โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและรัฐสภารัมป์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและรัฐสภารัมป์

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ vs. รัฐสภารัมป์

ระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (Charles II of England; 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685) พระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ และพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ ในราชวงศ์สจวต ระหว่างปี ค.ศ. 1660 ถึงปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางแคเธอริน และครองสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 และ อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ที่พระราชวังไวท์ฮอลในกรุงลอนดอน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายหลังจากพระราชบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกประหารชีวิตที่พระราชวังไวต์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่รัฐสภาอังกฤษมิได้ประกาศแต่งตั้งให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และผ่านบัญญัติว่าเป็นการดำรงตำแหน่งของพระองค์เป็นการผิดกฎหมาย จึงเกิดช่วงว่างระหว่างรัชกาลในอังกฤษ แต่ทางรัฐสภาสกอตแลนด์ประกาศให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของชาวสกอตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ที่เอดินบะระ และรับพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 หลังจากที่พ่ายแพ้ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนีไปยุโรปภาคพื้นทวีปและไปประทับลี้ภัยเป็นเวลา 9 ปีในประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ของสเปน หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐภายใต้การนำของริชาร์ด ครอมเวลล์ล่มในปี ค.ศ. 1659 นายพลจอร์จ มองค์ก็อัญเชิญชาลส์ให้กลับมาเป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในสมัยที่เรียกกันว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จกลับถึงอังกฤษเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จเข้าลอนดอนในวันประสูติครบ 30 พรรษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและ ไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1660 รัฐสภาภายใต้การนำของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ออกพระราชบัญญัติต่อต้านพิวริตันที่รู้จักกันในชื่อ “ประมวลกฎหมายแคลเรนดัน” (Clarendon code) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหนุนสถานะของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ว่าในทางส่วนพระองค์แล้วพระเจ้าชาลส์ที่ 2 จะทรงสนับสนุนนโยบายความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ตาม ส่วนปัญหาใหญ่ในด้านการต่างประเทศในต้นรัชสมัยก็คือการสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ทรงไปทำสัญญาลับกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่ระบุว่าฝรั่งเศสจะช่วยอังกฤษในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม และจะถวายเงินบำนาญแก่พระองค์โดยมีข้อแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ต้องสัญญาว่าจะเปลื่ยนจากการนับถือนิกายแองกลิคันไปเป็นการนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่พระเจ้าชาลส์มิได้ทรงระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการเปลี่ยนนิกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้แก่ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ต่าง ๆ มากขึ้นโดยการออกพระราชปฏิญญาพระคุณการุญในปี ค.ศ. 1672 แต่รัฐสภาบังคับให้ทรงถอนในปี ค.ศ. 1679 ในปี ค.ศ. 1679 ไททัส โอตส์สร้างข่าวลือเรื่อง “การลอบวางแผนโพพิช” ที่เป็นผลให้เกิดวิกฤตกาลการกีดกัดต่อมา เมื่อเป็นที่ทราบกันว่าดยุกแห่งยอร์กพระอนุชาของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และรัชทายาทผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเมืองแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายวิกสนับสนุนการยกเว้นไม่ให้ดยุกแห่งยอร์กขึ้นครองราชย์และฝ่ายทอรีต่อต้านการยกเว้น พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเข้าข้างฝ่ายหลัง หลังจากที่ผู้ก่อการโปรเตสแตนต์วางแผน “การลอบวางแผนไรย์เฮาส์” ที่จะปลงพระองค์เองและดยุกแห่งยอร์กในปี ค.ศ. 1683 ที่ทำให้ผู้นำพรรควิกหลายคนถูกประหารชีวิตหรือถูกเนรเทศ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 จึงทรงยุบสภาในปี ค.ศ. 1679 และทรงราชย์โดยไม่มีรัฐสภาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ก่อนจะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็ทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกบนพระแท่นที่ประชวร พระเจ้าชาลส์ไม่มีพระราชโอรสธิดากับพระนางแคเธอรินแห่งบราแกนซา เพราะพระนางทรงเป็นหมัน แต่ทรงยอมรับว่ามีพระราชโอรสธิดานอกสมรส 12 องค์กับพระสนมหลายคน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม “ราชาเจ้าสำราญ” (Merrie Monarch) ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตในราชสำนักของพระองค์ที่เต็มไปด้วยความสนุกสำราญซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่ถูกเก็บกดมาเป็นเวลานานภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์และกลุ่มพิวริตัน. รัฐสภารัมป์ (ภาษาอังกฤษ: Rump Parliament) เป็นชื่อของรัฐสภาแห่งอังกฤษรัฐสภาหนึ่งที่เกิดจากการยึดรัฐสภายาวโดยนายพันทอมัส ไพรด์ (Thomas Pride) เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1648 ซึ่งเป็นรัฐสภาที่ประกอบด้วยสมาชิกที่มีเสียงข้างมากในการเป็นปฏิปักษ์ต่อการพิจารณาโทษของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษในข้อหากบฏต่อแผ่นดิน “รัมป์” ตามปกติหมายถึงส่วนบั้นท้ายของสัตว์ แต่บันทึกของการใช้ในความหมายนี้หมายถึง “เศษ” ตั้งแต่ปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและรัฐสภารัมป์

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและรัฐสภารัมป์ มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2191พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษกบฏต่อแผ่นดินการยึดรัฐสภาของไพรด์รัฐสภายาวรัฐสภาอังกฤษ

พ.ศ. 2191

ทธศักราช 2191 ใกล้เคียงกั.

พ.ศ. 2191และพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · พ.ศ. 2191และรัฐสภารัมป์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 1 (Charles I; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 — 30 มกราคม ค.ศ. 1649) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์สจวต รวมทั้งพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างปี..

พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและรัฐสภารัมป์ · ดูเพิ่มเติม »

กบฏต่อแผ่นดิน

การลงโทษโดยการ “แขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่” (Hanged, drawn and quartered) ซึ่งเป็นบทกำหนดการลงโทษของผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏต่อแผ่นดินในอังกฤษ กบฏต่อแผ่นดิน (High treason) เป็นความผิดทางอาญาในการทรยศต่อประเทศของตนเองซึ่งครอบคลุมการกระทำต่างๆ ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศของตนเอง ที่รวมทั้งการเข้าร่วมสงคราม, การพยายามโค่นล้มรัฐบาล, การสืบความลับทางการทหารหรือทางการทูต, หรือการพยายามสังหารผู้นำของประเทศ การ “กบฏต่อแผ่นดิน” อยู่บนพื้นฐานที่ว่าผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏต้องมีความสวามิภักดิ์ต่อประเทศที่ตนจงใจที่จะทำร้ายเช่นการเป็นประชาชนของประเทศนั้น แต่การมีที่อยู่อาศัยในประเทศหรือรัฐก็พอเพียง ชาวต่างประเทศที่เป็นสายลับ, ผู้ล่าสังหาร, และผู้ก่อการร้ายแม้ว่าจะไม่เข้าข่ายการเป็นกบฏต่อแผ่นดินอาจจะถูกฟ้องร้องและลงโทษในข้อหาเป็นสายลับ, เป็นผู้ล่าสังหาร, และเป็นผู้ก่อการร้าย แต่ในปัจจุบันผู้ต้องสงสัยในกรณีเหล่านี้มักจะถูกเนรเทศหลังจากถูกจับ ในประวัติศาสตร์ในประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์ (common law) ข้อหาการกบฏต่อแผ่นดินแตกต่างจากกบฏย่อย (petty treason) ซึ่งเป็นการฆ่าผู้มีอำนาจเหนือกว่าตามกฎหมายเช่นผู้รับใช้ฆ่านายซึ่งถือว่าเป็นกรณีการฆาตกรรมที่หนักกว่าปกติ แต่กฎหมายครอบคลุมการกบฏย่อยถูกยุบเลิกกันไปจากประเทศต่างๆ เกือบทั้งสิ้น แนวคิดเกี่ยวกับกบฏย่อยจึงหายไป ในปัจจุบันคำว่า “กบฏ” จึงมักจะหมายถึงการ “กบฏต่อแผ่นดิน” ข้อสังเกตในกฎหมายของแคนาดาแยก “กบฏ” และ “กบฏต่อแผ่นดิน” เป็นสองกรณีแต่อันที่จริงแล้วในทั้งสองกรณีเป็นการกล่าวถึงการกบฏต่อแผ่นดินในประวัติศาสตร.

กบฏต่อแผ่นดินและพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · กบฏต่อแผ่นดินและรัฐสภารัมป์ · ดูเพิ่มเติม »

การยึดรัฐสภาของไพรด์

“การยึดรัฐสภาของไพรด์” เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1648 การยึดรัฐสภาของไพรด์ (Pride's Purge) (6 ธันวาคม ค.ศ. 1648) เป็นเหตุการณ์การยึดสภาสามัญชนที่นำโดยทอมัส ไพรด์ (Thomas Pride) เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1648 เพื่อเป็นการกำจัดสมาชิกสภาผู้ไม่สนับสนุนกองทัพตัวอย่างและอิสรภาพ ซึ่งถือกันว่าเป็นการปฏิวัติทางทหารที่เกิดขึ้นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์อังกฤษ.

การยึดรัฐสภาของไพรด์และพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · การยึดรัฐสภาของไพรด์และรัฐสภารัมป์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภายาว

การประชุมของรัฐสภายาว รัฐสภายาว (ภาษาอังกฤษ: Long Parliament) เป็นชื่อของรัฐสภาแห่งอังกฤษสมัยหนึ่งที่ถูกเรียกโดยสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1640 หลังจากที่สงครามบาทหลวง (Bishops' Wars) สิ้นสุดลง นามของสภาที่ได้รับเป็นเพราะเป็นสมัยประชุมที่ได้รับอนุมัติจากพระราชบัญญัติพิเศษเพื่อเป็นการป้องกันจากการยุบโดยมิได้รับมติเห็นชอบจากสมาชิกของรัฐสภาเอง สมาชิกของรัฐสภาก็มิได้ยุบสภานี้จนกระทั่งหลังจากสงครามกลางเมืองอังกฤษ และหลังจากสมัยไร้กษัตริย์ ในปี ค.ศ. 1660 16 March 1660 รัฐสภาเริ่มเปิดประชุมครั้งแรกในปี ค.ศ. 1640 แต่มาหยุดชะงักลงชั่วคราวในปี ค.ศ. 1649 เมื่อผู้สนับสนุน “กองทัพตัวอย่าง” ลาออก รัฐสภาหลังจากการหยุดชะงักก็กลายเป็น “รัฐสภารัมพ์” (Rump Parliament) ระหว่างสมัยการปกครองของรัฐบาลผู้พิทักษ์อังกฤษ (The Protectorate) รัฐสภารัมพ์ก็ถูกแทนด้วยการประชุมรัฐสภาอื่นๆ แต่ก็ถูกเรียกกลับมาหลังจากที่โอลิเวอร์ ครอมเวลล์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1658 โดยฝ่ายทหารเพื่อช่วยพยุงฐานะของการทหาร เมื่อไม่สำเร็จ นายพลจอร์จ มองค์ (George Monck, 1st Duke of Albemarle) ก็อนุญาตให้ผู้ที่ถูกกีดกันจากรัฐสภาในปี ค.ศ. 1649 กลับมาเข้าร่วมประชุมได้อีก เพื่อที่จะทำให้สามารถผ่านกฎหมายที่จำเป็นในการฟื้นฟูราชวงศ์และยุบรัฐสภายาวเอง ซึ่งเป็นการปูทางสำหรับรัฐสภาที่จะได้รับเลือกตั้งใหม่ที่เรียกว่า “รัฐสภาคอนเว็นท์ชั่น” (Convention Parliament).

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและรัฐสภายาว · รัฐสภายาวและรัฐสภารัมป์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภาอังกฤษ

รัฐสภาอังกฤษและพระมหากษัตริย์ ราว ค.ศ. 1300 รัฐสภาอังกฤษ (Parliament of England) เป็นสถาบันฝ่ายนิติบัญญัติสูงสุดในราชอาณาจักรอังกฤษ รัฐสภาอังกฤษวิวัฒนาการมาจากสภาของต้นยุคกลางซึ่งมีหน้าที่ให้คำปรึกษาต่อพระมหากษัตริย์อังกฤษ การวิวัฒนาการทำให้อำนาจของรัฐสภาเพิ่มมากขึ้นในขณะที่อำนาจของพระมหากษัตริย์ลดน้อยลง เมื่อรัฐสภาอังกฤษและรัฐสภาแห่งสกอตแลนด์ลงนามในพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 ซึ่งรวมราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์เข้าด้วยกัน รัฐสภาอังกฤษและรัฐสภาแห่งสกอตแลนด์ก็ถูกยุบ รัฐสภาใหม่กลายเป็นรัฐสภาแห่งบริเตนใหญ่ และในที่สุดก็เป็นรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นรากฐานของระบบรัฐสภาของอังกฤษในปัจจุบัน ซึ่งทำให้ระบบรัฐสภาของสหราชอาณาจักรเป็นระบบรัฐสภาที่เก่าแก่ที่สุดในโลกจนได้รับสมญานามว่า “แม่แห่งรัฐสภา” ซึ่งเป็นระบบประชาธิปไตยที่เป็นรากฐานของมาตรฐานในการก่อตั้งระบบรัฐสภาทั่วโลก.

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและรัฐสภาอังกฤษ · รัฐสภารัมป์และรัฐสภาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและรัฐสภารัมป์

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ มี 168 ความสัมพันธ์ขณะที่ รัฐสภารัมป์ มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 3.39% = 6 / (168 + 9)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและรัฐสภารัมป์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »