ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระเจ้าปเยและรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า
พระเจ้าปเยและรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระเจ้าตาลูนพระเจ้าปีนดะเลพระเจ้านะราวะระราชวงศ์ตองอู
พระเจ้าตาลูน
ระเจ้าทาลุน (พระเจ้าสิริสุธรรมราชามหาธิบดีตลุนมิน) เป็นพระอนุชาของ พระเจ้าอโนเพตลุน และเป็นพระโอรสของ พระเจ้าสีหสุธรรมราชา หรือ เจ้านยองยาน พระโอรสของพระเจ้าบุเรงนอง กล่าวคือพระองค์เองและพระเชษฐาธิราชต่างก็เป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าชนะสิบทิศบุเรงนอง พระเจ้าสิริสุธรรมราชามหาธิบดี (พระเจ้าทาลุน) (พ.ศ. 2172-2191) ทรงครองราชย์ต่อจาก พระเจ้ามินแยไดกปาผู้เป็นพระภาติยะของพระองค์ ทรงเป็นกษัตริย์ที่ได้รับการยกย่องมากองค์หนึ่งของพม่า โดยเฉพาะในด้านศาสนาและการปกครอง ทรงจัดสวัสดิการให้ประชาชน ปรับปรุงระเบียบการปกครอง ฟื้นฟูหลักพระธรรมศาสตร์ในสมัยพุกาม ทำนุบำรุงพุทธศาสนา ได้รับการยกย่องเป็นธรรมราชา ด้านการทหาร ทรงสามารถเกณฑ์ไพร่พลเพิ่มจาก 20,000 เป็น 400,000 ได้ และต้านทานการรุกรานจากจีนได้ในปี พ.ศ. 2180 อาณาจักรของพระองค์ครอบคลุมพม่าในปัจจุบัน (ยกเว้นยะไข่) และล้านนาทั้งหมด (กล่าวกันว่ารวมถึงล้านช้างด้วย) อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าสนใจคือ ที่กล่าวกันว่าพระองค์บำรุงพระศาสนานั้น อันที่จริงก็มีความเกี่ยวพันกับการเกณฑ์ทหารและแรงงาน กล่าวคือ ปี.
พระเจ้าตาลูนและพระเจ้าปเย · พระเจ้าตาลูนและรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า ·
พระเจ้าปีนดะเล
พระเจ้าพินดาเล (2191-2204) กษัตริย์องค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์ตองอู เป็นพระราชโอรสองค์โตในพระเจ้าทาลุน เสด็จขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดาเมื่อปีพ.ศ. 2191 โดย 13 ปีแห่งการครองราชย์บ้านเมืองของพระองค์กลับอ่อนแอลง ตรงข้ามกับรัชสมัยของพระเจ้าอโนเพตลุน สมเด็จพระปิตุลา (ลุง) ของพระองค์ และพระเจ้าทาลุนพระราชบิดาของพระองค์ที่พาราชวงศ์ตองอูกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง เมื่อถึงปีพ.ศ. 2204 ขุนนางทั้งหลายลงมติปลดพระเจ้าพินดาเลออกจากราชสมบัติ และอัญเชิญพระอนุชาของพระเจ้าพินดาเลขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าปเย พร้อมกันนั้นพระเจ้าปเยก็ทรงมีบัญชาให้นำพระเจ้าพินดาเลไปสำเร็จโทษ หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ราชวงศ์ตองอู.
พระเจ้าปีนดะเลและพระเจ้าปเย · พระเจ้าปีนดะเลและรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า ·
พระเจ้านะราวะระ
พระเจ้านราวาระ เป็นพระมหากษัตริย์พม่าพระองค์ที่ 10 แห่ง ราชวงศ์ตองอู ขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2215 แต่พระองค์ครองราชย์แค่เพียงปีเดียวก็สิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน พระอนุชาของพระองค์จึงขึ้นครองราชย์ต่อเป็น พระเจ้ามังกะยอดิน หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ราชวงศ์ตองอู.
พระเจ้านะราวะระและพระเจ้าปเย · พระเจ้านะราวะระและรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า ·
ราชวงศ์ตองอู
ราชวงศ์ตองอู (Toungoo Dynasty; တောင်ငူခေတ်) ราชวงศ์ที่ 2 ในประวัติศาสตร์พม่า ภายหลังจากราชวงศ์พุกาม ราชวงศ์แรกล่มสลายลงจากการรุกรานของชาวมองโกลโดยกุบไลข่าน พระเจ้าเมงจีโย ได้รวบรวมชาวพม่าที่หลงเหลืออยู่อย่างกระจัดกระจาย โดยสถาปนาเมืองตองอูขึ้นเป็นราชธานี เพราะเป็นเมืองที่อยู่ในขุนเขาซึ่งเป็นปราการที่เข้มแข็ง ตองอูเข้มแข็งขึ้นมารัชสมัยของ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ พระโอรสของพระองค์ที่ขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยได้แผ่อาณาเขตของอาณาจักรขยายไปรอบด้าน เช่น แปร, พะสิม อังวะ, ยะไข่ และที่สำคัญที่สุดคือ หงสาวดี อันเป็นอาณาจักรเดิมของมอญ ซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญของพม่า ยุคสมัยของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้ครอบคลุมอาณาจักรพม่าทั้งตอนบนและตอนล่างลุ่มน้ำอิระวดี อีกทั้งได้บุคลากรที่สำคัญ เช่น มหาอุปราชาบุเรงนอง, เมงเยสีหตู ร่วมกันสร้างอาณาจักรให้ยิ่งใหญ่ เข้มแข็ง และได้ย้ายเมืองหลวงจากตองอูมายังหงสาวดี ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ เมืองต่าง ๆ ที่เคยขึ้นต่ออาณาจักร ก็แข็งเมืองไม่ยอมขึ้นตรงต่อไป มีกบฏเกิดขึ้นมากมาย มหาอุปราชาบุเรงนองต้องใช้เวลาปราบปรามอยู่ราวอีก 2-3 ปี จึงจะได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ในรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง ได้แผ่อาณาเขตของอาณาจักรตองอู ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นโดยครอบคลุมตั้งแต่ลุ่มน้ำอิระวดี ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไปจรดถึงลุ่มน้ำโขงในลาว มีเมืองเป็นประเทศราชต่าง ๆ มากมาย เช่น เชียงใหม่, ฉาน, อยุธยา, ล้านช้าง, กัมพุช เป็นต้น จนได้การขนานพระนามว่าเป็น "พระเจ้าชนะสิบทิศ" แต่ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบุเรงนอง ศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรถูกสั่นคลอน เนื่องจากการปกครองอย่างแข็งกร้าว ไร้ไมตรีของพระเจ้านันทบุเรง พระราชโอรสของพระองค์ เมืองที่เคยขึ้นเป็นประเทศราชต่าง ๆ ต่างแข็งเมืองและได้ประกาศอิสรภาพ ทำสงครามรบพุ่งกันตลอดมา เช่น แปร, อังวะ, อยุธยา เป็นต้น ในที่สุดเมืองทั้งหลายเหล่านี้ก็แตกแยกกระจัดกระจายออกไป และภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้านันทบุเรง ราชวงศ์ตองอูก็ยังได้สืบราชสมบัติต่อมา แต่ไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดที่เข้มแข็งพอที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำกอบกู้อาณาจักรขึ้นมา แม้นจะมีความพยายามจากพระเจ้าอโนเพตลุน ราชนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งเรียกกันว่า "ยุคนยองยาน" (Nyaungyan Dynasty) แต่ก็สำเร็จเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากยุคนี้แล้ว มอญสามารถตั้งตัวได้และขึ้นมาเป็นใหญ่แทน ก่อนที่ทางพม่าจะสถาปนาศูนย์กลางอำนาจขึ้นมาอีกครั้งในสมัยพระเจ้าอลองพญา ในทางวิชาการ นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งราชวงศ์ตองอูไว้เป็น 2 ยุค คือ ราชวงศ์ตองอูตอนต้น กินระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2029 - พ.ศ. 2142 คือตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าเมงจีโยจนถึงพระเจ้านันทบุเรง และราชวงศ์ตองอูตอนปลายหรือยุคหลัง ตั้งแต่ พ.ศ. 2140 - พ.ศ. 2295 ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้านยองยานจนถึงการสถาปนาอำนาจขึ้นมาของพระเจ้าอลองพญ.
พระเจ้าปเยและราชวงศ์ตองอู · ราชวงศ์ตองอูและรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ พระเจ้าปเยและรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระเจ้าปเยและรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า
การเปรียบเทียบระหว่าง พระเจ้าปเยและรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า
พระเจ้าปเย มี 7 ความสัมพันธ์ขณะที่ รายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า มี 109 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 3.45% = 4 / (7 + 109)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระเจ้าปเยและรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: