เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและแขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและแขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ vs. แขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่

ระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (Charles II of England; 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685) พระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ และพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ ในราชวงศ์สจวต ระหว่างปี ค.ศ. 1660 ถึงปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางแคเธอริน และครองสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 และ อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ที่พระราชวังไวท์ฮอลในกรุงลอนดอน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายหลังจากพระราชบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกประหารชีวิตที่พระราชวังไวต์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่รัฐสภาอังกฤษมิได้ประกาศแต่งตั้งให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และผ่านบัญญัติว่าเป็นการดำรงตำแหน่งของพระองค์เป็นการผิดกฎหมาย จึงเกิดช่วงว่างระหว่างรัชกาลในอังกฤษ แต่ทางรัฐสภาสกอตแลนด์ประกาศให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของชาวสกอตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ที่เอดินบะระ และรับพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 หลังจากที่พ่ายแพ้ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนีไปยุโรปภาคพื้นทวีปและไปประทับลี้ภัยเป็นเวลา 9 ปีในประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ของสเปน หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐภายใต้การนำของริชาร์ด ครอมเวลล์ล่มในปี ค.ศ. 1659 นายพลจอร์จ มองค์ก็อัญเชิญชาลส์ให้กลับมาเป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในสมัยที่เรียกกันว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จกลับถึงอังกฤษเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จเข้าลอนดอนในวันประสูติครบ 30 พรรษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและ ไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1660 รัฐสภาภายใต้การนำของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ออกพระราชบัญญัติต่อต้านพิวริตันที่รู้จักกันในชื่อ “ประมวลกฎหมายแคลเรนดัน” (Clarendon code) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหนุนสถานะของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ว่าในทางส่วนพระองค์แล้วพระเจ้าชาลส์ที่ 2 จะทรงสนับสนุนนโยบายความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ตาม ส่วนปัญหาใหญ่ในด้านการต่างประเทศในต้นรัชสมัยก็คือการสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ทรงไปทำสัญญาลับกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่ระบุว่าฝรั่งเศสจะช่วยอังกฤษในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม และจะถวายเงินบำนาญแก่พระองค์โดยมีข้อแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ต้องสัญญาว่าจะเปลื่ยนจากการนับถือนิกายแองกลิคันไปเป็นการนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่พระเจ้าชาลส์มิได้ทรงระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการเปลี่ยนนิกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้แก่ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ต่าง ๆ มากขึ้นโดยการออกพระราชปฏิญญาพระคุณการุญในปี ค.ศ. 1672 แต่รัฐสภาบังคับให้ทรงถอนในปี ค.ศ. 1679 ในปี ค.ศ. 1679 ไททัส โอตส์สร้างข่าวลือเรื่อง “การลอบวางแผนโพพิช” ที่เป็นผลให้เกิดวิกฤตกาลการกีดกัดต่อมา เมื่อเป็นที่ทราบกันว่าดยุกแห่งยอร์กพระอนุชาของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และรัชทายาทผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเมืองแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายวิกสนับสนุนการยกเว้นไม่ให้ดยุกแห่งยอร์กขึ้นครองราชย์และฝ่ายทอรีต่อต้านการยกเว้น พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเข้าข้างฝ่ายหลัง หลังจากที่ผู้ก่อการโปรเตสแตนต์วางแผน “การลอบวางแผนไรย์เฮาส์” ที่จะปลงพระองค์เองและดยุกแห่งยอร์กในปี ค.ศ. 1683 ที่ทำให้ผู้นำพรรควิกหลายคนถูกประหารชีวิตหรือถูกเนรเทศ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 จึงทรงยุบสภาในปี ค.ศ. 1679 และทรงราชย์โดยไม่มีรัฐสภาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ก่อนจะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็ทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกบนพระแท่นที่ประชวร พระเจ้าชาลส์ไม่มีพระราชโอรสธิดากับพระนางแคเธอรินแห่งบราแกนซา เพราะพระนางทรงเป็นหมัน แต่ทรงยอมรับว่ามีพระราชโอรสธิดานอกสมรส 12 องค์กับพระสนมหลายคน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม “ราชาเจ้าสำราญ” (Merrie Monarch) ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตในราชสำนักของพระองค์ที่เต็มไปด้วยความสนุกสำราญซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่ถูกเก็บกดมาเป็นเวลานานภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์และกลุ่มพิวริตัน. การประหารชีวิต ฮิว เดสเพนเซอร์ ผู้เยาว์ (Hugh Despenser the Younger) การแขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่ (hanged, drawn and quartered) เป็นโทษประหารชีวิตสำหรับนักโทษชายที่มีความผิดฐานเป็นกบฏต่อแผ่นดินอังกฤษ ประกาศใช้ครั้งแรกในพระราชบัญญัติกบฏ ค.ศ. 1351 แต่มีการใช้มาก่อนหน้านี้ตั้งแต่ปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและแขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและแขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กบฏต่อแผ่นดิน

กบฏต่อแผ่นดิน

การลงโทษโดยการ “แขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่” (Hanged, drawn and quartered) ซึ่งเป็นบทกำหนดการลงโทษของผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏต่อแผ่นดินในอังกฤษ กบฏต่อแผ่นดิน (High treason) เป็นความผิดทางอาญาในการทรยศต่อประเทศของตนเองซึ่งครอบคลุมการกระทำต่างๆ ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศของตนเอง ที่รวมทั้งการเข้าร่วมสงคราม, การพยายามโค่นล้มรัฐบาล, การสืบความลับทางการทหารหรือทางการทูต, หรือการพยายามสังหารผู้นำของประเทศ การ “กบฏต่อแผ่นดิน” อยู่บนพื้นฐานที่ว่าผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏต้องมีความสวามิภักดิ์ต่อประเทศที่ตนจงใจที่จะทำร้ายเช่นการเป็นประชาชนของประเทศนั้น แต่การมีที่อยู่อาศัยในประเทศหรือรัฐก็พอเพียง ชาวต่างประเทศที่เป็นสายลับ, ผู้ล่าสังหาร, และผู้ก่อการร้ายแม้ว่าจะไม่เข้าข่ายการเป็นกบฏต่อแผ่นดินอาจจะถูกฟ้องร้องและลงโทษในข้อหาเป็นสายลับ, เป็นผู้ล่าสังหาร, และเป็นผู้ก่อการร้าย แต่ในปัจจุบันผู้ต้องสงสัยในกรณีเหล่านี้มักจะถูกเนรเทศหลังจากถูกจับ ในประวัติศาสตร์ในประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์ (common law) ข้อหาการกบฏต่อแผ่นดินแตกต่างจากกบฏย่อย (petty treason) ซึ่งเป็นการฆ่าผู้มีอำนาจเหนือกว่าตามกฎหมายเช่นผู้รับใช้ฆ่านายซึ่งถือว่าเป็นกรณีการฆาตกรรมที่หนักกว่าปกติ แต่กฎหมายครอบคลุมการกบฏย่อยถูกยุบเลิกกันไปจากประเทศต่างๆ เกือบทั้งสิ้น แนวคิดเกี่ยวกับกบฏย่อยจึงหายไป ในปัจจุบันคำว่า “กบฏ” จึงมักจะหมายถึงการ “กบฏต่อแผ่นดิน” ข้อสังเกตในกฎหมายของแคนาดาแยก “กบฏ” และ “กบฏต่อแผ่นดิน” เป็นสองกรณีแต่อันที่จริงแล้วในทั้งสองกรณีเป็นการกล่าวถึงการกบฏต่อแผ่นดินในประวัติศาสตร.

กบฏต่อแผ่นดินและพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · กบฏต่อแผ่นดินและแขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและแขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ มี 168 ความสัมพันธ์ขณะที่ แขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่ มี 6 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 0.57% = 1 / (168 + 6)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและแขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: