ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนีและลัทธิคอมมิวนิสต์
พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนีและลัทธิคอมมิวนิสต์ มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ลัทธิมากซ์ลัทธิเลนินประเทศเยอรมนีตะวันออกโคมินฟอร์ม
ลัทธิมากซ์
ลัทธิมากซ์ (Marxism) หรือมักใช้ทับศัพท์ว่า มาร์กซิสต์ เป็นวิธีการวิเคราะห์สังคมและเศรษฐกิจซึ่งวิพากษ์ทุนนิยมผ่านกระบวนทัศน์การขูดรีด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นและความขัดแย้งทางสังคมโดยใช้การตีความพัฒนาการประวัติศาสตร์แบบวัสดุนิยม และทัศนะวิภาษวิธีการแปลงสังคม (social transformation) ถือกำเนิดจากนักปรัชญาชาวเยอรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 คาร์ล มากซ์และฟรีดริช เองเงิลส์ ลัทธิมากซ์ใช้วิธีวิทยาที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์การพัฒนาของทุนนิยมและบทบาทของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจทั้งระบบ ตามทฤษฎีลัทธิมากซ์ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นเกิดในสังคมทุนนิยมอันเนือ่งจากความขัดกันระหว่างผลประโยชน์ทางวัตถุของชนกรรมาชีพที่ถูกกดขี่ ชนกรรมาชีพคือผู้ใช้แรงงานเอาค่าจ้างที่ชนชั้นกระฎุมพีว่าจ้างเพื่อผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งชนชั้นกระฎุมพีนี้เป็นชนชั้นปกครองที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและเอาความมั่งคั่งมาจากการจัดสรรผลิตภัณฑ์ส่วนเกิน (กำไร) ที่ชนกรรมาชีพผลิตขึ้น การต่อสู้ระหว่างชนชั้นนี้ซึ่งมักแสดงออกมาเป็นการกบฏของกำลังการผลิตของสังคม (productive force) ต่อความสัมพันธ์การผลิต (relation of production) ของสังคม ส่งผลให้เกิดวิกฤติระยะสั้นเมื่อชนชั้นกระฎุมพีประสบความลำบากในการจัดการความแปลกแยกของแรงงาน (alienation of labor) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นของชนกรรมาชีพ แม้ว่ามีความสำนึกเรื่องชนชั้น (class consciousness) ระดับมากน้อย วิกฤตนี้ลงเอยด้วยการปฏิวัติของชนกรรมาชีพและการสถาปนาสังคมนิยมในที่สุด ซึ่งเป็นระบบทางสังคมและเศรษฐกิจที่ยึดสังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต กระจายให้แต่ละคนตามการมีส่วนร่วมและการผลิตที่จัดระเบียบโดยตรงสำหรับการใช้ เมื่อกำลังการผลิตก้าวหน้าขึ้น มากซ์ตั้งสมมติฐานว่าสังคมนิยมสุดท้ายจะแปลงเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ หมายถึง สังคมไร้ชนชั้น ไร้รัฐ และมีมนุษยธรรมที่ยึดกรรมสิทธิ์ร่วมและหลักการพื้นเดิม "จากแต่ละคนตามความสามารถ ให้แต่ละคนตามความต้องการ" (From each according to his ability, to each according to his needs) ลัทธิมากซ์พัฒนาเป็นหลายแขนงและสำนักคิด แม้ปัจจุบันไม่มีทฤษฎีลัทธิมากซ์หนึ่งเดียว สำนักลัทธิมากซ์ต่าง ๆ เน้นแง่มุมบางอย่างของลัทธิมากซ์คลาสสิกต่างกัน และปฏิเสธหรือดัดแปลงแง่มุมบางอย่าง หลายสำนักคิดมุ่งรวมมโนทัศน์ลัทธิมากซ์กับมโนทัศน์ที่มิใช่มากซ์ ซึ่งมักนำไปสู่บทสรุปที่ขัดแย้งกัน ทว่า สมัยหลังมีขบวนการสู่การรับรองวัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์และวัสดุนิยมวิภาษวิธียังเป็นแง่มุมหลักของสำนักคิดลัทธิมากซ์ทุกสำนัก ซึ่งทำให้มีความเห็นตรงกันระหว่างสำนักต่าง ๆ มากขึ้น.
พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนีและลัทธิมากซ์ · ลัทธิคอมมิวนิสต์และลัทธิมากซ์ ·
ลัทธิเลนิน
ในปรัชญาลัทธิมากซ์ ลัทธิเลนิน (Leninism) เป็นทฤษฎีการเมืองส่วนสำหรับการจัดระเบียบพรรคการเมืองแนวหน้าปฏิวัติอย่างเป็นประชาธิปไตย และการบรรลุลัทธิเผด็จการโดยชนกรรมาชีพซึ่งเป็นประชาธิปไตยทางตรง เช่นเดียวกับสังคมนิยม เลนินเป็นผู้พัฒนา และเป็นชื่อของลัทธิเลนิน ประกอบด้วยทฤษฎีการเมืองและเศรษฐกิจสังคมนิยม พัฒนามาจากลัทธิมากซ์ และการตีความทฤษฎีลัทธิมากซ์ของเลนิน เพื่อการประยุกต์ปฏิบัติเข้ากับสภาพทางสังคมและการเมืองของจักรวรรดิรัสเซียซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรมในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในเดือนกุมภาพันธ์ 1917 เป็นเวลาห้าปี ลัทธิเลนินเป็นการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจและการเมืองลัทธิมากซ์ของรัสเซีย ผู้นำไปปฏิบัติ คือ พรรคบอลเชวิก ในการนำไปปฏิบัติ พรรคแนวหน้าแบบลัทธิเลนินให้ความสำนึกทางการเมือง (การศึกษาและการจัดระเบียบ) แก่ชนชั้นกรรมกร และผู้นำปฏิบัติที่จำเป็นต่อการโค่นทุนนิยมในจักรวรดิรัสเซีย หลังการปฏิวัติตุลาคม ค.ศ. 1917 ลัทธิเลนินเป็นรุ่นของลัทธิมากซ์ที่เด่นในรัสเซีย และต่อมาเป็นอุดมการณ์ของรัฐอย่างเป็นทางการของประชาธิปไตยแบบโซเวียต (โดยสภากรรมกร) ในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย ก่อนควบเข้ากันเป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี 1922 ยิ่งไปกว่านั้น ในยุคหลังเลนิน โจเซฟ สตาลินรวมลัทธิเลนินเข้ากับเศรษฐศาสตร์แบบมากซ์ และ พัฒนาลัทธิมากซ์–เลนิน ซึ่งต่อมาเป็นอุดมการณ์รัฐคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียต.
พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนีและลัทธิเลนิน · ลัทธิคอมมิวนิสต์และลัทธิเลนิน ·
ประเทศเยอรมนีตะวันออก
อรมนีตะวันออก (East Germany) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (Deutsche Demokratische Republik - DDR; German Democratic Republic - GDR) เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ที่ดำรงอยู่ในช่วงปี 1949 ถึงปี 1990 โดยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเยอรมันที่ถูกปกครองโดยอดีตสหภาพโซเวียต หลังจากการยึดครองเยอรมนีของกองทัพโซเวียตสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีตะวันออกเป็นประเทศหนึ่งที่เข้าร่วมสนธิสัญญาวอร์ซอ ในช่วงสงครามเย็น โดยเยอรมนีตะวันออกได้นิยามตัวเองว่าเป็นรัฐสังคมนิยม "ของคนงานและชาวนา"Patrick Major, Jonathan Osmond, The Workers' and Peasants' State: Communism and Society in East Germany Under Ulbricht 1945–71, Manchester University Press, 2002, และเขตที่ถูกยึดครอง ได้รับการปกครองโดยกองกำลังโซเวียตในตอนท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง เขตยึดครองโซเวียตตามข้อตกลงพ็อทซ์ดัมซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกติดกับแนว Oder-Neisse เขตยึดครองโซเวียตล้อมรอบเบอร์ลินตะวันตก แต่ไม่รวมถึง เป็นผลให้เบอร์ลินตะวันตกยังคงอยู่นอกเขตอำนาจของเยอรมนีตะวันออก สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีก่อตั้งขึ้นในเขตโซเวียต ขณะที่สหพันธรัฐจัดตั้งขึ้นในสามเขตตะวันตก เยอรมนีตะวันออกเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต เจ้าหน้าที่ยึดครองโซเวียตได้เริ่มถ่ายโอนความรับผิดชอบในการบริหารให้กับผู้นำคอมมิวนิสต์เยอรมันในปี 1948 และเริ่มมีบทบาทเป็นรัฐเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 1949 อย่างไรก็ตามกองทัพโซเวียตยังคงกำลังอยู่ในประเทศตลอดช่วงสงครามเย็น จนถึง 1989 เยอรมนีตะวันออกถูกปกครองโดยพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี แม้ว่าพรรคอื่น ๆ ในนามขององค์กรพันธมิตร National Front of Democratic Germany 29 October 1989.
ประเทศเยอรมนีตะวันออกและพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี · ประเทศเยอรมนีตะวันออกและลัทธิคอมมิวนิสต์ ·
โคมินฟอร์ม
ำนักข่าวและข้อมูลคอมมิวนิสต์ หรือ โคมินฟอร์ม (Communist Information Bureau, Cominform) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการคือ สำนักข่าวและข้อมูลพรรคแรงงานและพรรคคอมมิวนิสต์ (Information Bureau of the Communist and Workers' Parties) เป็นองค์กรคอมมิวนิสต์สากลที่มาแทนที่องค์การคอมมิวนิสต์โลกที่สาม หรือโคมินเทิร์น ซึ่งถูกยุบลงใน..
พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนีและโคมินฟอร์ม · ลัทธิคอมมิวนิสต์และโคมินฟอร์ม ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนีและลัทธิคอมมิวนิสต์ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนีและลัทธิคอมมิวนิสต์
การเปรียบเทียบระหว่าง พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนีและลัทธิคอมมิวนิสต์
พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี มี 9 ความสัมพันธ์ขณะที่ ลัทธิคอมมิวนิสต์ มี 149 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 2.53% = 4 / (9 + 149)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนีและลัทธิคอมมิวนิสต์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: