โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าคนุตมหาราช

ดัชนี พระเจ้าคนุตมหาราช

ระเจ้าคนุตมหาราช (Canute the Great หรือ Cnut the Great; นอร์สโบราณ: Knútr inn ríki; Knut den mektige; Knut den Store; Knud den Store) หรือ คานุต กษัตริย์แห่งอังกฤษตั้งแต่ปี..1016 เดนมาร์ตั้งแต่ปี..1018 และสวีเดนตั้งแต่ปี..1028 พระองค์เริ่มต้นชีวิตวัยหนุ่มด้วยการเป็นนักรบไวกิ้งและกลายเป็นผู้ปกครองของจักรวรรดิที่ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดประกอบด้วยอังกฤษ เดนมาร์ก นอร์เวย์ และส่วนหนึ่งของสวีเดน คานุตรุกรานอังกฤษในปี..1013 ร่วมกับพระราชบิดา สเวน กษัตริย์แห่งเดนมาร์ก หลังการสวรรคตของสเวนในปี..1014 พระองค์ได้รับการยกย่องเป็นกษัตริย์โดยกองกำลังไวกิ้ง คานุตปราบเอ็ดมุนด์ที่ 2 จอมพลังที่อาสซานดุน เอสเซ็กซ์ ในปี..1016 พระองค์กับเอ็ดมุนด์จอมพลังแยกอังกฤษออกจากกัน คานุตได้ปกครองเมอร์เซียและนอร์ธัมเบรียจนกระทั่งพระองค์ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ของอังกฤษทั้งหมดหลังการสวรรคตของเอ็ดมุนด์ พระองค์สืบสันตติวงศ์เป็นกษัตริย์แห่งเดนมาร์กต่อจากพระเชษฐา ฮารัลด์ ในปี..1018 ทรงบังคับให้พระเจ้าแมลคอล์มถวายความจงรักภักดีด้วยการรุกรานสก็อตแลนด์ในช่วงราวปี..1027 และพิชิตนอร์เวย์ในปี..1028 พระองค์ได้รับการสืบสันตติวงศ์โดยพระโอรสนอกกฎหมาย แฮโรลด์ที่ 1 ภายใต้การปกครองของคานุต การค้าของอังกฤษเจริญรุ่งเรืองขึ้น และพระองค์ได้รับความนิยมจากไพร่ฟ้าชาวอังกฤษจากการส่งทหารกลับเดนมาร์ก ทว่าจักรวรรดิทะเลเหนือที่ประกอบด้วยเดนมาร์ก อังกฤษ และนอร์เวย์ล่มสลายหลังการสวรรคตของพระองค์ ทรงถูกฝังที่วินเชสเตอร.

47 ความสัมพันธ์: ชาวสลาฟชาวแซกซันชาวไวกิงชนเดนส์พ.ศ. 1528พ.ศ. 1538พ.ศ. 1559พ.ศ. 1561พ.ศ. 1571พ.ศ. 1578พระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ดพระเจ้าฮาร์ธาคนุตพระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตพระเจ้าแอเธลเรดที่ 2 แห่งอังกฤษพระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 แห่งอังกฤษพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขีภาษานอร์สโบราณราชวงศ์เวสเซกซ์ราชอาณาจักรอังกฤษราชอาณาจักรอีสต์แองเกลียราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรียราชอาณาจักรเมอร์เซียราชอาณาจักรเวสเซกซ์รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษรายพระนามพระมหากษัตริย์นอร์เวย์รายพระนามพระมหากษัตริย์เดนมาร์กวินเชสเตอร์ศาสนาคริสต์สภาวิททันสแกนดิเนเวียอาสนวิหารวินเชสเตอร์ทะเลเหนือดอร์เซตคริสต์มาสประเทศสกอตแลนด์ประเทศสวีเดนประเทศอังกฤษประเทศฮังการีประเทศนอร์เวย์ประเทศโปแลนด์ประเทศเดนมาร์กนอร์มันเอลฟ์จิฟูแห่งนอร์แธมตันเอ็มมาแห่งนอร์มังดี สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษเดนลอว์12 พฤศจิกายน

ชาวสลาฟ

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและชาวสลาฟ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแซกซัน

รูปแกะนูนแซกซันของ "irminsul" ที่เชื่อกันว่าเชื่อมระหว่างโลกกับสวรรค์ที่เอ็กซ์เทิร์นชไตเนอ (Externsteine) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเยอรมนีปัจจุบัน ชาวแซกซัน (Saxon; Sachsen; ละติน: Saxones) คือกลุ่มชนเผ่าเจอร์แมนิก ในปัจจุบันเป็นบรรพบุรุษของชนทางภาคเหนือของประเทศเยอรมนีที่เรียกว่าชาวเยอรมัน, ชนทางภาคตะวันออกของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่เรียกว่าชาวดัตช์ และชนทางภาคใต้ของอังกฤษที่เรียกว่าชาวอังกฤษ ที่ตั้งถิ่นฐานเดิมที่สุดเท่าที่ทราบของชาวแซกซันคือบริเวณทางตอนเหนือของอัลบินเจียในบริเวณฮ็อลชไตน์ (Holstein) ทางตอนเหนือสุดของประเทศเยอรมนีปัจจุบัน ชาวแซกซันมีบทบาทสำคัญในการตั้งถิ่นฐานในอังกฤษโดยเฉพาะทางภาคใต้ที่ประชาชนที่อยู่อาศัยในปัจจุบันเชื่อกันว่าสีบเชี้อสายมาจากชาวแซกซันโบราณ ระหว่างสองร้อยปีที่ผ่านมาชาวแซกซันก็ไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณต่าง ๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะในทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย แอฟริกา และในบริเวณที่เป็นสหภาพโซเวียตแต่เดิม ซึ่งในบางชุมชน ชาวแซกซันยังรักษาประเพณีและภาษาของตนที่เรียกกันทั่วไปว่า "ชาวเยอรมัน" และ "ชาวดัตช์" ความมีอิทธิพลทางภาษาและวัฒนธรรมของชาวแซกซันที่มีต่อบริเวณสแกนดิเนเวีย บริเวณบอลติก และต่อชาวโพเลเบียและชาวพอเมอเรเนียซึ่งเป็นชนสลาฟตะวันตก เป็นผลมาจากเส้นทางการค้าในยุคกลางของสันนิบาตฮันเซียติก ทอเลมีเป็นนักภูมิศาสตร์กรึกคนแรกที่กล่าวถึงการตั้งถิ่นฐานของชาวแซกซันยุคก่อนคริสเตียนว่าตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือและบางส่วนทางใต้ของคาบสมุทรจัตแลนด์, แคว้นแซกโซนีเก่า, และบางส่วนทางตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาวแซกซันเป็นส่วนหนึ่งของผู้รุกรานมณฑลบริตันนิอา (Britannia) ของจักรวรรดิโรมัน ชนเผ่าหนึ่งของชาวเจอร์แมนิกที่รุกรานคือ ชาวแองเกิล ซึ่งเมื่อรวมกับ "แซกซัน" จึงกลายเป็นคำว่า "แองโกล-แซกซัน" ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและชาวแซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวไวกิง

แผนที่แสดงการตั้งถิ่นฐานสแกนดิเนเวียของชาวไวกิง สีแดงเข้ม-ระว่าง ค.ศ.701-800, สีแดง-ระหว่าง ค.ศ. 801-900, สีส้มเข้ม-ระว่าง ค.ศ. 901-1000, และสีเหลือง-ระว่าง ค.ศ. 1001-1100, บริเวณสีเขียวแสดงพื้นที่ที่มักถูกโจมตีโดยพวกไวกิงบ่อยแต่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานมาก ไวกิง (Vikings) ในความหมายหลักหมายถึงชนเผ่านักรบ นักการค้า และนักตั้งถิ่นฐานจากนอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก ซึ่งบุกรบชนะ ยึดครอง และตั้งอาณานิคมอาณาเขตในส่วนใหญ่ของอังกฤษ นอร์ม็องดี และรัสเซียเมื่อระหว่างประมาณ..

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและชาวไวกิง · ดูเพิ่มเติม »

ชนเดนส์

นเดนส์ (Danes) เป็นชนเจอร์มานิคที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางใต้ของสวีเดนในปัจจุบันและเกาะของเดนมาร์กและต่อมาในคาบสมุทรจัตแลนด์ และกล่าวถึงโดยจอร์แดนนักประวัติศาสตร์ชาวโรมันในหนังสือ “Getica”, โดยนักปราชญ์โพรโคเพียส (Procopius) และโดยนักบุญเกรกอรีแห่งทัวร์ส ในการบรรยายถึงกลุ่มชนสแกนด์ซา (Scandza) ในสแกนดิเนเวียจอร์แดนกล่าวถึงชน “Dani” ว่าเป็นกลุ่มเดียวกับ “Suetidi” (ชนสวีด (สวีเดน) หรือ “Svitjod”?) และเป็นกลุ่มชนที่ขับไล่และยึดที่ดินของชน “Heruli” เสวน แอกเกเสน (Svend Aggesen) นักประพันธ์จากคริสต์ศตวรรษที่ 12 กล่าวถึงกษัตริย์แดนผู้ที่เป็นที่มาของชื่อชนกลุ่มนี้ “เดนส์”.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและชนเดนส์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1528

ทธศักราช 1528 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและพ.ศ. 1528 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1538

ทธศักราช 1538 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและพ.ศ. 1538 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1559

ทธศักราช 1559 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและพ.ศ. 1559 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1561

ทธศักราช 1561 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและพ.ศ. 1561 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1571

ทธศักราช 1571 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและพ.ศ. 1571 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1578

ทธศักราช 1578 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและพ.ศ. 1578 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ด

มเด็จพระเจ้าสเวน ฟอร์คเบียร์ด หรือ สมเด็จพระเจ้าสเวนที่ 1 แห่งเดนมาร์ก (Sweyn I Forkbeard หรือ Sweyn Forkbeard) (ราว ค.ศ. 960 - ค.ศ. 1014) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก ราชอาณาจักรนอร์เวย์ และ ราชอาณาจักรอังกฤษ สมเด็จพระเจ้าสเวน ฟอร์คเบียร์ด เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ราว ค.ศ. 960 ในประเทศเดนมาร์กปัจจุบัน เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าฮารัลด์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก (ฮาราลด์ บลูทูธ) และ กิริธ โอลาฟสดอทเทียร์ ทรงเสกสมรสกับกันฮิลด์แห่งเว็นเด็นและต่อมาอาจจะกับซิกริดผู้ทรนง และทรงราชย์บัลลังก์เดนมาร์กระหว่างค.ศ. 986 ถึง 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1014, ราชย์บัลลังก์นอร์เวย์ระหว่างค.ศ. 999 ถึง 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1014 และ ราชย์บัลลังก์อังกฤษระหว่างค.ศ. 1014 ถึง 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1014 พระเจ้าสเวน ฟอร์คเบียร์ดเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1014 พระเจ้าสเวน ฟอร์คเบียร์ด ทรงมีหลายพระนาม ในพงศาวดารแองโกล-แซ็กซอน (Anglo-Saxon Chronicles) ใช้ “Sven the Dane” หรือ “Swegen” หรือ “Tuck”; ในภาษานอร์เวย์โบราณ “Sveinn Tjúguskegg”; ในภาษานอร์เวย์ “Svein Tjugeskjegg”; ในภาษาสวีเดน “Sven Tveskägg”; ในภาษาเดนมาร์ก “Svend Tveskæg” จาก “Tjugeskæg” เดิม หรือ “Tyvskæg” พระเจ้าสเวน ฟอร์คเบียร์ดทรงเป็นผู้นำไวกิงและเป็นพระราชบิดาของสมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราช เมื่อพระเจ้าฮาโรลด์ที่ 1พระราชบิดาเสด็จสวรรคตราวปลายปี ค.ศ. 986 หรือต้นปี ค.ศ. 987 สเวน ฟอร์คเบียร์ดก็ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งเดนมาร์ก ในปี ค.ศ. 1000 ทรงเป็นพันธมิตรกับ Trondejarl Erik of Lade ซึ่งทำให้ได้ครองราชอาณาจักรนอร์เวย์เกือบทั้งหมด และเมื่อไม่นานก่อนที่จะเสด็จสวรรคตก็ได้รับชัยชนะต่ออังกฤษและได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษในปี ค.ศ. 1013 ในเดือนสุดท้ายก่อนที่จะเสด็จสวรรคตเป็นพระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิทะเลเหนือ.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและพระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ด · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฮาร์ธาคนุต

ระเจ้าฮาร์ธาคนุต หรือ พระเจ้าคนุตที่ 3 แห่งเดนมาร์ก (Harthacanute หรือ Canute the Hardy หรือ Hardecanute; Hörthaknútr หรือ Hardeknud) (ค.ศ. 1018 – 8 มิถุนายน ค.ศ. 1042) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ และ ราชอาณาจักรเดนมาร์ก สมเด็จพระเจ้าฮาร์ธาคนุต เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี ค.ศ. 1018 เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าคนุตมหาราช และ เอ็มมาแห่งนอร์ม็องดี สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ และทรงราชบัลลังก์เดนมาร์กระหว่างปี ค.ศ. 1035 ถึงปี ค.ศ. 1042 และราชบัลลังก์อังกฤษระหว่างวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1040 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1042 พระเจ้าฮาร์ธาคนุตได้รับราชบัลลังก์เดนมาร์กเมื่อปี ค.ศ. 1035 หลังจากที่พระราชบิดาพระเจ้าคนุตมหาราชเสด็จสวรรคต แต่การรุกรานของพระเจ้าแม็กนัสที่ 1 แห่งนอร์เวย์ทำให้ไม่ทรงสามารถมารับราชบัลลังก์อังกฤษได้ ทางอังกฤษจึงตกลงยกพระราชบัลลังก์ให้ฮาโรลด์ แฮร์ฟุตพระเชษฐาต่างพระมารดาผู้เป็นพระโอรสนอกสมรสของพระเจ้าคนุตมหาราชเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราว แต่พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตทรงยึดราชบัลลังก์เป็นของพระองค์เองในปี ค.ศ. 1037 ฮาร์ธาคนุต “ถูกทิ้งเพราะไปอยู่เสียไกลในเดนมาร์ก”The Anglo-Saxon Chronicle — และเอ็มมาแห่งนอร์ม็องดีพระราชมารดาของฮาร์ธาคนุตผู้ที่ประทับอยู่ที่วินเชสเตอร์กับกองทหารของฮาร์ธาคนุตก็ทรงถูกบังคับให้หนีไปบรูจส์ (Bruges) ในฟลานเดอร์ส พระเจ้าฮาร์ธาคนุตทรงสงบศึกกับทางสแกนดิเนเวียด้วยสนธิสัญญาที่ทรงทำกับพระเจ้าแม็กนัสราวปี ค.ศ. 1038 หรือ ค.ศ. 1039 โดยตกลงกันว่าถ้าคนหนี่งคนใดตายดินแดนของผู้ที่ตายไปก็จะตกไปเป็นของผู้ที่มีชีวิตอยู่ หลังจากนั้นพระเจ้าฮาร์ธาคนุตก็เตรียมการรุกรานอังกฤษเพื่อที่จะไปปลดพระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตจากราชบัลลังก์ แต่พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตเสด็จสวรรคตเสียก่อนเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1040 พระเจ้าฮาร์ธาคนุตจึงได้รับการอัญเชิญจากอังกฤษ ทรงขึ้นฝั่งอังกฤษที่แซนด์วิชในเค้นท์ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1040 พร้อมกับเรือรบ 62 ลำ เมื่อเสด็จมาถึงก็มีพระราชโองการให้ขุดร่างของพระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตขึ้นมาแล้วเอาไปโยนทิ้ง พระเจ้าฮาร์ธาคนุตเป็นพระมหากษัตริย์ที่โหดร้ายและไม่เป็นที่นิยม ทรงเรียกเก็บภาษีอย่างหนักเพื่อที่ทรงใช้ในการบำรุงกองทัพเรือของพระองค์ ในปี ค.ศ. 1041 ชาววูสเตอร์สังหารทหารสองคนของพระเจ้าฮาร์ธาคนุตที่มาเก็บภาษี พระเจ้าฮาร์ธาคนุตทรงตอบโต้โดยการเผาเมือง เกี่ยวกับเรื่องภาษีมีตำนานเล่ากันว่าเลดี้โกไดวาเปลือยร่างขี่ม้ารอบเมืองโคเวนทรีเพื่อเรียกร้องให้เอิร์ลลดภาษีที่พระเจ้าฮาร์ธาคนุตสั่งให้เก็บ พงศาวดารแองโกล-แซ็กซอน (Anglo-Saxon Chronicle) กล่าวถึงพระองค์อย่างผ่านๆ ว่าไม่ทรงประสบความสำเร็จอะไรในฐานะพระเจ้าแผ่นดินระหว่างเวลาที่ทรงครองราชย์ นอกจากนั้นก็ยังกล่าวว่าในปี ค.ศ. 1041 พระเจ้าฮาร์ธาคนุตทรงละเมิดสัญญาและทรยศต่อเอิร์ลเอดวูลฟแห่งนอร์ทธัมเบรียผู้อยู่ในความคุ้มครองของพระองค์ ในปี ค.ศ. 1041 พระเจ้าฮาร์ธาคนุตทรงอัญเชิญพระอนุชาต่างพระบิดาสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ กลับจากการลี้ภัยในนอร์ม็องดีมาอยู่ในราชสำนักของพระองค์และคงคิดจะตั้งเอ็ดเวิร์ดให้เป็นรัชทายาทด้วย พระเจ้าฮาร์ธาคนุตมิได้ทรงเสกสมรสและไม่มีพระราชโอรสธิดา แต่ก็มีข่าวลือว่ามีพระโอรสนอกสมรส วิลเลียม คนุต พระเจ้าฮาร์ธาคนุตเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1042 ที่แลมเบ็ธ พระบรมศพถูกฝังไว้ที่วินเชสเตอร์ที่เดียวกับพระราชบิดาและพระราชมารดา เอ็ดเวิร์ดขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ ฟื้นฟูราชวงศ์เวสเซ็กซ์ของแซ็กซอน.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและพระเจ้าฮาร์ธาคนุต · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุต

มเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุต (Harold Harefoot หรือ Harold I) (ราว ค.ศ. 1015 – 17 มีนาคม ค.ศ. 1040) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ ระหว่าง วันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1035 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1040 พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตเสด็จพระราชสมภพเมื่อราว ค.ศ. 1015 เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราช และ เอลกิฟูแห่งนอร์ทแธมตัน แต่ความเชื่อที่ว่าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าคานูทจริงก็ไม่เป็นที่แน่นอนThe Anglo-Saxon Chronicle, 1035-40, M. Swanton translation (1996).

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและพระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุต · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าแอเธลเรดที่ 2 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2 แห่งอังกฤษ (Ethelred II หรือ Ethelred the Unready หรือ Aethelred the Unready) (ราว ค.ศ. 968- 23 มิถุนายน ค.ศ. 1016) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์เวสเซ็กซ์ของราชอาณาจักรอังกฤษ พระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2 เสด็จพระราชสมภพเมื่อราว ค.ศ. 968 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์แห่งอังกฤษ และ เอลฟรีดา สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ (Ælfthryth) ทรงเสกสมรสกับเอลจิฟูและต่อมาเอ็มมาแห่งนอร์มังดี สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 978 ถึงปี ค.ศ. 1013 และจากปี ค.ศ. 1014 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1016 เหตุการณ์สำคัญส่วนใหญ่ในรัชสมัยของพระองค์คือการต่อสู้กับไวกิงที่มารุกรานอังกฤษ.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและพระเจ้าแอเธลเรดที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ

ระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ (Edgar the Peaceful หรือ Edgar the Peaceable) (ราว ค.ศ. 943 หรือ ค.ศ. 944 - ค.ศ. 975) พระมหากษัตริย์อังกฤษในราชวงศ์เวสเซ็กซ์ พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบเสด็จพระราชสมภพเมื่อราวปี ค.ศ. 943 หรือปี ค.ศ. 944 ที่เวสเซ็กซ์ ในอังกฤษ เป็นพระราชโอรสพระองค์รองในพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1 แห่งอังกฤษและเอ็ดจิวาแห่งเคนต์ อภิเษกสมรสกับเอเธลฟรีด วูลฟธริธ และเอลฟริธ และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 959 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 975 ที่วินเชสเตอร์ อังกฤษ พระนาม “ผู้รักสงบ” ไม่ได้บ่งถึงพระลักษณะตามความหมายเพราะทรงเป็นนายทหารผู้เข้มแข็งซึ่งจะเห็นได้จากการยึดราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย และราชอาณาจักรเมอร์เซียจากพระเจ้าเอ็ดวีพระเชษฐาในปี ค.ศ. 958 พระเจ้าเอ็ดการ์ทรงปกครองบริเวณเหนือแม่น้ำเทมส์กับขุนนางของพระองค์กลุ่มหนึ่ง เมื่อพระเจ้าเอ็ดวีเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 959 พระเจ้าเอ็ดการ์ก็ทรงเรียกตัวโดยดันสตัน (ต่อมาเป็นนักบุญดันสตัน) จากที่ทรงลี้ภัยกลับมาและแต่งตั้งให้เป็นบิชอปแห่งวูสเตอร์และต่อมาเป็นบิชอปแห่งลอนดอนและในที่สุดอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ดันสตันเมื่อเริ่มแรกไม่ยอมสวมมงกุฏให้พระเจ้าเอ็ดการ์เพราะไม่ยอมรับวิธีดำเนินชีวิตของพระองค์เกี่ยวกับพระสนม วูลฟธริธ (ต่อมาเป็นนักพรตหญิงที่วิลตัน) มึพระธิดา อีดิธแห่งวิลตัน แต่ดันสตันก็เป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าเอ็ดการ์ตลอดรัชสมัย รัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดการ์เป็นรัชสมัยที่บ้านเมืองมีความสงบสุขและอาจจะเป็นสมัยที่เรียกได้ว่าเป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน แม้ว่าการรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอังกฤษจะเป็นผลที่มาจากผู้ที่ครองบัลลังก์มาก่อนพระองค์ ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดการ์ อังกฤษก็เกือบจะไม่มีศัตรูที่จะมาแบ่งราชอาณาจักรอย่างที่เคยเป็นมาก่อน ในสมัยนี้ดันสตันก็มีบทบาทในการปฏิรูปอารามที่ออกจะเริ่มหย่อนยานให้กลับไปถือวินัยของนักบุญเบเนดิกต์อย่างที่เคยเป็นมา แต่บทบาทอันนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถึยงกันในบรรดาผู้รู้ในวงการศึกษา พระเจ้าเอ็ดการ์ได้ทำพิธีสวมมงกุฏที่บาธในปี ค.ศ. 973 ซึ่งมิใช่ราชาภิเศกในการฉลองการเริ่มรัชกาล พระราชพิธีครั้งนี้เตรียมการโดยดันสตันเองโดยมีโคลงเฉลิมพระเกียรติที่บันทึกในบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน เป็นพระราชพิธีที่เป็นพื้นฐานในการทำพิธีบรมราชาภิเศกของอังกฤษมาจนถึงปัจจุบันนี้ พระราชพิธีเป็นพิธีสัญลักษณ์โดยมีเจ้าผู้ครองอาณาจักรในอังกฤษมาแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ที่เชสเตอร์ กษัตริย์หกพระองค์ในบริเตนและสกอตแลนด์ปฏิญาณว่าจะเป็นผู้ป้องกันพระองค์ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางทะเล ต่อมาบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันกล่าวว่ามีแปดองค์ แต่พระราชพิธีประกาศการสวามิภักดิ์ที่เชสเตอร์ (submission at Chester) ดูเหมือนว่จะเป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น พระเจ้าเอ็ดการ์มีพระราชโอรสธิดาเจ็ดพระองค์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขีพระราชโอรสพระองค์ใหญ่สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ หลังจากที่เสด็จสวรรคตมาจนถึงการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันไม่มีราชบัลลังก์ใดที่ได้รับการสืบทอดโดยไม่มีปัญหาในการแก่งแย่ง.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและพระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ หรือ เอ็ดมันด์ ไอรอนไซด์ (Edmund II หรือ Eadmund II หรือ Edmund Ironside) (ราว ค.ศ. 988–ค.ศ. 993–ค.ศ. 993 - 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1016) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ เสด็จพระราชสมภพเมื่อราว ค.ศ. 988–ค.ศ. 993 ที่เวสเซ็กซ์ อังกฤษ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าเอเธลเรดที่ 2 แห่งอังกฤษ และ เอลกิฟูแห่งยอร์ค พระเจ้าเอ็ดมันด์ทรงได้รับขนานพระนามว่า “ไอรอนไซด์” (Ironside) เพราะความสามารถในการต่อต้านการรุกรานของเดนมาร์กโดยสมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราช ทรงเสกสมรสกับอีดิธแห่งอีสแองเกลีย และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1016 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1016 ที่กลาสตันบรี อังกฤษ พระบรมศพตั้งอยู่ที่ แอบบีกลาสตันบรี ซึ่งปัจจุบันตัวแอบบีถูกทำลายจนสิ้น.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี

ระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี หรือนักบุญเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี (Edward the Confessor หรือ Saint Edward the Confessor) (ราว ค.ศ. 1003/1004 – 4 มกราคม ค.ศ. 1066) เป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์เวสเซ็กซ์แห่งราชอาณาจักรอังกฤษ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จพระราชสมภพเมื่อราว..

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษานอร์สโบราณ

ภาษานอร์สโบราณ (Norrœnt mál) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ พูดในสแกนดิเนเวียและอาณานิคมโพ้นทะเลของชาวสแกนดิเนเวียในยุคไวกิงจนถึงประมาณค.ศ. 1300 ภาษานอร์สโบราณพัฒนามาจากภาษานอร์สดั้งเดิมในคริสต์ศตวรรษที่ 8 และพัฒนาไปเป็นภาษาเจอร์แมนิกเหนือหลายภาษาหลังยุคไวกิง ภาษาในปัจจุบันที่มาจากภาษานอร์สโบราณได้แก่ภาษาไอซ์แลนด์ แฟโร นอร์เวย์ เดนมาร์ก และสวีเดน นอร์สโบราณ นอร์สโบราณ นอร์สโบราณ หมวดหมู่:ประเทศกลุ่มนอร์ดิก.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและภาษานอร์สโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เวสเซกซ์

อังกฤษราวปี ค.ศ. 800 แสดงให้เห็นบริเวณเวสเซ็กซ์ทางตะวันตกเฉียงใต้; เมอร์เซียตอนกลาง; นอร์ทธัมเบรียทางตะวันออกเฉียงเหนือ; และ อีสแองเกลีย เอสเซ็กซ์ เค้นท์ และ ซัสเซ็กซ์ทางตะวันออกเฉียงใต้ ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ หรือ ราชวงศ์เซอร์ดิค (House of Wessex หรือ House of Cerdic) เป็นราชวงศ์แซ็กซอนที่ปกครองราชอาณาจักรทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษที่เรียกว่าเวสเซ็กซ์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายใต้การนำของพระเจ้าเซอร์ดิคแห่งเวสเซ็กซ์จนกระทั่งรวมเป็นราชอาณาจักรอังกฤษ จากนั้นราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็ปกครองอังกฤษทั้งหมดที่เรียกว่า “Bretwalda” ตั้งแต่ สมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช ในปี ค.ศ. 871 ไปจนถึงสมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1016 การปกครองของราชวงศ์เวสเซ็กซ์มักจะมีผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จากฝ่ายอื่นโดยเฉพาะจาก บริเวณเดนลอว์ (Danelaw) ที่ปกครองโดยกฎหมายของเดนมาร์ก และต่อมาโดยสเวน ฟอร์คเบียร์ดผู้ยึดราชบัลลังก์ระหว่าง ค.ศ. 1013 ถึง ค.ศ. 1014 ระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2 แห่งอังกฤษ พระเจ้าสเวน ฟอร์คเบียร์ดและผู้สืบเชื้อสายของพระองค์ปกครองอังกฤษจนปี ค.ศ. 1042 หลังจากรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าฮาร์ธาคานูท ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็ได้รับการฟื้นฟูอยู่ชั่วระยะหนึ่งระหว่างปี ค.ศ. 1042 ถึงปี ค.ศ. 1066 ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ และ สมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน หรือพระเจ้าฮาโรลด์ที่ 2 ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็สิ้นสุดลงไม่นานหลังจากยุทธการเฮสติงส์โดยสมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ เอเธลลิงผู้ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฮาโรลด์ถูกปลดจากราชบัลลังก์โดยดยุคแห่งนอร์มังดีผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ หรือ “พระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต” (William the Conqueror) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์นอร์มัน.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและราชวงศ์เวสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอังกฤษ

ราชอาณาจักรอังกฤษ (Kingdom of England.) เป็นราชอาณาจักรระหว่างปี..

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและราชอาณาจักรอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอีสต์แองเกลีย

ราชอาณาจักรอีสต์แองเกลีย (ภาษาอังกฤษ: Kingdom of the East Angles หรือ Kingdom of East Anglia) เป็นหนึ่งในอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนเจ็ดอาณาจักร ชื่อของอาณาจักรมาจากชื่อดินแดนแองเกิล (Angeln) ของชนแองเกิล ทางตอนเหนือของเยอรมนี ที่เมื่อแรกเริ่มประกอบด้วยนอร์โฟล์ค และซัฟโฟล์ค ชื่อที่อาจจะได้รับหลังจากการตั้งถิ่นฐานของชาวเดนส์ (“North folk (people)”.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและราชอาณาจักรอีสต์แองเกลีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรีย

ราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย (ภาษาอังกฤษ: Northumbria หรือ Northhumbria) เป็นชื่อของอาณาจักรยุคกลางของชาวแองเกิลที่ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ และทางใต้ของสกอตแลนด์ และเป็นอาณาจักรเอิร์ล (Earldom) ที่เมื่อรวมกับอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนกลายเป็นอังกฤษ ชื่อ “นอร์ทธัมเบรีย” เป็นนัยยะว่าเขตแดนทางใต้ของอาณาจักรปากแม่น้ำฮัมเบอร์ นอร์ทธัมเบรียก่อตั้งกลางบริเตนใหญ่ในสมัยแองโกล-แซ็กซอน เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 อาณาจักรเบอร์นิเซีย และอาณาจักรไดรารวมตัวกันเป็นอาณาจักรเดียว (ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เฮนรี ฮันทิงดัน (Henry of Huntingdon) บรรยายว่านอร์ทธัมเบรียเป็นอาณาจักรหนึ่งในเจ็ดอาณาจักรของอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอน) ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดเขตแดนของราชอาณาจักรทางใต้จรดปากแม่น้ำฮัมเบอร์, ไปถึงแม่น้ำเมอร์ซีย์ และเฟิร์ธออฟฟอร์ธ (Firth of Forth) (โดยประมาณ จากเชฟฟิลด์ ไปรังคอร์ ไปเอดินบะระ) - และมีหลักฐานว่าเคยมีดินแดนมากกว่านั้น ต่อมานอร์ทธัมเบรียเสียดินแดนทางใต้แก่บริเวณเดนลอว์(Danelaw) ทางด้านเหนือเดิมเป็นอาณาจักรแต่ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเดนมาร์กที่มีฐานะเท่าเทียมกับเป็นอาณาจักรเอิร์ลและมีฐานะเช่นนั้นเมื่ออังกฤษรวมตัวกันโดยการนำของเวสเซ็กซ์ อาณาจักรเอิร์ลมีเขตแดนติดกับแม่น้ำทีส์ทางด้านใต้และแม่น้ำทวีดทางด้านเหนือ (โดยทั่วไปคล้ายคลึงกับตะวันออกเฉียงเหนืออังกฤษ (North East England) ปัจจุบัน) ดินแดนบริเวณเป็นบริเวณที่พิพาตระหว่างอังกฤษและสกอตแลนด์ แต่อาณาจักรเอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบรียก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของของอังกฤษในสนธิสัญญายอร์คระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย (Mercia) เป็นหนึ่งในอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนเจ็ดอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ในลุ่มแม่น้ำแม่น้ำเทร้นท์และในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นอังกฤษมิดแลนด์ส (English Midlands) ชื่อเมอร์เซียเป็นภาษาอังกฤษเก่า “Mierce” ที่แผลงเป็นแบบละติน (Latinization) แปลว่า “ชนชายแดน” ราชอาณาจักรเมอร์เซียมีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย, เพาวิส, ราชอาณาจักรต่างๆ ทางตอนใต้ของเวลส์, เวสเซ็กซ์, ซัสเซ็กซ์, เอสเซ็กซ์ และ อีสต์แองเกลีย ทุกวันนี้ชื่อ “เมอร์เซีย” ยังใช้กันทั่วไปในชื่อองค์การต่างๆ ได้แก่ หน่วยทหาร หรือองค์การทั้งของรัฐและของเอกชน.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและราชอาณาจักรเมอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเวสเซกซ์

ราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ (Wessex หรือ Westseaxe (ภาษาอังกฤษเก่า)) เวสเซ็กซ์ หรือ “แซ็กซอนตะวันตก” เป็นอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนของแซ็กซอนตะวันตกทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนอังกฤษรวมตัวกันเป็นประเทศในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ภายใต้ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ หลังจากสมัยสมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราชเวสเซ็กซ์ก็มีฐานะเป็นอาณาจักรเอิร์ล (Earldom) ตั้งแต..

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและราชอาณาจักรเวสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ

ต่อไปนี้คือรายพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ และประเทศในเครือจักรภพ สำหรับรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะซึ่งประกอบกันเป็นสหราชอาณาจักรปัจจุบันดู รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษและรายพระนามพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและรายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์นอร์เวย์

ตราประจำพระองค์ของพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ตั้งแต่ ปี 1280 สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 กษัตริย์แห่งนอร์เวย์ตั้งแต่ปี 1991 ร่วมกับพระมเหสีของพระองค์ สมเด็จพระราชินีซอนยา ในปี 2010 รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรนอร์เว.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและรายพระนามพระมหากษัตริย์นอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์เดนมาร์ก

ระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก และ สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก พระอิศริยยศนี้รวมด้ว.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและรายพระนามพระมหากษัตริย์เดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

วินเชสเตอร์

มืองวินเชสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: Winchester) เป็นเมืองหลวงของมลฑลแฮมป์เชอร์ในภาคการปกครองตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ วินเชสเตอร์ตั้งอยู่กลางนครวินเชสเตอร์ซึ่งเป็นเมืองเทศบาลมณฑลที่ตั้งอยู่ระหว่างทางตะวันตกของเซาท์ดาวน์ตามฝั่งแม่น้ำอิตเค็น วินเชสเตอร์มีเนื้อที่ 4.8 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจสำมโนประขากรในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและวินเชสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สภาวิททัน

ระเจ้าแผ่นดินแองโกล-แซ็กซอนและสภาขุนนาง (คริสต์ศตวรรษที่ 11) สภาวิททัน (ภาษาอังกฤษ: Witan หรือ Witenagemot) เป็นสถาบันทางการเมืองของแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษซึ่งมีบทบาทระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 11 คำว่า “witenagemot” มาจากภาษาอังกฤษเก่าจากคำว่า “การพบปะของผู้อาวุโส” (“wita” คือ ผู้มีปัญญา หรือ ที่ปรึกษา (พหูพจน์ “witan”); “gemot” คือ การประชุม) ที่มาของสภาวิททันมาจากการประชุมของประเพณีของการปกครองของชนเผ่าในสมัยโบราณ ซึ่งต่อมามามีอำนาจและที่ดินมากขึ้น สมาชิกสภานอกจากจะเป็นผู้มีอำนาจและก็ยังรวมนักบวชอาวุโสและข้าราชสำนักของพระมหากษัตริย์ด้ว.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและสภาวิททัน · ดูเพิ่มเติม »

สแกนดิเนเวีย

แกนดิเนเวีย (Scandinavia; Skandinavia; Skandinavien) เป็นภูมิภาคทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ มีศูนย์กลางอยู่ที่คาบสมุทรสแกนดิเนเวียในยุโรปเหนือ มาจากชื่อเดิมว่า มณฑลสกาเนียน (Scanian Province) ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ได้แก่ ราชอาณาจักรสวีเดน นอร์เวย์ และเดนมาร์ก อาจรวมถึงประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มนอร์ดิก เช่น ประเทศไอซ์แลนด์ และประเทศฟินแลนด์ จากความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภาษาและวัฒนธรรม นิยามของสแกนดิเนเวียอาจขยายไปถึงดินแดนที่เคยมีการพูดภาษานอร์เวย์โบราณและดินแดนที่มีการพูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ ดังนั้น ในทางภาษาและวัฒนธรรม สแกนดิเนเวียจึงรวมถึงประเทศไอซ์แลนด์และหมู่เกาะแฟโร นอกจากนี้ ในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม สแกนดิเนเวียอาจรวมถึงฟินแลนด์ จากการที่ฟินแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนมายาวนาน ถึงแม้ว่าฟินแลนด์จะมีความเกี่ยวข้องทางวัฒนธรรมกับชาติสแกนดิเนเวียอื่นๆ แต่ชาวฟินแลนด์มีเชื่อชาติและภาษาแบบฟินโน-ยูกริก ซึ่งมีลักษณะของทั้งยุโรปตะวันตกและตะวันออก ถึงแม้ว่าความหมายของสแกนดิเนเวียอาจขึ้นอยู่กับบริบท กลุ่มนอร์ดิก นั้นหมายถึงนอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ และไอซ์แลนด์ รวมถึงหมู่เกาะแฟโร กรีนแลนด์ และหมู่เกาะโอลันด์ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันทั้งในด้านการเมืองและด้านวัฒนธรรม.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและสแกนดิเนเวีย · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารวินเชสเตอร์

อาสนวิหารวินเชสเตอร์ (Winchester Cathedral) เป็นอาสนวิหารของคริสตจักรแห่งอังกฤษ ตั้งอยู่ที่เมืองวินเชสเตอร์ เทศมณฑลแฮมป์เชอร์ สหราชอาณาจักร ตัวอาสนวิหารปัจจุบันเริ่มสร้างเมื่อ..

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและอาสนวิหารวินเชสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลเหนือ

ภาพถ่ายทะเลเหนือและประเทศรอบ ๆ จากอวกาศ ทะเลเหนือ (North Sea) เป็นทะเลที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป ทางตะวันตกของนอร์เวย์และเดนมาร์ก ทางตะวันออกของเกาะบริเตนใหญ่ และทางตอนเหนือของเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และฝรั่งเศส เป็นบริเวณส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก และติดกับทะเลบอลติกทางด้านตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 222,000 ตารางไมล์ หรือ 570,000 ตารางกิโลเมตร เหนือ หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ยุโรป เหนือ หมวดหมู่:ทะเลเหนือ.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและทะเลเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ดอร์เซต

อร์เซ็ท (Dorset) เป็นเทศมณฑลในประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นเทศมณฑลพิธีที่ไม่ใช่มหานคร ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ มีอาณาเขตนติดกับเดวอนทางด้านตะวันตก ซัมเมอร์เซตทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ วิลต์เชอร์ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และแฮมป์เชอร์ทางตะวันออก ดอร์เซ็ทแบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: เวย์มัธและพอร์ทแลนด์, เวสต์ดอร์เซ็ท, นอร์ธดอร์เซ็ท, เพอร์เบ็ค, อีสต์ดอร์เซ็ท, ไครสต์เชิร์ช, บอร์นมัธ, และพูลโดยมีดอร์เชสเตอร์เป็นเมืองหลวงของมณฑล ดอร์เซ็ทมีเนื้อที่ 2653 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 708,100 คน (ค.ศ.) ถัวเฉลี่ย 265 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร ดินแดนส่วนใหญ่เป็นชนบทประชากรส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมทะเล ชื่อเสียงของดอร์เซ็ทอยู่ที่ฝั่งทะเลเจอราสสิคซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกที่ประกอบด้วยลัลเวิร์ธโคฟว์ (Lulworth Cove), ไอล์ออฟพอร์ตแลนด์ (Isle of Portland), หาดเชสซิล (Chesil Beach) และเดอร์เดิลดอร์ (Durdle Door) และเมืองชายทะเลบอร์นมัธ, พูล, เวย์มัธ, สวอนเนจ และไลม์รีจิส นอกจากนั้นดอร์เซ็ทก็ใช้เป็นฉากในนวนิยายหลายเรื่องโดยนักประพันธ์คนสำคัญของอังกฤษทอมัส ฮาร์ดี (Thomas Hardy) ผู้เกิดที่เมืองดอร์เชสเตอร์ ดอร์เซ็ทเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของผู้คนมาตั้งแต่โบราณที่จะเห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีเช่น ป้อมเนิน (ไม่ใช่เนินป้อม hill fort) ที่เมดเด็นคาสเซิล และฮอดฮิลล.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและดอร์เซต · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์มาส

ริสต์มาส (Christmas; Crīstesmæsse, หมายถึง "พิธีมิสซาของพระคริสต์") หรือ วันสมโภชพระสมภพ (Feast of the Nativity) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู, The Catholic Encyclopedia, 1913.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและคริสต์มาส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสกอตแลนด์

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและประเทศสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสวีเดน

วีเดน (Sweden; สฺแวรฺแย) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรสวีเดน (Kingdom of Sweden) เป็นประเทศกลุ่มนอร์ดิกตั้งอยู่บนคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ในยุโรปเหนือ เขตแดนทางตะวันตกจรดประเทศนอร์เวย์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดประเทศฟินแลนด์ และช่องแคบ สแกเกอร์แรก (Skagerrak) ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดช่องแคบแคทีแกต (Kattegat) และทางตะวันออกจรดทะเลบอลติก และอ่าวบอทเนีย มีกรุงสต็อกโฮล์มเป็นเมืองหลวง ประเทศสวีเดนมีประชากรที่เบาบาง เว้นแต่ในเขตเมืองใหญ่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศประกอบด้วยป่าไม้ และภูเขาสูง หลังจากสิ้นสุดยุคไวกิง สวีเดนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพคาลมาร์ ร่วมกับเดนมาร์กและนอร์เวย์ (ในช่วงเวลานี้ ฟินแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสวีเดน) สวีเดนได้ออกจากสหภาพในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 และได้รบสู้กับประเทศเพื่อนบ้านเป็นเวลาหลายปี โดยเฉพาะรัสเซีย และเดนมาร์กกับนอร์เวย์ที่ยังเป็นสหภาพอยู่ ซึ่งไม่ยอมรับการที่สวีเดนออกจากสหภาพ ในคริสศตวรรษที่ 17 สวีเดนได้ขยายเขตด้วยสงครามและกลายเป็นมหาอำนาจด้วยขนาด 2 เท่าของปัจจุบัน ถึง..

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและประเทศสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฮังการี

ังการี (Hungary, Magyarország มอยอโรรฺซาก) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปกลางที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตทิศเหนือจรดประเทศสโลวาเกีย ทิศตะวันออกจรดประเทศโรมาเนียและประเทศยูเครน ทิศใต้จรดประเทศเซอร์เบียและประเทศโครเอเชีย ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศสโลวีเนียและทิศตะวันตกจรดประเทศออสเตรีย เมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงของประเทศคือเมืองบูดาเปสต์ ชื่อประเทศฮังการีในภาษาฮังการี แปลว่า "ประเทศของชาวม็อดยอร์" (Country of the Magyars) ประเทศฮังการีมีพื้นที่ 93,030 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีอาณาเขตเพียงร้อยละ 28 ของพื้นที่ราชอาณาจักรฮังการีเดิมก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยพื้นที่ปัจจุบันนับเป็นอันดับที่ 110 ของโลก โดยมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบในที่ราบพันโนเนีย และมีประชากร 9,919,128 คน นับเป็นอันดับที่ 90 ของโลก ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวม็อดยอร์ ใช้ภาษาฮังการีเป็นภาษาราชการซึ่งเป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฟินแลนด์ และภาษามอลต.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและประเทศฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศนอร์เวย์

นอร์เวย์ (Norway; Norge; Noreg) มีชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (Kingdom of Norway; Kongeriket Norge; Kongeriket Noreg) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ในยุโรปเหนือ ส่วนตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีอาณาเขตจรดประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ และรัสเซีย และมีอาณาเขตทางทะเลจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้กับประเทศเดนมาร์กและสหราชอาณาจักร นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีชายฝั่งยาวและเป็นที่ตั้งของฟยอร์ดที่มีชื่อเสียง ดินแดนหมู่เกาะที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ สฟาลบาร์และยานไมเอน ต่างก็อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของนอร์เวย์และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร ในขณะที่เกาะบูแวในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และเกาะปีเตอร์ที่ 1 ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้นั้น มีฐานะเป็นอาณานิคมของนอร์เวย์เท่านั้น ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร นอกจากนี้ นอร์เวย์ยังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนดรอนนิงมอดแลนด์ในทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีวิจัยอีกด้ว.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและประเทศนอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและประเทศโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเดนมาร์ก

นมาร์ก (Denmark; แดนมาก) (Danmark) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรเดนมาร์ก เป็นประเทศกลุ่มนอร์ดิก มีแผ่นดินหลักตั้งอยู่บนคาบสมุทรจัตแลนด์ ทางทิศเหนือของประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านทางบกเพียงประเทศเดียว ทางทิศใต้ของประเทศนอร์เวย์ และตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสวีเดน มีพรมแดนจรดทะเลเหนือและทะเลบอลติก เดนมาร์กมีดินแดนนอกชายฝั่งห่างไกลออกไปสองแห่ง คือหมู่เกาะแฟโรและกรีนแลนด์ ซึ่งแต่ละแห่งมีอำนาจปกครองตนเอง เดนมาร์กเป็นประเทศองค์ประกอบที่มีการปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป แต่ยังไม่เข้าร่วมใช้สกุลเงินยูโร เดนมาร์กเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและประเทศเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

นอร์มัน

ีแดงเป็นบริเวณที่นอร์มันได้รับชัยชนะ นอกจากนั้นก็ยังได้รับชัยชนะต่อหมู่เกาะมอลตีส และบางส่วนของตูนิเซีย และลิเบีย นอร์มัน (Normans) คือกลุ่มชนผู้ให้นามแก่ดินแดนนอร์ม็องดีซึ่งเป็นบริเวณทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ชนนอร์มันสืบเชื้อสายมาจากไวกิงผู้ได้รับชัยชนะต่อผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่แต่เดิมที่เป็นชนแฟรงค์ (Franks) และกอลล์-โรมัน (Gallo-Roman) ความเป็น “ชนนอร์มัน” เริ่มเป็นที่รู้จักกันเป็นครั้งแรกราวครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 10 และค่อยๆ วิวัฒนาการเรื่อยมาในคริสต์ศตวรรษต่อๆ มาจนกระทั่งสูญหายไปจากการเป็นกลุ่มชนที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 คำว่า “นอร์มัน” มาจากคำว่า “นอร์สเม็น” หรือ “นอร์ธเม็น” (Norsemen หรือ Northmen) ตามชื่อไวกิงจากสแกนดิเนเวียผู้ก่อตั้งนอร์ม็องดี หรือ “นอร์ธมานเนีย” เดิมในภาษาละติน ชนนอร์มันมีบทบาทสำคัญในทางการเมือง, การทหารและวัฒนธรรมของยุโรปและแม้แต่ในตะวันออกใกล้ (Near East) ชนนอร์มันมีชื่อเสียงในทางการรณรงค์และความศรัทธาทางคริสต์ศาสนา และยอมรับการใช้ภาษากอลล์-โรมานซ์ในดินแดนที่ไปตั้งถิ่นฐานอย่างรวดเร็ว สำเนียงการพูดและการใช้ภาษาที่ได้รับมากลายมาเป็นภาษานอร์มันซึ่งเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางวรรณกรรม อาณาจักรดยุคแห่งนอร์ม็องดี (Duchy of Normandy) ที่เป็นดินแดนที่เกิดจากสนธิสัญญากับราชบัลลังก์ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นอาณาบริเวณการปกครองที่มีความสำคัญที่สุดบริเวณหนึ่งในยุคกลางของฝรั่งเศส ทางด้านการสงครามชนนอร์มันขยายดินแดนโดยการรุกรานและยึดครองโดยเฉพาะในการยึดครองอังกฤษในการรุกรานและยึดครองอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1066 และการรุกรานและยึดครองอิตาลีตอนใต้ นอกจากในด้านการเมืองและการปกครองแล้วชนนอร์มันก็ยังมีชื่อเสียงทางด้านการสถาปัตยกรรมที่มีพื้นฐานมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ และความสามารถทางด้านดนตรี อิทธิพลของนอร์มันในด้านต่างๆ แผ่ขยายจากบริเวณที่ยึดครองตั้งแต่อาณาจักรครูเสดต่างๆ ในตะวันออกใกล้ไปจนถึงสกอตแลนด์ และเวลส์ ในสหราชอาณาจักร และในไอร์แลนด์ ในการศึกษาประวัติศาสตร์ (historiography) ของรัสเซีย คำว่า “นอร์มัน” มักจะใช้สำหรับชนวารันเจียน (Varangians) ซึ่งมาจากไวกิง ในการศึกษาประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสก็เช่นกันมักจะเป็นคำที่หมายถึงไวกิงกลุ่มต่างๆ ผู้รุกรานฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก่อนจะตั้งหลักแหล่งในนอร์ม็องดี.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและนอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

เอลฟ์จิฟูแห่งนอร์แธมตัน

อลฟ์จิฟูแห่งนอร์แธมตัน (ค.ศ.990-หลังค.ศ.1036) เป็นมเหสีพระองค์แรกของพระเจ้าคนุตแห่งอังกฤษและเดนมาร์ก และพระราชมารดาของพระเจ้าแฮโรลด์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (ค.ศ.1035-1040) ทรงเป็นราชินีผู้สำเร็จราชการแทนแห่งนอร์เวย์ตั้งแต่ปี..1030-1035.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและเอลฟ์จิฟูแห่งนอร์แธมตัน · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มมาแห่งนอร์มังดี สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

อ็มมาแห่งนอร์มังดี สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: Emma of Normandy) (ราว ค.ศ. 985 - 6 มีนาคม ค.ศ. 1052) เอ็มมาแห่งนอร์มังดีประสูติราว ค.ศ. 985 เป็นพระธิดาของริชาร์ดผู้ไม่กลัวใคร ดยุคแห่งนอร์มังดี (Richard the Fearless) และกันนอรา ดัชเชสแห่งนอร์มังดี เป็นพระราชินีในสมเด็จพระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2 แห่งอังกฤษ ระหว่างค.ศ. 1002 ถึง ค.ศ. 1016 และมีพระราชโอรสกับพระเจ้าเอเธล์เรดผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ ต่อมาทรงเสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราชและเป็นพระราชินีระหว่าง ค.ศ. 1017 ถึง ค.ศ. 1035 และมีพระราชโอรสผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าฮาร์ธาคานูท เอ็มมาแห่งนอร์มังดีเป็นพระอัยกีของ สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ เอ็มมาสิ้นพระชนม์เมื่อ 6 มีนาคม ค.ศ. 1052 ที่วินเชสเตอร์ อังกฤษ.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและเอ็มมาแห่งนอร์มังดี สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เดนลอว์

“โกลด์:” บริเวณการปกครองของเดนส์ บริเวณการปกครองของเดนส์ หรือ บริเวณเดนลอว์ (Danelaw, Danelagh; Dena lagu; Danelov) ที่บันทึกใน “พงศาวดารแองโกล-แซ็กซอน” เป็นชื่อทางประวัติศาสตร์ของบริเวณในบริเตนใหญ่ที่ปกครองด้วยกฎหมายของ “เดนส์” ที่อยู่เหนืออิทธิพลของกฎของแองโกล-แซ็กซอน บริเวณบริเตนใหญ่ที่อยู่ใต้การปกครองของเดนส์ในปัจจุบันอยู่ในบริเวณทางเหนือและตะวันออกของอังกฤษ ที่มาของบริเวณการปกครองของเดนส์มาจากการขยายตัวของไวกิงในคริสต์ศตวรรษที่ 9 แม้ว่าคำนี้จะมิได้ใช้ในการบรรยายบริเวณทางภูมิศาสตร์มาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 การขยายตัวของไวกิงมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นในสแกนดิเนเวียที่ทำให้นักรบไวกิงมีความจำเป็นในการไปล่าทรัพย์สมบัติในอาณาบริเวณใกล้เคียงเช่นเกาะอังกฤษ นอกจากจะใช้ในการบรรยายบริเวณทางภูมิศาสตร์แล้ว “บริเวณการปกครองของเดนส์” ก็ยังหมายถึงชุดกฎหมายและคำจำกัดความที่ระบุในสนธิสัญญาระหว่างพระมหากษัตริย์อังกฤษสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชและขุนศึกชาวเดนส์กูธรัมผู้อาวุโส (Guthrum the Old) ที่เขียนขึ้นหลังจากกูธรัมพ่ายแพ้ต่อพระเจ้าอัลเฟรดในยุทธการเอธาดัน (Battle of Ethandun) ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและเดนลอว์ · ดูเพิ่มเติม »

12 พฤศจิกายน

วันที่ 12 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 316 ของปี (วันที่ 317 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 49 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระเจ้าคนุตมหาราชและ12 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Canute the GreatKing Canuteสมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราชพระเจ้าคานูทมหาราช

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »