โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและเทวสิทธิราชย์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและเทวสิทธิราชย์

พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ vs. เทวสิทธิราชย์

พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษหรือพระเจ้าเจมส์ที่ 7 แห่งสกอตแลนด์ พระเจ้าเจมส์ที่ 2แห่งอังกฤษ (พ.ศ. 2228 – พ.ศ. 2232) หรือ พระเจ้าเจมส์ที่ 7 แห่งสกอตแลนด์ เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ และพระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2228 ถึง 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2232 นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษพระองค์สุดท้ายที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก เมื่อเทียบกับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทย พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษทรงครองราชย์ในเวลาเดียวกันกับระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าเจมส์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ประสูติที่พระราชวังเซนต์เจมส์ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ในปี.. พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ในเครื่องทรงพระอาทิตย์ เทวสิทธิราชย์ (Divine Right of Kings) เป็นหลักความเชื่อทางการเมืองและทางศาสนาของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ว่าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงอยู่ภายใต้อำนาจใดภายในโลกียวิสัยเพราะทรงเป็นผู้ที่ได้รับอำนาจโดยตรงจากพระเจ้า ฉะนั้นพระมหากษัตริย์จึงไม่ทรงอยู่ภายใต้อำนาจของประชาชน ขุนนาง หรือสถาบันใดใดทั้งสิ้น (ทั้งนี้ผู้นับถือนิกายโปรแตสแตนท์ส่วนมากเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ไม่อยู่ใต้อำนาจพระศาสนจักรอีกด้วย ส่วนผู้นับถือนิกายคาทอลิกถือว่าพระศาสนจักรไม่ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์) หลักความเชื่ออันนี้เป็นนัยว่าความพยายามในการโค่นล้มราชบัลลังก์หรือความพยายามในการจำกัดสิทธิของพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง และเป็นการขัดต่อพระประสงค์ของพระเจ้า มีผลด้านการเมืองคือทำให้ประชาชนเข้าใจว่าผู้ทำพยายามกระทำการดังกล่าวเป็นพวกนอกรีต หลักความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่ยุคกลางที่กล่าวว่าพระเจ้าทรงมอบอำนาจทางโลกให้แก่พระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับที่ทรงมอบอำนาจทางธรรมให้แก่สถาบันศาสนาโดยมีประมุขเป็นพระสันตะปาปา ผู้ประพันธ์ทฤษฎีนี้คือฌอง โบแดง (Jean Bodin) ผู้เขียนจากการตีความหมายของกฎหมายโรมัน เมื่อการขยายตัวของรัฐอิสระต่างๆ และการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์มีอิทธิพลมากขึ้น ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ก็กลายมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุนในการให้เหตุผลในเอกสิทธิ์ในการปกครองของพระมหากษัตริย์ทั้งในด้านการเมืองและทางด้านศาสนา ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ที่สนับสนุนโดยสถาบันโรมันคาทอลิกมามีบทบาทสำคัญระหว่างรัชสมัยการปกครองของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1603–1625) และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1643–1715) ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” มาเริ่มลดความสำคัญลงในระหว่างสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ของอังกฤษระหว่างปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและเทวสิทธิราชย์

พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและเทวสิทธิราชย์ มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษราชวงศ์สจวต

พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 1 (Charles I; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 — 30 มกราคม ค.ศ. 1649) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์สจวต รวมทั้งพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างปี..

พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและเทวสิทธิราชย์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (Charles II of England; 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685) พระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ และพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ ในราชวงศ์สจวต ระหว่างปี ค.ศ. 1660 ถึงปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางแคเธอริน และครองสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 และ อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ที่พระราชวังไวท์ฮอลในกรุงลอนดอน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายหลังจากพระราชบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกประหารชีวิตที่พระราชวังไวต์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่รัฐสภาอังกฤษมิได้ประกาศแต่งตั้งให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และผ่านบัญญัติว่าเป็นการดำรงตำแหน่งของพระองค์เป็นการผิดกฎหมาย จึงเกิดช่วงว่างระหว่างรัชกาลในอังกฤษ แต่ทางรัฐสภาสกอตแลนด์ประกาศให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของชาวสกอตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ที่เอดินบะระ และรับพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 หลังจากที่พ่ายแพ้ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนีไปยุโรปภาคพื้นทวีปและไปประทับลี้ภัยเป็นเวลา 9 ปีในประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ของสเปน หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐภายใต้การนำของริชาร์ด ครอมเวลล์ล่มในปี ค.ศ. 1659 นายพลจอร์จ มองค์ก็อัญเชิญชาลส์ให้กลับมาเป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในสมัยที่เรียกกันว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จกลับถึงอังกฤษเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จเข้าลอนดอนในวันประสูติครบ 30 พรรษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและ ไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1660 รัฐสภาภายใต้การนำของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ออกพระราชบัญญัติต่อต้านพิวริตันที่รู้จักกันในชื่อ “ประมวลกฎหมายแคลเรนดัน” (Clarendon code) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหนุนสถานะของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ว่าในทางส่วนพระองค์แล้วพระเจ้าชาลส์ที่ 2 จะทรงสนับสนุนนโยบายความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ตาม ส่วนปัญหาใหญ่ในด้านการต่างประเทศในต้นรัชสมัยก็คือการสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ทรงไปทำสัญญาลับกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่ระบุว่าฝรั่งเศสจะช่วยอังกฤษในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม และจะถวายเงินบำนาญแก่พระองค์โดยมีข้อแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ต้องสัญญาว่าจะเปลื่ยนจากการนับถือนิกายแองกลิคันไปเป็นการนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่พระเจ้าชาลส์มิได้ทรงระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการเปลี่ยนนิกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้แก่ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ต่าง ๆ มากขึ้นโดยการออกพระราชปฏิญญาพระคุณการุญในปี ค.ศ. 1672 แต่รัฐสภาบังคับให้ทรงถอนในปี ค.ศ. 1679 ในปี ค.ศ. 1679 ไททัส โอตส์สร้างข่าวลือเรื่อง “การลอบวางแผนโพพิช” ที่เป็นผลให้เกิดวิกฤตกาลการกีดกัดต่อมา เมื่อเป็นที่ทราบกันว่าดยุกแห่งยอร์กพระอนุชาของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และรัชทายาทผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเมืองแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายวิกสนับสนุนการยกเว้นไม่ให้ดยุกแห่งยอร์กขึ้นครองราชย์และฝ่ายทอรีต่อต้านการยกเว้น พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเข้าข้างฝ่ายหลัง หลังจากที่ผู้ก่อการโปรเตสแตนต์วางแผน “การลอบวางแผนไรย์เฮาส์” ที่จะปลงพระองค์เองและดยุกแห่งยอร์กในปี ค.ศ. 1683 ที่ทำให้ผู้นำพรรควิกหลายคนถูกประหารชีวิตหรือถูกเนรเทศ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 จึงทรงยุบสภาในปี ค.ศ. 1679 และทรงราชย์โดยไม่มีรัฐสภาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ก่อนจะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็ทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกบนพระแท่นที่ประชวร พระเจ้าชาลส์ไม่มีพระราชโอรสธิดากับพระนางแคเธอรินแห่งบราแกนซา เพราะพระนางทรงเป็นหมัน แต่ทรงยอมรับว่ามีพระราชโอรสธิดานอกสมรส 12 องค์กับพระสนมหลายคน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม “ราชาเจ้าสำราญ” (Merrie Monarch) ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตในราชสำนักของพระองค์ที่เต็มไปด้วยความสนุกสำราญซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่ถูกเก็บกดมาเป็นเวลานานภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์และกลุ่มพิวริตัน.

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและเทวสิทธิราชย์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์สจวต

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ กษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์สจวต ราชวงศ์สจวต อังกฤษ: House of Stuart หรือ Stewart) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ซึ่งภายหลังได้ปกครองราชอาณาจักรอังกฤษ และได้ปกครองราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ได้ทรงรับเอาการสะกดชื่อพระราชวงศ์ว่า Stuart มาจากภาษาฝรั่งเศส ในขณะที่ในฝรั่งเศสยืนยันว่าในภาษาสกอต Stewart นั้นออกเสียงได้ถูกต้องแล้ว ชื่อราชวงศ์มาจากพระอิสสริยยศโบราณของสกอตแลนด์ สจวตสูงแห่งสกอตแลนด์ (High Steward of Scotland) ราชวงศ์สจวตปกครองราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นเวลานาน 336 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 1914 ถึงปี พ.ศ. 2250 องค์รัชทายาทที่ใกล้ชิดกับสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งราชอาณาจักรอังกฤษคือสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษโดยผ่านทางสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ทิวดอร์ เจมส์ สจวตสืบทอดราชบัลลังก์ทั้งราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรไอร์แลนด์ พระองค์ทรงครองราชบัลลังก์ของทั้ง 3 ชาติ (Home Nations) (และยังสืบทอดการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสของกษัตริย์อังกฤษด้วย) ในระหว่างปี พ.ศ. 2146 ถึง พ.ศ. 2250 ในระยะหลังราชวงศ์สจวตได้สถาปนาตนเองเป็น กษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่ (Kings/Queens of Great Britain) จนถึงรัชสมัยของราชินีองค์สุดท้ายของราชวงศ์สจวตคือสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ ราชวงศ์ฮาโนเวอร์ได้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อเนื่องจากพระราชบัญญัติการสืบสันตติวงศ์ พ.ศ. 2244 (Act of Settlement 1701) ที่กำหนดให้ผู้ที่สามารถขึ้นครองราชย์ต่อไปต้องเป็นโปรเตสแตนต์เพื่อประโยชน์ในการรวมไอร์แลนด์ให้อยู่ภายใต้รัฐบาลลอนดอน ในปัจจุบันยังคงมีสมาชิกของราชวงศ์ที่สืบเชื้อสายราชวงศ์สจวตมีชีวิตอยู่ และยังคงมีผู้ที่ยังคงสนับสนุนราชวงศ์สจวตอยู่ เรียกขานกันว่า พวกจาโคไบท์ (Jacobite) โดยขบวนการนี้ถือเอา ฟรานซ์ ดยุคแห่งบาวาเรีย เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ, สกอตแลนด์, ไอร์แลนด์ และ ฝรั่งเศสโดยชอบธรรม.

พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและราชวงศ์สจวต · ราชวงศ์สจวตและเทวสิทธิราชย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและเทวสิทธิราชย์

พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ มี 33 ความสัมพันธ์ขณะที่ เทวสิทธิราชย์ มี 20 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 5.66% = 3 / (33 + 20)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและเทวสิทธิราชย์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »