โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีและวัด

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีและวัด

พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี vs. วัด

ระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี หรือ หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์ มีพุทธลักษณะปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์บริสุทธิ์ หน้าตักกว้างศอกเศษ มีพุทธลักษณะงดงามตามแบบอย่างสกุลช่างสุโขทัย-เชียงแสน ซึ่งเป็นแบบที่พบได้น้อยมากและหายากที่สุด พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี เดิมองค์พระถูกพอกปูนลงรักปิดทองอารักขาภัยไว้ ตัวองค์พระสำริดดังปรากฏในปัจจุบันนั้นสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยแรกก่อตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 สกุลช่างเชียงแสนยุคปลายผสมสกุลช่างสุโขทัยยุคต้น หรือในช่วงยุครอยต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย เป็นรัชสมัยระหว่างพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับพญาลิไท มีอายุประมาณ 7-800 ปี มีประวัติความเป็นมาและอภินิหารที่น่าสนใจยิ่ง หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี ประดิษฐานอยู่ที่ วัดคุ้งตะเภา หมู่บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมนั้นทางวัดไม่เปิดเผยสถานที่ประดิษฐาน และไม่ให้บุคคลทั่วไปเข้าสักการะได้ถึงองค์พระ เนื่องด้วยปัญหาด้านการรักษาความปลอดภัย โดยจะอัญเชิญหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีออกให้ประชาชนทั่วไปนมัสการได้ถึงตัวองค์พระเพียงในช่วงเทศกาลสงกรานต์เท่านั้น ปัจจุบัน วัดคุ้งตะเภา ได้สร้างห้องตู้กระจกนิรภัย พร้อมทั้งติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยอิเล็กทรอนิกส์แล้ว จึงทำให้สามารถเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าสักการะได้ทุกวัน โดยปัจจุบันหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีประดิษฐานอยู่ที่หอพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี บนอาคารศาลาการเปรียญเฉลิมพระเกียรติฯ วัดคุ้งต. วัด, อาวาส หรือ อาราม คือคำเรียก ศาสนสถานของศาสนาพุทธในประเทศไทย กัมพูชา และลาว เป็นที่อยู่ของภิกษุ และประกอบศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน ภายในวัดมีวิหาร อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฎิ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ วัดโดยส่วนใหญ่นิยมแบ่งเขตภายในวัดออกเป็นสามส่วนคือ พุทธาวาส สังฆาวาส และสัตวาส โดยส่วนพุทธาวาสจะเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์ อุโบสถ สถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ส่วนสังฆาวาส จะเป็นส่วนกุฎิสงฆ์สำหรับภิกษุสามเณรจำพรรษา ส่วนสัตวาสเป็นส่วนที่อนุญาตให้พุทธศาสนิกชนนำสัตว์เลี้ยงมาปล่อยเพื่อให้วัด และพระภิกษุสงฆ์สามเณรได้เลี้ยงดู และในปัจจุบันแทบทุกวัดจะเพิ่มส่วนฌาปนสถานเข้าไปด้วย เพื่อประโยชน์ในด้านการประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชน เช่น การฌาปนกิจศพ โดยในอดีตส่วนนี้จะเป็นป่าช้า ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้วัด ตามธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มฌาปนสถานในวัดพุทธศาสนาในประเทศไทยจะตั้งอยู่บนพื้นที่ ๆ เป็นป่าช้าเดิม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีและวัด

พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีและวัด มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กรุงเทพมหานครกุฏิวิหารศาลาการเปรียญอุโบสถประเทศไทย

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

กรุงเทพมหานครและพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี · กรุงเทพมหานครและวัด · ดูเพิ่มเติม »

กุฏิ

กุฏิ หรือ กุฎี (อ่านว่า กุด หรือ กุดติ) แปลว่า กระต๊อบ, กระท่อม, โรงนา ใช้ว่า กุฏี ก็ได้ เรียกเพี้ยนไปว่ากฎิ ก็มี (กฎิ แปลว่า สะเอว) หมายถึงอาคารที่เป็นโรงเรือนหรือตึกอันเป็นที่อยู่พำนักอาศัยของภิกษุสามเณร ใช้เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา กุฏิ สมัยก่อนจะแยกกันเป็นหลัง ๆ อยู่รวมกันหลาย ๆ หลัง เช่น กุฏิเรือนไทย เรียกว่า กุฏิหมู่ หรือ หมู่กุฏิ บางแห่งสร้างเป็นหลายชั้นและหลายห้อง เรียกว่า กุฏิแถว สำหรับกุฏิที่ประทับของพระพุทธเจ้ามีชื่อเรียกเป็นพิเศษว่า พระคันธกุฎี เพราะมีกลิ่นหอมอยู่ตลอดเวลา กุฏิที่อยู่อาศัย พุทธบัญญัติเดิมกําหนดขนาดของ กุฏิให้พอดีที่พระภิกษุรูปเดียวจะอาศัยอยู่ได้สะดวก มีเนื้อที่กําหนดความยาว ๑๒ คืบพระสุคต และกว้าง ๗ คืบพระสุคต คือ ประมาณ ๓.๐๐ เมตร x ๑.๗๕ เมตร ตามมาตราส่วนปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ขนาดตามที่กําหนดไว้นี้กําหนดเพื่อการอยู่อาศัย โดยแท้จริงมิใช่เพื่อสะสมสิ่งใดๆด้วยเลยตัวอย่างเช่นกุฏิที่ใช้ ในการปฏิบัติวิปัสสนาโดยทั่วไปในปัจจุบัน การที่พระภิกษุแต่ละรูปจะมีกุฏิอยู่อาศัยเองได้นั้น จะต้องประกาศต่อสาธารณะว่าจะทํากุฏิอยู่อาศัยอยู่ถึง ๓ ครั้ง หากไม่มีผู้ใดคัดค้านกรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงจะทํากุฏิอยู่ได้ ที่มีพุทธบัญญัติให้กระทํา ดังนี้ก็เพื่อมิให้พระภิกษุล่วงละเมิด ที่ดินที่เป็นทรัพย์สินกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น หรือพระภิกษุ อาจเข้าอยู่อาศัยในที่ที่มีผู้สละแบ่งให้ก็ได้ เช่นในเรือนที่พระภิกษุจะต้องอยู่รวมกันหลายๆ รูป แต่การอยู่อาศัยรวมกันนั้น ก็จะต้องมีการกำหนด แบ่งเขตให้เป็นสัดส่วนเฉพาะของภิกษุแต่ละรูป เขตเฉพาะตนดังกล่าวนี้เรียกว่า เขตของการครองผ้าไตรจีวร เขตนี้มีเครื่องล้อมบังเป็นที่หมายกำหนด แต่ถ้าไม่มีเครื่องล้อมบัง จะถือเอากำหนดหัตถบาสที่มีระยะหนึ่งศอกโดยรอบตัวเป็นเขตกำหนด หรือเป็นป่าก็อนุญาตให้อย่างมาก ๗ อัพภันดรโดยประมาณ คือในวงรอบ ๙๘ เมตร เป็นเขตครองผ้าไตรจีวร เขตครองผ้าไตรจีวร หมายถึง เขตที่พระภิกษุ จะต้องรักษาเครื่องนุ่งห่มที่เรียกว่าไตรจีวร (ผ้านุ่ง ผ้าห่ม และผ้าพาดไหล่) ไว้กับตัวเฉพาะในเวลากลางคืน จนกว่าจะถึงเวลาเช้า แม้ในเวลานอนก็จะต้องรักษาไตรจีวรไว้ใกล้ตัว หากพระภิกษุละทิ้งให้ไตรจีวรอยู่ห่างจากตัว แม้ระยะห่างเกินกว่าหัตถบาสรอบตัว ก็ถือว่าขาดจากความเป็นเจ้าของ จะต้องประกาศความเป็นเจ้าของกับพระภิกษุรูปอื่นใหม่ เพื่อให้เป็นพยานจึงนำมานุ่งห่มได้อีก การที่มีบัญญัติเช่นนี้ ก็เพื่อให้มีการรู้จักระมัดระวังข้าวของของตน ไม่ให้ถูกลักขโมยได้ง่าย ลักษณะอาคารที่ใช้สอยในเขตสังฆวาสนี้ ไม่มีข้อกำหนดว่า จะต้องเป็นรูปหรือทรวดทรงอย่างไร ตามที่ปฏิบัติกันมานั้น กุฏิส่วนมากก็มีลักษณะดังเรือนราษฎรอยู่อาศัย เพราะพระภิกษุก็คือราษฎรที่มาบวชนั่นเอง แต่ถ้าจะมีการกำหนดจำแนกแล้ว กุฏิที่พระสงฆ์อยู่อาศัยอาจมีได้ดังนี้ ๑.ภิกษุสร้างขึ้นเองโดยวิธีประกาศหาที่ที่ไม่มีผู้คัดค้าน และอยู่ในขนาดที่มีพุทธานุญาต.

กุฏิและพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี · กุฏิและวัด · ดูเพิ่มเติม »

วิหาร

วิหาร คืออาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคล้ายเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า คู่กับอุโบสถ แต่ไม่มีวิสุงคามเหมือนพระอุโบสถ คำว่า วิหาร แต่เดิมใช้ในความหมายว่า วัด เช่นเดียวกับคำว่า อาราม อาวาส เช่น เวฬุวัน วิหาร เชตวันมหาวิหาร วิหารมีหลายแบบ เช่น.

พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีและวิหาร · วัดและวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

ศาลาการเปรียญ

ลาการเปรียญ เป็นอาคารอเนกประสงค์ในงานสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งก่อสร้างในเขตสังฆาวาส ในบริเวณวัด เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ทางพุทธศาสนา แต่เดิมนั้นใช้เป็นสถานที่เพื่อการเรียนของสงฆ์เท่านั้น (“เปรียญ” มาจากภาษาบาลีว่า “บาเรียน” หมายถึง “พระที่ได้เรียน” หรือ “พระนักเรียน).

พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีและศาลาการเปรียญ · วัดและศาลาการเปรียญ · ดูเพิ่มเติม »

อุโบสถ

อุโบสถ (อ่านว่า อุ-โบ-สด) ถือเป็นอาคารที่สำคัญภายในวัดเนื่องจากเป็นสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ทำ สังฆกรรมซึ่งแต่เดิมในการทำสังฆกรรมของ พระภิกษุสงฆ์จะ ใช้เพียงพื้นที่โล่ง ๆ ที่กำหนดขอบเขตพื้นที่สังฆกรรมโดยการกำหนดตำแหน่ง“สีมา” เท่านั้น แต่ในปัจจุบันจากการมีผู้บวชมากขึ้น อีกทั้งภายใน พระอุโบสถมักประดิษฐานพระประธานที่เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญ ๆ ทำให้มีผู้มาสักการบูชาและร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก พระอุโบสถจึงถูกสร้าง ขึ้นเป็นอาคารถาวรและมักมี การประดับตกแต่งอย่างสวยงาม และยังมีอีกมีหลายความหมาย คือ หมายถึง.

พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีและอุโบสถ · วัดและอุโบสถ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ประเทศไทยและพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี · ประเทศไทยและวัด · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีและวัด

พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี มี 79 ความสัมพันธ์ขณะที่ วัด มี 28 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 5.61% = 6 / (79 + 28)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีและวัด หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »