พระเจ้าไซรัสมหาราชและหนังสือมอบอำนาจ
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง พระเจ้าไซรัสมหาราชและหนังสือมอบอำนาจ
พระเจ้าไซรัสมหาราช vs. หนังสือมอบอำนาจ
พระเจ้าไซรัสที่ 2 แห่งเปอร์เซีย (Cyrus II of Persia, کوروش, คูรูฌ) หรือพระคริสตธรรมเรียก ไซรัสกษัตริย์ของเปอร์เซีย (Cyrus king of Persia) หรือมักเรียกกันว่า พระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus the Great; ประสูติราวปีที่ 600 หรือ 576 ก่อนคริสตกาล, สวรรคตเมื่อ 4 ธันวาคม ปีที่ 530 ก่อนคริสตกาล) เป็นปฐมกษัตริย์แห่งจักรวรรดิอาคีเมนิด (Achaemenid Empire) ซึ่งพระองค์ทรงผนวกขึ้นจากอารยรัฐแถบตะวันออกใกล้แต่เดิม และทรงขยายจนเจริญกว้างขวางกระทั่งทรงมีชัยเหนือเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียกลางส่วนใหญ่ ยุโรปบางส่วน และคอเคซัส (Caucasus) ด้วย พระองค์จึงเฉลิมนามรัชกาลว่า "พระมหาราชผู้เป็นพระเจ้ากรุงเปอร์เซีย พระเจ้ากรุงอันชัน พระเจ้ากรุงมีเดีย พระเจ้ากรุงแบบาลอน พระเจ้ากรุงซูเมอร์กับแอแกด พระเจ้าแว่นแคว้นทั้งสี่แห่งแผ่นดินโลก" ในราวปีที่ 539 ถึง 530 ก่อนคริสตกาล พระองค์ยังได้ตราจารึกทรงกระบอก เรียก "กระบอกพระเจ้าไซรัส" (Cyrus Cylinder) มีเนื้อหาซึ่งถือกันว่าเป็นประกาศสิทธิมนุษยชนฉบับต้น ๆ ของโลกด้วย หมวดหมู่:บุคคลในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์อาร์เคเมนิด หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์เปอร์เซีย. หนังสือมอบอำนาจ หรือ ใบมอบฉันทะ (power of attorney) เป็นหนังสือที่ลงลายลักษณ์อักษร มอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทนตน ในเรื่องของธุระส่วนตัว, หรือธุระอื่นที่เกี่ยวข้องกับทางกฎหมาย บุคคลที่เป็นเจ้าของอำนาจ เรียกว่า “ตัวการ”(principal) และบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจ เรียกว่า “ตัวแทน”(attorney-in-fact) ซึ่งทางกฎหมายถือว่าผลการกระทำของบุคคลที่เป็น “ตัวแทน” นั้น เสมือน “ตัวการ” กระทำทุกประการ องค์ประกอบและลักษณะโครงสร้าง ความสามารถทางด้านจิตใจของตัวการ บุคคลผู้ที่จัดทำหนังสือมอบอำนาจ หรือรู้จักกันในนามของ “ตัวการ”นั้น จะสามารถกระทำการได้ก็ต่อเมื่อ บุคคลผู้นั้นมีสติสัมปชัญญะ และสภาพจิตใจที่สมบูรณ์ หลังจากการทำหนังสือมอบอำนาจขึ้น หาก “ตัวการ” ได้รับอุบัติเหตุกระทบกระเทือนที่ศีรษะ หรือ เป็น โรคอัลไซเมอร์ และ เปรียบเสมือนเป็นผู้ไร้ประสิทธิภาพ ในบางกรณีหนังสือมอบอำนาจบางชนิดอาจจะถูกยกเลิกไปโดยทันที แต่บางชนิดก็ยังสามารถมีผลบังคับใช้ต่อไป หนังสือมอบอำนาจชนิดนี้เรียกว่า “หนังสือมอบอำนาจแบบยั่งยืน” และในกรณีที่บุคคลผู้เสมือนเป็นบุคคลไร้ความสามารถและไม่ได้กระทำหนังสือมอบอำนาจแบบยั่งยืน หากมีผู้ร้องขอเป็นผู้ดูแลอำนาจของบุคคลผู้เสมือนไร้ความสามารถนั้นก็ต้องไปยื่นร้องขอต่อศาลในการถ่ายมอบโอนอำนาจให้แก่ตน หนังสือมอบอำนาจแบบลายลักษณ์อักษรและทางวาจา หนังสือมอบอำนาจทางวาจา ต้องมีพยานยืนยัน ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลได้เทียบเท่ากับแบบลายลักษณ์อักษร ในทางกฎหมายบางครั้งก็เรียกร้องหนังสือมอบอำนาจแบบลายลักษณ์อักษร ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาล ธนาคาร สถาบันต่างงๆเหล่านี้จะเรียกร้องการมอบอำนาจแบบลายลักษณ์อักษรก่อนที่จะลงมือกระทำสิ่งใด และทางหน่วยงานจะเป็นผู้เก็บรักษาหนังสือมอบอำนาจไว้เอง การเท่าเทียมกันของอำนาจ การเท่าเทียมกันของอำนาจนี้ ทางกฎหมายถือว่า การที่บุคคลใดผู้เป็นตัวการ มอบอำนาจให้ ตัวแทน กระทำการใดๆแทนตน ผลการกระทำของตัวแทนนั้นมีอำนาจเช่นเดียวกับตัวการได้กระทำเอง ตัวอย่างเช่น หากมีการตกลงทำสัญญาซื้อบ้าน ตัวการได้มอบอำนาจให้ตัวแทนเป็นผู้ดำเนินการแทนตน เอกสารทุกอย่างที่ตัวแทนได้เซนต์ชื่อ ถือได้ว่า ตัวการเห็นพ้องต้องกัน และมีอำนาจบังคับใช้ทางกฎหมายเช่นเดียวกับตัวการเซนต์ชื่อทุกประการ ลายเซ็นและการรับรอง ในทางกฎหมายแล้ว หนังสือมอบอำนาจอย่างน้อยจำเป็นต้องมีลายเซนต์พร้อมวันที่กำกับของตัวการ แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะมีบุคคลที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อเป็นพยานรับรู้อีกหนึ่งคน แต่กฎหมายในแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกัน บางพื้นที่เรียกร้องให้มีพยานอย่างน้อย 2 คน หรือบางพื้นที่เรียกร้องให้พยานผู้นั้นต้องเป็นทนายความ ประเภทของหนังสือมอบอำนาจ หนังสือมอบอำนาจแบบยั่งยืน ตามกฎหมายแล้ว การมอบอำนาจจะสิ้นสุดลงเมื่อตัวการ ได้เสียชีวิตหรือเปรียบเสมือนบุคคลซึ่งไร้ความสามารถ อาจเนื่องมาจากอุบัติเหตุทางร่างกาย หรือสภาพจิตใจที่ไม่สมบูรณ์ แต่การมอบอำนาจแบบยั่งยืนนี้ บุคคลที่เป็นตัวแทนยังสามารถใช้อำนาจที่ตัวการมอบให้ระหว่างที่ตัวการยังมีชีวิตอยู่แม้จะเป็นบุคลที่ไร้ความสามารถ แต่อำนาจนี้จะหมดไป ก็ต่อเมื่อตัวการได้เสียชีวิตลง หนังสือมอบอำนาจในเองการจัดการเกี่ยวกับสุขภาพ ในบางครั้งศาลได้ยกให้การมอบอำนาจแบบยั่งยืนสามารถครอบคลุมถึงเรื่องสุขภาพของตัวการด้วย โดยให้ตัวแทนเป็นผู้ดูแลและ ตัดสินใจในเรื่องของการรักษาดูแลตัวการ และมีอำนาจตัดสินใจที่จะรักษาหรือไม่รักษาต่อในกรณีที่การรักษาอาจเสี่ยงถึงแก่ชีวิต หนังสือมอบอำนาจแบบมีเงื่อนไขกำหนด หนังสือมอบอำนาจประเภทเงื่อนไขกำหนดประเภทนี้ จะมีผลก็ต่อเมื่อตัวการเป็นผู้เปรียบเสมือนไร้ความสามารถ แต่ตัวแทนจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือยกเลิก สิ่งที่ตัวการได้กระทำมาก่อนแล้ว อำนาจประเภทนี้ส่วนมากจะอนุญาตให้คนในครอบครัว หรือคู่สมรสเท่านั้นที่มีอำนาจในการกระทำแทนตัวการ หนังสือมอบอำนาจประเภทนี้ ตัวการควรกำหนดกฎเกณฑ์ของอำนาจและระยะเวลาที่อำนาจประเภทนี้สามารถเริ่มดำเนินการได้.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระเจ้าไซรัสมหาราชและหนังสือมอบอำนาจ
พระเจ้าไซรัสมหาราชและหนังสือมอบอำนาจ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ พระเจ้าไซรัสมหาราชและหนังสือมอบอำนาจ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระเจ้าไซรัสมหาราชและหนังสือมอบอำนาจ
การเปรียบเทียบระหว่าง พระเจ้าไซรัสมหาราชและหนังสือมอบอำนาจ
พระเจ้าไซรัสมหาราช มี 7 ความสัมพันธ์ขณะที่ หนังสือมอบอำนาจ มี 0 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (7 + 0)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระเจ้าไซรัสมหาราชและหนังสือมอบอำนาจ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: