โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระมหาบัญชาและพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระมหาบัญชาและพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน

พระมหาบัญชา vs. พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน

ระมหาบัญชาบนงานกระจกสี ในโบสถ์ Cathedral Parish of Saint Patrick in El Paso รัฐเทกซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา พระมหาบัญชา หรือ พระบัญชา (Great Commission) คือ สิ่งสำคัญที่พระเยซูทรงประทานพระบัญชาแก่อัครสาวกไม่นานก่อนที่พระองค์จะเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ และเป็นโครงสำคัญที่พระเยซูทรงคาดว่าอัครสาวก และผู้ที่ติดตามพระองค์จะกระทำตามเมื่อพระองค์เสด็จไปแล้ว พระมหาบัญชาเป็นสิ่งที่อยู่ในพระทัยของพระเจ้าตั้งแต่แรกเริ่ม เป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งและมีขอบเขตใหญ่ยิ่ง คือ การประกาศการยกโทษบาปไปยังมนุษย์ทั้งปวง ตั้งแต่คริสตจักรสมัยแรกและตลอดประวัติศาสตร์คริสตจักร มีผู้เชื่อจำนวนมากที่อุทิศตนเพื่อรับใช้พระมหาบัญชา จึงส่งผลให้ความเชื่อคริสเตียนแผ่ขยายครอบคลุมไปทั่วทั้งโลกนี้ แต่ยังมีผู้คนอีกจำนวนมากที่ยังไม่เคยได้ยินพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ และภารกิจนี้เป็นความรับผิดชอบของผู้เชื่อทุกคนในยุคปัจจุบัน. การให้บัพติศมาแก่ Neophytes วาดโดยมาซัชโช เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันเก็บอยู่ที่ฟลอเรนซ์ พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์ประชากรศาสตร์) พิธีบัพติศมาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 88 (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ ศีลล้างบาป (ศัพท์คาทอลิก) (Baptism มาจากภาษากรีก baptismos แปลว่า การล้าง) เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ ทำขึ้นเพื่อรับ "ผู้ที่เพิ่งรับเชื่อ" เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของคริสตจักร คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ระบุว่ายอห์นผู้ให้บัพติศมาเริ่มประกอบพิธีนี้ให้สาวกของตน โดยให้ผู้รับจุ่มตัวลงในแม่น้ำลึก ถือเป็นสัญลักษณ์ของการกลับใจและรอคอยอาณาจักรสวรรค์ซึ่งกำลังจะมาถึง พระเยซูทรงรับบัพติศมาจากยอห์นในครั้งนั้นด้วย จากนั้นจึงเริ่มปฏิบัติพระภารกิจของพระองค์ ต่อมาในศาสนาคริสต์ยุคแรก ผู้ให้บัพติศมาจะให้ผู้รับเปลือยกายลงแช่ในแม่น้ำ ซึ่งมีทั้งแบบให้จุ่มทั้งตัว ยืน หรือคุกเข่าในน้ำ แล้ว "ผู้ให้บัพติศมา" จะตักน้ำรดลงบน "ผู้รับบัพติศมา" ในปัจจุบันบางคริสตจักรยังรักษาวิธีการแบบเดิม บางคริสตจักรก็ใช้วิธีเทน้ำรดลงบนหน้าผากของผู้รับสามครั้ง การเป็นมรณสักขีในศาสนาคริสต์ก็ถือว่าเป็นการรับบัพติศมาด้วย เรียกว่า "พิธีบัพติศมาด้วยเลือด" เชื่อว่ามรณสักขีนั้นได้รับความรอดแล้วแม้จะยังไม่ได้รับบัพติศมาด้วยน้ำก็ตาม คริสตจักรโรมันคาทอลิกปัจจุบันรับรอง "พิธีบัพติศมาแห่งความปรารถนา" ซึ่งหมายถึงความตั้งใจจะรับบัพติศมาแต่เสียชีวิตเสียก่อนเข้าพิธี ก็ถือว่าได้รับความรอดแล้ว คริสต์ศาสนิกชนบางนิกายประกอบพิธีบัพติศมาแก่ทารกด้วย เพราะเชื่อว่าบัพติศมาเป็นทางแห่งความรอด จนเมื่อฮุลดริช ซวิงลี นักเทววิทยาศาสนาคริสต์สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 กล่าวว่าพิธีนี้ไม่จำเป็น คริสตจักรแบปทิสต์จึงประกอบพิธีบัพติศมาแก่ผู้เชื่อเองเท่านั้น ทุกวันนี้คริสต์ศาสนิกชนหลายกลุ่ม โดยเฉพาะเควเกอร์และแซลเวชันอาร์มีถือว่าพิธีนี้ไม่จำเป็นและไม่ประกอบพิธีนี้เลย แต่กลุ่มที่ยังมีพิธีนี้อยู่ก็มีรูปแบบพิธีแตกต่างกันไป ส่วนมากรับบัพติศมา "ในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์" (โปรเตสแตนต์) หรือ "เดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต" (คาทอลิก) โดยถือตามพระมหาบัญชาก่อนการเสด็จขึ้นสวรรค์ของพระเยซู.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระมหาบัญชาและพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน

พระมหาบัญชาและพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์

ในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์

การกล่าวถึงพระตรีเอกภาพ (Trinitarian formula) ว่า "ในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์" (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ "เดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต" (ศัพท์โรมันคาทอลิก) (In the name of the Father, and of the Son, and of the Holy Spirit; in nomine Patris, et Filii, et Spiritus Sancti; εἰς τὸ ὄνομα τοῦ Πατρὸς καὶ τοῦ Υἱοῦ καὶ τοῦ Ἁγίου Πνεύματος) มีที่มาจากพระวรสารนักบุญมัทธิว ความว่า "เพราะ‍ฉะนั้น ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​จง​ออก​ไป​และ​นำ​ชน​ทุก​ชาติ​มา​เป็น​สาวก​ของ​เรา จง​บัพ‌ติศ‌มา​พวก‍เขา​ใน​พระ‍นาม​ของ​พระ‍บิดา พระ‍บุตร และ​พระ‍วิญ‌ญาณ‍บริ‌สุทธิ์" (มัทธิว 28:19) คริสต์ศาสนิกชนกล่าวคำนี้ในโอกาส เช่น การอธิษฐาน ในการประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ เช่น พิธีบัพติศมา และการทำเครื่องหมายกางเขน หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ได้มีความพยายามที่จะเปลี่ยนบทนี้เนื่องจากคิดว่าเป็นการยกย่องเพศชายแต่ฝ่ายเดียว ทั้งที่จริง ๆ แล้วพระเจ้าทรงไม่มีเพศ บางกลุ่มเลือกที่จะใช้ "ในนามพระผู้สร้าง พระผู้ไถ่ และพระผู้ทำให้บริสุทธิ์" ทั้งนี้คริสตจักรโรมันคาทอลิกและคริสตจักรตะวันออกบางแห่งถือว่าเป็นการไม่ถูกต้อง.

พระมหาบัญชาและในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ · พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชนและในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระมหาบัญชาและพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน

พระมหาบัญชา มี 3 ความสัมพันธ์ขณะที่ พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน มี 23 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 3.85% = 1 / (3 + 23)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระมหาบัญชาและพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »