โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้ามกจงแห่งโครยอและพระเจ้าฮย็อนจงแห่งโครยอ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระเจ้ามกจงแห่งโครยอและพระเจ้าฮย็อนจงแห่งโครยอ

พระเจ้ามกจงแห่งโครยอ vs. พระเจ้าฮย็อนจงแห่งโครยอ

ระเจ้ามกจงแห่งโครยอ (ค.ศ. 980 - ค.ศ. 1009) จักรพรรดิองค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์โครยอ (ค.ศ. 997 - ค.ศ. 1009) พระเจ้ามกจงแห่งโครยอ มีพระนามเดิม องค์ชายวังซง แห่ง ฮวางจู เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าคยองจงกับสมเด็จพระราชินีฮอนแอ หรือ พระนางชอนชูฮวางแทฮู เป็นพระราชปนัดดาของพระเจ้าแทโจแห่งโครยอและสมเด็จพระจักรรดินีซินจอง แห่ง ฮวางจู เมื่อพระเจ้าคยองจงสิ้นพระชนม์โดยการถูกลอบปลงพพระชนม์ องค์ชายวังชี ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าซองจงแห่งโครยอ สมเด็จพระราชินีมุนด็อกแห่งฮวางจู พระมเหสีของพระเจ้าซองจงแห่งโครยอ ได้รับองค์ชายวังซง พระชนมายุเพียงแค่ 2 พรรษา มาเป็นพระราชโอรสบุญธรรม และเลี้ยงดูประดุจพระมารดาแท้ๆขององค์ชาย เนื่องจากครั้งพระเจ้าซองจงขึ้นครองราชย์ได้เนรเทศสมเด็จพระราชินีฮอนแอพระราชมาดาขององค์ชายวังซงออกจากวังหลวง ทำให้สมเด็จพระราชินีมุนด็อกเกิดความสงสาร จึงได้เลี้ยงดูองค์ชายแทน ครั้งสมเด็จพระราชินีมุนด็อกสิ้นพระชนม์เนื่องจากประชวรอย่างหนัก พระเจ้าซองจงจึงให้พระสนมยอนฮึงขึ้นดำรงตำแหน่งพระเหสีมีพระนามว่า สมเด็จพระราชินีมุนฮวา พระนางมุนฮวาจึงได้เลี้ยงดูองค์ชายวังซงต่อไป ในปี ค.ศ. 997 พระเจ้าซองจงสิ้นพระชนม์โดยไม่มีพระราชโอรส ทำให้สมเด็จพระราชินีฮอนแอกลับคืนราชสำนักอีกครั้ง จนในที่สุดองค์ชายวังซง ในฐานะที่เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าคยองจงแห่งโครยอนั้น ก็ได้ขึ้นครองบัลลังก์ มีพระนามว่า พระเจ้ามกจงแห่งโครยอ ครั้งขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ ได้ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระราชินีฮอนแอ แห่ง ฮวางจู เป็นพระนางชอนชูฮวางแทฮู (천추태후, 千秋太后) และได้ตั้งพระนางเป็นผู้สำเร็จราชการแทน พระนางชอนชูครั้งพระนางมุนด็อกสิ้นพระชนม์ พระนางได้นำองค์หญิงซอนพระธิดาของพระนางมุนด็อกมาเลี้ยงดูที่วังมยองบก เมื่อองค์ชายวังซงขึ้นครองราชย์ พระนางจึงให้องค์หญิงซอนอภิเษกกับพระเจ้ามกจงและพระราชทานนามว่า สมเด็จพระราชินีซอนจอง เนื่องจากในขณะนั้นราชวงศ์เหลียวของแคว้นคิตัน ได้ทำสงครามกับอาณาจักรโครยอ พระนางชอนชูได้นำทัพทำสงครามอย่างต่อเนื่องกับราชวงศ์เหลียว ครั้งแคว้นคิตันได้ยกทัพใหญ่ทหาร 300,000 นาย มาบุกโครยอเข้ายึดเมืองแคซองไว้ พระเจ้ามกจงพร้อมกับพระนางชอนชูและพระนางซอนจองจึงได้ลี้ภัยไปที่วังมยองบก พระเจ้ามกจงถูกทหารคิตันตามฆ่า แต่พระนางชอนชูปกป้องไว้ ครั้งสงครามยุติลงพระเจ้ามกจงสละราชบัลลังก์ให้องค์ชายวังซุน โอรสของพระนางฮอนจองพระขนิษฐาของพระนางชอนชูขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าฮย็อนจง แต่ขุนนางกลุ่มชิลลาที่กุมอำนาจหลังพระเจ้ามกจงสละราชบัลลังก์เกรงว่าพระนางชอนชูจะหวนมามีอำนาจในราชสำนักอีก จึงได้ลอบปลงพระชนม์พระเจ้ามกจง ทำให้พระนางชอนชูและพระนางซอนจองโกรธแค้นอย่างมาก จึงได้ลอบสังหารขุนนางกลุ่มซิลลาจนหมดสิ้นจากราชสำนัก จนพระนางชอนชูสิ้นพระชนม์เมื่อ.. ระเจ้าฮย็อนจงแห่งโครยอ (ค.ศ. 992 - ค.ศ. 1031) จักรพรรดิองค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์โครยอ (ค.ศ. 1009 - ค.ศ. 1031) พระนามเดิมว่า เจ้าชายวัง ซุน (왕순, 王詢) เป็นพระราชโอรสของพระนางฮอนจอง ตระกูลฮวางโบ แห่งเมืองฮวางจู (헌정왕후 황보씨, 獻貞王后) อดีตองค์ราชินีของพระเจ้าคยองจง กับพระราชสวามีใหม่ของพระนางคือเจ้าชายวัง อุก แห่งเมืองคยองจู (왕욱, 王郁) ภายหลังเจ้าชายวังซุนได้รับอิสริยยศเป็น องค์ชายแทยาง (대량원군, 大良院君) เล่าว่าครั้งทรงพระครรภ์พระนางฮอนจองมีนิมิตว่าพระองค์ได้ขึ้นไปบนยอดเขาสูง แล้วเห็นคลื่นสาดซัดไล่ลงมาจากเขา และคลื่นน้ำนั้นได้กลายเป็นทะเลสีเงินแทน จากบันทึกในยุคสามอาณาจักรเล่าว่า พระราชินีมุนมยอง พระมเหสีของพระเจ้ามูยอลแห่งซิลลาก็ทรงนิมิตเช่นเดียวกัน พระนางได้ให้กำเนิดพระเจ้ามุนมูผู้รวบรวมสามอาณาจักร และพระเจ้าฮย็อนจงก็ทรงเป็นกษัตริย์ที่สามารถรวบรวมดินแดนทางเหนือของโครยอกลับคืนมาได้สำเร็จ พระเจ้าฮย็อนจงเมื่อครองราชย์แล้วก็แต่งตั้งพระราชบิดาเจ้าชายวัง อุก เป็น พระเจ้าอานจง (안종, 安宗) พระเจ้าฮย็อนจงนั้นทรงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของขุนนางกลุ่มซิลลาใน..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระเจ้ามกจงแห่งโครยอและพระเจ้าฮย็อนจงแห่งโครยอ

พระเจ้ามกจงแห่งโครยอและพระเจ้าฮย็อนจงแห่งโครยอ มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 1552พระเจ้าคย็องจงแห่งโครยอราชวงศ์โครยอราชวงศ์เหลียว

พ.ศ. 1552

ทธศักราช 1552 ใกล้เคียงกั.

พ.ศ. 1552และพระเจ้ามกจงแห่งโครยอ · พ.ศ. 1552และพระเจ้าฮย็อนจงแห่งโครยอ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าคย็องจงแห่งโครยอ

ระเจ้าคย็องจงแห่งโครยอ (ค.ศ. 955 - ค.ศ. 981) จักรพรรดิองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์โครยอ (ค.ศ. 975 - ค.ศ. 981) เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าควางจง และพระมเหสีแทมก (ซึ่งเป็นพระขนิษฐาต่างพระราชมารดากับพระเจ้าควางจง) เมื่อพระราชบิดาสวรรคตใน..

พระเจ้าคย็องจงแห่งโครยอและพระเจ้ามกจงแห่งโครยอ · พระเจ้าคย็องจงแห่งโครยอและพระเจ้าฮย็อนจงแห่งโครยอ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โครยอ

ราชวงศ์โครยอ (ค.ศ. 918 - ค.ศ. 1392) ก่อตั้งใน ค.ศ. 918 และรวบรวมสามแคว้นหลังได้ใน ค.ศ. 936 จนคาบสมุทรเกาหลีเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้งหลังสมัยชิลลา จนถูกโค่นล้มโดยลีซองเกใน ค.ศ. 1392 สมัยโครยอเป็นสมัยที่ลัทธิขงจื้อเข้ามาในเกาหลีอย่างเต็มตัว เป็นสมัยที่ทหารปกครองบ้านเมือง และการยึดครองของมองโกลก็ทำให้วัฒนธรรมมองโกลหลั่งไหลเข้าสู่เกาหลี สมัยโครยอเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในเกาหลี มีการพิมพ์พระไตรปิฏกภาษาเกาหลีเป็นฉบับแรก คือ ไตรปิฏก โคเรียนะ เก็บไว้ที่วัดแฮอินซา Map of Goryeo คำว่า "โครยอ" มาจาก "โคกูรยอ" หนึ่งในสามอาณาจักรโบราณของคาบสมุทรเกาหลี และเป็นที่มาของคำว่า "โคเรีย" ในภาษาอังกฤษ (โดยเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "โกเร" ที่หมายถึงอาณาจักรแห่งนี้ในความหมายของชาวอาหรับ) และ "เกาหลี" ในภาษาจีนกลางและภาษาไท.

พระเจ้ามกจงแห่งโครยอและราชวงศ์โครยอ · พระเจ้าฮย็อนจงแห่งโครยอและราชวงศ์โครยอ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เหลียว

ราชวงศ์เหลียว (Liao Dynasty; ชี่ตัน: Mos Jælud; มองโกล: Ляо Улс/Lyao Uls) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิชี่ตัน (Khitan Empire; ชี่ตัน: Mos diau-d kitai huldʒi gur; มองโกล: Хятан (Khyatan) Гүрэн, Кидан (Kidan) Гүрэн) เป็นชื่อจักรวรรดิหนึ่งในเอเชียตะวันออก มีอำนาจในมองโกเลีย ภาคตะวันออกไกลบางส่วนของรัสเซีย เกาหลีเหนือ และภาคเหนือของจีนส่วนในตั้งแต่ปี 907 ถึง 1125 พระเจ้าไท่จู่ (Taizu) ข่านแห่งชาวชี่ตัน สถาปนาจักรวรรดินี้ขึ้นหลังจากราชวงศ์ถังของประเทศจีนล่มสลาย และไม่ช้าไม่นานหลังก่อตั้งขึ้น ราชวงศ์เหลียวก็เริ่มขยายดินแดน โดยพระเจ้าไท่จู่ทรงเอาชัยเหนือพวกพัลแฮ (Balhae) เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าแผ่นดินองค์ถัด ๆ มายังทรงได้สิบหกมณฑลของจีนไว้โดยใช้วิธียุแยงให้รัฐที่สามส่งการก่อกวนเข้ามา แล้วราชวงศ์เหลียวจึงคอยตีกิน ทำให้ราชวงศ์ถังอวสานลง และราชวงศ์โครยอ (Goryeo) แห่งเกาหลี กับราชวงศ์ซ่ง (Song) แห่งจีน ตกเป็นเมืองออกของราชวงศ์เหลียวในที่สุด คำว่า "เหลียว" นี้ในภาษาจีนหมายความว่า ห่าง หรือไกล จุดเด่นของราชวงศ์เหลียว คือ ความตึงเครียดระหว่างจารีตประเพณีทางสังคมและการเมืองแบบชี่ตันกับแบบจีนซึ่งนำไปสู่วิกฤติการณ์ทางการสืบสันตติวงศ์ เพราะพระเจ้าแผ่นดินเหลียวฝักใฝ่คติบุตรหัวปีเป็นใหญ่ตามแบบจีน แต่ผู้ลากมากดีชาวชี่ตันส่วนใหญ่นิยมประเพณีที่ให้ผู้แข็งแกร่งที่สุดสืบเชื้อสาย ความแตกต่างกันระหว่างจารีตประเพณีชี่ตันและจีนนี้ยังเป็นเหตุให้พระเจ้าไท่จู่แห่งราชวงศ์เหลียวทรงตั้งการปกครองสองแบบขนานกัน ภาคเหนือซึ่งเป็นอาณาเขตชี่ตันให้ปกครองตามประเพณีชี่ตัน ภาคใต้ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ไม่ใช่ชี่ตันให้ปกครองตามประเพณีจีน ความแตกต่างทางสังคมแบบชี่ตันกับแบบจีนยังได้แก่ บทบาทของบุคคลแต่ละเพศและยุทธวิธี ชาวชี่ตันเห็นว่า บุคคลเสมอภาคกันไม่ว่าเพศใด ขณะที่ประเพณีทางวัฒนธรรมจีนถือว่า สตรีต้องอยู่ในโอวาทบุรุษ ฉะนั้น หญิงชี่ตันจึงเล่าเรียนการรบ ทั้งยังจัดการทรัพย์สินครัวเรือน และดำรงตำแหน่งทางทหาร ทั้งยังไม่มีการคลุมถุงชน ตลอดจนสตรีไม่จำต้องครองความบริสุทธิ์ทางเพศไว้จนถึงการสมรสครั้งแรก กับมีสิทธิที่จะหย่าและสมรสใหม่ด้วย ในปี 1125 ชาวนฺหวี่เจิน (Jurchen) จากราชวงศ์จิน (Jin) ของพวกแมนจู จับกุมพระเจ้าเทียนจั้ว (Tianzuo) แห่งเหลียวไว้ได้ และทำลายราชวงศ์เหลียวลงสิ้น แต่ชาวชี่ตันที่ยังเหลืออยู่มีเยลฺวี่ ต้าฉือ (Yelü Dashi) เป็นผู้นำ พากันก่อตั้งราชวงศ์ใหม่เรียกว่า "เหลียวตะวันตก" (Western Liao) ปกครองกันอยู่ในเอเชียกลางบางส่วนเป็นเวลายาวนานเกือบหนึ่งศตวรรษ ก่อนจะถูกทัพพระเจ้าไท่จู่ (Taizu) แห่งราชวงศ์หยวนของพวกมองโกล เข้ายึดครอง แม้ความสำเร็จทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับราชวงศ์เหลียวจะสลักสำคัญ กับทั้งเครื่องปั้นและศิลปวัตถุอื่น ๆ ก็มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์และสถานสะสมต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก แต่สภาพที่แท้จริงและขอบข่ายของอิทธิพลที่วัฒนธรรมเหลียวมีต่อพัฒนาการในระยะหลัง ๆ เช่น ด้านศิลปะการแสดงและการสังคีตนั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างยิ่ง.

พระเจ้ามกจงแห่งโครยอและราชวงศ์เหลียว · พระเจ้าฮย็อนจงแห่งโครยอและราชวงศ์เหลียว · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระเจ้ามกจงแห่งโครยอและพระเจ้าฮย็อนจงแห่งโครยอ

พระเจ้ามกจงแห่งโครยอ มี 9 ความสัมพันธ์ขณะที่ พระเจ้าฮย็อนจงแห่งโครยอ มี 15 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 16.67% = 4 / (9 + 15)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระเจ้ามกจงแห่งโครยอและพระเจ้าฮย็อนจงแห่งโครยอ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »