เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พระเจ้าจั่นซิตาและรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระเจ้าจั่นซิตาและรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า

พระเจ้าจั่นซิตา vs. รายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า

ั่นซิตา (Kyanzittha, ကျန်စစ်သား; พ.ศ. 1627 - 1656) เป็นพระเจ้ากรุงพุกาม และถือเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์พม่าไม่แพ้พระเจ้าอโนรธามังช่อ เนื่องด้วยพระองค์ทรงเป็นธรรมกษัตริย์ที่ทำนุบำรุงศาสนาพุทธจนเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด จนเป็นที่ยอมรับทั้งจากชาวพม่าและชาวมอญ พระเจ้าจั่นซิตาเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งในรัชสมัยพระเจ้าอโนรธา เมื่อพระเจ้าซอลูพระราชโอรสของพระเจ้าอโนรธาขึ้นครองราชย์ พระองค์มิได้ประกอบภารกิจอันใดด้วยความสามารถพระองค์เอง แต่จะทรงใช้และปรึกษาเหล่าเสนาอำมาตย์อยู่บ่อย ๆ ในปลายรัชสมัยพระเจ้าซอลู งะรมัน เจ้าเมืองพะโค ซึ่งเป็นชาวมอญได้ก่อกบฏขึ้นจับตัวพระเจ้าซอลูเป็นตัวประกัน จั่นซิตาซึ่งครองเมืองถิเลงอยู่ ไม่สามารถยกทัพกลับมาช่วยพระองค์ได้ทัน งะรมันได้สังหารพระเจ้าซอลูที่เมืองพวาสอ และพยายามเข้ายึดครองอาณาจักรพุกามแต่จั่นซิตาได้เข้าขัดขวาง เหล่าเสนาอำมาตย์ และพระธัมมทัสสีมหาเถระที่ปรึกษาองค์สำคัญของพระเจ้าอโนรธา จึงได้อัญเชิญจั่นซิตาขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ เมื่อขึ้นครองราชย์ จั่นซิตามีพระนามว่า ศรีตรีภูวนาทิตยธัมมมราชาTaw, Blagden 1911: 216 ในภาษาสันสกฤต ในจารึกพม่าเรียกพระองค์ว่า "ถิลุงมัง" (T’iluin Man) แปลว่า "กษัตริย์แห่งถิเลง" แต่เนื่องจากจั่นซิตามิได้มีเชื้อสายของกษัตริย์ พระองค์จึงอ้างสิทธิธรรมในการครองราชสมบัติว่าพระองค์ทรงเป็นภาคหนึ่งของพระโพธิสัตว์ และเป็นองค์อวตารของพระวิษณุของชาวปยูอีกด้วย สมัยนี้จึงถือเป็นรัชสมัยที่ศิลปศาสตร์แบบมอญเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในพุกาม ในรัชสมัยของพระเจ้าจั่นซิตา ทรงติดต่อกับต่างประเทศเป็นอย่างมาก ในปี.. ทความนี้รวบรวมรายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรต่าง ๆ ภายในประเทศพม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระเจ้าจั่นซิตาและรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า

พระเจ้าจั่นซิตาและรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระเจ้าอลองสิธูพระเจ้าอโนรธามังช่อพระเจ้าซอลูพะโคอาณาจักรพุกามซะไกง์

พระเจ้าอลองสิธู

พระเจ้าอลองสิธู ในรูปลักษณ์ของนัต "เมงสิธู" พระเจ้าอลองสิธู (Alaungsithu, အလောင်းစည်သူ) กษัตริย์ในราชวงศ์พุกาม ที่ครองราชย์อย่างยาวนานถึงกว่า 54 ปี (พ.ศ. 1656 - พ.ศ. 1710) ยุคสมัยของพระองค์ อาณาจักรพุกามเจริญถึงขั้นขีดสุดในทุกด้าน พระเจ้าอลองสิธู เป็นพระโอรสของพระเจ้าซอลู พระโอรสของพระเจ้าอโนรธามังช่อกับพระธิดาของพระเจ้าจานสิตา ครองราชย์หลังการสวรรคตของพระเจ้าจานสิตา พระนามภาษาสันสกฤตเมื่อทรงครองราชย์นั้น พบในจารึกที่วัดชเวกูยี ออกพระนามว่า ศรีตรีภูวนาทิตย์บวรธรรมราชา แต่พระนามที่เป็นที่รู้จักกัน คือ "สิธู" (Sithu) ซึ่งแปลว่า "วีรบุรุษผู้ชนะ" หรือ อลองสิธู (Alaungsithu) เนื่องจากทรงประกาศพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ด้วยเช่นเดียวกับพระเจ้าจานสิตา พระอัยกาของพระองค์ (อลอง แปลว่าพระโพธิสัตว์) ในยุคสมัยนี้ศิลปะแบบมอญที่เคยรุ่งเรืองในสมัยแรก ๆ ของอาณาจักร ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นแบบของพุกามมากขึ้นจนถือได้ว่าเป็นจุดรุ่งเรืองสูงสุดของศิลปะพม่าแท้ รัชสมัยของพระองค์ เป็นรัชสมัยที่ทรงสร้างความรุ่งเรืองทางศิลปะ วรรณกรรม สถาปัตยกรรม และ การเมืองการปกครอง อย่างแท้จริง พระเจ้าอลองสิธู ทรงเป็นกษัตริย์นักเดินทางไม่แพ้พระอัยกาของพระองค์ เพราะทรงเดินทางไปเยือนดินแดนต่าง ๆ ในเขตลุ่มน้ำอิระวดี และดินแดนโพ้นทะเล เช่น ชวา สุมาตรา และศรีลังกา ในทางการเมืองการปกครอง พระองค์สามารถยึดเมืองท่าตะนาวศรีได้ จึงสามารถควบคุมการติดต่อทางทะเลที่บริเวณคอคอดกระได้ เช่น การควบคุมการค้าช้างระหว่างขอม และลังกา ทำให้อาณาจักรพุกามรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง ปลายรัชสมัยจัดเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของความเสื่อมของอาณาจักรเมื่อพระองค์ถูกปลงพระชนม์โดยเจ้าชายซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์เอง ตามตำนานเล่าว่าพระเจ้าอลองสิธูประชวรพระวาโยสิ้นพระสติ (เป็นลมจนหมดสติ) เจ้าชายนราธู พระราชโอรสจึงอัญเชิญพระองค์ไปประทับรักษาพระวรกายที่วัดแห่งหนึ่ง เมื่อฟื้นคืนพระสติเจ้าชายนราธูใช้ผ้าปูพระแท่น (ผ้าปูเตียง) อุดพระนาสิกและพระโอษฐ์จนพระเจ้าอลองสิธูสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ 87 พรรษา โดยที่พระองค์มิได้แต่งตั้งผู้ใดให้เป็นรัชทายาท เมื่อข่าวทราบถึงเจ้าชายมินชินสอมกุฏราชกุมารยกทัพกลับเข้าพุกามเพื่อเข้ามาจัดงานพระศพพระราชบิดา เจ้าชายนราธูถวายราชสมบัติคืนแก่พระเชษฐาโดยได้ขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้ามินชินสอ ในปี พ.ศ. 1706 แต่ก็ครองราชย์ได้เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ถูกลอบปลงพระชนม์ด้วยยาพิษระหว่างงานฉลองในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกโดยเจ้าชายนราธูอีก ปัจจุบัน พระเจ้าอลองสิธูได้รับการบูชาให้เป็นนัตหลวงลำดับที่ 31 โดยเรียกว่า เมงสิธู (Min Sithu) หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พุกาม หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ถูกปลงพระชนม์.

พระเจ้าจั่นซิตาและพระเจ้าอลองสิธู · พระเจ้าอลองสิธูและรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอโนรธามังช่อ

ระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอโนรธามังช่อ ในปัจจุบัน เจดีย์ชเวซีโกน ในปัจจุบัน พระเจ้าอโนรธามังช่อ หรือ พระเจ้าอโนรธา (Anawrahta Minsaw, Anawrahta, အနိရုဒ္ဓ) (พ.ศ. 1587-พ.ศ. 1620) ปฐมกษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์พุกามผู้ก่อตั้งอาณาจักรพุกาม เรื่องราวของพระเจ้าอโนรธานั้นมีกล่าวอยู่มากมายในประวัติศาสตร์พม่า ทั้งตำนานพื้นบ้าน ศิลาจารึก และปรัมปราต่าง ๆ จนดูคล้ายเป็นกษัตริย์ในตำนานมากกว่าจะมีพระองค์จริง เช่น การขึ้นครองบัลลังก์ของพระองค์ด้วยการปราบดาภิเษกได้เพราะมีพระอินทร์อุปถัมภ์ เป็นต้น.

พระเจ้าจั่นซิตาและพระเจ้าอโนรธามังช่อ · พระเจ้าอโนรธามังช่อและรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าซอลู

พระเจ้าซอลู กษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์พุกามเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าอโนรธามังช่อมหาราชองค์แรกของพม่า เมื่อพระราชบิดาสวรรคตด้วยการถูกควายเผือกขวิดในปีค.ศ. 1077 (พ.ศ. 1620) พระองค์จึงขึ้นครองราชย์แทนโดยตลอด 7 ปีแห่งการครองราชย์ทรงเป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอเนื่องจากมิได้ทรงบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองทรงพึ่งแต่เหล่าที่ปรึกษาของพระราชบิดารวมทั้งพระชินอรหันต์ พระอาจารย์ของพระราชบิดาจึงทำให้ในปีค.ศ. 1084 (พ.ศ. 1627) ระงมันพระสหายสนิทของพระองค์ ซึ่งเป็นบุตรชายของราชครูพระอาจารย์ของพระองค์เอง ซึ่งทรงบัญชาให้ไปปกครองเมืองพะโคได้จับพระองค์เป็นตัวประกันและปลงพระชนม์พระเจ้าซอลูที่เมืองพวาสอ ซึ่งขณะนั้นจานสิตาซึ่งครองเมืองถิเลงอยู่ได้พยายามยกกองทัพมาช่วยพระองค์แต่ไม่ทัน และระงมันได้พยายามเข้าครอบครองอาณาจักรพุกาม จึงทำให้จานสิตาได้ยกกองทัพมาต่อสู้กับระงมันและในที่สุดจานสิตาก็ได้ชัยชนะ เหล่าขุนนางทั้งหลายรวมทั้งพระชินอรหันต์จึงได้อัญเชิญจานสิตาขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าจานสิตา หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พุกาม หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ถูกปลงพระชนม์.

พระเจ้าจั่นซิตาและพระเจ้าซอลู · พระเจ้าซอลูและรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า · ดูเพิ่มเติม »

พะโค

(ပဲခူးမြို့, Bago หรือ Pegu) หรือชื่อในอดีตคือ หงสาวดี (ဟံသာဝတီ, หงสาวะโตย; Hongsawatoi, Hanthawaddy, Hanthawady, Hanthawadi หรือ Handawaddy) เป็นเมืองหลวงของเขตหงสาวดี ตั้งอยู่ใกล้เมืองเมาะตะมะ ทางตอนใต้ของประเทศพม่า นครหงสาวดีเคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญ และอาณาจักรตองอูของชาวพม.

พระเจ้าจั่นซิตาและพะโค · พะโคและรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรพุกาม

อาณาจักรพุกาม (Pagan Kingdom; ပုဂံခေတ်) เป็นอาณาจักรโบราณในช่วง..

พระเจ้าจั่นซิตาและอาณาจักรพุกาม · รายพระนามพระมหากษัตริย์พม่าและอาณาจักรพุกาม · ดูเพิ่มเติม »

ซะไกง์

ซะไกง์ เป็นเมืองในเขตซะไกง์ ประเทศพม่า ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำอิรวดี ตรงข้ามกับเมืองอังวะ เมืองซะไกง์มีวัดทางพุทธศาสนาที่สำคัญหลายแห่ง เมืองสร้างขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 เพื่อเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสะกาย (ค.ศ. 1315–1364) ซึ่งเป็นหนึ่งในอาณาจักรเล็ก ๆ ที่สร้างขึ้นหลังการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม เมืองซะไกง์เคยเป็นเมืองหลวงของพม่าระหว่างปี..

ซะไกง์และพระเจ้าจั่นซิตา · ซะไกง์และรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระเจ้าจั่นซิตาและรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า

พระเจ้าจั่นซิตา มี 31 ความสัมพันธ์ขณะที่ รายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า มี 109 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 4.29% = 6 / (31 + 109)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระเจ้าจั่นซิตาและรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: