โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าสุทโธทนะและพระโคตมพุทธเจ้า

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระเจ้าสุทโธทนะและพระโคตมพุทธเจ้า

พระเจ้าสุทโธทนะ vs. พระโคตมพุทธเจ้า

ระเจ้าสุทโธทนะ (สุทฺโธทน; ศุทฺโธทน (शुद्धोदन); Suddhodana) มักเรียกว่า พระเจ้าสิริสุทโธทน์สุทรรศน์ มีพระนามราชสกุลว่าโคตมะ เป็นพระมหากษัตริย์แคว้นสักกะ (ซึ่งมีนครหลวงคือกรุงกบิลพัสดุ์) เป็นพุทธบิดาของพระโคตมพุทธเจ้า พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสีหหนุกับพระนางกัญจนา มีพระอนุชาและพระกนิษฐาร่วมพระชนกชนนีอีก 6 พระองค์ ได้แก่ สุกโกทนะ อมิโตทนะ โธโตทนะ ฆนิโตทนะ ปมิตา และอมิตา พระเจ้าสุทโธทนะ มีพระอัครมเหสีนามว่าพระนางสิริมหามายา เจ้าหญิงโกลิยวงศ์จากกรุงเทวทหะ และมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งคือ “เจ้าชายสิทธัตถะ” ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และหลังจากพระสิทธัตถราชกุมารประสูติได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายาก็สวรรคต พระสุทโธทนะจึงอภิเษกสมรสใหม่กับพระนางมหาปชาบดีหรือโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาร่วมชนนีกับพระนางสิริมหามายา และมีพระโอรสคือ “เจ้าชายนันทะ” และพระธิดาคือ “เจ้าหญิงรูปนันทา” พระเจ้าสุทโธทนะเป็นกษัตริย์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมและยึดมั่นในราชประเพณีอย่างเคร่งครัดในการปกครองบ้านเมือง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขตลอดรัชสมัยของพระองค์ ทรงมุ่งหวังที่จะให้พระโอรสโดยเฉพาะสิทธัตถะได้รับเลือกจากสภาศากยะให้เป็นราชาสืบต่อจากตน แต่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช และพอทราบว่า เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จึงเชิญพระศาสดากลับมาที่กรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อพระบรมศาสดาที่เสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์คราวนี้ พระเจ้าสุทโธทนะได้สดับรับฟังพระธรรมเทศนา ทรงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา บรรลุพระโสดาบันเป็นอุบาสกพุทธบริษัท ในพรรษาที่ 5 ของพระโคตมพุทธเจ้า พระเจ้าสุทโธทนะประชวรหนัก พระบรมศาสดาเสด็จจากกูฎาคาร ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี มายังเมืองกบิลพัสดุ์ แสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา 7 วัน ในวันสุดท้าย พระเจ้าสุทโธทนะได้บรรลุพระอรหัตผลและนิพพาน ภาพ:BabyBuddha.JPG|ภาพวาดพุทธประวัติ: พระเจ้าสุทโธทนะทรงอุ้มเจ้าชายสิทธัตถะ (พระราชโอรส) ให้กาฬเทวินดาบสทำนายมหาบุรุษลักษณะของพระราชกุมาร. ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระเจ้าสุทโธทนะและพระโคตมพุทธเจ้า

พระเจ้าสุทโธทนะและพระโคตมพุทธเจ้า มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีพระนางสิริมหามายาพุทธศักราชกบิลพัสดุ์ศาสนาพุทธสักกะอุบาสก อุบาสิกาเทวทหะ

พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี

ระมหาปชาบดีโคตมีเถรี หรือพระนามเดิม พระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าอัญชนาธิปราชแห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ และเป็นพระขนิษฐภคินี(น้องสาว)ของพระนางสิริมหามายา ผู้เป็นพระพุทธมารดา ดังนั้นพระนางมหาปชาบดีโคตมีจึงเป็นพระมาตุจฉาของพระสมณโคดมพุทธเจ้า ทรงเป็นภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา และทรงได้เรียนกรรมฐานและทรงปฏิบัติอย่างจริงจัง จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พระพุทธจ้าทรงยกย่องท่านว่าเป็นเอตทัคคะ คือเลิศกว่าผู้อื่นในทางรัตตัญญู (คือผู้มีรู้ราตรีนาน) พระนางมหาปชาบดีโคตมีเป็นพระมาตุจฉาของพระพุทธเจ้า และเมื่อพระนางสิริมหามายาสวรรคตแล้ว หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ 7 วัน ในกาลต่อมาพระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงตั้งพระนางมหาปชาบดีโคตมีไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี ซึ่งพระนางได้ทรงถวายการอภิบาลเจ้าชายสิทธัตถะ เสมือนเป็นพระราชโอรสของพระองค์เอง พระนางมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งพระนามว่า เจ้าชายนันทะ และมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่งพระนามว่า เจ้าหญิงรูปนันทา ภาพขณะพระนางปชาบดีโคตมีทูลขอบวชเป็นพระภิกษุณี วาดโดยเหม เวชกร พระนางได้ทรงแสดงความประสงค์จะบวชต่อพระพุทธเจ้าในคราวที่พระองค์เสด็จไปโปรดพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ แต่พระพุทธเจ้ามิได้ทรงอนุญาตให้พระนางผนวช เนื่องจากยังไม่เคยทรงอนุญาตให้สตรีอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองเวสาลีและประทับอยู่ที่ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน พระนางปชาบดีโคตมีพร้อมด้วยเหล่านางสากิยานีจำนวนมาก จึงได้ปลงพระเกศา ห่มผ้ากาสายะ เป็นการแสดงเจตนาที่จะบวชอย่างแรงกล้า โดยเสด็จไปยังกูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เมืองเวสาลี เพื่อทรงทูลขออุปสมบท โดยพระนางได้ทรงแจ้งพระประสงค์ต่อพระอานนท์ให้นำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า ขอให้พระนางพร้อมทั้งเหล่านางสากิยานีได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระอานนท์ใช้ความพยายามอยู่หลายหน พระพุทธเจ้าจึงทรงออกหลัก ปฏิบัติเป็นพิเศษสำหรับสตรีผู้ที่จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา คือครุธรรม 8 ซึ่งพระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงยินดีปฏิบัติตามครุธรรม ทั้ง 8 ประการ จึงได้รับการอุปสมบทในพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเหล่านางสากิยานี หลังจากการอุปสมบท พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีได้ทรงเรียนกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าทรงประทานและปฏิบัติอย่างจริงจัง จนได้บรรลุพระอรหันต์ แม้ภิกษุณีเหล่าสากิยานีที่อุปสมบทพร้อมกับท่านก็ได้บรรลุพระอรหันต์เหมือนกัน.

พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีและพระเจ้าสุทโธทนะ · พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระนางสิริมหามายา

มายาเทวี (मायादेवी) หรือ สิริมหามายา เป็นพระมารดาของพระโคตมพุทธเจ้า พระศาสดาแห่งศาสนาพุทธ และเป็นพระเชษฐภคินีของพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา Buddhist Goddesses of India by Miranda Shaw (Oct 16, 2006) pages 45-46History of Buddhist Thought by E. J. Thomas (Dec 1, 2000) pages เอกสารทางพุทธศาสนาระบุว่า พระนางสิริมหามายาสวรรคตหลังประสูติการพระโคตมพุทธเจ้าได้เพียง 7 วัน เพราะสงวนครรภ์ไว้แด่พระโพธิสัตว์เพียงพระองค์เดียว หลังจากนั้นพระองค์จึงจุติบนสวรรค์ตามคติฮินดู-พุทธ ส่วนพระราชกุมารนั้นได้รับการอภิบาลโดยพระนางมหาปชาบดีโคตมี พระขนิษฐาที่ต่อมาได้เป็นอัครมเหสีในพระเจ้าสุทโธทนะ พระนาม "มายา" เป็นคำสันสกฤตมีความหมายว่า "ภาพลวงตา" บ้างออกพระนามเป็นมหามายา (महामाया, มายาผู้ยิ่งใหญ่) หรือมายาเทวี (मायादेवी, มายาผู้เป็นนางกษัตริย์).

พระนางสิริมหามายาและพระเจ้าสุทโธทนะ · พระนางสิริมหามายาและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พุทธศักราช

ทธศักราช ย่อว.. เป็นศักราชที่เริ่มนับเมื่อพระโคตมพุทธเจ้าปรินิพพาน ในประเทศไทยเริ่มนับเมื่อปรินิพพานแล้ว 1 ปี แต่ในเช่น ในประเทศไทยเป็นปี..

พระเจ้าสุทโธทนะและพุทธศักราช · พระโคตมพุทธเจ้าและพุทธศักราช · ดูเพิ่มเติม »

กบิลพัสดุ์

ซากกรุงกบิลพัสด์ประเทศเนปาล กบิลพัสดุ์ (Kapilavatthu กปิลวัตถุ; Kapilavastu กปิลวัสตุ; Kapilavastu) เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นสักกะ เป็นเมืองของพระเจ้าสุทโธทนะผู้เป็นพระราชบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าทรงเจริญเติบโตและประทับอยู่จนกระทั่งพระชนมายุ 29 ปี ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนตอนเหนือประเทศอินเดีย ยังเหลือซากเมืองอยู่เป็นหลักฐาน และไม่ห่างจากเมืองนี้มีสังเวชนียสถานที่สำคัญคือสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าซึ่งเรียกว่าลุมพินีวันปรากฏอยู่ บริเวณลุมพินีมีวัดพุทธของประเทศไทยและของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาอีกหลายวัด เป็นดินแดนที่พุทธศาสนิกชนทั่วโลกนิยมไปแสวงบุญกัน กบิลพัสดุ์ แปลตามศัพท์ว่า "ที่อยู่ของกบิลดาบส"เพราะบริเวณที่ตั้งเมืองนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของดาบสชื่อ กบิล พวกเจ้าศากยะได้มาจับจองตั้งเป็นเมืองขึ้นและตั้งชื่อเมืองใหม่นี้ว่ากบิลพัสดุ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่กบิล.

กบิลพัสดุ์และพระเจ้าสุทโธทนะ · กบิลพัสดุ์และพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

พระเจ้าสุทโธทนะและศาสนาพุทธ · พระโคตมพุทธเจ้าและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สักกะ

กยะ (शाक्य ศากฺย) หรือ สักกะ (Sakka, Sakya, Sākiya) เป็นราชสกุลและเชื้อชาติหนึ่งซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าโอกกากะ บรรพชนของตระกูลนี้ได้สร้างและครองกรุงกบิลพัสดุ์ พระโคตมพุทธเจ้าก็มาจากราชสกุลนี้ และเรียกแคว้นของชาวศากยะว่าสักกชนบท.

พระเจ้าสุทโธทนะและสักกะ · พระโคตมพุทธเจ้าและสักกะ · ดูเพิ่มเติม »

อุบาสก อุบาสิกา

อุบาสก แปลว่า ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย หมายถึงผู้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา ผู้นับถือศาสนาอย่างมั่นคง ถ้าเป็นหญิง ใช้ว่า อุบาสิกา อุบาสก เรียกกร่อนไปว่า ประสก คำว่า อุบาสิกา เรียกกร่อนไปว่าสีกา ก็มี เรียกชายหญิงที่รักษาอุโบสถศีลโดยค้างคืนที่วัดในวันพระว่า อุบาสกอุบาสิกา อุบาสกอุบาสิกา ปกติหมายถึงชาวบ้านทั่วไปที่นับถือพระพุทธศาสนา บำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนา ไปวัดทำบุญให้ทาน ถือศีล อุปถัมภ์บำรุงวัด ช่วยเหลือกิจการของวัดเป็นประจำ.

พระเจ้าสุทโธทนะและอุบาสก อุบาสิกา · พระโคตมพุทธเจ้าและอุบาสก อุบาสิกา · ดูเพิ่มเติม »

เทวทหะ

ทวทหะ (Devadaha) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกลิยะ 1 ใน มหาชนบทในสมัยพุทธกาล เป็นเมืองที่ประสูติของพระนางสิริมหามายา ผู้เป็นพระราชมารดาของเจ้าชายสิทธัตถะซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และเป็นเมืองพี่เมืองน้องในฐานะพระประยูรญาติของศากยวงศ์และโกลิยวงศ์แห่งแคว้นสักกะ (กรุงกบิลพัสดุ์) และโกลิยะ (กรุงเทวทหะ) เมืองแห่งนี้ ปัจจุบันเหลือเพียงซากโบราณสถานอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนตอนเหนือของประเทศอินเดีย ยังเหลือซากเมืองอยู่เป็นหลักฐาน และไม่ห่างจากเมืองนี้มีสังเวชนียสถานที่สำคัญคือสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าซึ่งเรียกว่าลุมพินีวันปรากฏอยู่ บริเวณลุมพินีมีวัดพุทธของประเทศไทยและของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาอีกหลายวัด เป็นดินแดนที่พุทธศาสนิกชนทั่วโลกนิยมไปแสวงบุญ.

พระเจ้าสุทโธทนะและเทวทหะ · พระโคตมพุทธเจ้าและเทวทหะ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระเจ้าสุทโธทนะและพระโคตมพุทธเจ้า

พระเจ้าสุทโธทนะ มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ พระโคตมพุทธเจ้า มี 180 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 4.10% = 8 / (15 + 180)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระเจ้าสุทโธทนะและพระโคตมพุทธเจ้า หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »