เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พระมะเหลเถไถและรายชื่อวรรณคดีไทย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระมะเหลเถไถและรายชื่อวรรณคดีไทย

พระมะเหลเถไถ vs. รายชื่อวรรณคดีไทย

ระมะเหลเถไถ เป็นกลอนบทละครที่ประพันธ์โดยคุณสุวรรณ ที่ประพันธ์ขึ้นตามจินตนาการและแต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 มีความแปลกที่แต่งขึ้นเป็นภาษาบ้าง ไม่เป็นภาษาบ้างปะปนกันไปแต่ต้นจนปลาย แต่ใครอ่านก็เข้าใจความได้ตลอดเรื่อง ถูกกล่าวหาในสมัยนั้นว่าแต่งเมื่อ “เสียจริต” หรือ “มีสติฟุ้งซ่านผิดปกติ” เป็นเรื่องแปลกในวงการกวียุคนั้น ส่วนใหญ่วางถ้อยคำที่ไม่เป็นภาษาไว้ใน 3 คำท้ายวรรคทุกวรรค กระบวนการแต่งกลอนบทละครก็ดำเนินไปตามธรรมเนียมการแต่งตามแบบฉบับของบทละคร มีการระบุชื่อเพลงที่ใช้ในการขับร้อง ขึ้นกลอนด้วยคำว่า “เมื่อนั้น” “บัดนั้น” “มาจะกล่าวบทไป” มีบทสระสรงแต่งองค์ทรงเครื่องของตัวละคร มีบทพรรณนาธรรมชาติ มีบทเกี้ยวพาราสี บทชมนาง เป็นต้น เนื้อเรื่องกล่าวถึง พระมะเหลเถไถ โอรส ท้าวโปลากะปาหงัน และ นางตาลากะปาลัน แห่งเมืองกะโปลา เมื่อพระมเหลเถไถประพาสป่าพระอินทร์อุ้มสมจนได้นางตะแลงแกง พระธิดา ท้าวมะไล เป็นชายา ขณะที่เดินทางกลับ เกิดรบชิงนางกับเจ้ายักษ์มาลาก๋อย ผลงานนี้สร้างชื่อเสียงแก่คุณสุวรรณเป็นอย่างมาก จนทำให้เป็นที่รู้จักทั้งในหมู่หญิงชาววังและชนชั้นสูงทั่วไป โดยบทละครทั้งพระมะเหลเถไถและอุณรุทร้อยเรื่อง ได้รับการตีพิมพ์ในสมุดที่เรียกว่า เรื่องพระมะเหลเถไถเรื่อง 1 กับอุณรุทร้อยเรื่อง บทละครเรื่องนี้ยังเป็นวรรณกรรมที่วิพากษ์งานวรรณกรรมด้วยกันด้วย โดยล้อเลียนวรรณคดีแบบฉบับโดยเฉพาะบทละครใน เป็นที่สังเกตว่า คุณสุวรรณเลือกใช้คำที่ไม่มีความหมายในภาษาไทยมาใส่ในบทละครเป็นจำนวนมาก แต่ผู้อ่านยังสามารถเข้าใจเนื้อเรื่องจากบริบทแวดล้อมได้ การวิพากษ์ในส่วนนี้ คือ การใช้ภาษาชวามลายูในบทพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา เนื่องจากบทประพันธ์เรื่องนี้ รัชกาลที่ 2 ทรงสรรคำและปรับคำจากภาษาชวามลายูมาใช้ในบทละครเป็นจำนวนมาก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ นิราชพระมเหลเถไถ เพื่อล้อบทละครเรื่องนี้. รายชื่อวรรณคดีของไทย ซึ่งเป็นงานเขียนหรือวรรณกรรมไทยที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ วรรณคดีไทยเป็นผลงานที่ทรงคุณค่าทางวรรณศิลป์ เป็นผลงานเขียนที่เกิดขึ้นก่อนสมัยรัชกาลที่ 7.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระมะเหลเถไถและรายชื่อวรรณคดีไทย

พระมะเหลเถไถและรายชื่อวรรณคดีไทย มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วรรณคดีอิเหนา

วรรณคดี

วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว) วรรณคดีเป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะสามารถยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร.

พระมะเหลเถไถและวรรณคดี · รายชื่อวรรณคดีไทยและวรรณคดี · ดูเพิ่มเติม »

อิเหนา

ละครของกรมศิลปากร เรื่อง “อิเหนา” ตอนส่งดอกลำเจียกให้นางค่อม แสดงเมื่อประมาณ พ.ศ. 2483 อิเหนาเป็น วรรณคดีเก่าแก่เรื่องหนึ่งของไทย เป็นที่รู้จักกันมานาน เข้าใจว่าน่าจะเป็นช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยได้ผ่านมาจากหญิงเชลยปัตตานี ที่เป็นข้าหลวงรับใช้พระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ครองราชย์ พ.ศ. 2275 – 2301) โดยเล่าถวายเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดา จากนั้นพระราชธิดาทั้งสองได้ทรงแต่งเรื่องขึ้นมาองค์ละเรื่อง เรียกว่าอิเหนาเล็ก (อิเหนา) และอิเหนาใหญ่ (ดาหลัง) ประวัติดังกล่าวมีบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์อิเหนา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ดังนี้ นอกจากนี้ ยังมีบรรยายไว้ในปุณโณวาทคำฉันท์ ของพระมหานาค วัดท่าทราย ระบุถึงการนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศเช่นกัน โดยเล่าว่ามีงานมหรสพที่เล่นเรื่องอิเหนา ดังนี้ เนื้อเรื่องตรงกับอิเหนาเล็ก ที่ว่าถึงตอนลักบุษบาไปไว้ในถ้ำ ซึ่งไม่ปรากฏในเรื่องอิเหนาใหญ่ เรื่องอิเหนา หรือที่เรียกกันว่านิทานปันหยีนั้น เป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา และมีด้วยกันหลายสำนวน พงศาวดารเรียกอิเหนาว่า “ ปันจี อินู กรัตปาตี” (Panji Inu Kartapati) แต่ในหมู่ชาวชวามักเรียกกันสั้นๆ ว่า “ปันหยี” (Panji) ส่วนเรื่องอิเหนาที่เป็นนิทานนั้น น่าจะแต่งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 หรือในยุคเสื่อมของราชวงศ์อิเหนาแห่งอาณาจักรมัชปาหิต และอิสลามเริ่มเข้ามาครอบครอง นิทานปันหยีของชวานั้น มีด้วยกันหลายฉบับ แต่ฉบับที่ตรงกับอิเหนาของเรานั้น คือ ฉบับมาลัต ใช้ภาษากวีของชวาโบราณ มาจากเกาะบาหลี.

พระมะเหลเถไถและอิเหนา · รายชื่อวรรณคดีไทยและอิเหนา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระมะเหลเถไถและรายชื่อวรรณคดีไทย

พระมะเหลเถไถ มี 5 ความสัมพันธ์ขณะที่ รายชื่อวรรณคดีไทย มี 97 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 1.96% = 2 / (5 + 97)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระมะเหลเถไถและรายชื่อวรรณคดีไทย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: