โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ vs. ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์

ระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (Charles II of England; 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685) พระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ และพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ ในราชวงศ์สจวต ระหว่างปี ค.ศ. 1660 ถึงปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางแคเธอริน และครองสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 และ อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ที่พระราชวังไวท์ฮอลในกรุงลอนดอน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายหลังจากพระราชบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกประหารชีวิตที่พระราชวังไวต์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่รัฐสภาอังกฤษมิได้ประกาศแต่งตั้งให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และผ่านบัญญัติว่าเป็นการดำรงตำแหน่งของพระองค์เป็นการผิดกฎหมาย จึงเกิดช่วงว่างระหว่างรัชกาลในอังกฤษ แต่ทางรัฐสภาสกอตแลนด์ประกาศให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของชาวสกอตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ที่เอดินบะระ และรับพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 หลังจากที่พ่ายแพ้ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนีไปยุโรปภาคพื้นทวีปและไปประทับลี้ภัยเป็นเวลา 9 ปีในประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ของสเปน หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐภายใต้การนำของริชาร์ด ครอมเวลล์ล่มในปี ค.ศ. 1659 นายพลจอร์จ มองค์ก็อัญเชิญชาลส์ให้กลับมาเป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในสมัยที่เรียกกันว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จกลับถึงอังกฤษเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จเข้าลอนดอนในวันประสูติครบ 30 พรรษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและ ไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1660 รัฐสภาภายใต้การนำของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ออกพระราชบัญญัติต่อต้านพิวริตันที่รู้จักกันในชื่อ “ประมวลกฎหมายแคลเรนดัน” (Clarendon code) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหนุนสถานะของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ว่าในทางส่วนพระองค์แล้วพระเจ้าชาลส์ที่ 2 จะทรงสนับสนุนนโยบายความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ตาม ส่วนปัญหาใหญ่ในด้านการต่างประเทศในต้นรัชสมัยก็คือการสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ทรงไปทำสัญญาลับกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่ระบุว่าฝรั่งเศสจะช่วยอังกฤษในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม และจะถวายเงินบำนาญแก่พระองค์โดยมีข้อแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ต้องสัญญาว่าจะเปลื่ยนจากการนับถือนิกายแองกลิคันไปเป็นการนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่พระเจ้าชาลส์มิได้ทรงระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการเปลี่ยนนิกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้แก่ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ต่าง ๆ มากขึ้นโดยการออกพระราชปฏิญญาพระคุณการุญในปี ค.ศ. 1672 แต่รัฐสภาบังคับให้ทรงถอนในปี ค.ศ. 1679 ในปี ค.ศ. 1679 ไททัส โอตส์สร้างข่าวลือเรื่อง “การลอบวางแผนโพพิช” ที่เป็นผลให้เกิดวิกฤตกาลการกีดกัดต่อมา เมื่อเป็นที่ทราบกันว่าดยุกแห่งยอร์กพระอนุชาของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และรัชทายาทผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเมืองแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายวิกสนับสนุนการยกเว้นไม่ให้ดยุกแห่งยอร์กขึ้นครองราชย์และฝ่ายทอรีต่อต้านการยกเว้น พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเข้าข้างฝ่ายหลัง หลังจากที่ผู้ก่อการโปรเตสแตนต์วางแผน “การลอบวางแผนไรย์เฮาส์” ที่จะปลงพระองค์เองและดยุกแห่งยอร์กในปี ค.ศ. 1683 ที่ทำให้ผู้นำพรรควิกหลายคนถูกประหารชีวิตหรือถูกเนรเทศ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 จึงทรงยุบสภาในปี ค.ศ. 1679 และทรงราชย์โดยไม่มีรัฐสภาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ก่อนจะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็ทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกบนพระแท่นที่ประชวร พระเจ้าชาลส์ไม่มีพระราชโอรสธิดากับพระนางแคเธอรินแห่งบราแกนซา เพราะพระนางทรงเป็นหมัน แต่ทรงยอมรับว่ามีพระราชโอรสธิดานอกสมรส 12 องค์กับพระสนมหลายคน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม “ราชาเจ้าสำราญ” (Merrie Monarch) ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตในราชสำนักของพระองค์ที่เต็มไปด้วยความสนุกสำราญซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่ถูกเก็บกดมาเป็นเวลานานภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์และกลุ่มพิวริตัน. แห่งยอร์คในตำแหน่งผู้บังคับบัญชาการราชนาวีสูงสุด เมื่อทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกในปี ค.ศ. 1673 พระองค์ทรงลาออกจากตำแหน่งแทนที่จะทรงยอมปฏิญาณต่อต้านโรมันคาทอลิกตามที่ระบุในพระราชบัญญัติทดสอบ ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์ หรือ ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้น (Exclusion Bill) เสนอระหว่าง ค.ศ. 1678 ถึงปี ค.ศ. 1681 ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 จุดประสงค์ของร่างพระราชบัญญัติยกเว้นก็เพื่อห้ามไม่ให้พระอนุชาของพระเจ้าชาร์ลส์ดยุคแห่งยอร์คผู้เป็นรัชทายาทโดยพฤตินัยจากการขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษเพราะทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก พรรคทอรีต่อต้านร่างพระราชบัญญัติแต่พรรควิกสนับสนุน ในปี ค.ศ. 1673 เมื่อดยุคแห่งยอร์คไม่ทรงยอมปฏิญาณต่อต้านโรมันคาทอลิกตามที่ระบุในพระราชบัญญัติทดสอบ (Test Act) ที่เพิ่งออกใหม่ก็ทำให้เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าทรงหันไปนับถือโรมันคาทอลิก เอ็ดเวิร์ด โคลแมน (Edward Colman) เลขานุการของพระองค์ถูกกล่าวชื่อโดยไททัส โอตส์ (Titus Oates) ระหว่างการคบคิดพ็อพพิช (ค.ศ. 1678) ว่าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด ทางฝ่ายชนชั้นปกครองที่เป็นโปรเตสแตนต์ก็เริ่มรวมตัวกันต่อต้าน เพื่อเลี่ยงไม่ให้ระบบการปกครองในอังกฤษกลายเป็นสภาวะการปกครองแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสถ้าดยุคแห่งยอร์คมีโอกาสขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเชษฐาผู้ไม่มีรัชทายาทที่ถูกต้องตามกฎหมาย เซอร์เฮนรี คาเพล (Henry Capel) สรุปความรู้สึกทั่วไปของฝ่ายต่อต้านสิทธิของดยุคแห่งยอร์คเมื่อกล่าวปาฐกถาในรัฐสภาเมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1679: การปาฐกถาของคาเพลครั้งนี้ทำให้รัฐบาลต้องเผชิญหน้ากับสถานะการณ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อมีข่าวลือที่ว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสทรงพยายามเข้ามามีส่วนพยายามทำให้รัฐบาลของพระเจ้าชาร์ลส์เป็นกลางโดยใช้การติดสินบนโดยตรง ทอมัส ออสบอร์น ดยุคแห่งลีดส์ที่ 1 ก็ถูกปลดในฐานะแพะรับบาป พระเจ้าชาร์ลส์จึงทรงยุบรัฐสภา แต่รัฐสภาใหม่ก็กลับมาประชุมอีกในเดือนมีนาคมปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์ มี 14 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2216พ.ศ. 2221พ.ศ. 2222พ.ศ. 2224พรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษการลอบวางแผนโพพิชรัฐสภาอังกฤษหอคอยแห่งลอนดอนโรมันคาทอลิกโปรเตสแตนต์ไททัส โอตส์เจมส์ สกอตต์ ดยุกที่ 1 แห่งมอนมัธ

พ.ศ. 2216

ทธศักราช 2216 ใกล้เคียงกั.

พ.ศ. 2216และพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · พ.ศ. 2216และร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2221

ทธศักราช 2221 ใกล้เคียงกั.

พ.ศ. 2221และพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · พ.ศ. 2221และร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2222

ทธศักราช 2222 ใกล้เคียงกั.

พ.ศ. 2222และพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · พ.ศ. 2222และร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2224

ทธศักราช 2224 ใกล้เคียงกั.

พ.ศ. 2224และพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · พ.ศ. 2224และร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์ · ดูเพิ่มเติม »

พรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)

รรคอนุรักษนิยม (Conservative Party) หรือชื่อเดิมว่า พรรคอนุรักษนิยมและสหภาพนิยม คือพรรคการเมืองกลาง-ขวาในสหราชอาณาจักรที่ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของลัทธิอนุรักษนิยมและลัทธิการรวมชาติบริเตน ซึ่งเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักรโดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภาจำนวน 330 คน สมาชิกสภาท้องถิ่นทั่วประเทศ 9,391 คน และเป็นพรรคการเมืองจากสหราชอาณาจักรที่มีที่นั่งในรัฐสภายุโรปมากที่สุดจำนวน 25 ที่นั่ง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากในสภาสามัญชนโดยมีหัวหน้าพรรคคือนางเทเรซา เมย์ เป็นนายกรัฐมนตรี พรรคมักถูกเรียกขานว่า พรรคขุนนาง (Tory Party) หรือ พวกขุนนาง (Tories) พรรคอนุรักษนิยมก่อตั้งขึ้นในปี..

พรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)และพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · พรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)และร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Louis XIV de France; หลุยส์กาโตร์ซเดอฟร็องส์, 5 กันยายน พ.ศ. 2181 – 1 กันยายน พ.ศ. 2258) หรือเรียกว่า หลุยส์มหาราช (Louis le Grand; หลุยส์ เลอ กร็อง) หรือ สุริยกษัตริยาธิราช (le Roi Soleil) เป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสและนาวาร์ ทรงครองราชย์เมื่อมีพระชนมายุได้เพียง 5 ชันษา เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 ของราชวงศ์บูร์บงแห่งราชวงศ์กาเปเตียง เสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2186 และทรงครองราชย์นานถึง 72 ปี นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในยุโรป และในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์เป็นช่วงที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้นำทางด้านศูนย์กลางการรวมอำนาจของแผ่นดิน พระเจ้าหลุยส์เริ่มบริหารประเทศด้วยตัวของพระองค์เองเมื่อปี พ.ศ. 2204 หลังจากการเสียชีวิตของหัวหน้าคณะรัฐมนตรีของพระองค์นั่นก็คือ พระคาดินัล เมเซริน ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดของเทวสิทธิราชย์ ถึงต้นกำเนิดกษัตริย์ผู้มีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศต่อพระเจ้าหลุยส์มาอย่างต่อเนื่อง การทำงานของพระองค์ได้สร้าง อำนาจรัฐ ภายใต้การควบคุมของเมืองหลวง พระองค์ทรงพยายามที่จะขจัดเศษของระบบศักดินา ที่คงอยู่ในฝรั่งเศสและเต็มไปด้วยสมาชิกของชนชั้นสูงสังคม ที่อาศัยอยู่อย่างฟุ่มเฟือยภายในพระราชวังแวร์ซายของพระองค์ (เดิมเป็นกระท่อมล่าสัตว์ของพระบิดาของพระเจ้าหลุยส์) และทรงประสบความสำเร็จในการปลอบสมาชิกเหล่าขุนนางได้จำนวนมากที่มีส่วนร่วมในฟรอนด์ ซึ่งเกิดจากการจลาจลของชนกลุ่มน้อยของพระเจ้าหลุยส์ โดยวิธีการดังกล่าวทรงได้กลายเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและรวมระบอบของระบบกษัตริย์ในฝรั่งเศสที่ทนกว่าจะมีการการปฏิวัติฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สวรรคตก่อนที่จะถึงวันครบรอบพระราชสมภพครบ 77 พรรษา และพระราชปนัดดาของเขาก็ครองราชย์สืบต่อเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 โดยในรัชสมัยอันยาวยาวนานของพระองค์ ทรงมีรัชทายาทต่อราชบัลลังก์มาแล้วกว่า 3 พระองค์ ได้แก่ พระราชโอรสของพระองค์ หลุยส์ โดแฟ็งใหญ่แห่งฝรั่งเศส, พระโอรสในของโดแฟ็งใหญ่ ได้แก่ หลุยส์ โดแฟ็งน้อย, และพระโอรสองค์โตในโดแฟ็งน้อย ได้แก่ เจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งเบรอตาญ.

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส · พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสและร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษหรือพระเจ้าเจมส์ที่ 7 แห่งสกอตแลนด์ พระเจ้าเจมส์ที่ 2แห่งอังกฤษ (พ.ศ. 2228 – พ.ศ. 2232) หรือ พระเจ้าเจมส์ที่ 7 แห่งสกอตแลนด์ เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ และพระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2228 ถึง 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2232 นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษพระองค์สุดท้ายที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก เมื่อเทียบกับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทย พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษทรงครองราชย์ในเวลาเดียวกันกับระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าเจมส์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ประสูติที่พระราชวังเซนต์เจมส์ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ในปี..

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์ · ดูเพิ่มเติม »

การลอบวางแผนโพพิช

“การคบคิดพ็อพพิช” แสดงการสังหารนักบวชเยซูอิด การคบคิดพ็อพพิช (Popish Plot) (ค.ศ. 1678 - ค.ศ. 1681) เป็นข่าวลือที่ไม่มีมูลที่สร้างขึ้นโดยไททัส โอตส์ ที่เป็นผลที่ทำให้ประชาชนเกิดมีความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อโรมันคาทอลิกอย่างรุนแรงไปทั่วราชอาณาจักรอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1678 ถึงปี ค.ศ. 1681 โอตส์อ้างว่ามีการคบคิดกันอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้นับถือโรมันคาทอลิกที่จะปลงพระชนม์พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ข่าวลือนี้ทำให้มีผู้ถูกจับและถูกประหารชีวิตไปอย่างน้อย 15 คน และเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การออกร่างพระราชบัญญัติยกเว้น ในที่สุดข่าวลืออันซับซ้อนของโอตส์ก็เป็นที่เปิดเผยซึ่งทำให้ถูกจับในข้อหาการสร้างเรื่องเท็.

การลอบวางแผนโพพิชและพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · การลอบวางแผนโพพิชและร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภาอังกฤษ

รัฐสภาอังกฤษและพระมหากษัตริย์ ราว ค.ศ. 1300 รัฐสภาอังกฤษ (Parliament of England) เป็นสถาบันฝ่ายนิติบัญญัติสูงสุดในราชอาณาจักรอังกฤษ รัฐสภาอังกฤษวิวัฒนาการมาจากสภาของต้นยุคกลางซึ่งมีหน้าที่ให้คำปรึกษาต่อพระมหากษัตริย์อังกฤษ การวิวัฒนาการทำให้อำนาจของรัฐสภาเพิ่มมากขึ้นในขณะที่อำนาจของพระมหากษัตริย์ลดน้อยลง เมื่อรัฐสภาอังกฤษและรัฐสภาแห่งสกอตแลนด์ลงนามในพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 ซึ่งรวมราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์เข้าด้วยกัน รัฐสภาอังกฤษและรัฐสภาแห่งสกอตแลนด์ก็ถูกยุบ รัฐสภาใหม่กลายเป็นรัฐสภาแห่งบริเตนใหญ่ และในที่สุดก็เป็นรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นรากฐานของระบบรัฐสภาของอังกฤษในปัจจุบัน ซึ่งทำให้ระบบรัฐสภาของสหราชอาณาจักรเป็นระบบรัฐสภาที่เก่าแก่ที่สุดในโลกจนได้รับสมญานามว่า “แม่แห่งรัฐสภา” ซึ่งเป็นระบบประชาธิปไตยที่เป็นรากฐานของมาตรฐานในการก่อตั้งระบบรัฐสภาทั่วโลก.

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและรัฐสภาอังกฤษ · รัฐสภาอังกฤษและร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์ · ดูเพิ่มเติม »

หอคอยแห่งลอนดอน

หอคอยแห่งลอนดอน (Tower of London) เป็นพระราชวังหลวงและป้อมปราการตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเทมส์ในกรุงลอนดอนในอังกฤษ เป็นพระราชวังที่เดิมสร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1078 เป็นสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ พระราชวังเป็นรู้จักกันในนามว่า “หอคอยแห่งลอนดอน” หรือ “หอ” ในประวัติศาสตร์ ตัวปราสาทตั้งอยู่ภายในโบโรแห่งทาวเวอร์แฮมเล็ทส์และแยกจากด้านตะวันออกของนครหลวงลอนดอน (City of London) ด้วยลานโล่งที่เรียกว่าเนินหอคอยแห่งลอนดอน หรือ “ทาวเวอร์ฮิล” (Tower Hill) หอคอยแห่งลอนดอนมักจะรู้จักกันในการเกี่ยวข้องกับหอขาว (White Tower) ซึ่งแต่เดิมเป็นหอสีขาวที่สร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษในปี ค.ศ. 1078 แต่กลุ่มสิ่งก่อสร้างทั้งหมดของหอคอยแห่งลอนดอนตั้งอยู่รอบวงแหวนสองวงภายในกำแพงและคูป้องกันปราสาท ตัวหอคอยใช้เป็นป้อม พระราชวังของพระมหากษัตริย์ และที่จำขังโดยเฉพาะสำหรับนักโทษที่มียศศักดิ์สูงเช่นพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1ก็เคยทรงถูกจำขังในหอคอยโดยพระราชินีนาถแมรี และยังเป็นที่สำหรับประหารชีวิตและทรมาน คลังเก็บอาวุธ ท้องพระคลัง สวนสัตว์ โรงกษาปณ์หลวง หอเก็บเอกสาร หอดูดาว และตั้งแต่ปี..

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและหอคอยแห่งลอนดอน · ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์และหอคอยแห่งลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและโรมันคาทอลิก · ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์และโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและโปรเตสแตนต์ · ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์และโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไททัส โอตส์

ททัส โอตส์ (ภาษาอังกฤษ: Titus Oates) (15 กันยายน ค.ศ. 1649 - 12/13 กรกฎาคม ค.ศ. 1649) ไททัส โอตส์ เป็นนักบวชชาวอังกฤษผู้สร้างข่าวลือเท็จเรื่องการคบคิดพ็อพพิชที่อ้างว่าเป็นการคบคิดของฝ่ายโรมันคาทอลิกที่จะปลงพระชนม์พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ข่าวลือนี้ทำให้มีผู้ถูกจับและถูกประหารชีวิตไปอย่างน้อย 15 คน และเป็นผลทำให้ประชาชนเกิดมีความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อโรมันคาทอลิกอย่างรุนแรงไปทั่วราชอาณาจักรอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1678 ถึงปี ค.ศ. 1681 และในที่สุดก็เป็นสาเหตุที่นำไปสู่การออกร่างพระราชบัญญัติยกเว้น.

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและไททัส โอตส์ · ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์และไททัส โอตส์ · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ สกอตต์ ดยุกที่ 1 แห่งมอนมัธ

มส์ สกอตต์ ดยุคแห่งมอนม็อธที่ 1 หรือ เจมส์ ครอฟต์ (ภาษาอังกฤษ: James Scott, 1st Duke of Monmouth หรือ James Crofts) (9 เมษายน ค.ศ. 1649 - (15 กรกฎาคม ค.ศ. 1685) เจมส์ สกอตต์ ดยุคแห่งมอนม็อธที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1649 ที่ร็อตเตอร์ดัมในประเทศเนเธอร์แลนด์และเสียชีวิตโดยการถูกประหารชีวิตที่หอคอยแห่งลอนดอน, อังกฤษ เจมส์ สกอตต์เป็นโอรสนอกกฎหมายของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและพระสนมลูซิ วอลเตอร์ (Lucy Walter) ผู้ที่ติดตามพระองค์ไปลี้ภัยในยุโรปหลังจากที่พระราชบิดาของพระองค์--พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1--ทรงถูกปลงพระชนม์ ต่อมาตัวดยุคแห่งมอนม็อธเองก็ถูกประหารชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1685 หลังจากการพยายามโค่นราชบัลลังก์ของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ที่เรียกกันว่ากบฏมอนม็อธ (Monmouth Rebellion) โดยการประกาศตนว่าเป็นพระโอรสนอกสมรสของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 และเป็นโปรเตสแตนต์เพื่อสร้างความนิยมต่อประชาชนในอังกฤษในการเป็นปฏิปักษ์ต่อพระเจ้าเจมส์ผู้เป็นโรมันคาทอลิก.

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและเจมส์ สกอตต์ ดยุกที่ 1 แห่งมอนมัธ · ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์และเจมส์ สกอตต์ ดยุกที่ 1 แห่งมอนมัธ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ มี 168 ความสัมพันธ์ขณะที่ ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์ มี 22 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 14, ดัชนี Jaccard คือ 7.37% = 14 / (168 + 22)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »