โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พร็อกซิมาคนครึ่งม้าและเขตพาความร้อน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พร็อกซิมาคนครึ่งม้าและเขตพาความร้อน

พร็อกซิมาคนครึ่งม้า vs. เขตพาความร้อน

ร็อกซิมาคนครึ่งม้า (Proxima Centauri) คือดาวแคระแดงในกลุ่มดาวคนครึ่งม้าที่อยู่ห่างจากระบบสุริยะของเราในระยะประมาณ 4.2 ปีแสง ค้นพบโดยโรเบิร์ต อินเนส ผู้อำนวยการหอดูดาวยูเนียนในแอฟริกาใต้เมื่อปี พ.ศ. 2458 ได้ชื่อว่าเป็นดาวฤกษ์ดวงที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะมากที่สุดเท่าที่รู้จักกันในปัจจุบัน พร็อกซิมาคนครึ่งม้าอยู่ห่างจากระบบดาวคู่แอลฟาคนครึ่งม้า ซึ่งสว่างกว่าและเป็นดาวที่อยู่ห่างจากโลกเป็นอันดับ 2 และ 3 ประมาณ 0.237 ± 0.011 ปีแสง มีความเป็นไปได้ที่พร็อกซิมาคนครึ่งม้าจะเป็นส่วนหนึ่งในระบบดาวสามดวงร่วมกับแอลฟาคนครึ่งม้า เอ และแอลฟาคนครึ่งม้า บี. วาดแสดงโครงสร้างของดวงอาทิตย์: 1. แกนกลาง 2. เขตแผ่รังสี 3. เขตพาความร้อน 4. โฟโตสเฟียร์ 5. โครโมสเฟียร์ 6. โคโรนา 7. จุดมืดดวงอาทิตย์ 8. Granules 9. Prominence เขตพาความร้อน (Convection zone) ของดาวฤกษ์ คือขอบเขตช่วงหนึ่งของรัศมีที่ซึ่งพลังงานเคลื่อนที่ออกมาโดยการพาความร้อน ขณะที่ในเขตแผ่รังสีนั้นพลังงานเคลื่อนที่ออกมาด้วยการแผ่รังสี การพาความร้อนของดาวฤกษ์ประกอบด้วยการเคลื่อนไหวของมวลพลาสมาภายในดาว ซึ่งตามปกติจะทำให้เกิดกระแสการพาความร้อนหมุนวน โดยกระแสพลาสมาร้อนหมุนออกมาและกระแสพลาสมาเย็นหมุนกลับไป ในดาวฤกษ์หนึ่งๆ การพาความร้อนเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างของอุณหภูมิมีสูงมาก (เช่น มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็วที่ระยะห่างจากจุดศูนย์กลางของดาว) ดาวฤกษ์ทุกดวงจะร้อนที่สุดที่แกนกลาง และเย็นที่สุดที่ชั้นโฟโตสเฟียร์ ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่า 1.1 เท่าของดวงอาทิตย์ การเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แปลงไฮโดรเจนไปเป็นฮีเลียมจะเกิดขึ้นจากวงจรปฏิกิริยาคาร์บอน-ไนโตรเจน-ออกซิเจน มิได้เกิดจากห่วงโซ่ปฏิกิริยาโปรตอน-โปรตอน เพราะในวงจรปฏิกิริยาคาร์บอน-ไนโตรเจน-ออกซิเจนนั้น อุณหภูมิเป็นเรื่องอ่อนไหวมาก ที่แกนกลางดาวนั้นร้อนจัดแต่อุณหภูมิก็ลดลงอย่างรวดเร็วมาก ดังนั้นจึงเกิดย่านการพาความร้อนขึ้นซึ่งผสมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนกับฮีเลียมที่เป็นผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ ดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักที่มีมวลต่ำ เช่นดาวแคระแดง รวมไปถึงดาวฤกษ์หลังแถบลำดับหลัก เช่น ดาวยักษ์แดง มีแต่ย่านการพาความร้อนตลอดทั้งดวง ไม่มีย่านการแผ่รังสี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พร็อกซิมาคนครึ่งม้าและเขตพาความร้อน

พร็อกซิมาคนครึ่งม้าและเขตพาความร้อน มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ดาวฤกษ์ดาวแคระแดง

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ดาวฤกษ์และพร็อกซิมาคนครึ่งม้า · ดาวฤกษ์และเขตพาความร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแคระแดง

วาดแสดงลักษณะของดาวแคระแดง ซึ่งเป็นดาวฤกษ์จำนวนมากที่สุดบนท้องฟ้า อธิบายตามไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ ดาวแคระแดง (Red dwarf) คือดาวฤกษ์ที่มีขนาดเล็กและมีอุณหภูมิที่ค่อนข้างต่ำมาก เทียบกับบรรดาดาวฤกษ์บนแถบลำดับหลักทั้งหมด โดยมีค่าสเปกตรัมประมาณตอนปลายของประเภท K หรือ M ดาวฤกษ์ประเภทนี้มีจำนวนมากที่สุดในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมด มีมวลน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของดวงอาทิตย์ (หากต่ำถึง 0.075 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ จะเรียกว่า ดาวแคระน้ำตาล) และมีอุณหภูมิพื้นผิวต่ำกว่า 3,500 เคลวิน.

ดาวแคระแดงและพร็อกซิมาคนครึ่งม้า · ดาวแคระแดงและเขตพาความร้อน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พร็อกซิมาคนครึ่งม้าและเขตพาความร้อน

พร็อกซิมาคนครึ่งม้า มี 10 ความสัมพันธ์ขณะที่ เขตพาความร้อน มี 18 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 7.14% = 2 / (10 + 18)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พร็อกซิมาคนครึ่งม้าและเขตพาความร้อน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »