พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)และเจริญใจ สุนทรวาทิน
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)และเจริญใจ สุนทรวาทิน
พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) vs. เจริญใจ สุนทรวาทิน
ระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เป็นบุตรคนโตของขุนกนกเรขา (ทองดี) กับนางนิ่ม เกิดเมื่อวันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2403 ณ บ้านเลขที่ 81 ตรอกไข่ ถนนบำรุงเมือง ตำบลหลังวัดเทพธิดา กรุงเทพมหานคร มีพี่น้องร่วมบิดามารดาอีก 4 คน คือ 1 ชาย ชื่อ เปลี่ยน 2 ชาย ชื่อ แย้ม 3 หญิง ชื่อ สุ่น 4 หญิง ชื่อ นวล ต่อมารับราชการ ตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทูลขอพระราชทานบรรดาศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้นายแปลกเป็นที่ “ขุนประสานดุริยศัพท์" นับจากนั้นก็ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์มาเป็นลำดับ จนได้เป็นที่ “พระยาประสานดุริยศัพท์” เจ้ากรมปี่พาทย์หลวง ในสมัยรัชกาลที่ 6 ในวัยเยาว์ท่านได้เรียนหนังสือที่บ้านตนเองจนกระทั่งโตเป็นหนุ่มตามกระแสข่าวกล่าวว่าท่านได้เรียนดนตรีไทยกับ ครูถึก ดุริยางกูร ต่อมาท่านได้เรียนปี่ชวากับครูชื่อ “หนูดำ” ซึ่งต่อมาได้สละการเป็นครูโดยถือศีลในถ้ำภูเขาทองลูกศิษย์เอกของครูหนูดำคือ ครูแปลกและนายทอง ส่วนวิชาดนตรีปี่พาทย์อย่างอื่น ได้ศึกษาอย่างจริงจังกับครูช้อย สุนทรวาทิน (บิดาของพระยาเสนาะดุริยางค์)ครั้งแรกนายแปลกรับราชการดมื่ออายุ 14 ปีเศษในตำแหน่งหมื่นทรงนรินทร์ ในกระทรวงนครบาล ต่อมาจึงลาออกจากงานที่กระทรวงนครบาล ในปี พศ 2419 อายุ 17 ปีจึงสมรสกับ นางสาว พยอม คนราชบุรีมีบุตรทั้งหมด 11 คน ถึงแก่กรรมแต่เล็ก 6 คน จึงเหลือบุตรเพียง 5 คน คือ 1 หญิง ชื่อ มณี ประสานศัพท์ 2 หญิง ชื่อ เสงี่ยม ประสานศัพท์ 3 หญิง ชื่อ ประยูร ประสานศัพท์ 4 ชาย ชื่ ปลั่ง ประสานศัพท์ 5 หญิง ชื่อ ทองอยู่ ประสานศัพท์ อาจารย์ มนตรี ตราโมทลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด กล่าวว่า ท่านมิได้เล่าว่าเริ่มเรียนดนตรีไทยมาจากที่ใด แต่ในการเป่าปี่ท่านบอกเรียนมาจากครูช้อย สุทรวาทิน ครั้งหนึ่งเมื่อคุยกันถึงพระประดิษฐไพเราะท่านเล่าว่าครูช้อยเคยพาท่านไปหาครูมีแขกและท่านให้เป่าปี่ให้ครูมีแขกฟังสองเพลงซึ่งจำไม่ได้ว่าเพลงอะไร ครูมีแขกฟังแล้วบอกว่า เป่าดีใช้ได้ซึ่งแสดงว่าครูมีแขกเป็นคนผู้น้อย ต่อมาท่านก็สนใจในเครื่องสายจึงได้เป็นลูกศิษย์ครูถึก ดุริยางกูรส่วนปี่พาทย์นั้นเรียนกับใครไม่ปรากฏแต่ครูคนสุดท้ายคือ ครูช้อย สุนทรวาทิน ซึ่งครูเลื่องลือในทางระนาดและทางฆ้องมีใจรักในพระยาประสานดุริยศัพท์ดังลูกมีวิชาเท่าไรก็ถ่ายทอดให้หมดและความสามารถนี้เองทำให้ครูทีแขก ปรารภว่าทำอย่างไรจึงจะได้ยินนายแปลกเป่าปี่ครั้นท่านเจ้าคุณได้ยินดังนั้นก็รีบนำปี่ไปเป่าเพลงทยอยเดี่ยวให้ครูมีแขกฟังทันทีครูมีแขกกล่าวว่า เก่ง ไม่มีใครสู้ แล้วสอนเพลงทยอยเดี่ยวให้อีกนิ้วหนึ่ง ท่านเจ้าคุณประสานเป็นผู้เสาะหาครูดีเสมอ ครูมนตรี ตราโมท กล่าวว่าส่วนเรื่องในการเป่าปี่ชวานั้นท่านเรียนกับครูช้อย ต่อมาต้องการเรียนเพลงเรื่องชมสมุทรอันเป็นเพลงเรื่องปี่ชวาในวงเครื่องสายปี่ชวาเลยได้เรียนกับครูดำ ครูดำผู้นี้ชอนย้ายที่อยู่ไเรื่อยเห็นจะหนีผู้รบกวนเนืองจากเป็นผู้มีฝีดนตรีมากท่านเล่าว่าเมื่อจะเพลงเรื่องชมสมุทรต้องไปขอเรียนในถ้ำภูเขาทองต้องพยายามเข้าไปเรียนวันกว่าจะต่อจบ ความรู้ความสามารถของพระยาประสานดุริยศัพท์นั้น เป็นที่กล่าวขวัญเรื่องลือว่า ท่านเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยฝีมือ ความรู้ ปฏิภาณ ไหวพริบ ท่านเป็นครู และเป็นศิลปินที่หาได้ยากยิ่งโดยเฉพาะขลุ่ย ปี่ ระนาดจนเมื่อปี พ.ศ. 2428 ท่านได้รับเลือกให้ไปร่วมงานมหกรรรมสินค้าและดนตรีนานาชาติ กรุงลอนดอนที่ประเทศอังกฤษครั้งนั้นประเทศไทยได้ส่งนักดนตรีไป 19 คนโดยครั้งนั้นนายแปลกยังอายุ 25 ปี อาจารย์มนตรี ตราโมท เล่าว่า รัฐบาลอังกฤษได้จัดงานมหกรรมสินค้าและดนตรีนานาชาติจึงได้เชิญประเทศสยามให้ส่งดนตรีไปแสดงในครั้งนั้นได้ส่งนักดนตรีไทยไปส่วนใหญ่เป็นดนตรีของวังบูรพาภิรมย์แทบทั้งหมดซึ่งในการแสดลครั้งนั้นนำซอสามสายไปด้วยและเป็นเคราะห์นี้ที่มีมือดีได้บันทึกเรื่องราวคือนายคร้ามเป้นคนซอสามสายโดยนักดนตรีทั้ง 19 คนคือจางวางทองดี นายตาด นายยิ้ม นายเปีย นายนวล นายเนตร นายต่อง นายฉ่าง นายคร้าม นายชุ่ม นายสิน นายสาย นายแปลก นายเหม นายเปลี่ยน นายอ๋อย นายเผื่อน นายปลั่ง นายสังจีนแต่เมื่อถึงอังกฤษมีคนเสรยชีวิตคนหนึ่งคือนายสังจีนบรรเลงครั้งแรกเมื่อ 8 มิถุนายน 2428 เป้นเวลาสามเดือนซึ่งผลของการบรรเลงขลุ่ยของนายแปลกเป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเป็นอย่างยิ่งถึง กับรับสั่งขอฟังเพลงขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์ในพระราชวังบัคกิ้งแฮมอีกครั้ง การบรรเลงครั้งหลังนี้สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงลุกจากที่ประทับและใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯ พร้อมทั้งรับสั่งถามว่า เวลาเป่านั้นหายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอดเวล. ริญใจ สุนทรวาทิน (16 กันยายน พ.ศ. 2458 - 10 เมษายน พ.ศ. 2554) เป็นศิลปิน และนักวิชาการชาวไทยด้านศิลปวัฒนธรรมแบบราชสำนัก มีความสามารถในด้านการละคร ชำนาญในการบรรเลงเครื่องดนตรีไทยประเภทวงเครื่องสายและวงมโหรี โดยเฉพาะซอสามสาย มีความเชี่ยวชาญในการขับร้องเพลงประกอบการแสดงนาฏกรรม รวมถึงเพลงไทยเพื่อการฟังตามแบบฉบับและแนวทางร่วมสมัย กล่าวได้ว่า เป็นผู้ที่มีน้ำเสียงไพเราะ ขับร้องด้วยอารมณ์อันสมจริง ประณีตละเมียดละไม ได้อรรถรสของวรรณคดี ได้รับการขนานนามจากนักดนตรีไทยว่าเป็น “เพชรประดับมงกุฎแห่งคีตศิลป์ไทย” เจริญใจ สุนทรวาทิน เป็นที่รู้จักในวงการเพลงไทยตั้งแต่วัยเยาว์ เคยเป็นข้าราชบริพารในยุคก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เคยได้รับรางวัลชนะเลิศระดับชาติจากการประกวดขับร้องเพลงไทย เป็นครูผู้ควบคุมวงดนตรีและสอนการขับร้องเพลงไทย เป็นอาจารย์ผู้ถวายงานสอนดนตรีและขับร้องแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์) ประจำปีพุทธศักราช 2530 จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาต.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)และเจริญใจ สุนทรวาทิน
พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)และเจริญใจ สุนทรวาทิน มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน)กรุงเทพมหานคร
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)และเจริญใจ สุนทรวาทิน มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)และเจริญใจ สุนทรวาทิน
การเปรียบเทียบระหว่าง พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)และเจริญใจ สุนทรวาทิน
พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) มี 12 ความสัมพันธ์ขณะที่ เจริญใจ สุนทรวาทิน มี 75 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 3.45% = 3 / (12 + 75)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)และเจริญใจ สุนทรวาทิน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: