เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน

พระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษ vs. อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน

ระเจ้าเอเธลสตานแห่งอังกฤษ (Athelstan of England; Æþelstān) (ราว ค.ศ. 895 - ค.ศ. 940) กษัตริย์แห่งอังกฤษปี..924-940 โอรสของเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส เอเธลสตานนำอังกฤษสู่ความเป็นหนึ่งโดยการปกครองทั้งเมอร์เซียและเวสเซ็กซ์ พระองค์ปราบการรุกรานของชาวสก็อตแลนด์, ชาวไอร์แลนด์ และชาวสแตรธไคลด์ ที่บรูนันเบอร์ในปี..937 พระองค์เอาชนะอาณาจักรของชาวสแกนดิเนเวียที่ตั้งรกรานอยู่ในยอร์กและเพิ่มอำนาจของอังกฤษในชายแดนของเวลส์และสก็อตแลน. อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน (History of Anglo-Saxon England) (ค.ศ. 410 - ค.ศ. 1066) อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซันเป็นประวัติศาตร์ของต้นยุคกลางของอังกฤษkjhccgkoohhhhggjgfที่เริ่มตั้งแต่ปลายสมัยโรมันบริเตนจนมาถีงการก่อตั้งราชอาณาจักรต่าง ๆ ของแองโกล-แซกซัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และมาสิ้นสุดลงเมื่อชาวนอร์มันได้รับชัยชนะต่ออังกฤษ ในปี ค.ศ. 1066 ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นสมัยที่รู้จักกันทางโบราณคดีว่าบริเตนสมัยหลังโรมัน (Sub-Roman Britain) หรือที่รู้จักกันตามความนิยมว่า "ยุคมืด" (Dark Ages) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นต้นมาก็เริ่มมีการก่อตั้งอาณาจักรที่ใหญ่ขึ้นที่เรียกกันรวม ๆ กันว่า "เจ็ดอาณาจักร" ในช่วงนี้อังกฤษแบ่งเขตการปกครองระหว่างอาณาจักรต่าง ๆ ของแองโกล-แซกซันและบริเตน การรุกรานของไวกิงในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงหลายประการในบริเตน ผู้รุกรานชาวเดนมาร์กโจมตีที่ตั้งถิ่นฐานต่าง ๆ ไปทั่วบริเตน แต่การตั้งถิ่นฐานของชาวเดนมาร์กต่อมาจำกัดอยู่แต่เพียงในบริเวณทางด้านตะวันออกของเกาะอังกฤษ ขณะที่ผู้รุกรานจากนอร์เวย์ที่เข้ามาทางไอร์แลนด์โจมตีทางฝั่งตะวันตกของทั้งอังกฤษและเวลส์ แต่ในที่สุดแองโกล-แซกซันก็มีอำนาจในการปกครองไปทั่วทั้งเกาะอังกฤษสลับกับเดนมาร์กในบางช่วงในบางครั้ง ทางด้านความสัมพันธ์กับแผ่นดินใหญ่ยุโรปก็ความสำคัญมาจนกระทั่งปลายสมัยแองโกล-แซกซัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน

พระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน มี 10 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันชาวไวกิงชาวเคลต์พระเจ้าอัลเฟรดมหาราชพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโสยอร์กราชอาณาจักรเมอร์เซียราชอาณาจักรเวสเซกซ์ประเทศเวลส์

บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน

ันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน (Anglo-Saxon Chronicle) เป็นชุดหนังสือรายปีที่เขียนด้วยภาษาอังกฤษเก่า เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาวแองโกล-แซกซัน เขียนขึ้นราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 อาจจะที่เวสเซ็กซ์ในรัชสมัยของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช หลังจากนั้นต้นฉบับก็ถูกส่งไปตามอารามต่างๆ ทั่วอังกฤษ แต่ละอารามต่างก็แก้ไขเพิ่มเติมต่อมาเรื่อย ๆ ในกรณีหนึ่งบันทึกถูกเพิ่มเติมมาจนถึงปี ค.ศ. 1154 ในปัจจุบันบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันมีเหลืออยู่ 9 ฉบับทั้งสมบูรณ์และเหลือแต่บางส่วน คุณค่าของแต่ละฉบับก็ต่างกันใน 9 ฉบับนี้ไม่มีฉบับใดที่เป็นฉบับดั้งเดิมแท้ ๆ ฉบับที่เก่าที่สุดสันนิษฐานกันว่าเริ่มเขียนราวปลายรัชสมัยของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช และฉบับล่าสุดเป็นฉบับที่เขียนที่มหาวิหารปีเตอร์บะระหลังจากไฟใหม้อารามในปี ค.ศ. 1116 เนึ้อหาของบันทึกเป็นการบันทึกเหตุการณ์ประจำปี เหตุการณ์ปีแรกที่สุดที่บันทึกคือปี 60 ก่อนคริสต์ศักราชมาจนถึงปีที่เขียน ต่อจากนั้นเนื้อหาก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยของการเขียน บันทึกต่าง ๆ เหล่านี้เรียกรวมกันว่า “บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน” เนื้อหาของบันทึกไม่เป็นกลางนักในบางบันทึกเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเอกสารจากสมัยกลางอื่น ๆ จะพบว่าผู้เขียนละเว้นเหตุการณ์บางเหตุการณ์ หรือเขียงจากมุมมองของผู้เขียน หรือบางฉบับก็จะแตกต่างจากฉบับอื่นเมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์เดียวกันหรือข้อมูลที่บันทึกขัดแย้งกันเอง แต่เมื่อพิจารณาโดยทั่วไปแล้วพงศาวดารเป็นหลักฐานชิ้นที่สำคัญที่สุดทางประวัติศาสตร์ระหว่างสมัยโรมันหมดอำนาจในอังกฤษไปจนถึงการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน ข้อมูลที่บันทึกในพงศาวดารไม่พบในเอกสารอื่นใด นอกจากนั้นบันทึกยังเป็นเอกสารชิ้นสำคัญของประวัติศาสตร์ภาษาอังกฤษโดยเฉพาะฉบับที่เขียนที่ปีเตอร์บะระซึ่งเป็นตัวอย่างแรกที่สุดของภาษาอังกฤษสมัยกลาง เจ็ดในเก้าฉบับปัจจุบันเก็บรักษาไว้หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ (British Library) อึกสองฉบับอยู่ที่หอสมุดบอดเลียนของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและวิทยาลัยคอร์พัสคริสติของมหาวิทยาลัยเคมบร.

บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันและพระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษ · บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวไวกิง

แผนที่แสดงการตั้งถิ่นฐานสแกนดิเนเวียของชาวไวกิง สีแดงเข้ม-ระว่าง ค.ศ.701-800, สีแดง-ระหว่าง ค.ศ. 801-900, สีส้มเข้ม-ระว่าง ค.ศ. 901-1000, และสีเหลือง-ระว่าง ค.ศ. 1001-1100, บริเวณสีเขียวแสดงพื้นที่ที่มักถูกโจมตีโดยพวกไวกิงบ่อยแต่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานมาก ไวกิง (Vikings) ในความหมายหลักหมายถึงชนเผ่านักรบ นักการค้า และนักตั้งถิ่นฐานจากนอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก ซึ่งบุกรบชนะ ยึดครอง และตั้งอาณานิคมอาณาเขตในส่วนใหญ่ของอังกฤษ นอร์ม็องดี และรัสเซียเมื่อระหว่างประมาณ..

ชาวไวกิงและพระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษ · ชาวไวกิงและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเคลต์

ริเวณที่ยังมีการใช้ภาษากลุ่มเคลต์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เคลต์ หรือ เซลต์ (Celts; หรือ) เป็นคำที่ใช้เรียกชนยุโรปที่เดิมพูดหรือยังพูดภาษากลุ่มเคลต์ (Celtic languages) นอกจากนั้นก็ยังเป็นคำที่ใช้ในความหมายกว้าง ๆ ในการบรรยายผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวเคลต์ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมเคลต์อยู่ เคลต์ในประวัติศาสตร์เป็นกลุ่มชนหลายกลุ่มในยุคเหล็กยุโรป อารยธรรมเคลต์ดั้งเดิมเริ่มก่อตั้งในสมัยต้นยุคเหล็กในตอนกลางของทวีปยุโรป (สมัยวัฒนธรรมฮัลล์ชตัทท์ที่ตั้งชื่อตามบริเวณที่เป็นออสเตรียปัจจุบัน) พอมาถึงปลายยุคเหล็ก (สมัยลาแตน) เคลต์ก็ขยายตัวไปในดินแดนต่าง ๆ ที่รวมทั้งทางตะวันตกที่ไปถึงไอร์แลนด์และคาบสมุทรไอบีเรีย ทางตะวันออกไปสุดที่กาเลเชีย (Galatia) (กลางอานาโตเลีย) และทางเหนือสุดที่สกอตแลนด์ หลักฐานแรกที่บ่งถึงภาษาเคลต์อยู่ในคำจารึกในภาษาเลพอนติค (Lepontic language) จากคริสต์ศตวรรษที่ 6 กลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นยุโรปมีหลักฐานเฉพาะชื่อสถานที่ กลุ่มภาษาเคลต์เกาะ (Insular Celtic) ปรากฏในหลักฐานจากคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในคำจารึกออกัม (Ogham inscription) อารยธรรมทางวรรณกรรมเริ่มด้วยการใช้ภาษาไอริชเก่าตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 วรรณกรรมไอริชสมัยต้น เช่น "Táin Bó Cúailnge" มีหลักฐานมาจนถึงฉบับแก้ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่หนึ่งหลังการขยายดินแดนของจักรวรรดิโรมันและสมัยการย้ายถิ่นฐาน (Migration Period) ของกลุ่มชนเจอร์แมนิกแล้ว อารยธรรมเคลต์ก็จำกัดอยู่แต่เพียงหมู่เกาะบริติช (ภาษาเคลต์เกาะ) และภาษาเคลต์ยุโรปก็หยุดใช้กันไปในคริสต์ศตวรรษที่ 6 เคลต์เกาะที่ว่าหมายถึงดินแดนรอบทะเลไอริช รวมทั้งคอร์นวอลล์และบริตตานีบนสองฝั่งของช่องแคบอังกฤษ.

ชาวเคลต์และพระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษ · ชาวเคลต์และอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช

ระเจ้าอัลเฟรดมหาราช (Alfred the Great; Ælfrēd) (ค.ศ. 849 - 26 ตุลาคม ค.ศ. 899) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ในสมัยราชวงศ์เวสเซ็กซ์ เสด็จพระราชสมภพที่เวนเทจ บาร์กเชอร์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟแห่งเวสเซกซ์และออสเบอร์กา ทรงเสกสมรสกับเอลสวิธ และทรงราชย์เป็นกษัตริย์ของชนแองโกล-แซ็กซอนภายใต้ราชอาณาจักรเวสเซกซ์ระหว่างวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 871 พระเจ้าอัลเฟรดทรงมีชื่อเสียงในการป้องกันราชอาณาจักร จากการรุกรานของชาวไวกิงจากเดนมาร์ก และเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษพระองค์เดียวที่รับสมญานามว่า “มหาราช” พระเจ้าอัลเฟรดทรงเป็นกษัตริย์แห่งแซกซันตะวันตกพระองค์แรก ที่ทรงแสดงพระองค์ว่าเป็นกษัตริย์แห่งชาวแองโกล-แซกซัน ทรงเป็นผู้มีการศึกษาดี และทรงส่งเสริมการศึกษาและปรับปรุงทางด้านกฎหมายในราชอาณาจักรและระบบการทหาร พระราชประวัติของพระองค์ถูกกล่าวถึงในงานเขียนของแอสเซอร์ (Asser) นักปราชญ์ชาวเวล.

พระเจ้าอัลเฟรดมหาราชและพระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษ · พระเจ้าอัลเฟรดมหาราชและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1

มเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1 แห่งอังกฤษ หรือ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ผู้อาวุโส หรือ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ผู้ยุติธรรม (Edmund I of England, Edmund the Elder, Edmund the the Just, Edmund the Deed-Doer, Edmund the Magnificent; Eadmund) (ค.ศ. 922 - 26 พฤษภาคม ค.ศ. 946) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์เวสเซ็กซ์ของราชอาณาจักรอังกฤษ พระเจ้าเอ็ดมันด์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ค.ศ. 922 ที่เวสเซ็กซ์ อังกฤษ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส และ เอ็ดจิวาแห่งเค้นท์ และเป็นพระอนุชาของสมเด็จพระเจ้าเอเธลสตันแห่งอังกฤษ ทรงเสกสมรสกับเอเธลเฟลดแห่งดาเมอแรม และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 939 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 946 เมื่อพระเจ้าเอเธลสตันเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 939 พระเจ้าเอ็ดมันด์ก็เสด็จขึ้นครองราชต่อจากพระเชษฐา หลังจากที่ขึ้นครองราชย์ก็ทรงประสพปัญหาทางทหารหลายด้านที่เป็นอันตรายต่อราชอาณาจักร สมเด็จพระเจ้าโอลาฟที่ 1 แห่งดับลินทรงได้รับชัยชนะต่อนอร์ทธัมเบรียและรุกรานมาทางมิดแลนดส์ เมื่อพระเจ้าโอลาฟเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 942 พระเจ้าเอ็ดมันด์ก็ยึดมิดแลนดส์คืน ในปี ค.ศ. 943 ทรงเป็นพ่อทูลหัวของพระเจ้าโอลาฟแห่งยอร์ค ในปี ค.ศ. 944 พระเจ้าเอ็ดมันด์ก็ทรงได้รับความสำเร็จในการกู้นอร์ทธัมเบรียคืน ในปีเดียวกันหลังจากที่พระเจ้าโอลาฟแห่งยอร์คผู้เป็นพันธมิตรของพระเจ้าเอ็ดมันด์ก็ทรงสูญเสียราชบัลลังก์ พระองค์ก็เสด็จไปเป็นพระเจ้าแผ่นดินของดับลินในไอร์แลนด์ ในพระนามว่าโอลาฟ คิวอารัน (Olaf Cuaran หรือ Amlaíb Cuarán) ในปี ค.ศ. 945 พระเจ้าเอ็ดมันด์ทรงได้รับชัยชนะต่อดินแดนสตรัธไคลด์ (Strathclyde) แต่ทรงสละสิทธิ์บริเวณที่ทรงยึดครองให้กับพระเจ้ามัลคอล์มที่ 1 แห่งสกอตแลนด์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับข้อตกลงในสนธิสัญญาที่ทั้งสองฝ่ายให้การสนับสนุนต่อกันและกันในทางทหาร พระเจ้าเอ็ดมันด์ทรงมีนโยบายที่จะรักษาความมั่นคงและความสงบระหว่างพรมแดนอังกฤษและสกอตแลนด์ พระเจ้าเอ็ดมันด์ถูกปลงพระชนม์ในปี ค.ศ. 946 ระหว่างการต่อสู้โดยโจรเลโอฟา ขณะที่ทรงร่วมงานฉลองที่ปราสาทพัคเคิลเชิร์ชทรงเห็นเลโอฟาในกลุ่มผู้ร่วมงานจึงทรงพยายามไล่แต่เลโอฟาไม่ยอมออกจากงาน พระเจ้าเอ็ดมันด์และที่ปรึกษาจึงทรงต่อสู้กับเลโอฟา ทั้งพระเจ้าเอ็ดมันด์และเลโอฟาเสียชีวิต เมื่อพระเจ้าเอ็ดมันด์เสด็จสวรรคตพระอนุชาก็ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเอเดรดแห่งอังกฤษ พระราชโอรสพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ได้ปกครองอังกฤษได้แก่.

พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และพระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษ · พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส

มเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส (Edward the Elder; Ēadweard se Ieldra) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์เวสเซ็กซ์ของราชอาณาจักรอังกฤษ ประสูติเมื่อคริสต์ทศวรรษ 870 และสวรรคตเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 924 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโสเสด็จพระราชสมภพเมื่อประมาณปี ค.ศ. 870 ที่เวสเซ็กซ์ ในอังกฤษ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช และ เอลสวิธ ทรงเสกสมรสกับ เอ็กกวินน์, เอลเฟลด และ อีดกิฟู และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 899 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 924 ที่ฟาร์นดัน ออน ดี, เชสเชอร์, อังกฤษ.

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโสและพระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษ · พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโสและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ยอร์ก

อร์ก (York) เป็นนครที่ยังมีกำแพงเมืองโบราณล้อมรอบที่ตั้งอยู่ในนอร์ธยอร์กเชอร์ในภูมิภาคยอร์กเชอร์และแม่น้ำฮ้มเบอร์ของอังกฤษ นครยอร์กตั้งอยู่ในบริเวณที่แม่น้ำอูสและแม่น้ำฟอสส์ ยอร์กเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และมีบทบาทมาเกือบตลอด 2,000 ปีที่ก่อตั้งมา เมืองยอร์กก่อตั้งเป็นเมืองป้อมปราการเอบอราคุม (Eboracum) ในปี..

พระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษและยอร์ก · ยอร์กและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย (Mercia) เป็นหนึ่งในอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนเจ็ดอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ในลุ่มแม่น้ำแม่น้ำเทร้นท์และในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นอังกฤษมิดแลนด์ส (English Midlands) ชื่อเมอร์เซียเป็นภาษาอังกฤษเก่า “Mierce” ที่แผลงเป็นแบบละติน (Latinization) แปลว่า “ชนชายแดน” ราชอาณาจักรเมอร์เซียมีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย, เพาวิส, ราชอาณาจักรต่างๆ ทางตอนใต้ของเวลส์, เวสเซ็กซ์, ซัสเซ็กซ์, เอสเซ็กซ์ และ อีสต์แองเกลีย ทุกวันนี้ชื่อ “เมอร์เซีย” ยังใช้กันทั่วไปในชื่อองค์การต่างๆ ได้แก่ หน่วยทหาร หรือองค์การทั้งของรัฐและของเอกชน.

พระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษและราชอาณาจักรเมอร์เซีย · ราชอาณาจักรเมอร์เซียและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเวสเซกซ์

ราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ (Wessex หรือ Westseaxe (ภาษาอังกฤษเก่า)) เวสเซ็กซ์ หรือ “แซ็กซอนตะวันตก” เป็นอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนของแซ็กซอนตะวันตกทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนอังกฤษรวมตัวกันเป็นประเทศในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ภายใต้ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ หลังจากสมัยสมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราชเวสเซ็กซ์ก็มีฐานะเป็นอาณาจักรเอิร์ล (Earldom) ตั้งแต..

พระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษและราชอาณาจักรเวสเซกซ์ · ราชอาณาจักรเวสเซกซ์และอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวลส์

วลส์ (Wales; Cymru, ออกเสียง คัมรึ) เป็น 1 ใน 4 ประเทศที่ประกอบเป็นสหราชอาณาจักร (ได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ) เวลส์อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ โดยทิศตะวันออกติดกับประเทศอังกฤษ ทิศใต้ติดกับช่องแคบบริสตอล (Bristol Channel) ทิศตะวันตกติดกับช่องแคบจอร์เจส (George's Channel) และทางเหนือติดกับทะเลไอริช คำว่า ราชรัฐเวลส์ ยังคงเป็นที่นิยมใช้ ถึงแม้ว่าเจ้าชายแห่งเวลส์จะไม่มีบทบาททางการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) โดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษทรงเข้ายึดครอง ต่อมาเมืองหลวงของเวลส์ถูกย้ายจากคายร์นาร์วอน (ซึ่งเป็นเมืองของเจ้าชายเวลส์) มาที่คาร์ดิฟฟ์ในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955).

ประเทศเวลส์และพระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษ · ประเทศเวลส์และอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน

พระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษ มี 23 ความสัมพันธ์ขณะที่ อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน มี 50 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 10, ดัชนี Jaccard คือ 13.70% = 10 / (23 + 50)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: