ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระสารีบุตรและพระโคตมพุทธเจ้า
พระสารีบุตรและพระโคตมพุทธเจ้า มี 23 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บิณฑบาตพระมหาโมคคัลลานะพระอภิธรรมปิฎกพระอรหันต์พระอัสสชิเถระพระเวทพราหมณ์ภิกษุรัตนตรัยราชคฤห์วัดเชตวันมหาวิหารวัดเวฬุวันมหาวิหารวันมาฆบูชาสกทาคามีท้าวสักกะดาวดึงส์ปรินิพพานปัญจวัคคีย์แคว้นมคธโสดาบันโอวาทปาติโมกข์เอหิภิกขุอุปสัมปทาเทวทหะ
บิณฑบาต
ระพุทธรูปคันธาระ ปางทรงบาตร บิณฑบาต (อ่านว่า บิน-ทะ-บาด) เป็นภาษาบาลี มาจากคำว่า ปิณฺฑ + ปาต แปลว่า การตกลงแห่งก้อนข้าว โดยทั่วไปคำนี้หมายถึงกิจวัตรของพระภิกษุสงฆ์และสามเณรในพระพุทธศาสนา ในการออกเดินถือบาตรรับการถวายภัตตาหารหรือสิ่งของจากชาวบ้านในเวลาเช้า เรียกว่าการออกบิณฑบาต การออกบิณฑบาตของพระภิกษุเป็นกิจวัตรที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของพระภิกษุสามเณรมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญการบิณฑบาตว่าเป็นกิจอันประเสริฐ หรือในสามัญเรียกว่าการโปรดสัตว์ เพราะการออกบิณฑบาตนั้นนับว่าเป็นการเผยแผ่พระศาสนาทางหนึ่งด้วย ดังในสมัยพุทธกาลที่พระภิกษุสงฆ์จะเทศนาโปรดแก่บรรดาชาวบ้านซึ่งมาร่วมทำบุญ อันเป็นต้นเหตุแห่งการสวดให้พรหลังภัตตกิจในปัจจุบันนี้.
บิณฑบาตและพระสารีบุตร · บิณฑบาตและพระโคตมพุทธเจ้า ·
พระมหาโมคคัลลานะ
ระมหาโมคคัลลานเถระ เป็นพระภิกษุอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า เป็นพระอสีติมหาสาวกผู้เป็นเอตทัคคะในด้านผู้มีฤทธิ์มาก คู่กับพระสารีบุตร ผู้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขว.
พระมหาโมคคัลลานะและพระสารีบุตร · พระมหาโมคคัลลานะและพระโคตมพุทธเจ้า ·
พระอภิธรรมปิฎก
ระอภิธรรมปิฎก (Abhidhammapiṭaka) เป็นปิฎกฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามใน "พระไตรปิฎกภาษาบาลี" (Pali Canon) อภิธรรม แปลว่า "ธรรมอันยิ่ง" ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วน ๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเล.
พระสารีบุตรและพระอภิธรรมปิฎก · พระอภิธรรมปิฎกและพระโคตมพุทธเจ้า ·
พระอรหันต์
ในศาสนาพุทธ พระอรหันต์ (พระ-อะ-ระ-หัน; arahant; अर्हत् arhat) คือ พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด สามารถละสังโยชน์ได้ครบ 10 ประการ.
พระสารีบุตรและพระอรหันต์ · พระอรหันต์และพระโคตมพุทธเจ้า ·
พระอัสสชิเถระ
ระอัสสชิ หรือ พระอัสสชิเถระ เป็นพระภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ และพระอสีติมหาสาวก พระอัสสชิ เมื่อได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว มีบทบาทสำคัญในการช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล ด้วยความเป็นผู้มีมารยาทน่าเลื่อมใสของท่าน ทำให้ท่านเป็นภิกษุรูปแรกที่ทำให้อุปติสสมาณพ ซึ่งต่อมาคือพระสารีบุตร เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ท่านเป็นผู้กล่าวคาถาสำคัญยิ่งคาถาหนึ่งในพระพุทธศาสนาคือพระคาถา เย ธมฺมา เหตุปฺปภว... พระคาถานี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระคาถาสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา เพราะกล่าวถึงความเป็นเหตุผลและจุดมุ่งหมายในพระพุทธศาสนาไว้ในคาถาเดียว ท่านดำรงอายุพอสมควรแก่กาลก็ดับขันธปรินิพพาน.
พระสารีบุตรและพระอัสสชิเถระ · พระอัสสชิเถระและพระโคตมพุทธเจ้า ·
พระเวท
ระเวท คัมภีร์ในศาสนาฮินดู หน้าหนึ่งจากอาถรรพเวท พระเวท (वेद) โดยทั่วไปถือว่าเป็นคัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู หากกล่าวโดยเฉพาะลงไป หมายถึง บทสวดต่างๆ ที่เกี่ยวกับความเชื่อของชาวอินโดอารยัน หรืออาจเรียกได้ว่าศาสนาพราหมณ์ฮินดู โดยมีการรวบรวมเป็นหมวดหมู่ในชั้นหลัง คำว่า “เวท” นั้น หมายถึง ความรู้ มาจากธาตุ “วิทฺ” (กริยา รู้) คัมภีร์พระเวท ประกอบด้วยคัมภีร์ 4 เล่ม ได้แก่ ฤคเวทใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า สามเวทใช้สำหรับสวดในพิธีกรรมถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์และขับกล่อมเทพเจ้า ยชุรเวทว่าด้วยระเบียบวิธีในการประกอบพิธีบูชายัญและบวงสรวงต่างๆ และ อาถรรพเวท ใช้เป็นที่รวบรวมคาถาอาคมหรือเวทมนตร์ นักประวัติศาสตร์จำนวนมาก ถือว่า พระเวท เป็นส่วนที่เก่าที่สุดที่เหลืออยู่ สำหรับส่วนที่ใหม่สุดของพระเวท น่าจะมีอายุราวพุทธกาล และส่วนที่เก่าสุด ราว 1,000 ปีก่อนพุทธกาล แต่นักภารตวิทยาเชื่อว่า เนื้อหาของคัมภีร์เหล่านี้น่าจะได้มีการท่องจำกันมาก่อนการบันทึกเป็นเวลานานมากแล้ว ซึ่งมีหลักฐานจากลักษณะทางภาษา และปริบททางสังคมต่าง.
พระสารีบุตรและพระเวท · พระเวทและพระโคตมพุทธเจ้า ·
พราหมณ์
ราหมณ์ (อักษรเทวนาครี: ब्राह्मण) เป็นวรรณะหนึ่งในแนวคิดศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น วิปฺระ, ทฺวิช, ทฺวิโชตฺตมะ หรือ ภูสร เป็นต้น พราหมณนั้นเป็นวรรณะหนึ่งในสี่วรรณะของสังคมอินเดีย เป็นผู้สืบทอดวิชาความรู้ ในคัมภีร์ ไตรเวทพิธีกรรม จารีต ประเพณี ศิลปะวัฒนธรรม และคติความเชื่อต่าง ๆ ให้สืบทอดต่อไป หรือไม่สืบทอดก็ได้โดยใช้ชีวิตตามปกติชนคนธรรมดาทั่วไป คงไว้ให้ผู้ใดในตระกูลสืบทอดแทน เป็นผู้มีสิทธิ์เลือก แบ่งแยกเป็นนิกายคือ พวกไศวนิกาย จะถือเพศ นุ่งขาว ห่มขาว ไว้มวยผม ถือศีล จริยาวัตรของพราหมณ์ มีครอบครัวได้ อยู่บ้าน หรือ เทวะสถาน ประจำลัทธิ นิกายแห่งตน อีกนิกายหนึ่งคือ ไวษณวะนิกาย จะไว้ผมเปียหรือมวยผม ถือเพศพรหมจรรย์ กินมังสวิรัติ ไม่ถูกต้องตัวสตรีเพศ นุ่งห่มสีขาว หรือสีต่าง ๆตามวรรณะนิกาย และอาศัยอยูในเทวสถาน ในการบวชเป็นพราหมณ์หลวง จะต้องได้รับความยินยอมจากที่ประชุมพราหมณ์ ในทำเนียบพราหมณ์หลวง โดยผู้บวชจะนำของมาถวายพราหมณ์ผู้ใหญ่ แล้วพราหมณ์ผู้ใหญ่จะมอบสายสิญจน์รับพราหมณ์ใหม่ หรือทวิชาติ ซึ่งหมายถึงการเกิดครั้งที่ 2 ซึ่งการบวชพราหมณ์ไม่ได้มีกฎปฏิบัติจำนวนมากเหมือนกับการบวชพระ โดยถือศีล 5 เป็นศีลปฏิบัติ สามารถแต่งกายสุภาพเหมือนผู้ชายทั่วไปในเวลาปกติ และสวมเครื่องแบบเป็นเสื้อราชปะแตนและโจงกระเบนสีขาวในยามประกอบพิธีกรรม รวมถึงสามารถมีภรรยาเพื่อมีทายาทสืบตระกูลพราหมณ์ต่อไปได้ กระนั้นก็ยังมีข้อห้ามบางประการที่พราหมณ์ไม่สามารถทำได้ อาทิ ห้ามรับประทานเนื้อวัว ปลาไหล และงูต่างๆ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบริวารของเทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และห้ามตัดแต่งผม ต้องไว้ผมยาวแล้วมุ่นเป็นมวยไว้ที่ท้ายทอย เพราะตามหลักศาสนาเชื่อว่าบริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของเทวดา สำหรับกิจประจำวันที่พราหมณ์ต้องทำ คือนมัสการพระอาทิตย์ตามเวลาเช้า กลางวัน เย็น เพื่อเป็นการนำจิตวิญญาณกลับไปสู่พรหม กล่าวคือ การไหว้พระอาทิตย์จะนำแสงสว่างให้เกิดในปัญญานำไปสู่การหลุดพ้น และจะมีการสาธยายพระเวท ซึ่งถือเป็นคัมภีร์หลักในศาสนาพราหมณ์ ประกอบด้วย ฤคเวท ใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า สามเวท ใช้สำหรับสวดในพิธีกรรมถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์และขับกล่อมเทพเจ้า ยชุรเวท ว่าด้วยระเบียบวิธีในการประกอบพิธีบูชายัญและบวงสรวงต่างๆ และ อาถรรพเวท ใช้เป็นที่รวบรวมคาถาอาคมหรือเวทมนตร์ ปฏิบัติต่อเทพด้วยความศรัทธา ปัจจุบันพราหมณ์หลวงจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับ พระราชพิธีต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ ในการอัญเชิญพระผู้เป็นเจ้าและทวยเทพตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มาเป็นสักขีในการกระทำพิธีนั้นๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแด่องค์พระมหากษัตริย์ ราชบัลลังก์ และบ้านเมือง โดยงานพระราชพิธีจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ งานประจำปี ได้แก่ งานเฉลิมพระชนมพรรษา วันฉัตรมงคล วันพืชมงคล การเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต เป็นต้น และงานตามวาระ อาทิ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อปีที่แล้ว เป็นต้น หน้าที่ของพราหมณ์หลวงคือการรักษาวัฒนธรรมในการประกอบพระราชพิธีถวายตามโอกาสต่างๆ แต่ก็สามารถรับประกอบพิธีอื่นๆ ที่นอกเหนือจากงานพระราชพิธีได้ เรียกว่า รัฐพิธี เป็นงานที่ถูกเชิญมาจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น วางศิลาฤกษ์ ยกเสาเอก งานวันเกิด งานตัดจุก ตั้งศาลพระภูมิ ซึ่งจะมีเงินทักษิณามอบให้พราหมณ์ตามศรัทธา ทั้งนี้ ปัจจุบันมีตระกูลพราหมณ์ที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายงานพระราชพิธี หรือที่เรียกกันว่า พราหมณ์หลวง ซึ่งสืบสายมาจากบรรพบุรุษทั้งสิ้น 7 ตระกูล ได้แก่ สยมภพ โกมลเวทิน นาคะเวทิน วุฒิพราหมณ์ ภวังคนันท์ รัตนพราหมณ์ และรังสิพราหมณกุล.
พระสารีบุตรและพราหมณ์ · พระโคตมพุทธเจ้าและพราหมณ์ ·
ภิกษุ
กษุ หรือ พระภิกษุ (บาลี: ภิกขุ; สันสกฤต: ภิกษุ) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชชาย" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับภิกษุณี (นักบวชหญิง) คำว่า ภิกษุ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนา มีความหมายว่า ผู้ขอ (ขออาหาร เป็นต้น) และสามารถแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้ ดังรูปวิเคราะห์ว่า "วฏฺฏสํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ" ในประเทศไทยและประเทศลาว มีคำเรียกภิกษุเถรวาทว่า "พระ" แปลว่าผู้ประเสร.
พระสารีบุตรและภิกษุ · พระโคตมพุทธเจ้าและภิกษุ ·
รัตนตรัย
ระรัตนตรัย หรือพระไตรรัตน์ หมายถึง แก้วสามประการอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน ที่เรียกว่า รัตน (แก้ว) เพราะว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ มีค่าสูง และหาได้ยาก เทียบด้วยดวงแก้วมณี พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า, พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเรียกเต็มว่าพุทธรัตนะ, ธรรมรัตนะ, สังฆรัตนะ ซึ่งได้แก.
พระสารีบุตรและรัตนตรัย · พระโคตมพุทธเจ้าและรัตนตรัย ·
ราชคฤห์
ราชคฤห์ (ราชคห; राजगिर ราชคริ; राजगीर ราชคีร; Rajgir; راجگیر) เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นมคธสมัยพุทธกาล เป็นเมืองในหุบเขา มีภูเขาล้อมรอบ 5 ลูก จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เบญจคีรีนคร ราชคฤห์เป็นเมืองตั้งหลักพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า โดยพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระเจ้าพิมพิสารผู้ครองนคร เป็นเมืองที่มีประวัติความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามากที่สุด สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าและพระสาวกยังปรากฏอยู่มากมาย เช่น พระคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ วัดเวฬุวันซึ่งเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ถ้ำสุกรขาตาที่พระสารีบุตรได้บรรลุธรรม ถ้ำสัตบรรณคูหาที่ทำสังคายนาครั้งแรก เป็นต้น สถานะเมืองหลวงของราชคฤห์ถูกเปลี่ยนโอนไปอยู่ที่ปาฏลีบุตรตั้งแต่สมัยพระเจ้าอชาตศัตรู ส่งผลให้ราชคฤห์ในปัจจุบันเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ในรัฐพิหาร มีผู้อยู่อาศัยไม่มาก มีสภาพเกือบเป็นป่า แต่เป็นสถานที่แสวงบุญของชาวพุทธทั่วโลกแห่งหนึ่ง ไฟล์:Rajgirbuddha.jpg|พระพุทธรูปยืนกลางมณฑลโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์ ไฟล์:Vulturepeak.jpg|พระคันธกุฎี บนยอดเขาคิชกูฏ ไฟล์:Sattapanni.jpg|ถ้ำสัตบรรณคูหา สถานที่ทำปฐมสังคายนา ไฟล์:Tapodarama.jpg|ตโปธาราม บ่อน้ำโบราณอายุกว่า 2,500 ปี ไฟล์:Vulturepeak1.jpg|พระมูลคันธกุฎิยอดเขาคิชกูฏ เมื่อมองจากสันติสถูป.
พระสารีบุตรและราชคฤห์ · พระโคตมพุทธเจ้าและราชคฤห์ ·
วัดเชตวันมหาวิหาร
วัดเชตวันมหาวิหาร หรือ วัดพระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นอาราม (วัด) ที่สร้างโดยท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี บนที่ตั้งของเชตวัน หรือสวนเจ้าเชต นอกเมืองสาวัตถี ซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีซื้อมาด้วยเงินมากถึง 18 โกฏิ (ตามการนับค่าเงินในสมัยนั้น) วัดแห่งนี้นับว่าเป็นวัดและที่มั่นสำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล และเป็นวัดที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษามากที่สุดถึง 19 พรรษา วัดเชตวันมหาวิหารเป็นสถานที่เกิดเรื่องราวต่าง ๆ ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามากมาย ปัจจุบันวัดเชตวันมหาวิหารเหลือเพียงซากโบราณสถาน ได้รับการบูรณะจากทางราชการอินเดียเป็นอย่างดี ตั้งอยู่ทางใต้ของแม่น้ำราปติ (Rapti) หรือแม่น้ำอจิรวดีในสมัยพุทธกาล นอกกำแพงเมืองสาวัตถีไปทางทิศใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร ที่ ตำบลสะเหต (Saheth) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดี.
พระสารีบุตรและวัดเชตวันมหาวิหาร · พระโคตมพุทธเจ้าและวัดเชตวันมหาวิหาร ·
วัดเวฬุวันมหาวิหาร
กลุ่มป่าไผ่ร่มรื่น ในกลุ่มโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร วัดเวฬุวันมหาวิหาร หรือ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน เป็นอาราม (วัด) แห่งแรกในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ใกล้เชิงเขาเวภารบรรพต บนริมฝั่งแม่น้ำสรัสวดีซึ่งมีตโปธาราม (บ่อน้ำร้อนโบราณ) คั่นอยู่ระหว่างกลาง นอกเขตกำแพงเมืองเก่าราชคฤห์ (อดีตเมืองหลวงของแคว้นมคธ) รัฐพิหาร ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (หรือ แคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล) คำว่า เวฬุวัน แปลว่าสวนไผ่ เดิมอารามแห่งนี้เป็นพระราชอุทยานของพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แคว้นมคธ ตั้งอยู่นอกเมืองราชคฤห์ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วได้เสด็จไปยังเมืองราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยข้าราชบริพารเข้าไปเฝ้า หลังจากทรงสดับธรรมแล้วทรงเลื่อมใสจึงถวายสวนเวฬุวันเป็นพุทธบูชา ด้วยทรงเห็นว่าเป็นที่สงบร่มรื่น เหมาะสำหรับอยู่บำเพ็ญธรรมของพระสงฆ์ ถือกันต่อมาว่าสถานที่นี้เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา เรียกว่า วัดเวฬุวันมหาวิหาร นอกจากนี้วัดนี้ยังเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่พระสาวกจำนวน 1,250 รูป แล้วส่งไปเป็นพระธรรมทูตประกาศพระศาสนา อันเป็นที่มาของวันมาฆบูชา วัดเวฬุวันมหาวิหาร ปัจจุบันยังคงอยู่ เป็นซากโบราณสถานในสวนไผ่ที่ร่มรื่น มีสระน้ำขนาดใหญ่ภายใน มีรั้วรอบด้าน อยู่ในความดูแลของทางราชการอินเดี.
พระสารีบุตรและวัดเวฬุวันมหาวิหาร · พระโคตมพุทธเจ้าและวัดเวฬุวันมหาวิหาร ·
วันมาฆบูชา
ปุรณมี วันมาฆบูชา (มาฆปูชา; Magha Puja) เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทยราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๓๐, ๓๐ มีนาคม..
พระสารีบุตรและวันมาฆบูชา · พระโคตมพุทธเจ้าและวันมาฆบูชา ·
สกทาคามี
กทาคามี (Sakadāgāmī; Sakṛdāgāmin) หรือ สกิทาคามี แปลว่า ผู้จะมาสู่โลกนี้เพียงอีกครั้งเดียว เป็นชื่อเรียกพระอริยบุคคลลำดับที่ 2 ใน 4 ประเภท คัมภีร์สุมังคลวิลาสินีอธิบายว่าคำว่า "โลกนี้" หมายถึงกามาวจรโลก กล่าวคือ ผู้บรรลุสกทาคามีในมนุษยโลกแล้วไปเกิดในเทวโลก สามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ในเทวโลกนั้นได้ หากไม่ได้อรหัตตผล จะมาเกิดเป็นมนุษย์แล้วบรรลุอรหัตตผลอย่างแน่นอน ฝ่ายผู้บรรลุสกทาคามีในเทวโลกแล้วมาเกิดในมนุษยโลก สามารถบรรลุอรหัตตผลในมนุษยโลกนั้นได้ หากไม่ได้ จะกลับไปเกิดในเทวโลกแล้วบรรลุอรหัตตผลอย่างแน่นอน.
พระสารีบุตรและสกทาคามี · พระโคตมพุทธเจ้าและสกทาคามี ·
ท้าวสักกะ
การดำเนินตามทางสายกลางน่าจะเป็นทางที่จะทำให้ตรัสรู้ได้มากกว่าการทรมานตนเอง สักกะ (สกฺก) หรือ ศักระ (शक्र ศกฺร; ความหมาย: ผู้องอาจ ผู้สามารถ) เป็นชื่อของเทพผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในจักรวาลวิทยาของศาสนาพุทธ ปรากฏนามในภาษาบาลีว่า สกฺโก เทวานํ อินฺโท (शक्रो देवानं इन्द्रः ศกฺโร เทวานํ อินฺทฺรห์) หมายถึง "สักกะผู้เป็นใหญ่เหนือทวยเทพทั้งหลาย" ในคัมภีร์ทางศาสนาพุทธ คำว่า "สักกะ" ถือเป็นวิสามานยนาม ไม่อาจใช้เรียกเทพองค์อื่นได้ ในทางตรงกันข้าม คำว่า อินฺท (ภาษาบาลี) หรือ อินฺทฺร (ภาษาสันสกฤต) ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้เป็นใหญ่" ใช้หมายถึงท้าวสักกะอยู่บ่อยครั้ง เทพสักกะมักเรียกขานว่า "ท้าวสักกเทวราช" หรือย่อว่า "ท้าวสักกะ" ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก ท้าวสักกะเป็นที่รู้จักในนาม "ตี้ซื่อเทียน" (帝釋天) หรือ "ซื่อถีหฺวันอิน" (釋提桓因) ในภาษาจีน และ "ไทชะกุเท็น" (帝釈天) ในภาษาญี่ปุ่น สำหรับในประเทศจีนแล้ว บางครั้งมีการเปรียบเทียบว่าท้าวสักกะคือเง็กเซียนฮ่องเต้ (玉皇大帝) หรือจักรพรรดิหยกในลัทธิเต๋า ด้วยถือว่าเทพทั้งสององค์นี้มีวันประสูติเป็นวันเดียวกัน คือ ในวันที่ 9 เดือนที่ 1 ตามปฏิทินจันทรคติจีน (โดยปกติจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ตามปฏิทินสุริยคติ) ในฤคเวท อันเป็นวรรณคดีภาษาสันสกฤตในศาสนาฮินดู คำว่า "ศักระ" อันเป็นนามของท้าวสักกะในภาษาสันสกฤตนั้น ใช้แทนตัวเทพอินทระหรือพระอินทร์อยู่บ่อยครั้ง แต่ในศาสนาพุทธ ตำนานและบุคลิกลักษณะของท้าวสักกะแตกต่างไปจากพระอินทร์ในพระเวทอย่างสิ้นเชิง สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งเป็นที่สถิตของท้าวสักกะตั้งอยู่เหนือยอดเขาพระสุเมรุ ซึ่งตามคติเรื่องไตรภูมิ ถือว่าภูเขาแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของโลก อันมีพระอาทิตย์และพระจันทร์เวียนโคจรโดยรอบ สวรรค์ชั้นนี้นับเป็นสวรรค์ชั้นที่สูงที่สุดที่เชื่อมต่อกับมนุสสภูมิ (โลกมนุษย์) โดยตรง ท้าวสักกะมีชีวิตที่ยาวนานเช่นเดียวกับเทพทั้งหลาย หากแต่ก็มีวาระที่จะหมดอายุขัยตามแรงบุญของตนเองเช่นกัน ในยามที่ท้าวสักกะจะต้องจุติ (ตาย) เมื่อจิตดับไปแล้ว จะบังเกิดท้าวสักกะองค์ใหม่ (ซึ่งอาจเป็นเทพองค์อื่น) ขึ้นแทนที่ท้าวสักกะองค์เดิมทันที เรื่องราวของท้าวสักกะในทางพระพุทธศาสนาทั้งไม่ว่าจะในอดีตหรือในปัจจุบัน (ในช่วงที่บันทึกพระไตรปิฎก) ปรากฏอยู่ในชาดกและพระสูตรต่าง ๆ ซึ่งโดยมากจะอยู่ในหมวดสังยุตตนิกาย ชื่อท้าวสักกะปรากฏในพระสูตรหลายตอน และมักมีบทบาทเป็นผู้กราบทูลขอคำปรึกษาจากพระโคดมพุทธเจ้าในปัญหาธรรมต่าง ๆ ถือกันว่าพระองค์เป็นธรรมบาล (ผู้คุ้มครองธรรม) ในพุทธศาสนาร่วมกับเหล่าพรหมทั้งหล.
ท้าวสักกะและพระสารีบุตร · ท้าวสักกะและพระโคตมพุทธเจ้า ·
ดาวดึงส์
ตรกรรมเรื่องไตรภูมิ แสดงที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์บนยอดเขาพระสุเมรุ ท้าวสักกะ เทวาธิบดีแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (ศิลปะพม่า) ดาวดึงส์ (ตาวตึส) หรือ ตรัยตรึงศ์, ไตรตรึงษ์ (त्रायस्त्रिंश ตฺรายสฺตฺริศ) เป็นชื่อของสวรรค์ (ภูมิของเทวดาทั้งหลาย) อันสำคัญยิ่งในจักรวาลวิทยาในศาสนาพุทธ คำว่า ตฺรายสฺตฺริศ เป็นรูปคำคุณศัพท์ของคำว่า ตฺรยาสฺตฺริศต (จำนวน 33) อาจแปลความหมายได้ว่า "ที่อยู่ของเทพ 33 องค์" สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นสวรรค์ชั้นที่ 2 จากสวรรค์ฉกามาพจรทั้ง 6 ชั้น(จัดอยู่ในกามภูมิ) โดยอยู่สูงขึ้นไปถัดจากสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาขึ้นไป 336,000,000 วา หรือ 168,000 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุอันสูง 80,000 โยชน์ ซึ่งเป็นจุดสูงที่สุดที่ยังเชื่อมอยู่กับมนุสสภูมิหรือโลกมนุษย์ (อาจเทียบได้กับยอดเขาโอลิมปัสในตำนานเทพปกรณัมกรีก) อาณาบริเวณโดยรอบ 80,000 ตารางโยชน์ มีท้าวสักกะหรือพระอินทร์เป็นผู้ปกครอง เมืองบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเมืองใหญ่ที่สร้างอย่างงดงามด้วยทองและแก้ว 7 ประการ มีเสียงดนตรีบรรเลงอยู่อย่างไพเราะ กลางเมืองดาวดึงส์มีปราสาทใหญ่ที่งดงามเป็นที่ประทับของพระอินทร์ บนสวรรค์ชั้นนี้มีอุทยานที่งดงามมากอยู่ 4 แห่ง คือ.
ดาวดึงส์และพระสารีบุตร · ดาวดึงส์และพระโคตมพุทธเจ้า ·
ปรินิพพาน
วาดพระพุทธเจ้าเข้าสู่อนุปาทิเสนนิพพาน จิตรกรรมฝาผนังวัดท่าถนน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ปรินิพพาน แปลว่า การดับรอบ ความปราศจากกิเลสที่ร้อยรัด คือ การดับสนิท ดับด้วยไม่เหลือแห่งกิเลสและกองทุกข์ มีความหมายเดียวกับคำว่า นิพพาน บางครั้งใช้หมายถึง อนุปาทิเสนนิพพาน แปลว่า การดับกิเลสพร้อมทั้งเบญจขันธ์ (อนุปาทิเสสนิพพาน คู่กับ สอุปาทิเสสนิพพาน แปลว่า ดับกิเลสแต่ยังดำรงชีวิตอยู่ เช่น การตรัสรู้) ปรินิพพาน นิยมใช้หมายถึง การดับขันธ์ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ส่วนของพระอรหันตสาวกที่เหลือนิยมใช้นิพพานเฉย ๆ ทั้งนี้ นัยว่าเพื่อเป็นการยกย่องพระพุทธเจ้า แต่ในภาษามคธใช้เหมือนกันทั้งสองศัพท์ คือ ใช้สลับกันก็มี ปรินิพพาน สำหรับพระพุทธเจ้านิยมเพิ่มคำว่า "เสด็จดับขันธ์" หรือ "เสด็จดับขันธ" ไว้หน้าด้วย เช่นใช้ว่า "พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา".
ปรินิพพานและพระสารีบุตร · ปรินิพพานและพระโคตมพุทธเจ้า ·
ปัญจวัคคีย์
ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ปัญจวัคคีย์ คือ กลุ่มนักบวชที่ตั้งขึ้นมา เป็นนักบวชที่ปรากฏอยู่ในศาสนาพุทธในฐานะภิกษุชุดแรกที่เข้ามาบวชเป็นสาวก มีทั้งหมด 5 รูป ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ แต่เดิมปัญจวัคคีย์เป็นนักบวชที่ออกบวชติดตามปรนนิบัติพระพุทธเจ้าตั้งแต่เสด็จออกผนวชใหม่ ๆ ทั้งหมดเป็นชาวกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นกลุ่มบุคคลที่ได้ฟังปฐมเทศนาเป็นรุ่นแรก ได้เป็นภิกษุรุ่นแรกและได้เป็นพระอรหันต์รุ่นแรกในพระพุทธศาสนา เฉพาะโกณฑัญญะเป็นผู้เคยทำนายลักษณะพระพุทธเจ้าตั้งแต่ตอนประสูติใหม่ ส่วนอีก 4 ท่าน เป็นบุตรของพราหมณ์ที่ทำนายลักษณะของพระพุทธเจ้าร่วมกับโกณฑัญญะ เพราะมีความเชื่อว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะต้องได้เป็นพระพุทธเจ้าจึงได้ออกบวชตาม ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธองค์ได้แสดงปฐมเทศนาคือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน โกณฑัญญะได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะในด้านรัตตัญญู เรียกว่า มีราตรีนาน คือเป็นผู้รู้ธรรมก่อนใคร และได้บวชก่อนผู้อื่นในพระพุทธศานา จากนั้นพระพุทธองค์ทรงประทาน ปกิณณกเทศนา สั่งสอนที่เหลืออีก 4 ท่าน ให้บรรลุโสดาบันแล้วประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้ ในวันแรม 5 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอนัตตลักขณสูตร ซึ่งมีใจความดังนี้ ขณะสดับพระธรรมเทศนา พระภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ส่งจิตไปตามกระแสพระธรรมเทศนา จิตก็หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ไม่ยึดมั่น ถือมั่นด้วยอุปาทาน สามารถละสังโยชน์ครบ 10 ประการ ได้บรรลุพระนิพพานเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง 5 รูป.
ปัญจวัคคีย์และพระสารีบุตร · ปัญจวัคคีย์และพระโคตมพุทธเจ้า ·
แคว้นมคธ
แผนที่เอเชียใต้ แสดงภาพแคว้นอินเดียโบราณทั้ง 16 แห่ง ซึ่งเรียกรวมกันว่ามหาชนบท แคว้นมคธ (บาลี/สันสกฤต: मगध มะคะธะ) เป็นชื่อแคว้นหนึ่งในจำนวน 16 แคว้นใหญ่ในชมพูทวีปสมัยพุทธกาล มีเมืองหลวงชื่อราชคฤห์ พระราชาที่ปกครองแคว้นมคธสมัยพุทธกาลคือพระเจ้าพิมพิสาร ต่อจากนั้นคือพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นพระราชโอรส แคว้นมคธเป็นแคว้นที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นแห่งแรกเพราะเป็นแคว้นใหญ่ และทรงรับสวนเวฬุวันนอกเมืองราชคฤห์เป็นอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา มคธเป็นชื่อของภาษาด้วยคือภาษามคธ อันเป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกใช้ในการประกาศพระศาสนา ซึ่งต่อมาเรียกว่าภาษาบาลี เพราะเป็นภาษาที่รักษาพระพุทธศาสนาเข้าไว้.
พระสารีบุตรและแคว้นมคธ · พระโคตมพุทธเจ้าและแคว้นมคธ ·
โสดาบัน
ัน (Sotāpanna โสตาปนฺน) แปลว่า ผู้เข้าถึงกระแส (แห่งพระนิพพาน) ถือเป็นอริยบุคคลระดับแรกใน 4 ระดับ คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต.
พระสารีบุตรและโสดาบัน · พระโคตมพุทธเจ้าและโสดาบัน ·
โอวาทปาติโมกข์
ระพุทธรูปปางทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ที่วัดเวฬุวันมหาวิหาร โอวาทปาติโมกข์ เป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา เป็น "ปาติโมกข์" ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงตลอดปฐมโพธิกาล คือ 20 พรรษาแรก เฉพาะครั้งแรกในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (เดือน 3) หลังจากตรัสรู้แล้ว 9 เดือน เป็นการแสดงปาติโมกข์ที่ประกอบด้วยองค์ 4 เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ซึ่งมีเพียงครั้งเดียวในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งๆ หรือจะเรียกว่าเป็นการประกาศตั้งศาสนาก็ได้ (อรรถกถาแสดงไว้ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" นี้ ด้วยพระองค์เอง ท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ตลอด 20 พรรษาแรก หลังจากนั้นทรงบัญญัติให้พระสงฆ์แสดง "อาณาปาติโมกข์" แทน).
พระสารีบุตรและโอวาทปาติโมกข์ · พระโคตมพุทธเจ้าและโอวาทปาติโมกข์ ·
เอหิภิกขุอุปสัมปทา
อหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นชื่อเรียกวิธีบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในสมัยพุทธกาลยุคต้นๆ โดยพระพุทธเจ้าทรงประทานให้ด้วยพระองค์เอง โดยการตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด ตรัสเพียงเท่านี้ ก็เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว เพราะคำตรัสขึ้นต้นว่า เอหิ ภิก... จึงเรียกการอุปสมบทแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา เรียกผู้ได้รับการอุปสมบทว่า เอหิภิกขุ การอุปสมบทแบบนี้ทรงประทานแก่พระอัญญาโกณฑัญญมหาเถระเป็นท่านแรก จึงถือว่าท่านเป็นปฐมสาวกหรือเป็นปฐมเถระในพระพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อมีผู้มาขอบวชมากขึ้นพระพุทธองค์จึงได้ทรงเลิกวิธีอุปสมบทแบบนี้ และทรงเปลี่ยนวิธีใหม่เป็น ติสรณคมนูปสัมปทา และเป็นวิธีญัตติจตุตถกรรมวาจาซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน.
พระสารีบุตรและเอหิภิกขุอุปสัมปทา · พระโคตมพุทธเจ้าและเอหิภิกขุอุปสัมปทา ·
เทวทหะ
ทวทหะ (Devadaha) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกลิยะ 1 ใน มหาชนบทในสมัยพุทธกาล เป็นเมืองที่ประสูติของพระนางสิริมหามายา ผู้เป็นพระราชมารดาของเจ้าชายสิทธัตถะซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และเป็นเมืองพี่เมืองน้องในฐานะพระประยูรญาติของศากยวงศ์และโกลิยวงศ์แห่งแคว้นสักกะ (กรุงกบิลพัสดุ์) และโกลิยะ (กรุงเทวทหะ) เมืองแห่งนี้ ปัจจุบันเหลือเพียงซากโบราณสถานอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนตอนเหนือของประเทศอินเดีย ยังเหลือซากเมืองอยู่เป็นหลักฐาน และไม่ห่างจากเมืองนี้มีสังเวชนียสถานที่สำคัญคือสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าซึ่งเรียกว่าลุมพินีวันปรากฏอยู่ บริเวณลุมพินีมีวัดพุทธของประเทศไทยและของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาอีกหลายวัด เป็นดินแดนที่พุทธศาสนิกชนทั่วโลกนิยมไปแสวงบุญ.
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ พระสารีบุตรและพระโคตมพุทธเจ้า มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระสารีบุตรและพระโคตมพุทธเจ้า
การเปรียบเทียบระหว่าง พระสารีบุตรและพระโคตมพุทธเจ้า
พระสารีบุตร มี 31 ความสัมพันธ์ขณะที่ พระโคตมพุทธเจ้า มี 180 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 23, ดัชนี Jaccard คือ 10.90% = 23 / (31 + 180)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระสารีบุตรและพระโคตมพุทธเจ้า หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: