โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและเนลล์ กวิน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและเนลล์ กวิน

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ vs. เนลล์ กวิน

ระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (Charles II of England; 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685) พระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ และพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ ในราชวงศ์สจวต ระหว่างปี ค.ศ. 1660 ถึงปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางแคเธอริน และครองสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 และ อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ที่พระราชวังไวท์ฮอลในกรุงลอนดอน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายหลังจากพระราชบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกประหารชีวิตที่พระราชวังไวต์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่รัฐสภาอังกฤษมิได้ประกาศแต่งตั้งให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และผ่านบัญญัติว่าเป็นการดำรงตำแหน่งของพระองค์เป็นการผิดกฎหมาย จึงเกิดช่วงว่างระหว่างรัชกาลในอังกฤษ แต่ทางรัฐสภาสกอตแลนด์ประกาศให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของชาวสกอตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ที่เอดินบะระ และรับพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 หลังจากที่พ่ายแพ้ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนีไปยุโรปภาคพื้นทวีปและไปประทับลี้ภัยเป็นเวลา 9 ปีในประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ของสเปน หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐภายใต้การนำของริชาร์ด ครอมเวลล์ล่มในปี ค.ศ. 1659 นายพลจอร์จ มองค์ก็อัญเชิญชาลส์ให้กลับมาเป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในสมัยที่เรียกกันว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จกลับถึงอังกฤษเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จเข้าลอนดอนในวันประสูติครบ 30 พรรษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและ ไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1660 รัฐสภาภายใต้การนำของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ออกพระราชบัญญัติต่อต้านพิวริตันที่รู้จักกันในชื่อ “ประมวลกฎหมายแคลเรนดัน” (Clarendon code) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหนุนสถานะของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ว่าในทางส่วนพระองค์แล้วพระเจ้าชาลส์ที่ 2 จะทรงสนับสนุนนโยบายความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ตาม ส่วนปัญหาใหญ่ในด้านการต่างประเทศในต้นรัชสมัยก็คือการสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ทรงไปทำสัญญาลับกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่ระบุว่าฝรั่งเศสจะช่วยอังกฤษในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม และจะถวายเงินบำนาญแก่พระองค์โดยมีข้อแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ต้องสัญญาว่าจะเปลื่ยนจากการนับถือนิกายแองกลิคันไปเป็นการนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่พระเจ้าชาลส์มิได้ทรงระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการเปลี่ยนนิกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้แก่ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ต่าง ๆ มากขึ้นโดยการออกพระราชปฏิญญาพระคุณการุญในปี ค.ศ. 1672 แต่รัฐสภาบังคับให้ทรงถอนในปี ค.ศ. 1679 ในปี ค.ศ. 1679 ไททัส โอตส์สร้างข่าวลือเรื่อง “การลอบวางแผนโพพิช” ที่เป็นผลให้เกิดวิกฤตกาลการกีดกัดต่อมา เมื่อเป็นที่ทราบกันว่าดยุกแห่งยอร์กพระอนุชาของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และรัชทายาทผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเมืองแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายวิกสนับสนุนการยกเว้นไม่ให้ดยุกแห่งยอร์กขึ้นครองราชย์และฝ่ายทอรีต่อต้านการยกเว้น พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเข้าข้างฝ่ายหลัง หลังจากที่ผู้ก่อการโปรเตสแตนต์วางแผน “การลอบวางแผนไรย์เฮาส์” ที่จะปลงพระองค์เองและดยุกแห่งยอร์กในปี ค.ศ. 1683 ที่ทำให้ผู้นำพรรควิกหลายคนถูกประหารชีวิตหรือถูกเนรเทศ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 จึงทรงยุบสภาในปี ค.ศ. 1679 และทรงราชย์โดยไม่มีรัฐสภาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ก่อนจะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็ทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกบนพระแท่นที่ประชวร พระเจ้าชาลส์ไม่มีพระราชโอรสธิดากับพระนางแคเธอรินแห่งบราแกนซา เพราะพระนางทรงเป็นหมัน แต่ทรงยอมรับว่ามีพระราชโอรสธิดานอกสมรส 12 องค์กับพระสนมหลายคน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม “ราชาเจ้าสำราญ” (Merrie Monarch) ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตในราชสำนักของพระองค์ที่เต็มไปด้วยความสนุกสำราญซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่ถูกเก็บกดมาเป็นเวลานานภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์และกลุ่มพิวริตัน. นลล์ กวิน เนลล์ กวิน (พ.ศ. 2193- 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2230) เป็นพระสนมเอกคนที่สามของ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2เนลล์มาจากจุดต่ำสุดของสังคมอังกฤษ เนลล์เกิดในซ่องโสเภณี แม่ของเนลล์เป็นอดีตโสเภณี แม่เมาเหล้าและตกน้ำตายตั้งแต่เนลล์ยังเล็ก เนลล์ไม่ได้เรียนหนังสือ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ พอเนลล์อายุ 14 ปี เธอเติบโตสวยสะพรั่งเป็นสาวหน้าอกใหญ่ เนลล์เป็นเด็กขายส้มในโรงละคร เด็กขายส้มเป็นอาชีพที่ต้องเสียตัวกับลูกค้าบ้ากาม ต่อมาเนลล์ได้เป็น "เด็ก"ให้กับ ชาร์ลส์ ฮาร์ท นักแสดงชายในโรงละคร เนลล์ได้เรียนเต้นระบำกับครูฝึก เนลล์เป็นสาวสวยน่ารัก ขี้เล่น เฮฮา มีลูกเล่นแพรวพราว ทำให้เจ้าของโรงละครและนักเขียนบทเห็นแววเป็น "ดาวรุ่ง" ของเนลล์ เนลล์ได้เลื่อนขั้นเป็นนักแสดงในวัย 15 ปี ด้วยความสวยและฉลาด เนลล์ได้เป็นนางเอกในเรื่อง Secret Love ในเรื่องนั้นนางเอกต้องเป็นสาวขี้เล่น เฮฮา เนลล์ได้มีนิสัยตรงกัน เธอเลยได้เป็นนางเอกของเรื่อง ซึ่งก็โด่งดังเป็นพลุแตก คนดูหนึ่งในนั้นคือชาร์ลส์ แซควิลล์ ที่หลงใหลในตัวเนลล์จนถอนตัวไม่ขึ้น อยากได้มาเป็นเมียเก็บ และก็สำเร็จในที่สุด ชาร์ลส์พาเนลล์ไปพักที่คฤหาสน์หลังงาม เนลล์ได้สัมผัสกับความหรูหราอลังการของที่นั่น เนลล์ได้ชุดสวยๆ นั่งรถม้า มีบ่าวรับใช้ สร้างความดีใจมาก แต่ความรักของเนลล์กับชาร์ลส์ต้องยุติลง จากนั้นเนลล์ก็ไปเป็น "เด็ก"ของขุนนางอีกหลายคน ก่อนที่จะไปเป็นพระสนมในวัย 19 ในตอนนั้นพระเจ้าชาร์ลส์มีพระสนมชื่อมอลล์ เดวิส ที่มีประวัติที่ไม่ค่อยดีนัก มอลล์เป็นลูกนอกสมรสของขุนนางคนหนึ่ง พ่อไม่ยอมรับ เธอต้องเป็นนางละคร ร้องเพลงได้ไพเราะยิ่งนัก พระเจ้าชาร์ลส์ทรงชอบมอลล์มากๆแต่ในราชสำนัก มอลล์เป็นที่รังเกียจ เนื่องจากเธอมาจากความต้อยต่ำ ไม่รู้จักที่ต่ำสูง ขาดความนอบน้อม ไม่มีมารยาท นอกจากพระเจ้าชาร์ลส์แล้วไม่ใครรักมอลล์สักคน วันหนึ่งพระเจ้าชาร์ลส์ทอดพระเนตรดูการแสดงละคร เนลล์เองก็ไปกับคู่ควง เนลล์ได้นั่งติดกับพระเจ้าชาร์ลส์ เนลล์เป็นสาวขี้เล่น พระเจ้าชาร์ลส์ทรงสั่งให้ข้าราชบริพารนัดเนลล์และคู่ควงให้ไป "ดื่ม"กันต่อที่โรงเตี๊ยมใกล้ๆ พอดื่มเสร็จ เมื่อถึงเวลาจ่ายเงิน พระเจ้าชาร์ลส์ทรงไม่ได้พกกระเป๋าเงินมา เนลล์เลยอุทานมาว่า "โอ ตั้งแต่เกิดฉันไม่เคยเห็นเจ้าภาพที่ไหนกระจอกขนาดนี้" คนร่วมโต๊ะต่างตะลึงไปหมด กลัวว่าเนลล์จะถูกลงโทษ แต่เปล่า พระเจ้าชาร์ลส์กลับทรงเอ็นดูเนลล์มากกว่าเดิม เนลล์ต้องเจอคู่แข่งอย่างหลุยส์ เดอ เครูอาล แต่ก็ทำอะไรเนลล์ไม่ได้ ส่วนมอลล์ เดวิสก็ถูกเขี่ยไปให้พ้นเส้นทาง ด้วยวิธีการคือเนลล์แอบเอาสมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาถ่ายใส่ลงไปในอาหาร แล้วก็มารับประทานด้วยกันปกติ พอสมุนไพรออกฤทธิ์ มอลล์เริ่มมีอาการท้องเสียง สร้างความอึดอัดอย่างมาก โดยเฉพาพระเจ้าชาร์ลส์ที่ตรัสว่า "ช่างอึดอัดจริง บรรยกาศชวนกินข้าวไม่ลง" มอลล์เกิดอาการท้องเสียอย่าแรง เป็นเหตุที่ทำให้ตกกระป๋องในที่สุด เนลล์เป็นคนพูดตรง วันหนึ่งพระเจ้าชาร์ลส์เสด็จมาเยี่ยมเนลล์และลูกชายที่บ้านพัก เนลล์ได้พูดว่า "มานี่ซิ เด็กไม่มีพ่อ"สร้างความตกพระทัยแก่พระเจ้าชาร์ลส์มาก เนลล์เลยให้เหตุผลว่า "จริงไหมเพคะ ลูกหม่อมฉันเป็นแบสทาร์ด ลูกนอกสมรสนี่" ทำให้พระเจ้าชาร์ลส์ทรงชื่นชมเนลล์มากกว่าเดิม เนลล์เสียชีวิตในวัย 37 ปี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและเนลล์ กวิน

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและเนลล์ กวิน มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2193

พ.ศ. 2193

ทธศักราช 2193 ใกล้เคียงกั.

พ.ศ. 2193และพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · พ.ศ. 2193และเนลล์ กวิน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและเนลล์ กวิน

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ มี 168 ความสัมพันธ์ขณะที่ เนลล์ กวิน มี 3 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 0.58% = 1 / (168 + 3)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและเนลล์ กวิน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »