เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พระโกศทองใหญ่และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระโกศทองใหญ่และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

พระโกศทองใหญ่ vs. สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

ระโกศทองใหญ่ รัชกาลที่ 5 ในงานพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระโกศทองใหญ่ ทรงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ขณะประดิษฐานบนพระมหาพิชัยราชรถในพระราชพิธีเชิญพระโกศทรงพระศพออกพระเมรุ พระโกศทองใหญ่ หรือ พระลองทองใหญ่ เป็นพระโกศสำหรับทรงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์และพระศพของพระบรมวงศ์ชั้นสูง สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช นับเป็นพระโกศที่มีลำดับยศสูงที่สุด โดยได้ใช้ทรงพระศพของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพเป็นพระองค์แรก (แต่ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับตัวเขียน ระบุว่าพระศพสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีสุนทรเทพนั้น ใช้พระโกศไม้สิบสอง และเมื่อเสร็จการพระศพจึงลอกทองที่หุ้มพระโกศไม้สิบสองมาหุ้มทำพระโกศทองใหญ่และทรงพระบรมศพของรัชกาลที่ 1 เป็นพระองค์แรก) พระโกศทองใหญ่ใช้ทรงพระศพของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีเป็นพระองค์ล่าสุด นอกจากนี้ พระโกศทองใหญ่ยังใช้เป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศพระศพสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ที่บรรจุพระบรมศพและพระศพลงในหีบพระศพแทนการลงพระโกศ เช่น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุล. มเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี (พระยศเดิม:สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าบุญรอด; พระราชสมภพ: 21 กันยายน พ.ศ. 2310 — สวรรคต: 18 ตุลาคม พ.ศ. 2379) หรือคนทั้งหลาย เรียกว่า สมเด็จพระพันวษา เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์ (พระเชษฐภคินีพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) กับเจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน ต่อมาได้รับราชการฝ่ายในเป็นพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชสวามี พระองค์เสด็จออกไปประทับ ณ พระราชวังเดิม พร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฑามณี พระราชโอรสพระองค์เล็ก พระองค์สวรรคตในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระบรมอัฐิเป็น กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาต.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระโกศทองใหญ่และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

พระโกศทองใหญ่และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี มี 11 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษ์มนตรีสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเกศ กรมขุนอิศรานุรักษ์สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแจ่ม กรมหลวงศรีสุนทรเทพสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม..

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและพระโกศทองใหญ่ · พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

งเรือหลวงในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พระราชสมภพ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 - สวรรคต 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ครองราชย์ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน เวลาเช้า 5 ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพัน..

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและพระโกศทองใหญ่ · พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระโกศทองใหญ่ · พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมเด็จพระอนุชาธิราชในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงได้รับพระบวรราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 รองจากพระบรมเชษฐา สูงศักดิ์กว่า "วังหน้า" กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (พระมหาอุปราช)พระองค์ใดในอดีต เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 เมื่อมีพระชนมายุได้ 43 พรรษ.

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระโกศทองใหญ่ · พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (31 มีนาคม พ.ศ. 2330 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม (ภายหลังได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จพระศรีสุลาไลย) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม เวลาค่ำ 10.30 น. (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 7 ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริดำรงราชสมบัติได้ 27 ปี ทรงมีเจ้าจอมมารดาและเจ้าจอม 56 ท่าน มีพระราชโอรสธิดาทั้งสิ้น 51 พระองค์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สิริพระชนมายุ 64 พรรษ.

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระโกศทองใหญ่ · พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษ์มนตรี

มเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษ์มนตรี (1 กันยายน พ.ศ. 2313 - 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2365) หรือพระนามเดิมว่า จุ้ย พระโอรสลำดับที่ 5 ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์ กับเจ้าขรัวเงิน ประสูติในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ เดือน 10 ขึ้น 12 ค่ำ ปีขาลโทศก..

พระโกศทองใหญ่และสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษ์มนตรี · สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษ์มนตรี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเกศ กรมขุนอิศรานุรักษ์

มเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ (9 มีนาคม พ.ศ. 2316 – 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2373) หรือพระนามเดิมว่า เกศ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ กับเงิน แซ่ตัน เป็นต้นราชสกุลอิศรางกูร ณ อ.

พระโกศทองใหญ่และสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเกศ กรมขุนอิศรานุรักษ์ · สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเกศ กรมขุนอิศรานุรักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี

มเด็จพระอมรินทราบรมราชินี (9 มีนาคม พ.ศ. 2280 - 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2369) หรือ สมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์ พระนามเดิม นาค เป็นสมเด็จพระราชินีพระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2280 ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ณ บ้านบางช้าง ตำบลอัมพวา อำเภอเมืองสมุทรสงคราม พระชนกชื่อ "ทอง" (พระชนกทอง ณ บางช้าง) พระชนนีชื่อ "สั้น" (สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี) เป็นคหบดีเชื้อสายมอญ.

พระโกศทองใหญ่และสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี · สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดี

มเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงประไพวดี กรมหลวงเทพยวดี (14 มกราคม พ.ศ. 2320 - 23 สิงหาคม พ.ศ. 2366) พระราชบุตรพระองค์ที่ 10 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประสูติแต่สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี เจ้าฟ้าหญิงประไพวดี ประสูติในรัชสมัยกรุงธนบุรี เมื่อวันอังคาร เดือน 7 ขึ้น 7 ค่ำ ปีระกา นพศก จุลศักราช 1139 ตรงกับวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2320 มีนามเดิมว่า "เอี้ยง" ในรัชกาลที่ 1 พระราชทานนามใหม่ว่า "เจ้าฟ้าประไพวดี" แต่รัชกาลที่ 4 ทรงออกพระนามว่า "ประภาวดี" พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า และทรงกรมเป็น กรมหลวงเทพยวดี เมื่อปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1170 ตรงกับ พ.ศ. 2351 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงประไพวดี กรมหลวงเทพยวดี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2 เมื่อเมื่อวันศุกร์ เดือน 9 แรม 2 ค่ำ ปีมะแม เบญจศก จุลศักราช 1185 ตรงกับวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2366 พระชันษา 46 ปี.

พระโกศทองใหญ่และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดี · สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแจ่ม กรมหลวงศรีสุนทรเทพ

มเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแจ่ม กรมหลวงศรีสุนทรเทพ (พ.ศ. 2313 - 7 สิงหาคม พ.ศ. 2351) เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 5 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประสูติแต่สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระองค์ประสูติในรัชสมัยกรุงธนบุรี เมื่อปีขาล โทศก จุลศักราช 1132 ตรงกับ พ.ศ. 2313 มีนามเดิมว่า "แจ่ม" ในรัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า และทรงกรมเป็น กรมหลวงศรีสุนทรเทพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแจ่ม กรมหลวงศรีสุนทรเทพ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1 เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 แรม 1 ค่ำ ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1170 ตรงกับวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2351 สิริพระชนมายุ 38 พรรษา ได้รับพระราชทานพระโกศทองใหญ่ ทรงพระศพ แต่พงศาวดารบางเล่มระบุว่า ได้รับพระราชทานพระโกศไม้สิบสอง.

พระโกศทองใหญ่และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแจ่ม กรมหลวงศรีสุนทรเทพ · สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแจ่ม กรมหลวงศรีสุนทรเทพ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

มเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี (พระนามเดิม:หม่อมเจ้ารำเพย ศิริวงศ์; 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 — 9 กันยายน พ.ศ. 2404) เป็นพระมเหสีพระองค์ที่สองในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.

พระโกศทองใหญ่และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี · สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระโกศทองใหญ่และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

พระโกศทองใหญ่ มี 115 ความสัมพันธ์ขณะที่ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี มี 34 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 11, ดัชนี Jaccard คือ 7.38% = 11 / (115 + 34)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระโกศทองใหญ่และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: