โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2

ดัชนี พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2

นบูคัดเนสซาร์ที่ 2 (נְבוּכַדְנֶצַּר; กรีกโบราณ: Ναβουχοδονόσωρ; อารบิก: نِبُوخَذنِصَّر) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งจักรวรรดิบาบิโลนใหม่ ระหว่างปี 605 ถึง 562 ก่อนคริสตกาล บาบิโลนในยุคของพระองค์เป็นอาณาจักรที่เรืองอำนาจมาก โดยมีอาณาเขตตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย กองทัพของพระองค์มีชัยเหนืออียิปต์ ตลอดจนเข้าทำลายกรุงเยรูซาเลมและกวาดต้อนชาวอิสราเอลไปยังบาบิโลน สิ่งก่อสร้างมหึมาของโลกยุคโบราณหลายแห่งถูกสร้างขึ้นในยุคของพระองค์ อาทิ สวนลอยบาบิโลน ตามบันทึกที่ปรากฏในหนังสือดาเนียลและคัมภีร์ไบเบิลระบุว่า วันหนึ่ง ขณะที่พระองค์ทอดพระเนตรกรุงบาบิโลนจากบนดาดฟ้าของวัง พระองค์ก็ตรัสว่า "ดู​เมือง​ที่​เรา​สร้าง​สิ สวย​งาม​อะไร​อย่าง​นี้ เรา​คือ​ผู้​ยิ่ง​ใหญ่!" ทันใดนั้นก็มีเสียงดังขึ้นว่า "เนบูคัดเนสซาร์! เจ้า​ไม่​ได้​ปกครอง​อาณาจักร​นี้​แล้ว" พระเจ้าได้ริบรอนอำนาจและสติปัญญาของเนบูคัดเนสซาร์ เนบูคัดเนสซาร์ทำ​ตัว​เหมือน​สัตว์​และ​ถูกเนรเทศจาก​วัง​ไป​อยู่​กับ​สัตว์​ใน​ป่า ผม​ของ​เนบูคัดเนสซาร์​ยาว​เหมือน​ขน​นก​อินทรีและ​เล็บ​ของ​เขา​ยาว​เหมือน​กรง​เล็บ​ของ​นก เมื่อครบเวลาเจ็ดกาล (มักถูตีความเป็นเจ็ดปี) เนบูคัดเนสซาร์​ก็​กลับ​มา​เป็น​ปกติ พระเจ้าให้เขากลับมาครองบัลลังก์บาบิโลนอีกครั้ง (เชื่อว่าเรื่องนี้มาจากความแค้นของชาวยิวที่ถูกพระองค์ทำลายอาณาจักรยูดาร์และลดขั้นให้เป็นทาส) คำว่า "เนบูคัดเนสซาร์" นั้นเป็นภาษาแอกแคด มีความหมายว่า "ขอองค์เนโบโปรดพิทักษ์ซึ่งโอรสแรกแห่งข้า" ซึ่งเนโบนั้นคือเทพแห่งปัญญาผู้เป็นบุตรของเทพมาร์ดุกในศาสนาบาบิโลนเทวนิยม บางครั้งพระองค์ก็เป็นที่รู้จักในชื่อ บาคัตนาซาร์ ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้มีชัยเหนือโชคชะตา".

12 ความสัมพันธ์: พระยาห์เวห์กรีซโบราณภาษาอาหรับภาษาแอกแคดสวนลอยบาบิโลนหนังสือดาเนียลอ่าวเปอร์เซียทะเลแดงทะเลเมดิเตอร์เรเนียนคัมภีร์ไบเบิลแนโบโพแลสซาร์เนโบ

พระยาห์เวห์

หรียญเงินราวสี่ศตวรรษก่อนคริสตกาลที่พบในอิสราเอล เชื่อว่าบุคคลที่ประทับอยู่บนสุริยบัลลังก์มีปีกนั้นคือพระยาห์เวห์ พระยาห์เวห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 647-8 (Yahweh) พระเยโฮวาห์ (Jahovah) พระยะโฮวา (ศัพท์พยานพระยะโฮวา) (Yahova) ยฮวฮ (ศัพท์ศาสนายูดาห์) (יהוה; YHWH) เป็นพระนามของพระเป็นเจ้าที่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม (ทานัค) ในคัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยเล่มเก่านั้นปรากฏพระนามนี้อยู่หลายครั้ง ในคัมภีร์ดั้งเดิมเขียนด้วยอักษร 4 ตัว แต่เนื่องจากอักษร 4 ตัว (ยฮวฮ|YHWH) นั้นผู้เขียนไม่ได้ใส่สระไว้ ทำให้การออกเสียงที่ถูกต้องถูกถ่ายทอดต่อกันมาโดยการพูด คัมภีร์ดั้งเดิมหรือต้นฉบับปรากฏพระนามนี้ประมาณ 7 พันครั้ง ในฉบับภาษาไทยเล่มเก่า ๆ ยังปรากฏพระนามนี้อยู่ การแปลในยุคต่อ ๆ มาได้เปลี่ยนพระนามมา 3 ครั้ง ปัจจุบันสะกดพระนามนี้ว่า ยาห์เวห์ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Yahweh การทับศัพท์ เยโฮวาห์ มีต้นกำเนิดมาจากการที่นักวิชาการชาวยุโรปถอดอักษรฮีบรู יהוה เป็นอักษรโรมัน 4 ตัวได้เป็น YHWH แล้วผสมสระจึงได้การออกเสียงเป็น "เยโฮวาห์" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Jehovah การทับศัพท์นี้แพร่หลายไปในภาษาต่าง ๆ รวมทั้งพระคัมภีร์ไบเบิลภาษาไทยฉบับเก่า ๆ เช่น ฉบับ 1971 ยังปรากฏพระนาม "เยโฮวาห์" นี้อยู่ นอกจากนี้ยังมีการทับศัพท์ว่า "ยะโฮวา" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Yahovah ในคัมภีร์ไบเบิล ฉบับ 1940 อีกด้วย แต่ในปัจจุบันนักวิชาการนิยมทับศัพท์ใหม่ว่า ยาห์เวห์ ตามหลักฐานที่ค้นพบและเป็นที่ยอมรับมากที่สุด ยฮวฮ คือพระนามของพระเป็นเจ้าสูงสุด ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1940 หรือ "เยโฮวาห์" ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1971 หรือ "ยาห์เวห์" ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 2011 แต่เพื่อให้เกิดความเป็นสากลในทุกนิกาย ทั้งใน โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เมื่อออกพระนามพระเป็นเจ้าจะออกเสียงว่า "พระเจ้า" และ "ยฮวฮ" ในคัมภีร์ฮีบรู (ทานัค) ทุกฉบับ ในภาษาฮีบรู ยาห์เวห์ แปลว่า เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น หรือแปลได้อีกว่า เราอยู่(ด้วย) ซึ่งก็คือ พระองค์ทรงฤทธิ์ที่จะเป็นอะไรก็ได้ตามพระประสงค์ของพระอง.

ใหม่!!: พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2และพระยาห์เวห์ · ดูเพิ่มเติม »

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

ใหม่!!: พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2และกรีซโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2และภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแอกแคด

ษาแอกแคด (lišānum akkadītum; Akkadian language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติกใช้พูดในเมโสโปเตเมียโบราณ รวมทั้งชาวบาบิโลเนียและชาวอัสซีเรีย ชื่อของภาษานี้มาจากเมืองแอกแคดซึ่งเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมเมโสโปเตเมี.

ใหม่!!: พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2และภาษาแอกแคด · ดูเพิ่มเติม »

สวนลอยบาบิโลน

วาดสวนลอยบาบิโลน โดย มาเตน แวน ฮีมเสติร์ก (Maarten van Heemskerck) นักวาดภาพชาวดัตช์ สวนลอยบาบิโลน (Hanging Gardens of Babylon) จัดเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยูเฟรติส ประเทศอิรักในปัจจุบัน สร้างโดยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่ 2 แห่งกรุงบาบิโลเนีย สร้างให้แก่มเหสีของพระองค์ชื่อพระนางเซมีรามีส สร้างขึ้นเมื่อ 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช สูงประมาณ 75 ฟุต กินพื้นที่ 400 ตารางฟุต ระเบียงทุกชั้นได้รับการตกแต่งด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ยืนพุ่มชนิดต่าง ๆ มีระบบชลประทานชักน้ำจากแม่น้ำยูเฟรตีสไปทำเป็นน้ำตกและนำไปเลี้ยงต้นไม้ตลอดปี สวนนี้ได้พังทลายลงจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อหลังศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักร.

ใหม่!!: พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2และสวนลอยบาบิโลน · ดูเพิ่มเติม »

หนังสือดาเนียล

ระธรรมดาเนียล (Book of Daniel; דָּנִיֵּאל) เป็นหนังสือลำดับที่ 5 ในหนังสือผู้เผยพระวจนะ (Nevi'im) ของพระธรรมยูดาย (Tanakh) และเป็นหนังสือเล่มที่ 5 ในหมวดประกาศกใหญ่ ของพระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม (Old Testament) ของศาสนาคริสต์ เขียนด้วยภาษาฮีบรูในช่วงที่ชาวยิวอยู่ภายใต้การยึดครองของอาณาจักรบาบิโลน เป็นระยะที่ชนชาติยิวได้ถูกเนรเทศ และถูกบังคับให้อพยพไปยังเมืองบาบิโลน พระธรรมนี้เป็นคำบรรยายของ ดาเนียล ชาวอิสราเอล โดยเฉพาะ ผู้เป็นโหร และที่ปรึกษาทางของ กษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ ผู้ปกครองยิ่งใหญ่ ของอาณาจักรบาบิโลน ประมาณ 605 ถึง 562 ก่อนคริสต์ศตวรรษ พระธรรมนี้แบ่งเป็นสองภาค เริ่มด้วยบทที่หนึ่งถึงบทที่หก บอกเรื่องราวประวัติความเป็นมาของท่าน และ บทที่ 7-12 บรรยายถึงเหตุการณ์ต่างๆ จากคำทำนาย ดาเนียลเขียนถึง ดาเนียลและเพื่อนที่ถูกปรักปรำลงโทษ เพราะไม่ละที้งความเชื่อในพระเจ้าของชนชาติอิสราเอล ต่อมา เป็นคำทำนายความฝัน และแปลความหมายของมโนภาพของกษัตริย์ เนบูคัดเนสซาร์ ในภาคที่สอง ของพระธรรม ดาเนียลกล่าวถึง ความหมาย คำพยากรณ์ และคำแปรความฝัน บรรยายนิมิต และสิ่งที่ทูตสวรรค์อธิบายความหมายให้ท่านโดยตรง ยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ระหว่างชาวยิวและคริสตชน ถึงระยะเวลาที่แน่นอนและผู้เขียนที่แท้จริงของพระธรรมดาเนียล เชื่อกันแต่โบราณว่า ผู้พยากรณ์นามว่าดาเนียลผู้เขียน ซึ่งมีชีวิตก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 6 แต่ในหมู่นักศึกษาคริสตธรรมคัมภีร์ยุคใหม่เชื่อว่า พระธรรมเล่มนี้ ได้บันทึก ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 2 และบันทึกหลังจากเหตุการณ์ต่างๆ ได้ปรากฏและผ่านไปแล้ว และความเห็นแย้งที่สามคือ พระธรรมบทนี้ เขียนเสร็จบริบูรณ์ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 4.

ใหม่!!: พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2และหนังสือดาเนียล · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวเปอร์เซีย

แผนที่อ่าวเปอร์เซีย อ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf; خلیج فارس; الخليج العربي) เป็นอ่าวในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นส่วนต่อจากอ่าวโอมาน อยู่ระหว่างคาบสมุทรอาหรับกับประเทศอิหร่าน อ่าวเปอร์เซียเป็นแหล่งน้ำมันดิบแบบเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นที่ตั้งของแท่นขุดเจาะน้ำมันอัลซะฟะนียะ (Al-Safaniya) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอยตัวอยู่กลางอ่าวเปอร์เซีย ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำมันและแก๊สธรรมชาติเหล่านี้ส่งผลให้ประเทศรอบอ่าวเปอร์เซียเป็นประเทศอุตสาหกรรมน้ำมันสำคัญ ซึ่งมีชื่อเรียกรวม ๆ ว่า รัฐรอบอ่าวเปอร์เซีย ได้แก่ ประเทศอิหร่าน บาห์เรน, คูเวต, โอมาน, กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนอิรักนั้นมีพื้นที่ติดกับอ่าวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้อ่าวเปอร์เซียยังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติชนิดอื่น ๆ มีแนวปะการัง เหมาะสำหรับการทำประมงและหอยมุก เป็นต้น อ่าวเปอร์เซียเป็นที่สนใจของประชาคมโลกเมื่อเกิดสงครามอิรัก-อิหร่านในช่วง..

ใหม่!!: พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2และอ่าวเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลแดง

วเทียมของทะเลแดง ทะเลแดง (Red Sea; البحر الأحمر, อัลบะฮฺรุ อัลอะฮฺมัร; Yam Suf) เป็นอ่าวในมหาสมุทรอินเดีย แบ่งระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชีย โดยทะเลแดงเชื่อมกับมหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเอเดน (Gulf of Aden) ทะเลแดงมีความยาวประมาณ 1900 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 300 กิโลเมตร ร่องทะเลที่ลึกที่สุดประมาณ 2,500 เมตร และความลึกเฉลี่ยประมาณ 500 เมตร ทะเลแดงมีชื่ออื่นคือ อ่าวอาหรับ (Arabian Gulf) ซึ่งเรียกกันก่อนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชื่อทะเลแดงไม่ได้หมายถึงสีของน้ำทะเล แต่หมายถึงสีของแบคทีเรียชนิดหนึ่งบริเวณผิวน้ำ.

ใหม่!!: พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2และทะเลแดง · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

วเทียมของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) เป็นทะเลระหว่างทวีป คั่นกลางทวีปยุโรปที่อยู่ทางเหนือ ทวีปแอฟริกาที่อยู่ทางใต้ และทวีปเอเชียที่อยู่ทางตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร คำในภาษาอังกฤษ Mediterranean มาจากภาษาละติน mediterraneus หมายถึง 'ภายในแผ่นดิน' (medius 'กลาง' terra 'แผ่นดิน, โลก') ในภาษากรีกใช้ว่า "mesogeios".

ใหม่!!: พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2และคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

แนโบโพแลสซาร์

แนโบโพแลสซาร์ (Nabopolassar; แอกแคด: Nabû-apal-uṣur; ประมาณ 658–605 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งบาบิโลเนีย และเป็นบุคคลที่มีส่วนในการล่มสลายของจักรวรรดิอัสซีเรีย และการสถาปนาจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ การสวรรคตของพระเจ้าอาชูร์บานิพัล (Ashurbanipal) ทำให้จักรวรรดิอัสซีเรียเกิดความระส่ำระสาย ชาวบาบิโลนได้ก่อกบฏขึ้นและแนโบโพแลสซาร์ได้ตั้งต้นเป็นกษัตริย์ พระองค์เป็นพันธมิตรกับพระเจ้าไซอาซาเรส (Cyaxares) แห่งจักรวรรดิมีเดียน และทำสงครามกับอาชูร์-อิทิล-อิลานี (Ashur-etil-ilani) โอรสของพระเจ้าอาชูร์บานิพัล ในปีที่ 615 ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าแนโบโพแลสซาร์ได้เข้ายึดเมืองนิปปูร์ (Nippur) และส่งกำลังไปช่วยพระเจ้าไซอาซาเรสในการล้อมเมืองอาชูร์ แต่กองทัพของพระองค์ไปถึงหลังอาชูร์เสียเมืองแล้ว หลังยึดเมืองอาชูร์ได้ พระเจ้าแนโบโพแลสซาร์และพระเจ้าไซอาซาเรสได้ร่วมกันตีเมืองนิเนเวห์ เมืองหลวงของจักรวรรดิอัสซีเรีย จนในที่สุดในปีที่ 612 ก่อนคริสต์ศักราช พระองค์ก็ทรงยึดเมืองหลวงได้สำเร็จ อาชูร์-อูบัลลิตที่ 2 (Ashur-uballit II) ผู้นำของอัสซีเรียได้ถอนทัพไปที่เมืองฮาร์รัน (Harran) ทางตอนเหนือของซีเรีย ต่อมาในปีที่ 610 ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าแนโบโพแลสซาร์ได้เข้ายึดเมืองนี้ อาชูร์-อูบัลลิตที่ 2 และกองทัพพันธมิตรจากฟาโรห์เนโคที่ 2 (Necho II) ได้ยกทัพกลับมาที่ฮาร์รันอีกครั้ง แต่ไม่สามารถตีเมืองนี้ได้ ในปีที่ 605 ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าแนโบโพแลสซาร์ได้สละราชสมบัติ พระโอรสของพระองค์ พระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่ 2 (Nebuchadnezzar II) รบชนะฟาโรห์เนโคที่ 2 ในยุทธการที่คาร์เคมิช (Battle of Carchemish) และรีบเดินทางไปบาบิโลเนียเพื่อจัดการในเรื่องสิทธิในการขึ้นครองราชย์หลังพระบิดาสวรรคต รัชสมัยของพระเจ้าแนโบโพแลสซาร์และพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่ 2 เป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่มีการเจริญรุ่งเรือง มีการสร้างศาสนสถาน ซิกกุรัตและปราการต่าง ๆ ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2และแนโบโพแลสซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เนโบ

นโบ (נבו) หรือ นาบู เป็นเทพเจ้าแห่งปัญญาของชาวบาบิโลนและอัสซีเรีย ได้รับการนับถือโดยชาวบาบิโลนในฐานะโอรสแห่งเทพมาร์ดุกและนีสซาบา ทั้งนี้ ในฐานะเทพแห่งปัญญา เนโบอาจเทียบเท่าได้กับเทพเฮอร์มีสของกรีก และเทพเมอร์คิวรีของโรมัน นอกจากนี้ในโหราศาสตร์ของบาบิโลน เนโบถือเป็นตัวแทนของดาว.

ใหม่!!: พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2และเนโบ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่ 2

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »