เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พระวรสารนักบุญยอห์นและมารีย์ชาวมักดาลา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระวรสารนักบุญยอห์นและมารีย์ชาวมักดาลา

พระวรสารนักบุญยอห์น vs. มารีย์ชาวมักดาลา

ระวรสารนักบุญยอห์น (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณยอห์น (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of John; ภาษากรีก: Κατά Ιωαννην, “Kata Iōannēn”) เป็นพระวรสารฉบับที่สี่ของ “พระวรสารในสารบบ ” (Canonical gospels) ซึ่งเป็นเอกสารหนึ่งในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ แต่มิได้ถูกนับเป็นพระวรสารสหทรรศน์สามฉบับซึ่งประกอบด้วยพระวรสารนักบุญมาระโก พระวรสารนักบุญลูกา และ พระวรสารนักบุญมัทธิว พระวรสารนักบุญยอห์น เป็นพระวรสารที่เขียนโดยยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร ชาวคริสต์เชื่อว่าเป็นท่านเดียวกับยอห์นอัครทูตซึ่งเป็น "สาวกที่พระองค์ทรงรัก" (john 13:23 One of his disciples, whom Jesus loved, was reclining at table close to Jesus) ผู้ซึ่งรู้วิถีชีวิตของชาวยิวเป็นอย่างดี และได้อ้างถึงขนบธรรมเนียมของชาวยิวอยู่หลายบทในพระวรสารเล่มนี้ ยอห์นเป็นอัครทูตแห่งความรัก ไม่มีใครบรรยายถึงพระลักษณะของพระเจ้าได้อย่างยอห์น เช่น "เพราะว่าพระเจ้าทรงรักโลก จนได้ทรงประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่วางใจในพระบุตรนั้นจะไม่พินาศ แต่มีชีวิตนิรันดร์" กับอีกหลายเหตุการณ์ที่ยอห์นบรรยายถึงพระเยซูได้อย่างจับใจ แสดงว่าเรื่องราวต่างๆถูกบันทึกจากความทรงจำที่ได้เห็นมากับตา พระวรสารเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นประมาณปี..85 หรือหลังจากนั้นเล็กน้อย เช่นเดียวกับพระวรสารอีกสามฉบับที่เล่าเรื่องชีวิตของพระเยซูคริสต์ แต่บางเหตุการณ์มีการตีความอย่างละเอียด พระวรสารนักบุญยอห์นเป็นพระวรสารของ “ความเชื่อ” ที่เขียนขึ้นเพื่อจะยืนยันกับผู้อ่านว่าพระเยซูเป็น "พระเมสสิยาห์" และเป็น “พระบุตรพระเป็นเจ้า” ดังที่ปรากฏอยู่ในพระวรสารว่า "แต่การที่ได้บันทึกเหตุการณ์เหล่านี้ไว้ ก็เพื่อท่านทั้งหลายจะได้เชื่อว่า พระเยซูทรงเป็นพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า และเมื่อมีความเชื่อแล้ว ท่านก็จะมีชีวิตโดยพระนามของพระองค์" *คือการเข้าอาศัยอยู่ในพระเยซูคริสต์ รักษาชีวิตให้บริสุทธิ์ดั่งพระองค์ เชื่อและปฏิบัติตามคำสั่ง และคำสอนของพระองค์ ในแง่ของเทววิทยาศาสนาคริสต์แล้ว พระวรสารนักบุญยอห์นเป็นฉบับที่มีน้ำหนักที่สุดในทางคริสตวิทยา (Christology) ซึ่งบรรยายพระเยซูพระบุตรของพระเจ้าว่าเป็น “พระวจนะ” (Logos) (ภาษากรีกหมายความว่า “คำ” “เหตุผล” “ความเป็นเหตุเป็นผล” “ภาษา” หรือ “โอวาท”) ผู้เป็น “Arche” (ภาษากรีกหมายความว่า “ผู้เป็นตัวตนมาตั้งแต่ต้น” หรือ “เป็นสิ่งที่สุดของทุกอย่าง”), กล่าวถึงความเป็นผู้ที่มาช่วยมวลมนุษย์ และประกาศพระองค์ว่าเป็นพระเจ้า พระวรสารของยอห์นได้รับการทรงนำจากพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมเป็นอย่างมาก บทเริ่มต้นของพระวรสารนำผู้อ่านกลับไปสู่ช่วงก่อนกาลเวลา ซึ่งมีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่ทรงเป็นอยู่ คล้ายกับบทเริ่มต้นในพระธรรมปฐมกาลที่พระเจ้าทรงสร้างโลก รวมทั้งการกล่าวถึงเทศกาลของชาวยิวอยู่บ่อยๆ "ใน​ปฐม​กาล​พระ​วาทะ​ดำรง​อยู่ และ​พระ​วาทะ​ทรง​สถิต​อยู่​กับ​พระ​เจ้า และ​พระ​วาทะ​ทรง​เป็น​พระ​เจ้า ใน​ปฐม​กาล​พระ​องค์​ทรง​ดำรง​อยู่​กับ​พระ​เจ้า​ ​พระ​เจ้า​ทรง​สร้าง​สิ่ง​ทั้ง​ปวง​ขึ้น​มา​โดย​พระ​วาทะ ใน​บรรดา​สิ่ง​ที่​เป็นมา​นั้น ไม่​มี​สัก​สิ่ง​เดียว​ที่​ได้​เป็นมา​นอกเหนือ​พระ​วาทะ​ ​พระ​องค์​ทรง​เป็น​แหล่ง​ชีวิต และ​ชีวิต​นั้น​เป็น​ความ​สว่าง​ของ​มนุษย์​ ความ​สว่าง​ส่อง​เข้า​มา​ใน​ความ​มืด และ​ความ​มืด​หา​ได้​ชนะ​ความ​สว่าง​ไม่" (john 1:1-5) พระวรสารฉบับนี้กล่าวถึงพระเยซูอย่างมีเนื้อหา มีคำสอนเป็นอันมากที่พระองค์ทรงสอนกับสาวก อีกทั้งยังได้บันทึกเหตุการณ์บางอย่างที่พระวรสารเล่มอื่นไม่ได้กล่าวถึงไว้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาที่เรียกว่า "ห้องชั้นบน" เป็นช่วงเวลาของการร่วมรับประทานอาหารค่ำมื้อสุดท้าย พระเยซูคริสต์ตรัสเป็นส่วนตัวกับเหล่าสาวกของพระองค์ถึงเรื่องความรอด ประตูซึ่งนำไปสู่ความรอด พระบัญญัติแห่งพระเยซู ความรักที่พระองค์มีให้ต่อเหล่าสาวก การเปิดเผยถึงการทรยศของยูดาส อิสคาริโอท​ การสำแดงพระเจ้าและพระเยซูคริสต์ถึงความเป็นหนึ่งเดียว การเปิดเผยและทำนายการตายของพระองค์เอง และฟื้นขึ้นในวันที่สาม และความชื่นชมยินดี ยอห์นได้รับการทรงนำในการเขียนพระวรสารเล่มนี้ และพระวรสารเล่มนี้ได้บอกให้ทราบว่า พระเยซูทรงเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า เพราะว่าตั้งแต่ก่อนที่พระเยซูคริสต์จะเสด็จเข้ามาในโลก พระองค์ทรงดำรงอยู่กับพระเจ้า และยอห์นได้เน้นคุณลักษณะความเป็นมนุษย์ของพระเยซู เช่น พระองค์มีความรู้สึกเหมือนมนุษย์ มีการกันแสงด้วยความเศร้าเสียใจ ฯลฯ ยอห์นยังได้บันทึกพระวรสารเล่มนี้ เพื่อให้ผู้ใดที่เชื่อในพระเยซู แล้ว "ก็จะมีชีวิตโดยพระนามของพระองค์" *พระองค์โปรดประทานพระนามพระองค์ให้เหล่าผู้เชื่อ เพื่อเป็นสิทธิอำนาจในการอธิษฐาน และเกิดขึ้นจริงตามนั้นโดยพระนามของพระองค์ และยอห์นบอกเล่าถึงเหตุการณ์ล่วงหน้า เช่น "เราเป็นผู้เลี้ยงที่ดี ผู้เลี้ยงที่ดีนั้นย่อมสละชีวิตของตนเพื่อฝูงแกะ" ซึ่งนำมาสู่การสิ้นพระชนม์บนกางเขนของพระองค์ เพื่อไถ่บาปแก่คนที่เชื่อในพระองค์ทั้งสิ้น ให้ได้รับความรอดจากการถูกพิพากษา เป็นต้น พระวรสารนักบุญยอห์น ใช้ “ยอห์น” หรือ “ยน” ในการอ้างอิง. มารีย์ชาวมักดาลา หรือพบเขียนว่าแมรี แม็กดาเลน (Μαρία ἡ Μαγδαληνή, Mary Magdalene) เป็นหนึ่งในผู้ติดตามพระเยซูที่ได้รับการสรรเสริญสูงสุดคนหนึ่ง และเป็นสาวกสตรีคนสำคัญที่สุดในการเคลื่อนไหวของพระเยซู พระเยซูทรงขับ "เจ็ดผี" ออกจากตัวนาง ซึ่งตามฉบับนั้นตีความว่าหมายถึงอาการป่วยอันซับซ้อนSaint Mary Magdalene.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระวรสารนักบุญยอห์นและมารีย์ชาวมักดาลา

พระวรสารนักบุญยอห์นและมารีย์ชาวมักดาลา มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระวรสารพระวรสารนักบุญมัทธิวพระวรสารนักบุญมาระโกพระวรสารนักบุญลูกาพระเยซูยอห์นอัครทูตยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร

พระวรสาร

ระวรสาร (โรมันคาทอลิก) หรือพระกิตติคุณ (โปรเตสแตนต์) (Gospels) เป็นหนังสือหมวดแรกในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ รู้จักในอีกนามหนึ่งว่า พระวรสารในสารบบ (Canonical gospels) เพราะเป็นพระวรสารที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคริสตจักรให้รวมในสารบบคัมภีร์ไบเบิลได้ คำว่า “gospel” มาจากภาษาอังกฤษเก่า แปลว่า “ข่าวดี” (คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยของชาวโปรเตสแตนต์แปลว่า "ข่าวประเสริฐ") มีนัยความหมายในคติของศาสนาคริสต์ถึง "การประกาศข่าวดี" ว่าบัดนี้ พระยาห์เวห์ได้ทรงประทานพระบุตรของพระองค์มารับสภาพมนุษย์เป็นพระเยซูแล้ว เพื่อประทานความรอดแก่มวลมนุษย์ ให้พ้นจากบาปและความทุกข์ และกลับเข้าสนิทกับพระเจ้าเช่นเดิม สู่แผ่นดินสวรรค์ ตามคำพยากรณ์ของผู้เผยพระวจนะในพันธสัญญาเดิม พระวรสารในสารบบมีอยู่ 4 เล่ม ในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ที่มีเนื้อหาโดยตรงเกี่ยวกับพระเยซู บรรยายถึงกำเนิด คำเทศนา การตรึงกางเขน และการคืนพระชนม์ ทั้ง 4 เล่มถูกตั้งชื่อตามชื่อผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้เขียน โดยเขียนขึ้นเมื่อระหว่าง ค.ศ. 65 ถึง ค.ศ. 100 ได้แก่ สามเล่มแรกเรียกว่าพระวรสารสหทรรศน์ เนื่องจากมีมุมมองในชีวิตของพระคริสต์ที่คล้ายกัน ขณะที่พระวรสารนักบุญยอห์น มีแง่มุมทางเทววิทยาและจิตวิญญาณที่ต่างออกไป.

พระวรสารและพระวรสารนักบุญยอห์น · พระวรสารและมารีย์ชาวมักดาลา · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารนักบุญมัทธิว

ระวรสารนักบุญมัทธิว (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณมัทธิว (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of Matthew) เป็นหนังสือพระวรสารในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นหนึ่งในสี่ “พระวรสารในสารบบ” และเป็นหนึ่งในสาม “พระวรสารสหทรรศน์” แม้พระวรสารนักบุญมัทธิวไม่มีชื่อกำกับไว้ว่าใครเป็นผู้เขียน แต่ตั้งแต่คริสตชนตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกก็เชื่อกันสืบมาว่าเขียนโดยมัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร อัครทูต และคนเก็บภาษี หนังสือเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นก่อนที่กรุงเยรูซาเล็มจะพินาศในปี..

พระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญยอห์น · พระวรสารนักบุญมัทธิวและมารีย์ชาวมักดาลา · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารนักบุญมาระโก

ระวรสารนักบุญมาระโก (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณมาระโก (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of Mark) เป็นพระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ และเป็นพระวรสารหนึ่งใน “พระวรสารสหทรรศน์” สามฉบับ ผู้เขียนไม่ได้ระบุนามของตนเองไว้ แต่เชื่อกันทั่วไปว่าเขียนโดยมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร ซึ่งเป็นบุตรชายของมารีย์ และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับบารนาบัส มาระโกได้ร่วมเดินทางกับเปาโลและบารนาบัสในการเดินทาง เพื่อทำการประกาศข่าวดีครั้งแรก เปาโลกล่าวถึงมาระโกในฐานะของเพื่อนในกรุงโรมและยกย่องการรับใช้ของเขาเป็นอย่างสูง เชื่อกันว่าในบรรดา “พระวรสารในสารบบ” ทั้งสี่เล่ม พระวรสารนักบุญมาระโก ถูกเขียนขึ้นเป็นฉบับแรก ในช่วงก่อนสงครามกลางเมืองในกรุงโรม เพราะฉะนั้นหนังสือเล่มนี้น่าจะถูกเขียนในราว..55 คริสตจักรยุคแรกมีความเห็นตรงกันว่า เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ถอดแบบมาจากคำสอนของเปโตร โดยเน้นที่การบันทึกข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จากลีลาการเขียนแสดงถึงการเขียนขึ้นอย่างเร่งรีบ ไม่ถูกผ่านการขัดเกลาให้สละสลวย ทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่า หลายเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที การกระทำต่าง ๆ ที่ได้บันทึกไว้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสังเกตได้จากคำว่า "ในทันใดนั้น" ถูกใช้มากกว่า 40 ครั้ง แม้ว่า พระวรสารนักบุญมาระโก จะมีความยาวน้อยที่สุดในบรรดาพระวรสารทั้งสี่เล่ม แต่ในบางเหตุการณ์กลับถูกบันทึกไว้โดยละเอียด นอกจากนี้ ยังมีบางบทที่ได้อธิบายถึงขนบธรรมเนียมของชาวยิวไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านชาวโรมันจะเข้าใจได้ วัตถุประสงค์ของ พระวรสารนักบุญมาระโก มีอยู่ 4 ประการ โดยประการแรกสำคัญที่สุดคือ มาระโกต้องการให้ผู้อ่านทราบว่า ข่าวดีคืออะไร นั่นคือการที่พระเยซูสิ้นพระชนม์เพื่อไถ่บาปของเรา ถูกฝังไว้แล้วเป็นขึ้นมาอีกครั้ง ดังนั้นมาระโกจึงให้ความสำคัญของเรื่องราวตั้งแต่การสิ้นพระชนม์ จนถึงการคืนพระชนม์ของพระเยซูมากกว่าเรื่องอื่น หนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 16 บท ใน 10 บทแรก บันทึกเรื่องราวตั้งแต่พระเยซูรับบัพติศมา จนถึงเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งเป็นระยะเวลาประมาณ 3 ปี ในขณะที่อีก 6 บทที่เหลือ เป็นการบันทึกเรื่องราวช่วงสุดท้ายของชีวิตพระเยซู ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียงแค่สัปดาห์เดียว แสดงให้เห็นว่ามาระโกต้องการเน้นว่า ข่าวดีคือหัวใจของหนังสือเล่มนี้ ประการที่สองที่มาระโกต้องการกล่าวคือ แม้ว่าพระเยซูคือพระบุตรพระเป็นเจ้า แต่พระเยซูทรงเป็นมนุษย์ พระองค์มีความรู้สึกเหน็ดเหนื่อย หิวโหย อ่อนล้า ฯลฯ เหมือนกับมนุษย์ พระเยซูจึงทรงเป็นแบบอย่างในการตอบสนองต่อความรู้สึกต่าง ๆ ดังนั้นในฐานะของคริสต์ศาสนิกชน ทุกคนควรเรียนรู้จากพระองค์และตอบสนองด้วยท่าทีอย่างเดียวกัน ประการที่สาม มาระโกเขียนเพื่อหนุนใจคริสเตียนที่ถูกกดขี่ข่มเหง เมื่อพระเยซูทรงยืนหยัดในขณะที่ถูกต่อต้าน จะเป็นกำลังใจให้กับคริสเตียนที่อยู่ในภาวะเดียวกันได้ ประการสุดท้าย มาระโกต้องการให้ผู้อ่านทราบถึงฤทธิ์อำนาจของพระเยซู ซึ่งมีชัยชนะเหนือผี โรคร้าย และความตายได้ พระวรสารนักบุญมาระโก ใช้ “มาระโก” หรือ “มก” ในการอ้างอิง.

พระวรสารนักบุญมาระโกและพระวรสารนักบุญยอห์น · พระวรสารนักบุญมาระโกและมารีย์ชาวมักดาลา · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารนักบุญลูกา

ระวรสารนักบุญลูกา (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณลูกา (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of Luke) เป็นพระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ และเป็นพระวรสารหนึ่งใน “พระวรสารสหทรรศน์” สามฉบับ แม้ว่าจะไม่ปรากฏชื่อผู้เขียนพระวรสารเล่มนี้ แต่จากหลักฐานที่เชื่อถือได้เป็นจำนวนมากระบุตรงกันว่าเขียนโดยลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร ผู้ซึ่งไม่ได้เป็นชาวยิว แต่น่าจะเป็นชาวกรีก เพราะมีความรู้ในเรื่องวัฒนธรรมของชาวกรีกเป็นอย่างดี เคยเป็นเพื่อนร่วมเดินทางไปประกาศกับเปาโลหลายครั้ง นอกจากนี้ลูกายังมีอาชีพเป็นนายแพทย์ในสมัยนั้นด้วย พระวรสารเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นระหว่างปี..59 - 63 จากลักษณะของโครงสร้างและภาษาที่ใช้ในพระวรสารเล่มนี้ เหมือนกันกับในหนังสือกิจการของอัครทูต ดังนั้นเป็นไปได้อย่างยิ่งว่า ลูกาเป็นผู้เขียนหนังสือกิจการของอัครทูตด้วย จากพระวรสารในสารบบทั้งหมด 4 เล่ม พระวรสารนักบุญลูกา เป็นพระวรสารเล่มที่ยาวที่สุด และจัดว่าเป็นพระวรสารที่มีเนื้อหาที่สวยงามที่สุด เขียนเล่าเรื่องราวของพระเยซูได้ครบถ้วนและตามลำดับเหตุการณ์มากที่สุด สาระสำคัญของพระวรสารเล่มนี้คือ ความรู้สึกปิติยินดีที่พระเยซูนำความหวังและการไถ่บาปมาสู่โลกมนุษย์ ความรักที่พระเยซูมีต่อมนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะคนยากจนและผู้ถูกกดขี่ข่มเหง สังเกตได้จากคำอุปมาที่พระเยซูตรัสสั่งสอน ซึ่งผู้อ่านจะรู้สึกได้ตลอดทั้งเล่ม แรกเริ่มลูกาผู้นิพนธ์พระวรสารเขียนพระวรสารเล่มนี้ขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่โรมันคนหนึ่งชื่อ เธโอฟิลัส ได้อ่าน โดยเขียนขึ้นจากมุมมองของชาวกรีก จากลักษณะการเขียนที่มีการอ้างอิงเหตุการณ์ต่างๆกับเวลาที่เกิดขึ้น แสดงว่าผู้เขียนต้องเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูง เพราะข้อมูลที่เขียนผ่านการค้นคว้ามาอย่างละเอียด ตัวอย่างเช่น "เมื่อปีที่สิบห้า ในรัชกาลทิเบริอัสซีซาร์ ปอนทิอัส ปีลาตเป็นเจ้าเมืองยูเดีย เฮโรดเป็นเจ้าเมืองกาลิลี ฟีลิปน้องชายของเฮโรดเป็นเจ้าเมืองอิทูเรียกับเมืองตราโคนิติส ลีซาเนียสเป็นเจ้าเมืองอาบีเลน และอันนาสกับคายาฟาสเป็นมหาปุโรหิต คราวนั้นพระวจนะของพระเจ้ามาถึงยอห์นบุตรเศคาริยาห์ในถิ่นทุรกันดาร" ซึ่งก็ตรงกับคุณสมบัติของผู้ที่มีอาชีพนายแพทย์เป็นอย่างดี ลูกาเขียนพระวรสารเล่มนี้ขึ้นจากการศึกษาและวิจัย โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งกับคนที่อยู่แวดล้อมพระเยซูมาตั้งแต่ต้น และประกอบกับเอกสารต่างๆมากมาย ลูกามีวัตถุประสงค์ในการเขียนพระวรสารเล่มนี้อยู่ 5 ประการ หนึ่งคือ ต้องการให้ประจักษ์ว่าพระเยซูเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์โลก ลูกาได้ลำดับพงศ์ของพระเยซูย้อนไปจนถึงสมัยอาดัม นั่นคือตั้งแต่พระเจ้าเริ่มสร้างโลก แม้ว่าข้อมูลนี้จะมีความหมายไม่มากนักสำหรับชาวกรีก แต่ข้อมูลนี้ทำให้พระเยซูถูกบันทึกเป็นประวัติศาสตร์โลก ประการที่สองคือ ลูกาต้องการบันทึกเรื่องราวของพระเยซูในช่วงที่ยังทรงพระเยาว์ ซึ่งไม่มีพระวรสารเล่มใดบันทึกไว้ ประการที่สามคือ ลูกาต้องการให้ผู้อ่านทราบว่าพระเยซูนำข่าวดีมายังคนยากจน คนที่ถูกกดขี่ข่มเหง คนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในโลก กลุ่มคนเหล่านี้รู้สึกท้อแท้ เนื่องจากรู้สึกว่าไม่ได้มีอะไรเท่าคนร่ำรวย และคิดว่าชีวิตไม่มีค่า แต่พระเยซูเสด็จมาเพื่อปลดปล่อยให้เป็นไท และประกาศถึงแผ่นดินสวรรค์ที่รออยู่ในโลกหน้า ประการที่สี่คือ ลูกาต้องการให้ความสำคัญกับผู้หญิง โดยบันทึกบทบาทของผู้หญิงในหมู่สาวกของพระเยซู ประการที่ห้าคือ ลูกาต้องการให้ผู้อ่านทราบว่า พระกิตติคุณของพระเยซูเป็นสากล มาถึงคนทุกชาติ ไม่ใช่เฉพาะชนชาติใดชาติหนึ่ง พระวรสารนักบุญลูกา ใช้ “ลูกา” หรือ “ลก” ในการอ้างอิง.

พระวรสารนักบุญยอห์นและพระวรสารนักบุญลูกา · พระวรสารนักบุญลูกาและมารีย์ชาวมักดาลา · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

พระวรสารนักบุญยอห์นและพระเยซู · พระเยซูและมารีย์ชาวมักดาลา · ดูเพิ่มเติม »

ยอห์นอัครทูต

นักบุญยอห์นอัครทูตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 59-60 (John the Apostle; Ιωάννης) เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เกิดเมื่อราว..

พระวรสารนักบุญยอห์นและยอห์นอัครทูต · มารีย์ชาวมักดาลาและยอห์นอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

ยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร

อห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร (John the Evangelist; “יוחנן” (The LORD); ภาษาฮีบรูมาตรฐาน: “Yoḥanan”, ภาษาฮีบรูไทบีเรียน: “Yôḥānān”) หรือที่เรียกว่า “สาวกผู้เป็นที่รัก” (Beloved Disciple)) (เสียชีวิตประมาณปี..

พระวรสารนักบุญยอห์นและยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร · มารีย์ชาวมักดาลาและยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระวรสารนักบุญยอห์นและมารีย์ชาวมักดาลา

พระวรสารนักบุญยอห์น มี 21 ความสัมพันธ์ขณะที่ มารีย์ชาวมักดาลา มี 29 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 14.00% = 7 / (21 + 29)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระวรสารนักบุญยอห์นและมารีย์ชาวมักดาลา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: