่างเป็นทางการว่า European Organization for Astronomical Research in the Southern Hemisphere หรือ องค์การแห่งยุโรปเพื่อการวิจัยทางดาราศาสตร์ในท้องฟ้าซีกใต้ เป็นองค์กรวิจัยนานาชาติสำหรับการศึกษาด้านดาราศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนของประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป 14 ประเทศ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยดาราศาสตร์

หน่วยดาราศาสตร์ (Astronomical Unit; ย่อในภาษาอังกฤษว่า AU หรือ au หรือ a.u. หรือ ua) คือ หน่วยของระยะทาง มีค่า (โดยประมาณ) เท่ากับระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ค่าที่ยอมรับในปัจจุบัน เท่ากับ 149,597,870,691±30 เมตร (ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 93 ล้านไมล์) สัญลักษณ์ "ua" ได้รับการเสนอจากสำนัก Bureau International des Poids et Mesures แห่งฝรั่งเศส แต่ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษจะใช้อักษรตัวใหญ่มากกว่า ส่วนสหภาพดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union) เสนอให้ใช้ "au" ส่วนมาตรฐานนานาชาติ ISO 31-1 นั้นใช้ "AU".

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและหน่วยดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อุปกรณ์ตรวจวัดความเร็วเชิงรัศมีของดาวฤกษ์ความแม่นยำสูง

อุปกรณ์ตรวจวัดความเร็วเชิงรัศมีของดาวฤกษ์ความแม่นยำสูง (High Accuracy Radial velocity Planet Searcher: HARPS) คืออุปกรณ์ที่ใช้รวมกับกล้องโทรทรรศน์ที่มีความแม่นยำสูง ซึ่งมีการติดตั้งครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2545 ซึ่งได้ทำการถ่ายภาพครั้งแรกเมื่อ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ในกล้องโทรทรรศน์ ESO 3.6 m ในหอดูดาวลาซียา ซึ่งจะชี้ให้เห็นว่าดาวฤกษ์ดวงนั้นๆ มีการส่ายหรือเคลื่อนที่รอบจุดศูนย์กลางมวลของระบบดาวหลายดวงอย่างไร จนถึงปัจจุบันนี้สามารถสำรวจดาวเคราะห์กว่า 1000 ดวงแล้ว.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและอุปกรณ์ตรวจวัดความเร็วเชิงรัศมีของดาวฤกษ์ความแม่นยำสูง · ดูเพิ่มเติม »

องศาเซลเซียส

องศาเซลเซียส (สัญลักษณ์ °C) หรือที่เคยเรียกว่า องศาเซนติเกรด (degree centigrade) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหน่วยหนึ่งในระบบเอสไอ กำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำคือ 0 °C และจุดเดือดคือ 100 °C โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่แอนเดอร์ เซลเซียส ผู้ซึ่งสร้างระบบใกล้เคียงกับปัจจุบัน ในปัจจุบันองศาเซลเซียสใช้กับแพร่หลายทั่วโลกในชีวิตประจำวัน จะยกเว้นก็มีสหรัฐอเมริกาและประเทศจาไมกาเท่านั้นที่นิยมใช้หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ แต่ในประเทศดังกล่าว องศาเซลเซียสและเคลวินก็ใช้มากในด้านวิทยาศาสตร.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและองศาเซลเซียส · ดูเพิ่มเติม »

ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์

ปราสาทฮาร์ตฟอร์ดในฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ หรือ ฮาร์ตฟอร์ดเชียร์ (Hertfordshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์และมณฑลนอกเมโทรโพลิตันที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของอังกฤษโดยมีฮาร์ตฟอร์ดเป็นเมืองหลวง ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์เป็นหนึ่งในมณฑลรอบนครลอนดอนที่มีเขตแดนติดกับนครลอนดอนและปริมณฑล, บัคคิงแฮมเชอร์, เบดฟอร์ดเชอร์, เคมบริดจ์เชอร์ และ เอสเซ็กซ์ ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์มีชื่อเสียงว่าเป็นเมืองเกิดของสมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 4.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ของเหลว

รูปทรงของของเหลวเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ ของเหลว (Liquid) เป็นสถานะของของไหล ซึ่งปริมาตร จะถูกจำกัดภายใต้สภาวะคงที่ของอุณหภูมิและความดัน และรูปร่างของมันจะถูกกำหนดโดยภาชนะที่บรรจุมันอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นของเหลวยังออกแรงกดดันต่อภาชนะด้านข้างและบางสิ่งบางอย่างในตัวของของเหลวเอง ความกดดันนี้จะถูกส่งผ่านไปทุกทิศทาง ถ้าของเหลวอยู่ในระเบียบของสนามแรงโน้มถ่วง ความดัน pที่จุดใด ๆ สามารถแสดงเป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ได้ดังนี้ ที่ซึ่ง \rho เป็น ความหนาแน่น ของของเหลว (ซึ่งกำหนดให้คงที่) และ z คือความลึก ณ จุดใต้พื้นผิวของเหลวนั้น สังเกตว่าในสูตรนี้กำหนดให้ความดันที่ผิวบนเท่ากับ 0 และไม่ต้องคำนึงถึง ความตึงผิวของเหลวมีลักษณะเฉพาะของ แรงตึงผิว (surface tension) และ แรงยกตัว (capillarity) โดยทั่วไปของเหลวจะขยายตัวเมื่อถูกความร้อนและหดตัวเมื่อถูกความเย็น วัตถุที่จมอยู่ในของเหลวจะมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า แรงลอยตัว (buoyancy) ของเหลวเมื่อได้รับความร้อนจนถึง จุดเดือด จะเปลี่ยนสถานะเป็น ก๊าซ และเมื่อทำให้เย็นจนถึง จุดเยือกแข็งมันก็จะเปลี่ยนสถานะเป็น ของแข็ง โดย การกลั่นแยกส่วน (fractional distillation) ของเหลวจะถูกแยกจากกันและกันโดย การระเหย (vaporization) ที่ จุดเดือด ของของเหลวแต่ละชนิด การเก เนื่องจากโมเลกุลของของเหลวมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน การเคลื่อนที่ของแต่ละโมเลกุลจึงอยู่ภายใต้อิทธิพลของโมเลกุลอื่นที่อยู่ใกล้เคียง โมเลกุลที่อยู่ตรงกลางได้รับแรงดึงดูดจากโมเลกุลอื่นที่อยู่ล้อมรอบเท่ากันทุกทิศทุกทาง ส่วนโมเลกุลที่ผิวหน้าจะได้รับแรงดึงดูดจากโมเลกุลที่อยู่ด้านล่างและด้านข้างเท่านั้น โมเลกุลที่ผิวหน้าจึงถูกดึงเข้าภายในของเหลว ทำให้พื้นที่ผิวของของเหลวลดลงเหลอน้อยที่สุด จะเห็นได้จากหยดน้ำที่เกาะบนพื้นผิวที่เรียบและสะอาดจะมีลักษณะเป็นทรงกลมซึ่งมีพื้นที่ผิวน้อยกว่าน้ำที่อยู่ในลักษณะแผ่ออกไป ของเหลวพยายามจัดตัวเองให้มีพื้นที่ผิวน้อยที่สุด เนื่องจากโมเลกุลที่ผิวไม่มีแรงดึงเข้าทางด้านบน จึงจะมีเสถียรภาพน้อยกว่าโมเลกุลที่อยู่ตรงกลาง การลดพื้นที่ผิวเท่ากับเป็นการลดจำนวนโมเลกุลที่ผิวหน้า จึงทำให้ของเหลวเสถียรมากขึ้นในบางกรณีของเหลวมีความจำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ผิว โดยที่โมเลกุลที่อยู่ด้านในของของเหลวจะเคลื่อนมายังพื้นผิว ในการนี้โมเลกุลเหล่านั้นต้องเอาชนะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลที่อยูรอบ ๆ หรือกล่าวว่าต้องทำงาน งานที่ใช้ในการขยายพื้นที่ผิวของของเหลว 1 หน่วย เรียกว่า ความตึงผิว (Surface tension).

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและของเหลว · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพุธ

วพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 87.969 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ทำให้สังเกตเห็นได้ยาก ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธในระยะใกล้คือยานมาริเนอร์ 10เมื่อปี พ.ศ. 2517-2518 (ค.ศ. 1974-1975) และสามารถทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธได้เพียง 40-45% เท่านั้น ดาวพุธมีสภาพพื้นผิวขรุขระเนื่องจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารและไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้นบรรยากาศ ดาวพุธมีแกนกลางเป็นเหล็กขนาดใหญ่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของสนามแม่เหล็กโลกล้อมรอบดาวพุธไว้ ชื่อละตินของดาวพุธ (Mercury) มาจากคำเต็มว่า Mercurius เทพนำสารของพระเจ้า สัญลักษณ์แทนดาวพุธ คือ เป็นรูปคทาของเทพเจ้าเมอคิวรี ก่อนศตวรรษที่ 5 ดาวพุธมีสองชื่อ คือ เฮอร์เมส เมื่อปรากฏในเวลาหัวค่ำ และอพอลโล เมื่อปรากฏในเวลาเช้ามืด เชื่อว่าพีทาโกรัสเป็นคนแรกที่ระบุว่าทั้งสองเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและดาวพุธ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแคระแดง

วาดแสดงลักษณะของดาวแคระแดง ซึ่งเป็นดาวฤกษ์จำนวนมากที่สุดบนท้องฟ้า อธิบายตามไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ ดาวแคระแดง (Red dwarf) คือดาวฤกษ์ที่มีขนาดเล็กและมีอุณหภูมิที่ค่อนข้างต่ำมาก เทียบกับบรรดาดาวฤกษ์บนแถบลำดับหลักทั้งหมด โดยมีค่าสเปกตรัมประมาณตอนปลายของประเภท K หรือ M ดาวฤกษ์ประเภทนี้มีจำนวนมากที่สุดในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมด มีมวลน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของดวงอาทิตย์ (หากต่ำถึง 0.075 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ จะเรียกว่า ดาวแคระน้ำตาล) และมีอุณหภูมิพื้นผิวต่ำกว่า 3,500 เคลวิน.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและดาวแคระแดง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแปรแสง

วแปรแสง (Variable Star) คือดาวฤกษ์ ที่มีความสว่างเปลี่ยนแปลงอย่างมาก แตกต่างจากดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ในท้องฟ้าที่มีสภาพส่องสว่างเกือบคงที่ ดวงอาทิตย์ของเรา เป็นตัวอย่างที่ดีของดาวฤกษ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของความสว่างน้อยมาก (โดยปกติเปลี่ยนแปลงประมาณ 0.1% ในวัฏจักรสุริยะ 11 ปี) ดาวแปรแสงมีทั้งที่เปลี่ยนแปลงความสว่างจาก ปัจจัยภายใน และ ปัจจัยภายนอก ตัวอย่างดาวฤกษ์ดวงที่เห็นได้ชัดเจนคือ "ดาวบีเทลจุส" ในกลุ่มดาวนายพราน.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและดาวแปรแสง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์คล้ายโลก

วเคราะห์ชั้นในของระบบสุริยะ ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ขนาดเปรียบเทียบตามจริง ดาวเคราะห์คล้ายโลก (terrestrial planet) หรือบางครั้งเรียกว่า ดาวเคราะห์หิน (rocky planet) หรือ ดาวเคราะห์ชั้นใน (inner planet) หมายถึงดาวเคราะห์ที่มีองค์ประกอบพื้นฐานเป็นหินซิลิเกต ในระบบสุริยะจะหมายถึงดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มาก และดาวเคราะห์ที่มีลักษณะภายนอก "คล้ายกับโลก"มาก ดาวเคราะห์คล้ายโลกจะมีองค์ประกอบพื้นฐานที่แตกต่างจากดาวเคราะห์แก๊สยักษ์อย่างเด่นชัด โดยที่ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์จะไม่มีพื้นผิวเป็นของแข็งที่ชัดเจน และมีองค์ประกอบพื้นฐานส่วนมากเป็นไฮโดรเจน ฮีเลียม และน้ำ ในสถานะต่าง.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและดาวเคราะห์คล้ายโลก · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์นอกระบบ

accessdate.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและดาวเคราะห์นอกระบบ · ดูเพิ่มเติม »

ความสว่างดวงอาทิตย์

วามสว่างดวงอาทิตย์ เป็นหน่วยวัดความสว่างหรือฟลักซ์การแผ่รังสี (พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาในรูปโปรตอน) เคยถูกใช้โดยนักดารศาสตร์เพื่อวัดความสว่างของดาวฤกษ์ ค่าดังกล่าวมีค่าเท่ากับค่าความสว่างของดวงอาทิตย์ที่ยอมรับกันในปัจจุบัน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 3.839 × 1026 วัตต์ หรือ 3.839 × 1033 เอิร์ก/วินาที ค่าดังกล่าวจะสูงขึ้นเล็กน้อยเป็น 3.939 × 1026 วัตต์ (เท่ากับ 4.382 × 109 กิโลกรัม/วินาที) ถ้ารังสีนิวตริโนดวงอาทิตย์ถูกคิดรวมเข้าไปด้วยเช่นเดียวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ดวงอาทิตย์เป็นดาวแปรแสงอย่างอ่อน ดังนั้น ความสว่างของมันจึงมีความผันผวน ความผันแปรที่โดดเด่น คือ วัฏจักรสุริยะ (วัฏจักรจุดดับบนดวงอาทิตย์) ซึ่งทำให้เกิดความผันแปรตามเวลาราว ±0.1% ตัวแปรอื่น ๆ ตลอดช่วง 200-300 ปีที่ผ่านมามีการคาดการณ์ว่าส่งผลกระทบน้อยกว่านี้มาก.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและความสว่างดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์

ปัจจุบัน มีเพียงโลกเท่านั้นที่เป็นดาวเคราะห์ที่มีปัจจัยเกื้อหนุนต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์ คือการตรวจวัดศักยภาพของดาวเคราะห์หรือดาวบริวารของดาวเคราะห์ว่าสามารถรองรับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตได้หรือไม่ ชีวิตดังกล่าวนี้อาจมีวิวัฒนาการขึ้นบนดาวเคราะห์หรือดาวบริวารนั้นเอง หรืออพยพมาจากแหล่งอื่นก็ได้ ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีความแน่ชัดใดๆ เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนอกโลก ดังนั้นการศึกษาเรื่องความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์จึงใช้เงื่อนไขสภาวะแวดล้อมของโลก และคุณลักษณะของดวงอาทิตย์และระบบสุริยะเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นปัจจัยให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้บนโลก การศึกษาวิจัยในสาขานี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์และเป็นสาขาเกิดใหม่ในทางชีวดาราศาสตร์ สิ่งจำเป็นพื้นฐานที่สุดสำหรับชีวิต คือ แหล่งกำเนิดพลังงาน ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์มีความหมายพื้นฐานถึงลักษณะขอบเขตทางฟิสิกส์ธรณีวิทยา เคมีธรณีวิทยา และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่พอเหมาะพอดีในการเอื้อหนุนต่อสิ่งมีชีวิต องค์การนาซ่าได้นิยามขอบเขตพื้นฐานของความสามารถอยู่อาศัยได้ ว่า "ต้องมีน้ำในสถานะของเหลว เงื่อนไขที่ช่วยให้เกิดโมเลกุลอินทรีย์ที่ซับซ้อน และมีแหล่งพลังงานพอสำหรับสร้างเมแทบอลิซึม".

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ความส่องสว่างปรากฏ

วามส่องสว่างปรากฏ (apparent magnitude, m) เป็นหน่วยวัดความสว่างของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ หรือวัตถุท้องฟ้าอื่นในจักรวาล กล่าวอีกนัยหนึ่งคือปริมาณแสดงที่ได้รับจากวัตถุนั้น นิยามให้ความส่องสว่างปรากฏมีค่าเพิ่มขึ้น 5 หน่วยเมื่อความสว่างลดลงเหลือ 1 ใน 100 (นั่นคือเมื่อวัตถุเดียวกันแต่อยู่ไกลขึ้นเป็น 10 เท่า) หรือค่าความส่องสว่างปรากฏเพิ่มขึ้น 1 หน่วยเมื่อความสว่างลดลง 2.512 เท่า โดยที่ 2.512 คือรากที่ห้าของ 100 (1000.2) ปริมาณแสงที่รับได้ จริง ๆ แล้วจะขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นบรรยากาศในทิศทางการมองวัตถุ ดังนั้นความส่องสว่างปรากฏจึงปรับค่าให้ได้ความสว่างเมื่อผู้สังเกตอยู่นอกชั้นบรรยากาศ ยิ่งวัตถุมีแสงจางเท่าไหร่ค่าความส่องสว่างปรากฏก็ยิ่งมีค่ามากเท่านั้น.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและความส่องสว่างปรากฏ · ดูเพิ่มเติม »

ความถี่

วามถี่ (frequency) คือจำนวนการเกิดเหตุการณ์ซ้ำในหนึ่งหน่วยของเวลา ความถี่อาจเรียกว่า ความถี่เชิงเวลา (temporal frequency) หมายถึงแสดงให้เห็นว่าต่างจากความถี่เชิงพื้นที่ (spatial) และความถี่เชิงมุม (angular) คาบคือระยะเวลาของหนึ่งวงจรในเหตุการณ์ที่เกิดซ้ำ ดังนั้นคาบจึงเป็นส่วนกลับของความถี่ ตัวอย่างเช่น ถ้าหัวใจของทารกเกิดใหม่เต้นที่ความถี่ 120 ครั้งต่อนาที คาบ (ช่วงเวลาระหว่างจังหวะหัวใจ) คือครึ่งวินาที (นั่นคือ 60 วินาทีหารจาก 120 จังหวะ) ความถี่เป็นตัวแปรสำคัญในวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม สำหรับระบุอัตราของปรากฏการณ์การแกว่งและการสั่น เช่น การสั่นของเครื่องจักร โสตสัญญาณ (เสียง) คลื่นวิทยุ และแสง.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและความถี่ · ดูเพิ่มเติม »

ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร

ตัวอย่างค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร ในทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร (Orbital eccentricity) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของวงโคจร มีความหมายถึงความเบี่ยงเบนไปจากวงกลมของวงโคจรของวัตถุนั้น คำนวณโดยลักษณะเดียวกับความเยื้องศูนย์กลางของภาคตัดกรวย โดยวงโคจรของวัตถุจะมีค่าความเยื้องศูนย์กลาง(e\,\!) ดังนี้.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

ความเร็วแนวเล็ง

วามเร็วแนวเล็ง บางครั้งก็เรียกว่า ความเร็วเชิงรัศมี หรือ ความเร็วแนวรัศมี (radial velocity) เป็นความเร็วของวัตถุในทิศทางที่อยู่ตรงแนวสายตาของเรา ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนเข้าหาตัวเราหรือเคลื่อนออกจากตัวเราก็ตาม แสงจากวัตถุที่มีความเร็วแนวเล็งที่แน่นอนสามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ได้ โดยความถี่ของแสงจะลดลงขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ห่างออกไป (เรียกว่า การเคลื่อนไปทางแดง) หรือความถี่จะเพิ่มขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนใกล้เข้ามา (เรียกว่า การเคลื่อนไปทางน้ำเงิน) การวัดความเร็วแนวเล็งของดาวฤกษ์หรือวัตถุส่องสว่างอื่นที่อยู่ห่างไกลสามารถทำได้โดยการตรวจสอบสเปกตรัมความละเอียดสูงและเปรียบเทียบคลื่นความถี่ที่ได้กับแถบสเปกตรัมที่เราทราบค่าแล้วจากห้องทดลอง ตามปกติ ความเร็วแนวเล็งที่เป็นบวกหมายถึงวัตถุกำลังเคลื่อนห่างออกไป ถ้าความเร็วแนวเล็งเป็นลบ หมายถึงวัตถุกำลังเคลื่อนใกล้เข้ามา ในระบบดาวคู่หลายแห่ง การเคลื่อนที่ของวงโคจรจะทำให้ความเร็วแนวเล็งแปรค่าไปมาได้หลายกิโลเมตรต่อวินาที เมื่อค่าสเปกตรัมของดาวเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปมาจากผลของปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ จึงเรียกเหตุการณ์นี้ว่า spectroscopic binaries การศึกษาความเร็วแนวเล็งใช้เพื่อประมาณค่ามวลของดาวฤกษ์และองค์ประกอบของวงโคจรบางตัว เช่นความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรและค่ากึ่งแกนเอก กระบวนการเดียวกันนี้สามารถนำไปใช้ในการตรวจจับดาวเคราะห์รอบดาวฤกษ์ได้ ด้วยหลักการการตรวจจับความเคลื่อนไหวจะบ่งชี้ถึงคาบดาราคติของดาวเคราะห์ และขนาดของการเคลื่อนที่ทำให้สามารถคำนวณค่าต่ำสุดที่เป็นไปได้ของมวลดาวเคราะห์ได้.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและความเร็วแนวเล็ง · ดูเพิ่มเติม »

ความเอียงของวงโคจร

แสดงความเอียงของวงโคจร ความเอียงของวงโคจร (inclination) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของวงโคจร หมายถึงมุมระหว่างระนาบของวงโคจรกับระนาบอ้างอิง ความเอียงของวงโคจร เป็นหนึ่งใน 6 องค์ประกอบของวงโคจร ใช้อธิบายถึงรูปร่างและทิศทางของวงโคจรของวัตถุท้องฟ้า นับเป็นระยะเชิงมุมของระนาบวงโคจรเทียบกับระนาบอ้างอิง (โดยมากมักใช้เส้นศูนย์สูตรหรือเส้นสุริยวิถีของดาวฤกษ์แม่ในระบบ และมีหน่วยเป็นองศา) สำหรับระบบสุริยะ ความเอียงของวงโคจร (คือ i ในภาพด้านข้าง) ของดาวเคราะห์ดวงหนึ่งๆ จะเท่ากับมุมระหว่างระนาบของวงโคจรของดาวเคราะห์นั้นกับเส้นสุริยวิถี ซึ่งเป็นระนาบที่เป็นเส้นทางโคจรของโลก นอกจากนี้ยังสามารถวัดได้โดยเปรียบเทียบกับระนาบอื่นๆ เช่น เทียบกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ หรือเทียบกับระนาบโคจรของดาวพฤหัสบดี แต่การใช้เส้นสุริยวิถีในการอ้างอิงจะเหมาะสมกับผู้สังเกตการณ์บนโลกมากกว่า วงโคจรของดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะของเรามีค่าความเอียงของวงโคจรค่อนข้างน้อย ไม่ว่าจะเปรียบเทียบกันเองหรือเทียบกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ก็ตาม มีข้อยกเว้นก็เพียงในบรรดาดาวเคราะห์แคระ เช่น พลูโต และ อีรีส ซึ่งมีค่าความเอียงของวงโคจรเทียบกับสุริยวิถีสูงถึง 17 องศาและ 44 องศาตามลำดับ ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่เช่น พัลลัส ก็มีความเอียงของวงโคจรสูงถึง 34 องศา สำหรับดาวเคราะห์นอกระบบ ยังไม่ค่อยมีการวัดความเอียงของวงโคจร ทราบได้แต่เพียงมวลต่ำสุดของมันเท่านั้น ซึ่งหมายถึง ดาวเคราะห์นอกระบบบางดวงที่แท้อาจเป็นดาวแคระน้ำตาล หรือเป็นดาวแคระแดงที่จางมากๆ ก็ได้ มีแต่เพียงดาวเคราะห์ที่ตรวจพบการเคลื่อนผ่าน และที่ตรวจจับด้วยวิธีมาตรดาราศาสตร์ จึงสามารถทราบถึงความเอียงของวงโคจร และบางทีอาจทราบถึงมวลที่แท้จริงได้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2010 ข้างหน้านี้ น่าจะมีการตรวจวัดความเอียงของวงโคจรและมวลที่แท้จริงของดาวเคราะห์นอกระบบจำนวนมากได้เพิ่มขึ้น โดยใช้การสังเกตการณ์ในอวกาศผ่านปฏิบัติการต่างๆ เช่น Gaia mission, Space Interferometry Mission, และ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและความเอียงของวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

ความเป็นโลหะ (ดาราศาสตร์)

ในทางดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ ความเป็นโลหะ (metallicity) ของวัตถุคือค่าสัดส่วนองค์ประกอบของสสารในวัตถุนั้นที่มีส่วนประกอบของธาตุทางเคมีชนิดอื่นมากกว่าไฮโดรเจนและฮีเลียม ทั้งนี้ ดาวฤกษ์ซึ่งเป็นวัตถุที่สามารถมองเห็นได้ชัดในเอกภพมักประกอบด้วยไฮโดรเจนกับฮีเลียม นักดาราศาสตร์จึงนิยมเรียกส่วนที่เหลือ (ในที่ว่างดำมืด) ว่าเป็น "โลหะ" เพื่อความสะดวกในการบรรยายถึงส่วนที่เหลือทั้งหมด จากคำนิยามนี้ เนบิวลาซึ่งมีส่วนประกอบของคาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน และนีออน อยู่อย่างล้นเหลือ จึงถูกเรียกว่าเป็น "วัตถุอุดมโลหะ" ในทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ แม้ว่าองค์ประกอบเหล่านั้นไม่ได้เป็นโลหะจริงๆ ตามความหมายของเคมีดั้งเดิม จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องระมัดระวังไม่นำไปปะปนกับคำว่า "โลหะ" (metal หรือ metallic) โดยทั่วไป ความเป็นโลหะของวัตถุทางดาราศาสตร์อาจพิจารณาได้จากอายุของวัตถุนั้นๆ เมื่อแรกที่เอกภพก่อตัวขึ้นตามทฤษฎีบิกแบง มีองค์ประกอบของไฮโดรเจนอยู่อย่างมากมาย ซึ่งเมื่อผ่านช่วงนิวคลีโอซินทีสิสในยุคแรกเริ่มแล้ว จึงได้เกิดสัดส่วนฮีเลียมเพิ่มจำนวนมากขึ้น กับลิเทียมและเบริลเลียมอีกจำนวนเล็กน้อย แต่ยังไม่มีธาตุหนักเกิดขึ้น ดาวฤกษ์ที่อายุเก่าแก่จึงมักมีส่วนประกอบโลหะอยู่ค่อนข้างน้อย แต่ข้อเท็จจริงที่พบจากการเฝ้าสังเกตดาวฤกษ์จำนวนมากและพบส่วนประกอบของธาตุหนักอยู่ด้วย ยังเป็นปริศนาที่ไขไม่ออก คำอธิบายในปัจจุบันจึงเป็นการนำเสนอข้อมูลการมีอยู่ของดาวฤกษ์ชนิด Population III เชื่อกันว่า ถ้าไม่มีโลหะ ก็มีแต่เพียงดาวฤกษ์ที่มีมวลมากอย่างมหาศาลเท่านั้นที่จะก่อตัวขึ้นมาได้ และในช่วงปลายอายุขัยของมันก็จะมีการสร้างธาตุ 26 ชนิดแรกไปจนถึงเหล็กในตารางธาตุ ผ่านกระบวนการนิวคลีโอซินทีสิส ในเมื่อดาวฤกษ์เหล่านี้มีมวลมหาศาล แบบจำลองในปัจจุบันจึงระบุถึงการสิ้นอายุขัยของมันในลักษณะซูเปอร์โนวา ซึ่งทำให้สสารภายในของดาวแตกกระจายและแผ่ออกไปในเอกภพ ทำให้เกิดเป็นดาวฤกษ์ในรุ่นถัดมาที่มีส่วนประกอบของธาตุหนักอยู่ดังที่เราพบเห็นในปัจจุบัน ตามทฤษฎีเท่าที่มีในปี..

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและความเป็นโลหะ (ดาราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

คาบดาราคติ

ในทางดาราศาสตร์ คาบดาราคติ (orbital period) คือระยะเวลาที่วัตถุหนึ่งใช้ในการโคจรรอบวัตถุอื่นที่ใช้ในทางดาราศาสตร์ ซึ่งคาบดาราคตินั้นมีประโยชน์อย่างมากสำหรับนักดาราศาสตร์ ที่จะต้องใช้คาบดาราคติในการคำนวณระยะเวลาของดาวดวงหนึ่งโคจรรอบดาวอีกดวงหนึ่ง คาบดาราคติยังแบ่งออกได้เป็นหลายแบบ ดังนี้.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและคาบดาราคติ · ดูเพิ่มเติม »

ซีเอ็นเอ็น

ล นิวส์ เน็ตเวิร์ก (Cable News Network) หรือรู้จักกันในชื่อ ซีเอ็นเอ็น (CNN) เป็นเครือข่ายโทรทัศน์เคเบิล ที่เสนอข่าวสารตลอด 24 ชั่วโมง ก่อตั้งโดย เท็ด เทอร์เนอร์ เริ่มต้นออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2523 ปัจจุบันบริหารงานโดยเทิร์นเนอร์บรอดแคสติงซิสเตม หน่วยงานในเครือไทม์วอร์เนอร์ ซึ่งสำนักงานใหญ่ที่เรียกว่า ศูนย์กลางซีเอ็นเอ็น (CNN Center) ตั้งอยู่ที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย และมีห้องส่งอื่นๆ อยู่ที่นครนิวยอร์ก และกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งซีเอ็นเอ็นที่ออกอากาศในสหรัฐอเมริกา จะส่งสัญญาณไปยังประเทศแคนาดาเพียงแห่งเดียว ส่วนซีเอ็นเอ็นที่ออกอากาศอยู่ใน 212 ประเทศทั่วโลกนั้น เป็นอีกช่องหนึ่งที่เรียกว่า ซีเอ็นเอ็นนานาชาติ (CNN International) ทั้งนี้ซีเอ็นเอ็นเป็นสถานีโทรทัศน์ข่าว ที่มีผู้ชมมากเป็นอันดับต้นๆ ของสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก โดยมีคู่แข่งในประเทศที่สำคัญคือ ฟ็อกซ์นิวส์ และระดับนานาชาติคือ บีบีซี เวิลด์นิว.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและซีเอ็นเอ็น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศชิลี

ลี (Chile ชีเล) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐชิลี (Republic of Chile; República de Chile) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาใต้ มีเนื้อที่ติดชายฝั่งทะเลยาวระหว่างเทือกเขาแอนดีสกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีอาณาเขตจรดประเทศอาร์เจนตินาทางทิศตะวันออก จรดโบลิเวียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และจรดเปรูทางทิศเหนือ ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกของประเทศมีความยาว 6,435 กิโลเมตร ซีไอเอ ชิลีมีดินแดนในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยครอบครองหมู่เกาะควนเฟร์นันเดซ เกาะซาลาอีโกเมซ หมู่เกาะเดสเบนตูราดัส และเกาะอีสเตอร์ในโพลินีเซีย ชิลียังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนในแอนตาร์กติกาด้ว.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและประเทศชิลี · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์

แหล่งกำเนิดคลื่นกำลังเคลื่อนที่ไปทางซ้าย ความถี่ของคลื่นทางด้านซ้ายจึงสูงกว่าทางด้านขวา ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ (Doppler Effect) หรือบางครั้งเรียกว่า การเคลื่อนดอปเพลอร์ (Doppler shift) เป็นปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งที่ตั้งชื่อตาม คริสเตียน ดอปเพลอร์ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความถี่ของคลื่นและความยาวคลื่นในมุมมองของผู้สังเกตเมื่อมีการเคลื่อนที่ที่สัมพันธ์กับแหล่งกำเนิดคลื่นนั้น พบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันเช่น เมื่อมีรถพยาบาลส่งสัญญาณไซเรนเคลื่อนเข้าใกล้ ผ่านตัวเรา และวิ่งห่างออกไป คลื่นเสียงที่เราได้ยินจะมีความถี่สูงขึ้น (กว่าคลื่นที่ส่งออกมาตามปกติ) ขณะที่รถเคลื่อนเข้ามาหา คลื่นเสียงมีลักษณะปกติขณะที่รถผ่านตัว และจะมีความถี่ลดลงเมื่อรถวิ่งห่างออกไป คลื่นที่มีการแพร่โดยต้องอาศัยตัวกลาง เช่นคลื่นเสียง ความเร็วของผู้สังเกตกับความเร็วของแหล่งกำเนิดคลื่นจะมีความสัมพันธ์กับตัวกลางที่คลื่นนั้นแพร่ผ่าน ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์โดยรวมจะเป็นผลจากทั้งการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิด การเคลื่อนที่ของผู้สังเกต และการเคลื่อนที่ของตัวกลางด้วย ปรากฏการณ์ในแต่ละส่วนสามารถวิเคราะห์ได้โดยแยกจากกัน ส่วนคลื่นที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยตัวกลางเช่นคลื่นแสงหรือแรงโน้มถ่วงในทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ จะสนใจเฉพาะความเร็วสัมพันธ์ที่แตกต่างกันระหว่างผู้สังเกตกับแหล่งกำเนิดเท่านั้น การเปลี่ยนความถี่ของเสียงที่ผู้ฟังได้ยินจะขึ้นอยู่กับความเร็วของแหล่งกำเนิด การเปลี่ยนความถี่ของเสียงที่ผู้ฟังได้ยินจะขึ้นอยู่กับความเร็วของแหล่งกำเนิด Vs (s ย่อมาจากSource) และความเร็วของผู้ฟังVL (L ย่อมาจาก Listener) โดยทั่วไปทั้งผู้ฟังและแหล่งกำเนิดอาจจะเคลื่อนที่ได้ ดังนั้นในการวิเคราะห์จึงไม่เหมาะสมที่จะใช้ผู้ฟังหรือแหล่งกำเนิดเป็นกรอบอ้างอิง ในที่นี่จึงใช้ตัวกลางที่เสียงเคลื่อนที่เป็นการอ้างอิง ซึ่งจะทำให้อัตราเร็วเสียงคงตัวเสมอ ไม่ขึ้นอยู่กับความเร็วของแหล่งกำเนิดหรือผู้ฟัง ในส่วนของของความเร็ซของแหล่งกำเนิด VS และความเร็วของผู้ฟัง VL จะวัดเทียบตัวกลางของคลื่นเสียงด้วย และเนื่องจากการศึกษาปรากฎการณ์คอปเพลอร์ในที่นี้เป็นเป็นเพียงการศึกษาในเบื้องต้น ดังนั้นจะพิจารณาเฉพาะกรณีที่ความเร็วของแหล่งกำเนิดและผู้ฟังอยู่บนเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างแหล่งกำเนิดกับผู้ฟังเท่านั้น (การเคลื่อนที่ 1 มิติ).

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปีแสง

ปีแสง (อังกฤษ: light-year) คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792,458 เมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607 กิโลเมตร.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและปีแสง · ดูเพิ่มเติม »

นักดาราศาสตร์

''กาลิเลโอ'' ผู้ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นบิดาของนักดาราศาสตร์ยุคใหม่ นักดาราศาสตร์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับดาราศาสตร์หรือฟิสิกส์ดาราศาสตร์ แต่เดิมมาในอดีตกาล นักดาราศาสตร์ นักฟิสิกส์ หรือนักปรัชญา มักจะเป็นบุคคลคนเดียวกัน เพราะเป็นผู้สืบหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ ต่อมาผู้ที่ให้ความสนใจกับปรากฏการณ์บนท้องฟ้าเป็นพิเศษ จึงเรียกเฉพาะเจาะจงไปว่าเป็น "นักดาราศาสตร์" หมวดหมู่:อาชีพ.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและนักดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำ

น้ำในสองสถานะ: ของเหลว (รวมทั้งก้อนเมฆซึ่งเป็นตัวอย่างของละอองลอย) และของแข็ง (น้ำแข็ง) น้ำเป็นสิ่งที่โปร่งใส ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น และเกือบจะไม่มีสี ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบหลักของลำธาร, แม่น้ำ, และมหาสมุทรในโลก เป็นต้น และยังเป็นของเหลวในสิ่งมีชีวิต มีสูตรเคมีคือ H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ขอบน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น หิมะ, ธารน้ำแข็ง, และภูเขาน้ำแข็ง, ก้อนเมฆ, หมอก, น้ำค้าง, ชั้นหินอุ้มน้ำ และ ความชื้นในบรรยากาศ น้ำปกคลุม 71% บนพื้นผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต น้ำบนโลก 96.5% พบในมหาสมุทร 1.7% ในน้ำใต้ดิน 1.7% ในธารน้ำแข็งและชั้นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเศษส่วนเล็กน้อยบนผิวน้ำขนาดใหญ่ และ 0.001% พบในอากาศเป็นไอน้ำ ก้อนเมฆ (ก่อตัวขึ้นจากอนุภาคน้ำในสถานะของแข็งและของเหลวแขวนลอยอยู่บนอากาศ) และหยาดน้ำฟ้า น้ำบนโลกเพียง 2.5% เป็นน้ำจืด และ 98.8% ของน้ำจำนวนนั้นพบในน้ำแข็งและน้ำใต้ดิน น้ำจืดน้อยกว่า 0.3% พบในแม่น้ำ ทะเลสาบ และชั้นบรรยากาศ และน้ำจืดบนโลกในปริมาณที่เล็กลงไปอีก (0.003%) พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ น้ำบนโลกเคลื่อนที่ต่อเนื่องตามวัฏจักรของการระเหยเป็นไอและการคายน้ำ (การคายระเหย) การควบแน่น การตกตะกอน และการไหลผ่าน โดยปกติจะไปถึงทะเล การระเหยและการคายน้ำนำมาซึ่งการตกตะกอนลงสู่พื้นดิน น้ำดื่มสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แม้ว่าน้ำจะไม่มีแคลอรีหรือสารอาหารที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ใดๆ การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในเกือบทุกส่วนของโลก แต่ประชากรประมาณ 1 พันล้านคนยังคงขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดและกว่า 2.5 พันล้านคนขาดแคลนสุขอนามัยที่เพียงพอ มีความเกี่ยวพันกันเรื่องน้ำสะอาดและค่า GDP ต่อคน อย่างไรก็ดี นักสังเกตบางคนประมาณไว้ว่าภายในปี..

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

แอมพลิจูด

RMS amplitude (\scriptstyle\hat U/\sqrt2),4.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและแอมพลิจูด · ดูเพิ่มเติม »

แอลฟาคนครึ่งม้า

ที่ตั้งของแอลฟาคนครึ่งม้า A และ B แอลฟาคนครึ่งม้า (α-Centauri) หรือ ไรจิลเคนทอรัส (Rigil Kentaurus) เป็นดาวฤกษ์สว่างที่สุดในกลุ่มดาวคนครึ่งม้าทางใต้ แม้จะมองด้วยตาเปล่าเห็นเป็นวัตถุเดียว แต่แท้จริงแล้ว แอลฟาคนครึ่งม้าเป็นระบบดาวคู่ (ชื่อ แอลฟาคนครึ่งม้า AB) มีโชติมาตรปรากฏ -0.27 ทำให้เป็นดาวฤกษ์เดี่ยวที่สว่างที่สุดอันดับ 3 ในท้องฟ้ากลางคืน รองจากดาวซิริอุสและดาวคาโนป.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและแอลฟาคนครึ่งม้า · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและโลก · ดูเพิ่มเติม »

เพลบลูดอต

ลกเมื่อมองจากระยะ 6 พันล้านกิโลเมตรจะปรากฏเป็นจุดสีน้ำเงินจางเล็ก ๆ ท่ามกลางอวกาศอันกว้างใหญ่ (จุดกลางภาพค่อนไปทางขวามือ ในลำแสงอาทิตย์ที่ถูกกระเจิงโดยกล้องของยาน) เพลบลูดอต (Pale Blue Dot, "จุดสีน้ำเงินซีด") เป็นภาพถ่ายของโลก ถ่ายเมื่อวันที่ 14 กุมภาพัน..

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและเพลบลูดอต · ดูเพิ่มเติม »

เส้นสเปกตรัม

ปกตรัมต่อเนื่อง สเปกตรัมแบบเส้นสว่าง หรือเส้นการแผ่ (emission line) สเปกตรัมแบบเส้นมืด หรือเส้นการดูดกลืน (absorption line) เส้นสเปกตรัม คือแสงที่เป็นเส้นหรือแถบที่แสดงออกมาเป็นสี โดยการแผ่รังสีที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านปริซึม แผ่นเกรตติ้ง หรือสเปกโตรสโคป เห็นเป็นสีได้ 7 สี ซึ่งไม่มีความต่อเนื่องกัน มีการเว้นช่วงความถี่และมีความยาวคลื่นแตกต่างกันจนเกิดเป็นแถบ ๆ เรียงกันไป คำว่า สเปกตรัม มาจากภาษาละตินมีความหมายว่า “Ghost” เพราะแสงพวกนี้ปรากฏแสงเป็นแบบ “Gostlike” จากแสงของจริงที่เป็นแสงสีขาว ไม่มีสีสันอย่างสเปกตรัมนั่นเอง เส้นสเปกตรัมเป็นหนึ่งในประเภทของสเปกตรัมจาก 2 ประเภท ได้แก่ สเปกตรัมไม่ต่อเนื่อง (Continuous spectrum) และสเปกตรัมต่อเนื่อง (Continuous spectrum) ซึ่งสเปกตรัมต่อเนื่องนั้นจะมีแถบสีที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันไป เช่น สเปกตรัมจากวัตถุดำ ซึ่งหมายถึงวัตถุที่มีคุณสมบัติดูดกลืนแสง ไม่สามารถสะท้อนได้ ทึบตัน สามารถหมายถึงดาวฤกษ์ ซึ่งก็คือดวงอาทิตย์ และยังหมายถึงไส้หลอดไฟต่าง ๆ เป็นต้น ส่วนเส้นสเปกตรัมถือเป็นสเปกตรัมไม่ต่อเนื่องที่มีการแผ่รังสีเป็นแถบ ๆ เส้น ๆ เว้นระยะไปและมีความถี่และความยาวคลื่นบางครั้ง ไม่มีความต่อเนื่องกันเลย เช่น สเปคตรัมของอะตอมไฮโดรเจน.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและเส้นสเปกตรัม · ดูเพิ่มเติม »

เขตร้อน

แผนที่โลกที่เน้นเขตร้อนด้วยสีแดง เขตร้อนหรือโซนร้อน (tropics) เป็นบริเวณของโลกที่อยู่รอบเส้นศูนย์สูตร จำกัดด้วยเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ในซีกโลกเหนือ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) เหนือ และทรอปิกออฟแคปริคอร์นในซีกโลกใต้ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) ใต้ ละติจูดนี้ใกล้เคียงกับความเอียงของแกนโลก เขตร้อนรวมทุกพื้นที่บนโลกซึ่งดวงอาทิตย์ถึงจุดใต้แสงอาทิตย์ (subsolar point) คือ จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ตรงเหนือศีรษะพอดี อย่างน้อยครั้งหนึ่งในปีสุริยคติ.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

เขตอาศัยได้

ตัวอย่างของระบบตาม ความสว่างของดาวฤกษ์ เพื่อคาดการณ์ที่ตั้งของโซนอาศัยอยู่รอบ ๆหลายประเภทของดาวฤกษ์,ขนาดดาวเคราะห์,ขนาดดาวฤกษ์,ระยะโคจร และขนาดโซนอาศัยไม่ได้ระดับ เขตอาศัยได้ (habitable zone) ในทางดาราศาสตร์ หมายถึง ย่านหนึ่งในอวกาศที่ซึ่งดาวเคราะห์คล้ายโลกสามารถดำรงน้ำในสถานะของเหลวได้บนพื้นผิว และสามารถมีสิ่งมีชีวิตคล้ายกับสิ่งมีชีวิตบนโลก เขตอาศัยได้เป็นจุดตัดกันระหว่างสองเขตที่ต่างก็เอื้อต่อการให้กำเนิดชีวิต คือหนึ่ง ภายในระบบดาวเคราะห์ และสอง คือภายในดาราจักร ดาวเคราะห์และดวงจันทร์บริวารของมันที่อยู่ในเขตนี้มีโอกาสมากที่จะเป็นแหล่งอยู่อาศัยของมนุษย์ได้ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตต่างดาวลักษณะคล้ายคลึงกับเราอยู่ที่นั่น จะต้องไม่สับสนปนเประหว่าง เขตอาศัยได้ กับ ดาวเคราะห์ที่อยู่อาศัยได้ (planetary habitability) ซึ่งในข้อหลังนี้จะคำนึงถึงเงื่อนไขต่างๆ ของดาวเคราะห์ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่มีคาร์บอนเป็นพื้นฐาน (carbon-based life) ขณะที่ เขตอาศัยได้ คำนึงถึงเงื่อนไขเกี่ยวกับดาวฤกษ์ซึ่งส่งอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่มีคาร์บอนเป็นพื้นฐาน.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและเขตอาศัยได้ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะการ์เดียน

อะการ์เดียน (The Guardian) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันฝ่ายซ้ายกึ่งสายกลางแห่งชาติอังกฤษ ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและเดอะการ์เดียน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะนิวยอร์กไทมส์

อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและเดอะนิวยอร์กไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เคลวิน

ลวิน (kelvin, สัญลักษณ์: K) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหนึ่ง และเป็นหน่วยพื้นฐานหนึ่งในเจ็ดของระบบเอสไอ นิยามให้เท่ากับ 1/273.16 เท่าของอุณหภูมิเทอร์โมไดนามิกของจุดสามสถานะของน้ำ เคลวินตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแต่นักฟิสิกส์และวิศวกรชาวอังกฤษ วิลเลียม ทอมสัน บารอนที่หนึ่งแห่ง เคลวิน (William Thomson, 1st Baron Kelvin) ซึ่งชื่อบรรดาศักดิ์นี้ตั้งตามชื่อ แม่น้ำเคลวิน อีกทีหนึ่ง แม่น้ำสายนี้ตัดผ่านมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ สกอตแลนด์ เคลวิน เป็นหน่วยของหน่วยวัดอุณหภูมิหนึ่ง ที่ลอร์เควิน ได้พัฒนาคิดสเกลขึ้นใหม่ โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและความเร็วของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบนิวเคลียส โดยสังเกตว่าถ้าให้ความร้อนกับสสารมากขึ้น อิเล็กตรอนจะมีพลังงานมากขึ้น ทำให้เคลื่อนที่มีความเร็วมากขึ้น ในทางกลับกันถ้าลดความร้อนให้กับสสาร อิเล็กตรอนก็จะมีพลังงานน้อยลง ทำให้การเคลื่อนที่ลดลง และถ้าสามารถลดอุณหภูมิลงจนถึงจุดที่อิเล็กตรอนหยุดการเคลื่อนที่ ณ จุดนั้น จะไม่มีอุณหภูมิหรือพลังงานในสสารเลย และจะไม่มีการแผ่รังสีความร้อนจากวัตถุ จึงเรียกอุณหภูมิ ณ จุดนี้ว่า ศูนย์สัมบูรณ์ (0 K) หมวดหมู่:หน่วยฐานเอสไอ หมวดหมู่:หน่วยวัดอุณหภูมิ.

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและเคลวิน · ดูเพิ่มเติม »

เนเจอร์ (วารสาร)

วารสาร''เนเจอร์''ฉบับแรก วันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1869 เนเจอร์ เป็นวารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและเนเจอร์ (วารสาร) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Proxima Centauri bProxima b

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »