โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสและสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1499-1504)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสและสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1499-1504)

พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส vs. สงครามอิตาลี (ค.ศ. 1499-1504)

ระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส (Louis XII of France) (27 มิถุนายน ค.ศ. 1462 - 1 มกราคม ค.ศ. 1515) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส จากสายวาลัวส์-ออร์เลอองส์ พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 เสด็จพระราชสมภพที่วังบลัวส์ในประเทศฝรั่งเศส เป็นพระราชโอรสของชาร์ลส์ ดยุกแห่งออร์เลอองส์ และ มารีแห่งคลีฟส์ ทรงราชย์ระหว่างวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1498 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1515 ที่ปารีสในประเทศฝรั่ง. งครามอิตาลี (ค.ศ. 1499-1504) หรือ สงครามอิตาลีครั้งที่ 2 หรือ สงครามอิตาลีของหลุยส์ที่ 12 หรือ สงครามชิงเนเปิลส์ (Italian War of 1499–1504 หรือ Second Italian War หรือ Louis XII's Italian War หรือ War over Naples) เป็นส่วนหนึ่งของมหาสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1494-1559) ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1499 จนถึง ค.ศ. 1504 สงครามอิตาลีครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นการต่อสู้ระหว่างพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสและพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งสเปนโดยมีผู้สนับสนุนในจากมหาอำนาจในอิตาลี หลังจากสงครามอิตาลีครั้งที่ 1 พระเจ้าหลุยส์ก็ทรงดำเนินความพยายามในการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของอาณาจักรดยุคแห่งมิลานและราชอาณาจักรเนเปิลส์ต่อไป ในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสและสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1499-1504)

พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสและสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1499-1504) มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอนราชอาณาจักรอารากอนราชอาณาจักรเนเปิลส์สงครามอิตาลีประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสประเทศฝรั่งเศสแอนน์แห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสโกลด สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน

ระเจ้าเฟรนานโดที่ 2, พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอารากอน หรือ พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 5 แห่งคาสตีล (สเปน: Fernando II de Aragón, อังกฤษ: Ferdinand II of Aragon; 10 มีนาคม พ.ศ. 1995 - 23 มกราคม พ.ศ. 2059) เป็นกษัตริย์แห่งอารากอน (พ.ศ. 2022 - พ.ศ. 2059), กษัตริย์แห่งซิชิลี (พ.ศ. 2011 - พ.ศ. 2059) กษัตริย์แห่งเนเปิลส์ (พ.ศ. 2047 - พ.ศ. 2059) กษัตริย์แห่งวาเลนเซีย ซาร์ดิเนีย เคานท์แห่งบาร์เซโลนา, กษัตริย์แห่งคาสตีล (พระสวามีในพระราชินีนาถแห่งคาสตีล) (พ.ศ. 2017 - พ.ศ. 2047) และหลังจากนั้นก็เป็นกษัตริย์อย่างแท้จริงแต่แท้จริงแล้วผู้ที่ได้เป็นกษัตริย์แห่งคาสตีลคือพระธิดาของพระองค์ เจ้าหญิงโจแอนนาผู้วิปล.

พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสและพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน · พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอนและสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1499-1504) · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอารากอน

ราชอาณาจักรอารากอน (Reino de Aragón; Kingdom of Aragon) เป็นราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ในบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสเปนระหว่างปี ค.ศ. 1035 ถึงปี ค.ศ. 1707 โดยมีพระเจ้ารามีโรที่ 1 แห่งอารากอนแห่งราชวงศ์อารากอนเป็นกษัตริย์องค์แรก อาณาจักรอารากอนเป็นอาณาจักรแบบราชาธิปไตย อาณาบริเวณเป็นบริเวณเดียวกับแคว้นอารากอนในประเทศสเปนปัจจุบัน ราชอาณาจักรอารากอนเดิมเป็นส่วนหนึ่งของ “ราชบัลลังก์อารากอน” (Crown of Aragon) ซึ่งรวมทั้งราชอาณาจักรบาเลนเซียและราชรัฐคาเทโลเนีย ซึ่งมีประมุขร่วมกัน อารากอนกอร์เตส (รัฐสภา) ราชอาณาจักรเดิมเป็นแคว้นฟิวดัลของชาวแฟรงก์รอบเมืองคากาซึ่งรวมตัวกับราชอาณาจักรปัมโปลนาที่ต่อมาเป็นราชอาณาจักรนาวาร์ในปี ค.ศ. 925 แคว้นอารากองแยกตัวจากราชอาณาจักรนาวาร์ในปี ค.ศ. 1035 และเลื่อนฐานะขึ้นเป็นอาณาจักรเต็มตัวโดยพระเจ้ารามีโรที่ 1 อาณาจักรอารากอนขยายตัวไปทางใต้ทางอวยสกา ในปี ค.ศ. 1096 และต่อมาซาราโกซา ในปี ค.ศ. 1118 จนกระทั่งปี ค.ศ. 1285 พรมแดนทางใต้ที่สุดของอารากอนเป็นดินแดนจากมัวร์ อาณาจักรอารากอนรวมกับราชบัลลังก์อารากอนหลังจากการเสกสมรสระหว่างสองราชวงศ์ในปี ค.ศ. 1150 ระหว่างรามอน เบเรงเกร์ที่ 4 เคานต์แห่งบาร์เซโลนา และเปโตรนีลาแห่งอารากอน พระราชินีแห่งอารากอน พระโอรสของทั้งสองพระองค์ได้รับดินแดนของทั้งสองอาณาจักร นอกจากนั้นพระเจ้าแผ่นดินแห่งอารากอนยังได้รับตำแหน่งเพิ่มเป็นเคานต์แห่งบาร์เซโลนา ปกครองดินแดนเดิมและราชรัฐคาเทโลเนีย และต่อมาหมู่เกาะแบลีแอริก ราชอาณาจักรบาเลนเซีย ราชอาณาจักรซิซิลี ราชอาณาจักรเนเปิลส์ และราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย พระเจ้าแผ่นดินแห่งอารากอนเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์แรกที่ทรงปกครองบริเวณอารากอนโดยตรงและทรงดำรงตำแหน่งพระเจ้าแผ่นดินแห่งบาเลนเซีย พระเจ้าแผ่นดินแห่งมายอร์กา (ชั่วระยะหนึ่ง) เคานต์แห่งบาร์เซโลนา ลอร์ดแห่งมงเปลีเย และดุ๊กแห่งเอเธนส์ (ชั่วระยะหนึ่ง) แต่ละตำแหน่งที่ได้มาหรือเสียไปก็เป็นการเพื่มหรือลดดินแดนภายใต้การปกครองในคริสต์ศตวรรษที่ 14 อำนาจของพระมหากษัตริย์แห่งอารากอนก็จำกัดลงเพียงบริเวณอารากอนเองตามข้อตกลง “สหภาพอารากอน” (Union of Aragon) ราชบัลลังก์อารากอนถูกยุบเลิกโดยปริยายหลังจากการรวมกับราชบัลลังก์คาสตีล แต่หลังจากการรวมตัวอารากอนก็ยังรักษาอำนาจบางอย่างอยู่บ้างจนกระทั่งมาสิ้นสุดลงทั้งหมดตามพระราชกฤษฎีกานวยบาปลันตา (Nueva Planta decrees) ที่ออกในปี ค.ศ. 1707.

พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสและราชอาณาจักรอารากอน · ราชอาณาจักรอารากอนและสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1499-1504) · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเนเปิลส์

ราชอาณาจักรเนเปิลส์ (Kingdom of Naples) เป็นอาณาจักรที่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรอิตาลี (Italian peninsula) หรือบางครั้งก็รู้จักกันอย่างสับสนกับ “ราชอาณาจักรซิซิลี” ซึ่งเป็นราชอาณาจักรที่ก่อตั้งหลังจากการแยกตัวของซิซิลีจากราชอาณาจักรซิซิลีเดิมที่เป็นผลมาจากกบฏซิซิเลียนเวสเปิร์ส (Sicilian Vespers) ของปี..

พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสและราชอาณาจักรเนเปิลส์ · ราชอาณาจักรเนเปิลส์และสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1499-1504) · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอิตาลี

งครามอิตาลี หรือ มหาสงครามอิตาลี (Italian Wars หรือ Great Italian Wars หรือ Great Wars of Italy) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันระหว่างปี ค.ศ. 1494 จนถึงปี ค.ศ. 1559 ผู้เข้าร่วมสงครามในช่วงต่างๆ ก็ได้แก่นครรัฐอิตาลี (Italian city-states) ต่างๆ ส่วนใหญ่, อาณาจักรพระสันตะปาปา รัฐสำคัญต่างๆ ในยุโรปตะวันตกที่รวมทั้งฝรั่งเศส, สเปน, จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์, ราชอาณาจักรอังกฤษ และ ราชอาณาจักรสกอตแลนด์ นอกจากนั้นก็ยังรวมจักรวรรดิออตโตมัน สาเหตุเบื้องต้นของสงครามเกิดจากความขัดแย้งระหว่างตระกูลต่างๆ ในการปกครองอาณาจักรดยุคแห่งมิลาน และ ราชอาณาจักรเนเปิลส์ แต่ความขัดแย้งก็บานปลายอย่างรวดเร็วจนกลายไปเป็นความขัดแย้งโดยทั่วไปในอำนาจการปกครองดินแดนต่างของผู้เกี่ยวข้อง และทวีความรุนแรงและความยุ่งเหยิงมากขึ้นฝ่ายต่างๆ ที่เข้าร่วมทำสัญญาสร้างพันธมิตรระหว่างกัน, ละเมิดข้อตกลงการเป็นพันธมิตร, สร้างพันธมิตรซ้อน และ เปลี่ยนข้าง ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ.

พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสและสงครามอิตาลี · สงครามอิตาลีและสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1499-1504) · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสเป็นดินแดนที่เคยอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันมาก่อน โดยรู้จักกันในชื่อของชนเผ่า หรือแคว้นกอล ซึ่งเป็นกลุ่มชนเผ่าขนาดใหญ่ที่พูดภาษาเคลท์ ในช่วงท้ายก่อนที่จักรวรรดิโรมันจะล่มสลายลง ดินแดนกอลถูกรุกรานจากทั้งการโจมตีของกลุ่มอนารยชนและการอพยพของกลุ่มคนเร่ร่อน โดยเฉพาะชาวแฟรงก์เชื้อสายเจอร์มานิค พระมหากษัตริย์แฟรงก์นามว่า โคลวิสที่ 1 ได้ทรงรวบรวมดินแดนส่วนมากของกอลภายใต้การปกครองของพระองค๋ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 นับเป็นจุดเริ่มต้นของอิทธิพลชาวแฟรงก์ในภูมิภาคนี้ที่ดำเนินต่อไปอีกหลายร้อยปี อำนาจของแฟรงก์ดำเนินมาถึงจุดสูงสุดในช่วงของพระเจ้าชาร์เลอมาญ ราชอาณาจักรฝรั่งเศสยุคกลางก็ได้ถือกำเนิดขึ้นจากการเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งทางทิศตะวันตกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงของชาร์เลอมาญ ซึ่งรู้จักกันในนาม ฟรังเกียตะวันตก และเพิ่มพูนอิทธิพลของตนขึ้นเรื่อยมาภายใต้การปกครองของตระกูลกาแปซึ่งก่อตั้งโดยอูก กาแปในปี..

ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสและพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส · ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสและสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1499-1504) · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ประเทศฝรั่งเศสและพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส · ประเทศฝรั่งเศสและสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1499-1504) · ดูเพิ่มเติม »

แอนน์แห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

แอนน์แห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส (Anne de Bretagne; ภาษาเบรตอง: Anna Vreizh;Anne of Brittany) (25 มกราคม ค.ศ. 1477 - 9 มกราคม ค.ศ. 1514) แอนน์แห่งบริตานีเป็นสมเด็จพระราชินีในสมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซิมิเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ระหว่างวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1488 ถึงวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1514; ในพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1491 ถึงวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1498 และในพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1499 ถึงวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1514 แอนน์ประสูติเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1477 ที่นองซ์ในฝรั่งเศสเป็นพระธิดาของฟรองซัวส์ที่ 2 ดยุกแห่งบริตานี และมาร์กาเร็ตแห่งฟัวซ์ ดัชเชสแห่งบริตานี (Margaret of Foix) เมื่อพระบิดาเสียชีวิตแอนน์ก็เป็นดัชเชสแห่งบริตานีอย่างเต็มตัว และเป็นเคานเทสแห่งนองซ์, มงท์ฟอร์ต และริชมงท์ และไวท์เคานเทสแห่งลีมอชส์ ซึ่งทำให้ทรงเป็นสตรีผู้มีอำนาจและฐานะมั่งคั่งที่สุดในยุโรป.

พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสและแอนน์แห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส · สงครามอิตาลี (ค.ศ. 1499-1504)และแอนน์แห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

โกลด สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

ลดแห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส (Claude of France) (14 ตุลาคม ค.ศ. 1499 - 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1524) โคลดแห่งบริตานีเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสในพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1514 ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1524 โคลดแห่งบริตานีประสูติเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1499 เป็นพระธิดาองค์โตในพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส และพระราชินีแอนน์ โคลดทรงมีบรรดาศักดิ์เป็นดัชเชสแห่งบริตานีต่อจากพระราชมารดา และเป็นพระราชมารดาของพระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส ฉะนั้นจึงเป็นพระอัยกีของพระเจ้าแผ่นดินสามพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์วาลัว.

พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสและโกลด สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส · สงครามอิตาลี (ค.ศ. 1499-1504)และโกลด สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสและสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1499-1504)

พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส มี 35 ความสัมพันธ์ขณะที่ สงครามอิตาลี (ค.ศ. 1499-1504) มี 30 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 12.31% = 8 / (35 + 30)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสและสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1499-1504) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »