เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พระเป็นเจ้า

ดัชนี พระเป็นเจ้า

ระนามพระยาห์เวห์ในภาษาฮีบรู พระเป็นเจ้า (God) หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ถือเป็นเทวดาเพียงพระองค์เดียวตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม หรือเป็นเทวดาผู้เป็นสารัตถะเดียวของเอกภพตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยมSwinburne, R.G.

สารบัญ

  1. 35 ความสัมพันธ์: บุคคล (แก้ความกำกวม)พรหมันพระยาห์เวห์พระวิษณุพระศิวะพระอหุระมาซดะพระผู้สร้างพระแม่องค์ธรรมพระเจ้าพหุเทวนิยมพันธสัญญาเดิมพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554ภาษาฮีบรูลัทธิอนุตตรธรรมลัทธิไวษณพลัทธิไศวะวิญญาณศาสนาบาไฮศาสนายูดาห์ศาสนาอิสลามศาสนาฮินดูศาสนาคริสต์ศาสนาโซโรอัสเตอร์ศีลธรรมสมัยกลางสมัยใหม่อัลลอฮ์คัมภีร์ฮีบรูคัมภีร์ไบเบิลปรัชญาเหนือธรรมชาติเอกภพเอกเทวนิยมเทววิทยาเทวดา

  2. เทวดา

บุคคล (แก้ความกำกวม)

ล อาจหมายถึง บุคคลธรรม1.

ดู พระเป็นเจ้าและบุคคล (แก้ความกำกวม)

พรหมัน

ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู พรหมัน (อ่านว่า พฺรม-มัน; ब्रह्मन्) คือความเป็นจริงสูงสุด เป็นสิ่งสัมบูรณ์ ไม่มีรูปร่าง ไร้ขีดจำกัด เป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นที่มาและจุดหมายปลายทางของสรรพสิ่งในสกลจักรวาล คัมภีร์อุปนิษัทระบุว่าสรรพสัตว์รับรู้พรหมันได้ใน 2 ลักษณะ คือ.

ดู พระเป็นเจ้าและพรหมัน

พระยาห์เวห์

หรียญเงินราวสี่ศตวรรษก่อนคริสตกาลที่พบในอิสราเอล เชื่อว่าบุคคลที่ประทับอยู่บนสุริยบัลลังก์มีปีกนั้นคือพระยาห์เวห์ พระยาห์เวห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 647-8 (Yahweh) พระเยโฮวาห์ (Jahovah) พระยะโฮวา (ศัพท์พยานพระยะโฮวา) (Yahova) ยฮวฮ (ศัพท์ศาสนายูดาห์) (יהוה; YHWH) เป็นพระนามของพระเป็นเจ้าที่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม (ทานัค) ในคัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยเล่มเก่านั้นปรากฏพระนามนี้อยู่หลายครั้ง ในคัมภีร์ดั้งเดิมเขียนด้วยอักษร 4 ตัว แต่เนื่องจากอักษร 4 ตัว (ยฮวฮ|YHWH) นั้นผู้เขียนไม่ได้ใส่สระไว้ ทำให้การออกเสียงที่ถูกต้องถูกถ่ายทอดต่อกันมาโดยการพูด คัมภีร์ดั้งเดิมหรือต้นฉบับปรากฏพระนามนี้ประมาณ 7 พันครั้ง ในฉบับภาษาไทยเล่มเก่า ๆ ยังปรากฏพระนามนี้อยู่ การแปลในยุคต่อ ๆ มาได้เปลี่ยนพระนามมา 3 ครั้ง ปัจจุบันสะกดพระนามนี้ว่า ยาห์เวห์ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Yahweh การทับศัพท์ เยโฮวาห์ มีต้นกำเนิดมาจากการที่นักวิชาการชาวยุโรปถอดอักษรฮีบรู יהוה เป็นอักษรโรมัน 4 ตัวได้เป็น YHWH แล้วผสมสระจึงได้การออกเสียงเป็น "เยโฮวาห์" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Jehovah การทับศัพท์นี้แพร่หลายไปในภาษาต่าง ๆ รวมทั้งพระคัมภีร์ไบเบิลภาษาไทยฉบับเก่า ๆ เช่น ฉบับ 1971 ยังปรากฏพระนาม "เยโฮวาห์" นี้อยู่ นอกจากนี้ยังมีการทับศัพท์ว่า "ยะโฮวา" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Yahovah ในคัมภีร์ไบเบิล ฉบับ 1940 อีกด้วย แต่ในปัจจุบันนักวิชาการนิยมทับศัพท์ใหม่ว่า ยาห์เวห์ ตามหลักฐานที่ค้นพบและเป็นที่ยอมรับมากที่สุด ยฮวฮ คือพระนามของพระเป็นเจ้าสูงสุด ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1940 หรือ "เยโฮวาห์" ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1971 หรือ "ยาห์เวห์" ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 2011 แต่เพื่อให้เกิดความเป็นสากลในทุกนิกาย ทั้งใน โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เมื่อออกพระนามพระเป็นเจ้าจะออกเสียงว่า "พระเจ้า" และ "ยฮวฮ" ในคัมภีร์ฮีบรู (ทานัค) ทุกฉบับ ในภาษาฮีบรู ยาห์เวห์ แปลว่า เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น หรือแปลได้อีกว่า เราอยู่(ด้วย) ซึ่งก็คือ พระองค์ทรงฤทธิ์ที่จะเป็นอะไรก็ได้ตามพระประสงค์ของพระอง.

ดู พระเป็นเจ้าและพระยาห์เวห์

พระวิษณุ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. ศิลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย.

ดู พระเป็นเจ้าและพระวิษณุ

พระศิวะ

ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย.

ดู พระเป็นเจ้าและพระศิวะ

พระอหุระมาซดะ

ทพมิถรา (ขวา) พระอหุระมาซดะราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 25-6 คือพระเจ้าตามความเชื่อในศาสนาโซโรอัสเตอร์ คำว่า มาซดะ แปลว่า ฉลาด พระเจ้าองค์นี้เป็นเทพเจ้าแห่งแสงสว่าง หรือเทพเจ้าแห่งปัญญา เป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งดีทั้งปวง ซึ่งในเปอร์เซียโบราณนับถือเป็นเทพเจ้าสูงสุด พระเจ้าแห่งความดีจะต้องต่อสู้กับพระเจ้าแห่งความชั่ว จากการค้นคว้าเกี่ยวกับศาสนาโซโรอัสเตอร์ ทำให้เป็นที่กระจ่างชัดว่าศาสดาโซโรอัสเตอร์ได้พยายามทำการต่อสู้กับความงมงายของศาสนาของชาวอารยัน หนึ่งในนั้นก็คือการที่เขาปฏิเสธว่าตนมีส่วนร่วมในการชวนเชื่อสู่พระอหุระมาซดะ แต่ไม่มีใครทราบถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่การนับถือเทพเจ้าสองฝ่าย (ฝ่ายแสงสว่างกับฝ่ายความมืด) ของชาวโซโรอัสเตอร์ว่าเริ่มตั้งแต่สมัยใด ซึ่งในคัมภีร์หมวดที่ 1 ของอเวสตะ ได้ระบุไว้ว่าเทพเจ้าแห่งความชั่วต้องเผชิญหน้ากับเทพเจ้าแห่งความดีมิใช่เผชิญกับพระอหุระมาซดะซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุด ในโซโรอัสเตอร์ พระอหุระมาซดะมีบริวาร 6 องค์ ซึ่งมีความสูงส่งดั่งมลาอิกะห์หรือทูตสวรรค์ตามความเชื่อในศาสนาอับราฮัม และมีการจัดกองกำลังเพื่อสู้รบกับฝ่ายอธรรม ตามความเชื่อของโซโรอัสเตอร์ โลกจนถึงปัจจุบันมี 12000 ปี เทพเจ้าแห่งความดีทำการปกครอง 3000 ปี และในช่วงเวลานี้เทพเจ้าแห่งความชั่วได้ใช้ชีวิตอยู่ในความมืด เมื่อเขาออกมาเพื่อเผชิญกับเทพเจ้าแห่งความดี เทพเจ้าแห่งความดีได้ให้เวลาเขาในการต่อสู้เป็นเวลา 9000 ปี ซึ่งเขามั่นใจว่าจะได้รับชัยชนะอย่างแน่นอน ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มทำการสร้างสิ่งที่ดีและชั่วขึ้นบนโลกใบนี้และสู้กันด้วยวิธีนี้ จนกระทั่ง 3000 ปีผ่านไป โซโรอัสเตอร์ถูกสร้างขึ้น และทำให้กองทัพฝ่ายเทพแห่งความดีแข็งแกร่งขึ้น จนได้รับชัยชน.

ดู พระเป็นเจ้าและพระอหุระมาซดะ

พระผู้สร้าง

ระยาห์เวห์ทรงสร้างอาดัม พระผู้สร้าง (Creator) หมายถึง พระเป็นเจ้า (ตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม) หรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ (ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม) ที่มีอำนาจบันดาลให้โลก (ทั้งเอกภพและจักรวาล) เกิดขึ้น.

ดู พระเป็นเจ้าและพระผู้สร้าง

พระแม่องค์ธรรม

อักษร 母 ''หมู่'' หมายถึง ''''พระแม่องค์ธรรม'''' พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิเซียนเทียนเต้าและอีก 5 ลัทธิที่แตกแขนงออกมา พระแม่องค์ธรรม (老母 เหลาหมู่)สายทอง (พงศาธรรม ๑), ศุภนิมิต ผู้แปล, กรุงเทพฯ: ส่งเสริมคุณภาพชีวิต, ม.ป.ป., หน้า 9 คือพระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิบัวขาว รวมถึงลัทธิศาสนาต่าง ๆ ในประเทศจีนที่สืบมาจากลัทธินี้ด้วย เช่น ลัทธิเซียนเทียนเต้า ลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิถงซั่นเซ่อ ลัทธิฉือฮุ่ยถัง ลัทธิเทียนเต๋อเซิ่ง และลัทธิเต้าเยวี่ยน, Division of Religion and Philosophy, University of Cumbria, เรียกข้อมูลวันที่ 7 มกราคม..

ดู พระเป็นเจ้าและพระแม่องค์ธรรม

พระเจ้า

ระเจ้า อาจหมายถึง; ศาสน.

ดู พระเป็นเจ้าและพระเจ้า

พหุเทวนิยม

ทพอียิปต์ พหุเทวนิยม (polytheism) เป็นการบูชาหรือความเชื่อในพระเป็นเจ้าหรือเทพเจ้าหลายองค์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 427 ถือเป็นเทวนิยมแบบหนึ่ง ซึ่งตรงข้ามกับเอกเทวนิยมที่เชื่อในพระเป็นเจ้าองค์เดียว ผู้ที่เชื่อแบบพหุเทวนิยมไม่ได้บูชาเทพเจ้าทุกองค์เสมอกัน แต่อาจบูชาเฉพาะองค์ใดองค์หนึ่งเป็นพิเศษก็ได้ (เรียกว่าอติเทวนิยม) ศาสนาประเภทพหุเทวนิยม เช่น พหุเทวนิยมกรีกและโรมัน เทพปกรฌัมสลาฟ ศาสนาฮินดู ศาสนาชินโต ศาสนาพื้นบ้านจีน ลัทธิเต๋า เป็นต้น.

ดู พระเป็นเจ้าและพหุเทวนิยม

พันธสัญญาเดิม

ันธสัญญาเดิม (Old Testament) เป็นศัพท์ศาสนาคริสต์ใช้เรียกคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งเป็นชุดคัมภีร์ของชาววงศ์วานอิสราเอลโบราณ ที่รวมกันเป็นส่วนแรกของคัมภีร์ไบเบิลในศาสนาคริสต์ จำนวนหนังสือในพันธสัญญาเดิมจะแตกต่างกันตามแต่ละนิกายในศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ยอมรับเฉพาะหนังสือ 24 เล่มในคัมภีร์ทานัคว่าเป็นพันธสัญญาเดิม แต่แบ่งใหม่เป็น 39 เล่ม ส่วนนิกายโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ คอปติกออร์ทอดอกซ์ และคริสตจักรแห่งเอธิโอเปีย มีจำนวนหนังสือที่รับเข้าในสารบบพันธสัญญาเดิมของตนมากกว.

ดู พระเป็นเจ้าและพันธสัญญาเดิม

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554

หน้าปกพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ฉบับพิมพ์ครั้งแรก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ดู พระเป็นเจ้าและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ดู พระเป็นเจ้าและภาษาฮีบรู

ลัทธิอนุตตรธรรม

อักษร ''หมู่'' หมายถึง "พระแม่องค์ธรรม" พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิบัวขาว ลัทธิเซียนเทียนเต้า และลัทธิอื่น ๆ ที่แตกแขนงมาภายหลัง รวมทั้งลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิอนุตตรธรรม (一貫道 Yīguàn Dào อีก้วนเต้า) ในประเทศไทยเรียกว่า วิถีอนุตตรธรรม เป็นศาสนาที่หวัง เจฺว๋อี ก่อตั้งขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิงเมื่อปี..

ดู พระเป็นเจ้าและลัทธิอนุตตรธรรม

ลัทธิไวษณพ

ลัทธิไวษณพ เป็นนิกายในศาสนาฮินดูที่นับถือพระวิษณุเป็นพระเป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่กว่าเทพใด ๆ รวมทั้งในกลุ่มตรีมูรติ พระองค์ยังมีพระนามอื่น ๆ อีก เช่น พระราม พระกฤษณะ พระนารายณ์ พระวาสุเทพ พระหริ เป็นต้น นิกายนี้มีต้นกำเนิดมาจากลัทธิภควัต (หรือลัทธิบูชาพระกฤษณะ) ในสหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช ต่อมารามานันทะได้พัฒนาลัทธิบูชาพระรามขึ้นจนปัจจุบันกลายเป็นคณะนักพรตที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ลัทธิไวษณพแบ่งเป็นหลายสำนัก เช่น ไทฺวตะ เวทานตะของมัธวาจารย์ วิศิษฏาไทฺวตะ เวทานตะของรามานุชะ สมาคมกฤษณภาวนามฤตนานาชาติของภักติเวทานตสวามี คีตาอาศรมของสวามี หริหระ มหาราช เป็นต้น.

ดู พระเป็นเจ้าและลัทธิไวษณพ

ลัทธิไศวะ

การบูชาพระศิวะ ในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวะ (Shaivism) เป็นลัทธินิกายที่นับถือพระศิวะเป็นพระเป็นเจ้าหรือพรหมัน ศาสนิกชนในลัทธินี้เรียกว่าชาวไศวะ ซึ่งมีรูปแบบความเชื่อและการปฏิบัติแตกต่างกันไปเป็นหลายกลุ่ม เช่น ศิวสิทธานตะที่มีแนวคิดว่าบุคคลจะหลุดพ้นได้โดยการภักดีต่อพระศิวะ แต่ลัทธิโยคะถือว่าทุกสิ่งเป็นส่วนหนึ่งของพรหมันอยู่แล้วGanesh Tagare (2002), The Pratyabhijñā Philosophy, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-1892-7, pages 16–19 ลัทธินี้ถือพระเวทและอาคมเป็นคัมภีร์สำคัญDavid Smith (1996), The Dance of Siva: Religion, Art and Poetry in South India, Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-48234-9, page 116Mariasusai Dhavamony (1999), Hindu Spirituality, Gregorian University and Biblical Press, ISBN 978-88-7652-818-7, pages 31–34 with footnotesMark Dyczkowski (1989), The Canon of the Śaivāgama, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-0595-8, pages 43–44 ลัทธิไศวะมีที่มาจากการนับถือพระรุทรในสมัยพระเวท (ราวสองพันปีก่อนคริสต์ศักราช)Peter Bisschop (2011),, Oxford University Press คัมภีร์เศวตาศวตโรปนิษัทซึ่งแต่งขึ้นราวหนึ่งพันปีก่อนคริสต์ศักราชปรากฏคำว่า รุทร ศิวะ มเหศวร แต่การตีความคำเหล่านี้ยังเป็นที่ถกเถียงอยู่D Srinivasan (1997), Many Heads, Arms, and Eyes, Brill, ISBN 978-9004107588, pages 96-97 and Chapter 9 จนถึงคริสต์สหัสวรรษที่ 1 ลัทธิไศวะทั้งสายภักตินิยมและสายโยคะก็เริ่มแพร่หลายในหลายอาณาจักร รวมทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พบโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไศวะหลายพันแห่งในประเทศอินโดนีเซีย กัมพูชา และเวียดนาม ความเชื่อของลัทธิไศวะมีหลายรูปแบบ บางกลุ่มถือว่าพระศิวะคือมหาเทพพระผู้สร้าง รักษา และทำลายล้างโลก บางกลุ่มมองว่าพระศิวะหมายถึงอาตมันอันเป็นภาวะแก่นสารของสรรพสิ่ง ในด้านการปฏิบัติ มีการบูชาพระศิวะรวมถึงพระปารวตีผู้เป็นศักติ (ซึ่งแบบขนบของลัทธิศักติ) ตามโบสถ์พราหมณ์ต่าง ๆ บางกลุ่มเน้นการถือพรตฝึกโยคะเพื่อให้เข้าถึงพระศิวะที่เป็นอาตมันภายในตนเอง.

ดู พระเป็นเจ้าและลัทธิไศวะ

วิญญาณ

วิญญาณ (soul; जीव) ในทางปรัชญาหมายถึงสิ่งซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสารัตถะของชีวิตมนุษย์ อาจรวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น ๆ ด้วย วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เน่าเปื่อย เป็นอมตะ ศาสนาอับราฮัมเชื่อว่าเฉพาะมนุษย์เท่านั้นที่มีวิญญาณ มนุษย์จึงเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวที่ไม่ตาย (ในส่วนวิญญาณ) และอาจไปรวมกับพระเป็นเจ้าได้ ขณะที่ศาสนาอื่น ๆ บางศาสนา เช่น ศาสนาเชนเชื่อว่าไม่เฉพาะมนุษย์แต่สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตมีวิญญาณ ส่วนลัทธิวิญญาณนิยมเชื่อว่าทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต (เช่น แม่น้ำ ภูเขา) ล้วนมีวิญญาณทั้งสิ้น บางลัทธิเชื่อว่าโลกก็มีวิญญาณเรียกว่าวิญญาณโลก หรืออาตมันในศาสนาฮินดู คำว่าวิญญาณ มักมีความหมายแนวเดียวกับจิต สปิริต และตัวตน.

ดู พระเป็นเจ้าและวิญญาณ

ศาสนาบาไฮ

อาคารของธรรมสภายุติธรรมสากลบาไฮ ที่ประเทศอิสราเอล ศาสนาบาไฮราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 316 หรือลัทธิบาไฮ (الدّين البهائي; Bahá'í Faith) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่แยกตัวออกมาจากลัทธิบาบีในปี ค.ศ.

ดู พระเป็นเจ้าและศาสนาบาไฮ

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ดู พระเป็นเจ้าและศาสนายูดาห์

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ดู พระเป็นเจ้าและศาสนาอิสลาม

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ดู พระเป็นเจ้าและศาสนาฮินดู

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A.

ดู พระเป็นเจ้าและศาสนาคริสต์

ศาสนาโซโรอัสเตอร์

ฟาร์วาฮาร์ สัญลักษณ์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาโซโรอัสเตอร์ (Zoroastrianism) เป็นศาสนาและปรัชญาศาสนาอิหร่านเอกเทวนิยมโบราณอย่างหนึ่ง เคยเป็นศาสนาแห่งรัฐจักรวรรดิอะคีเมนิด พาร์เธียและแซสซานิด ประมาณจำนวนศาสนิกโซโรอัสเตอร์ทั่วโลกปัจจุบันอยู่ระหว่างประมาณ 145,000 คนเมื่อประมาณ..

ดู พระเป็นเจ้าและศาสนาโซโรอัสเตอร์

ศีลธรรม

ีลธรรม (Morality) หมายถึงความประพฤติที่ดีที่ชอบทั้งศีลและธรรม ศีลธรรม ในคำวัดหมายถึง เบญจศีล และ เบญจธรรม คือศีล 5 และธรรม 5 ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ของสังคมระดับต้นสำหรับให้สมาชิกสังคมประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบสุข ไม่สดุ้งกลัว ไม่หวาดระแวงภัย เป็นหลักประกันสังคมที่สำคัญ สังคมที่สงบสุข ไว้วางใจกันได้ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ไม่เบียดเบียน ไม่ทะเลาะ ไม่กดขี่ข่มเหง ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นต้น ก็เพราะสมาชิกของสังคมยึดมั่นอยู่ในหลักศีลธรรมนี้ ศีลธรรม เป็นชื่อวิชาหนึ่งในโรงเรียนที่กำหนดให้นักเรียนทุกคนต้องเรียนมาตั้งแต่สมัยโบราณเรียกว่า วิชาศีลธรรม ปัจจุบันเรียกว่า วิชาพุทธศาสน.

ดู พระเป็นเจ้าและศีลธรรม

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ.

ดู พระเป็นเจ้าและสมัยกลาง

สมัยใหม่

กาลิเลโอ กาลิเลอี บิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ สมัยใหม่ เป็นช่วงเวลาหนึ่งของอารยธรรมต่างๆ ซึ่งในช่วงนี้ อารยธรรมนั้น ๆ จะเริ่มมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เริ่มมีแนวคิดที่ยึดหลักความจริง หลุดพ้นจากความเชื่องมงายหลายอย่างในอดีต นักวิชาการได้กำหนดช่วงเวลาที่เป็น "สมัยใหม่" ของสากลโลกไว้ให้เป็นช่วง ค.ศ.

ดู พระเป็นเจ้าและสมัยใหม่

อัลลอฮ์

นาอิสลามเรียกพระเป็นเจ้าว่า อัลลอฮ์ บ้างก็สะกดว่า อัลลอฮฺ, อัลลอหฺ หรือ อัลเลาะห์ ตรงกับภาษาอังกฤษ "God" เชื่อว่าทรงเป็นพระผู้สร้างมนุษย์ สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต และทุกสรรพสิ่งในจักรวาล พระองค์ทรงมีโดยไร้จุดเริ่มต้น และทรงมีอยู่นิรันดร์โดยไม่มีจุดจบ พระองค์แตกต่างกับทุกสรรพสิ่งอย่างสิ้นเชิง ทรงดำรงด้วยพระองค์เอง มิต้องทรงพึ่งพาสิ่งใด พระองค์เป็นพระผู้เป็นเจ้าเอกองค์เดียว ไม่มีพระผู้เป็นเจ้าอื่นใดอีกนอกเหนือจากพระองค์ ตามความเชื่อของอิสลาม อัลลอฮ์ทรงมีความสามารถในการบันดาลทุกสรรพสิ่ง ทรงรอบรู้โดยไม่จำกัดขอบเขต อัลลอฮ์เป็นพระปฐมนามแห่งพระองค์ พระองค์มีพระนามอันวิจิตรอื่น ๆ อีกมากถึง 99 พระนาม ซึ่งบ่าวของพระองค์สามารถใช้นามเหล่านั้นเรียกพระองค์ได้ พระองค์ทรงบริสุทธิ์ ไม่มีบุตร ไร้ภาคี ทรงอยู่นอกเหนือกาละและเทศะ เพราะทั้งสองสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง พระองค์ทรงกำหนดระบบและปัจจัยของทุกสรรพสิ่ง อีกทั้งยังได้กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดจบของสรรพสิ่งที่พระองค์สร้างทั้งมวล อัลลอฮ์ คืออัตมันที่ทรงสิทธิในการได้รับการเคารพบูชาอย่างแท้จริง ไม่มีสิ่งใดอย่างเด็ดขาดที่ควรแก่การเคารพบูชานอกเหนือจากพระองค์ ชาวมุสลิมถือว่าอัลลอฮ์คือพระยาห์เวห์ในศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห.

ดู พระเป็นเจ้าและอัลลอฮ์

คัมภีร์ฮีบรู

ต้นฉบับ “คัมภีร์ฮีบรู” พร้อมกับคำแปลภาษาแอราเมอิก คัมภีร์ฮีบรู (Hebrew Bible; Biblia Hebraica) หมายถึง คัมภีร์ทานัค (Tanakh; תנ"ך) ซึ่งเป็นชุดคัมภีร์ในศาสนายูดาห์ และเป็นที่มาของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ด้วย คัมภีร์นี้ส่วนใหญ่บันทึกเป็นภาษาฮีบรูไบเบิล บางส่วนเป็นภาษาแอราเมอิกไบเบิล (เช่น หนังสือดาเนียล หนังสือเอสรา เป็นต้น) ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูนี้มีหนังสือทั้งสิ้น 24 เล่ม สารบบของคัมภีร์ฮีบรูที่ใช้ในปัจจุบันสอดคล้องกับคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของนิกายโปรเตสแตนต์ แต่ไม่ตรงกับของนิกายโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ซึ่งได้เพิ่ม "คัมภีร์อธิกธรรม" และ Anagignoskomena เข้ามา ความหมายของคัมภีร์ฮีบรูจึงไม่เกี่ยวกับชื่อ จำนวน และลำดับหนังสือ ต่างจากสารบบคัมภีร์ไบเบิลที่ศาสนาคริสต์จัดระบบขึ้นในยุคหลัง.

ดู พระเป็นเจ้าและคัมภีร์ฮีบรู

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ดู พระเป็นเจ้าและคัมภีร์ไบเบิล

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ดู พระเป็นเจ้าและปรัชญา

เหนือธรรมชาติ

เหนือธรรมชาติ (supernatural) คือ สิ่งที่ไม่อยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ หรือเป็นการอุปมาถึงสิ่งที่มีอยู่เหนือและพ้นธรรมชาติ ในวัฒนธรรมสมัยนิยมและบันเทิงคดี เหนือธรรมชาติเกี่ยวข้องอย่างประหลาดกับเหนือธรรมดาและรหัสญาณ ซึ่งต่างจากมโนทัศน์เดิมในบางศาสนา เช่น คาทอลิก ที่เชื่อว่าปาฏิหารย์จากพระเจ้าถูกมองว่าเหนือธรรมชาติ หมวดหมู่:อำนาจปรัมปราวิทยา.

ดู พระเป็นเจ้าและเหนือธรรมชาติ

เอกภพ

อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิล ที่ประกอบด้วยกาแล็กซีที่มีอายุ ขนาด รูปร่าง และสีแตกต่างกัน เอกภพ หรือ จักรวาล โดยทั่วไปนิยามว่าเป็นผลรวมของการดำรงอยู่ รวมทั้งดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ ดาราจักร สิ่งที่บรรจุอยู่ในอวกาศระหว่างดาราจักร และสสารและพลังงานทั้งหมด การสังเกตเอกภพทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเชื่อกันว่ามีเส้นผ่านศูนย์กลาง 9,999 ล้านปีแสง นำไปสู่อนุมานขั้นแรกเริ่มของเอกภพ การสังเกตเหล่านี้แนะว่า เอกภพถูกควบคุมด้วยกฎทางฟิสิกส์และค่าคงที่เดียวกันตลอดขนาดและประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ทฤษฎีบิกแบงเป็นแบบจำลองจักรวาลวิทยาทั่วไปซึ่งอธิบายพัฒนาการแรกเริ่มของเอกภพ ซึ่งในจักรวาลวิทยากายภาพเชื่อว่าเกิดขึ้นเมื่อราว 13,700 ล้านปีก่อน มีนักฟิสิกส์มากมายเชื่อสมมุติฐานเกี่ยวกับพหุภพ ซึ่งกล่าวไว้ว่าเอกภพอาจเป็นหนึ่งในภพจำนวนมากที่มีอยู่เช่นกัน ระยะทางไกลสุดที่เป็นไปได้ทางทฤษฎีแก่มนุษย์ที่จะมองเห็นอธิบายว่าเป็น เอกภพที่สังเกตได้ การสังเกตได้แสดงว่า เอกภพดูจะขยายตัวในอัตราเร่ง และมีหลายแบบจำลองเกิดขึ้นเพื่อพยากรณ์ชะตาสุดท้ายของเอกภพ แผนภาพตำแหน่งของโลกในสถามที่ต่างๆของเอก.

ดู พระเป็นเจ้าและเอกภพ

เอกเทวนิยม

อกเทวนิยมราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 364 (Monotheism มาจากภาษาμόνος, monos - เดียว, และ θεός, theos - เทพ) คือความเชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าเป็นเทวดาองค์เดียว หรือความเชื่อว่าพระเป็นเจ้าเป็นหนึ่งเดียว (ไม่ทรงแบ่งภาค) แนวคิดเอกเทวนิยมแบบบริสุทธิ์พบในศาสนายูดาห์และศาสนาอิสลาม ส่วนแบบอ่อนพบในศาสนาคริสต์ส่วนใหญ่ ลัทธิซาเบียน นิกายมอรมอน และศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาบาไฮ ศาสนาซิกข์ และศาสนาฮินดูในบางสำนัก.

ดู พระเป็นเจ้าและเอกเทวนิยม

เทววิทยา

ทววิทยา (theology) ในความหมายอย่างแคบคือวิชาว่าด้วยพระเจ้าและความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ ความหมายอย่างกว้างคือการศึกษาเรื่องศาสนา อิทธิพลของศาสนา ธรรมชาติของความจริงทางศาสนา อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล หรือหมายถึงวิชาชีพที่มาจากการฝึกฝนเรียนรู้ทางด้านศาสนศึกษาที่มหาวิทยาลัย สำนักเทวศาสตร์ หรือเซมินารี.

ดู พระเป็นเจ้าและเทววิทยา

เทวดา

ระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทวดา (devatā) หรือ เทพ (deva เทว) ตามคติความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ หมายถึง ชาวสวรรค์ที่เป็นโอปปาติกะ มีกายทิพย์ ตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์ และเสวยสุขในสรวงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นภพภูมิที่ดี เทวดาผู้หญิงเรียกว่า เทวี หรือ "เทพี" หรือ นางฟ้า เทวดาผู้มีมิจฉาทิฐิ เรียกว่า มาร คำว่า เทพเจ้า หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ซึ่งเชื่อว่ามีอำนาจควบคุมธรรมชาติบางอย่าง เช่น สุริยเทพ เทพเจ้าแห่งสายฟ้.

ดู พระเป็นเจ้าและเทวดา

ดูเพิ่มเติม

เทวดา

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Godพระเจ้า (ศาสนา)