เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พระวราหะและพระวิษณุ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระวราหะและพระวิษณุ

พระวราหะ vs. พระวิษณุ

ประติมากรรมลอยองค์ขนาดใหญ่ของพระวราหะในลักษณะหมูป่าทั้งองค์ ที่ขชุราโห ประเทศอินเดีย พระวราหะ (lord Varaha) หรือ วราหะอวตาร(Varaha avatar) คือเทวดาองค์หนึ่งในศาสนาฮินดู เป็นอวตารของพระวิษณุ โดยปรากฏตามเนื้อเรื่องในคัมภีร์ปุราณะ อุปนิษัท และคัมภีร์อื่น ๆ ในศาสนาฮินดู มีกายเป็นมนุษย์ แต่ศีรษะเป็นหมูป่า หรือปรากฏองค์เป็นหมูป่าทั้งอง. ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. ศิลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. พระวิษณุ (विष्णु วิษฺณุ) หรือที่รู้จักกันในพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า พระนารายณ์ (नारायण นารายณ) เป็นหนึ่งในสามตรีมูรติ มีหน้าที่คุ้มครองแลดูแลรักษาทั้ง 3 โลกตามความเชื่อของชาวฮินดู จากคัมภีร์พราหมณ์ รูปร่างลักษณะมีพระวรกายจะมีสีที่เปลี่ยนไปตามยุค ฉลองพระองค์ดั่งกษัตริย์ มีมงกุฎทอง อาภรณ์สีเหลือง มี 4 กร ถือ สังข์ จักรสุทรรศน์ คทาเกาโมทกี แต่ที่จะพบเห็นได้บ่อยที่สุดคือถือ จักร์ สังข์ คทา ส่วนอีกกรจะถือ ดอกบัวบ้าง หรือ ไม่ถืออะไรเลยบ้าง (โดยจะอยู่ในลักษณะ"ประทานพร") โดยปรกติ พระวิษณุ จะทรงประทับอยู่ที่เกษียรสมุทร โดยส่วนมากจะบรรทมอยู่บนหลังพญาอนันตนาคราช โดยมีพระชายาคือพระแม่ลักษมีมหาเทวี คอยฝ้าดูแลปรนิบัติอยู่ข้าง ๆ เสมอ พาหนะของพระวิษณุคือ พญาครุฑ พระวิษณุ มีอีกพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า "หริ" แปลว่าผู้ดูแลแห่งจักรวาลถือเป็นเทพสูงสุด เพราะทุกอย่างเกิดจาก "หริ" โดย"หริ"ได้แบ่งตนเองออกเป็น 3 คือ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระวราหะและพระวิษณุ

พระวราหะและพระวิษณุ มี 11 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บัวพระลักษมีพระแม่ภูมีการแกะสลักมนุษย์ศาสนาฮินดูสังข์รดน้ำอวตารประเทศอินเดียปุราณะเทวดา

บัว

ืชในภาษาไทยที่มีชื่อสามัญว่า "บัว" พบในสองวงศ์คือ.

บัวและพระวราหะ · บัวและพระวิษณุ · ดูเพิ่มเติม »

พระลักษมี

รูปปั้นนูนสูงของพระแม่ลักษมีประดับเทวสถานมุนีศวรัม ประเทศศรีลังกา เทวรูปพระลักษมีสำริด ศิลปะโจฬะ อินเดียใต้ พระลักษมี (ลกฺษฺมี) หรือ พระมหาลักษมี เป็นเทพีในศาสนาฮินดู โดยเป็นเทพีแห่งความร่ำรวย โชคชะตา ความรัก ความงาม ดอกบัว และความอุดมสมบูรณ์ รูปเคารพของพระแม่ลักษมีนั้นนอกจากจะพบในศาสนสถานของศาสนาฮินดูแล้ว ยังพบในศาสนสถานของศาสนาเชนและศาสนาพุทธ ในบางแห่งอีกด้วย พระลักษมีนั้นมีความคล้ายคลึงกันกับเทพีของกรีกองค์หนึ่ง คือเทพีอะโฟร์ดิตี้ โดยที่เทพีทั้งสองนี้ ถือกำเนิดจากมหาสมุทรเหมือนกัน และเป็นตัวแทนของความสวยงามเหมือนกันอีกด้วย นอกจากนั้น พระแม่ลักษมี มีกำเนิดจากฟองน้ำ ในคราวเทวดาและอสูร กวนเกษียรสมุทร น้ำอมฤต จึงได้นามว่า ชลธิชา (เกิดแต่น้ำ) หรือ กษีราพธิตนยา (พระธิดาแห่งพระสมุทร) ในขณะที่ผุดขึ้นมานั้นนั่งมาในดอกบัวและมือถือดอกบัวด้วย จึงมีอีกนามหนึ่งว่า ปัทมา หรือ กมลา แต่ในคัมภีร์วิษณุปุราณะจะกล่าวไว้ว่า พระแม่ลักษมีเป็นธิดาของพระฤๅษีภฤคุกับนางขยาติ และยังกล่าวต่อไปอีกว่าพระแม่ลักษมีเป็นมารดา พระกามเทพ ด้วย พระแม่ลักษมี ผู้ศรัทธาจะถือกันว่าเป็น เทพนารีผู้อำนวยโชค มีน้ำพระทัยเมตตาปราณีอยู่เป็นนิจ เป็นตัวอย่างแห่งนางที่งามตลอดทั้งรูปและกิริยามารยาท มีวาจาเปี่ยมด้วยเสน่ห์และไพเราะ ทั้งถือกันว่าเป็นผู้นำมาซึ่งความเจริญทุกประการ นับกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์บรรดาสตรีทุกชั้น ส่วนรูปมักเขียนเป็นสตรีที่งามยิ่งมี 2 กรอย่างธรรมดา (บางแห่งก็ว่ามี 4 กร) สีกายเป็นสีทองเสื้อทรงสีเหลือง นั่งหรือยืนบนดอกบัวและมือถือดอกบัว พระแม่ลักษมี เป็นชายาของ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ เมื่อพระวิษณุได้อวตารเป็นพระราม พระแม่ลักษมีก็ได้อวตารตามไปเป็นนางสีดา และเมื่อพระวิษณุอวตารเป็นพระกฤษณะ ในปางกฤษณาวตาร พระวิษณุอวตารเป็น พระกฤษณะ พระแม่ลักษมีก็ไปเป็น พระนางรุกมิณี หรือ พระนางราธาเทวี ในปางปรศุรามาวตารก็ไปอวตารเป็น พระแม่ธรณี ในปางวามนาวตารก็อวตารไปเป็น พระนางกมลา เป็นต้น คติความเชื่อถือเกี่ยวกับพระแม่ลักษมีในเมืองไทยอาจเห็นว่า ไม่พบมากนักนอกจากปรากฏในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ หรือ รามายณะ ที่เสด็จอวตารลงมาเป็นนางสีดาในรามาวตาร ซึ่งเป็นชนวนเหตุของการรบ ระหว่างทศกัณฐ์ กับพระราม นอกจากนั้นก็ไม่พบได้เด่นชัดนัก.

พระลักษมีและพระวราหะ · พระลักษมีและพระวิษณุ · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่ภูมี

ระแม่ภูมี (भूमि; Bhūmi) หรือ พระแม่ภู เป็นพระเทวีแห่งโลก ปรากฏในตำนานทั้งศาสนาพราหมณ์-ศาสนาฮินดู ในฐานะชายาองค์ที่สองของพระวิษณุ ซึ่งเป็นธิดาองค์ที่3ของท้าวหิมวัตและพระนางเมนกา แล้วยังเป็นพี่น้องกับพระแม่คงคาและพระแม่อุมาเทวีอีกด้วย โดยคล้ายกับความเชื่อเรื่องพระแม่ธรณีในศาสนาพุท.

พระวราหะและพระแม่ภูมี · พระวิษณุและพระแม่ภูมี · ดูเพิ่มเติม »

การแกะสลัก

การแกะสลัก เป็นการใช้เครื่องมือเหลาสิ่งของจากวัสดุหนึ่ง ๆ โดยขูดบางส่วนของวัสดุออกไปให้เป็นรูปร่าง เทคนิคนี้สามารถใช้กับวัสดุใด ๆ ที่แข็งพอที่จะคงรูปแม้จะถูกถอดออกจากชิ้นส่วนเดิม และอ่อนนิ่มพอที่จะสามารถขูดออกได้ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ การแกะสลัก เป็นการทำประติมากรรมวิธีหนึ่ง แตกต่างจากวิธีที่ใช้วัสดุอ่อนและตีเป็นแผ่น ๆ ได้อย่างดินเหนียว หรือแก้วหลอมละลาย ซึ่งอาจถูกดัดแปลงให้เป็นรูปร่างดังที่ต้องการขณะอ่อนนิ่ม และแข็งตัวในรูปร่างนั้น การแกะสลักต้องใช้กำลังงานมากกว่าวิธีการที่ใช้วัสดุที่ตีเป็นแผ่น ๆ ได้.

การแกะสลักและพระวราหะ · การแกะสลักและพระวิษณุ · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

พระวราหะและมนุษย์ · พระวิษณุและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

พระวราหะและศาสนาฮินดู · พระวิษณุและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

สังข์รดน้ำ

ังข์รดน้ำ (Valambari shank, Great indian chank) เป็นหอยทะเลฝาเดี่ยวชนิดหนึ่ง ในวงศ์หอยสังข์มงคล (Turbinellidae) จัดเป็นหอยขนาดใหญ่ มีเปลือกหนา รูปเปลือกค่อนข้างป้อม วงเกลียวตัวกลม ส่วนปลายมีร่องยาวปานกลาง ส่วนยอดเตี้ย ช่องเปลือกรูปรี ขอบด้านในมีสัน 3-4 อัน ผิวชั้นนอกสุดสีน้ำตาล เป็นชั้นที่บางและหลุดล่อนง่าย และมักจะหลุดออกเมื่อหอยตาย เปลือกชั้นรองลงไปเป็นส่วนที่มีความหนาและแข็ง ค่อนข้างเรียบ มีสีขาวนวลหรือสีขาวอมชมพู พบกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะมหาสมุทรอินเดียทางตอนใต้ของประเทศอินเดียและประเทศศรีลังกาเท่านั้น อาศัยอยู่ตามพื้นน้ำที่เป็นพื้นทราย กินหนอนตัวแบนและแพลงก์ตอนเป็นอาหาร สังข์รดน้ำ โดยปกติแล้วจะมีเปลือกเวียนทางซ้าย (อุตราวรรต) ตามเข็มนาฬิกา แต่มีบางตัวที่เวียนไปทางด้านขวา (ทักษิณาวรรต) ซึ่งพบได้น้อยมาก ซึ่งหอยลักษณะนี้ตามคติของศาสนาฮินดูจะถือเป็นมงคล (ตามคติของพราหมณ์-ฮินดู ขว.

พระวราหะและสังข์รดน้ำ · พระวิษณุและสังข์รดน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

อวตาร

กัลกยาวตาร (อัศวินม้าขาว) อวตาร (अवतार, avatāra) คือการที่เทพเจ้าองค์ต่าง ๆ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูแบ่งภาคมาเกิดบนโลกมนุษย์ โดยเทพแบ่งพลังงานส่วนหนึ่งลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ เพื่อทำหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใด ในลัทธิไวษณพถือว่าเมื่อศีลธรรมของมนุษย์เสื่อมลง จนเกิดความเดือดร้อนไปทั่ว พระวิษณุจะอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ การอวตารส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับพระวิษณุ แต่ก็ยังมีที่เชื่อมโยงกับเทวดาอื่น ๆ รายชื่อของพระนารายณ์อวตารปรากฏในคัมภีร์ฮินดูจำนวนมากรวมทั้งอวตารทั้งสิบในครุฑ ปุราณะ และอวตาร 22 ปางในภควัตปุราณะ รวมทั้งที่เพิ่มอีกภายหลังจนนับไม่ถ้วน พระวิษณุอวตารเป็นความเชื่อหลักของลัทธิไวษณพ หลักฐานเกี่ยวกับอวตารยุคแรก ๆ อยู่ในภควัทคีตา มีเรื่องราวเกี่ยวกับอวตารของพระศิวะและพระพิฆเนศ และเทพีต่าง ๆ โดยเฉพาะในหมู่ผู้นับถือลัทธิศักติ อย่างไรก็ตาม อวตารของพระนารายณ์เป็นที่รู้จักมากที.

พระวราหะและอวตาร · พระวิษณุและอวตาร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ประเทศอินเดียและพระวราหะ · ประเทศอินเดียและพระวิษณุ · ดูเพิ่มเติม »

ปุราณะ

ระนางอัมพิกะ หรือทุรคา นำ'''มาตฤกา'''ทั้งแปด ไปรบกับอสูรชื่อ '''รักตพีช''' จากเรื่อง "เทวีมาหาตมยัม" ในคัมภีร์'''มารกัณเฑยปุราณะ''' ปุราณะ (पुराण, purāṇa, เก่าแก่, โบราณ) เป็นชื่อคัมภีร์ที่สำคัญประเภทหนึ่งในศาสนาฮินดู (หรือศาสนาเชน และพุทธศาสนา) โดยมากจะเป็นเรื่องเล่าว่าด้วยประวัติของจักรวาล นับตั้งแต่การสร้าง จนถึงการทำลาย (ประลัย) ลำดับพงศ์กษัตริย์ วีรบุรุษ ฤษี ทวยเทพ ตลอดจนจักรวาลวิทยา ปรัชญา และภูมิศาสตร์ของฮินดูด้วย เนื้อหาในปุราณะมักจะเน้นเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งโดยเฉพาะ เด่นด้วยแนวคิดเชิงศาสนาและปรัชญา ดำเนินเรื่องให้มีบุคคล (มักจะเป็นฤษี) เป็นผู้เล่าเรื่องให้อีกคนหนึ่งฟัง คัมภีร์ปุราณะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ มหาปุราณะ และอุปปุราณ.

ปุราณะและพระวราหะ · ปุราณะและพระวิษณุ · ดูเพิ่มเติม »

เทวดา

ระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทวดา (devatā) หรือ เทพ (deva เทว) ตามคติความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ หมายถึง ชาวสวรรค์ที่เป็นโอปปาติกะ มีกายทิพย์ ตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์ และเสวยสุขในสรวงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นภพภูมิที่ดี เทวดาผู้หญิงเรียกว่า เทวี หรือ "เทพี" หรือ นางฟ้า เทวดาผู้มีมิจฉาทิฐิ เรียกว่า มาร คำว่า เทพเจ้า หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ซึ่งเชื่อว่ามีอำนาจควบคุมธรรมชาติบางอย่าง เช่น สุริยเทพ เทพเจ้าแห่งสายฟ้.

พระวราหะและเทวดา · พระวิษณุและเทวดา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระวราหะและพระวิษณุ

พระวราหะ มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ พระวิษณุ มี 76 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 11, ดัชนี Jaccard คือ 12.09% = 11 / (15 + 76)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระวราหะและพระวิษณุ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: