โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 2482และลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1939)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พ.ศ. 2482และลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1939)

พ.ศ. 2482 vs. ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1939)

ทธศักราช 2561 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1939. นี่คือ ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 1939 ถึง 31 ธันวาคม 1939.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พ.ศ. 2482และลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1939)

พ.ศ. 2482และลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1939) มี 10 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การบุกครองโปแลนด์กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพสหภาพโซเวียตสงครามฤดูหนาวประเทศฟินแลนด์ประเทศฝรั่งเศสประเทศลัตเวียประเทศลิทัวเนียประเทศเอสโตเนียนาซีเยอรมนี

การบุกครองโปแลนด์

การบุกครองโปแลนด์ หรือเรียกการทัพกันยายน (Kampania wrześniowa) หรือสงครามตั้งรับปี 1939 (Wojna obronna 1939 roku) ในโปแลนด์ และ การทัพโปแลนด์ (Polenfeldzug) หรือ ฟัลล์ไวสส์ (Fall Weiss) ในเยอรมนี เป็นการบุกครองโปแลนด์ร่วมโดยเยอรมนี สหภาพโซเวียตและสโลวาเกียซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป การบุกครองของเยอรมนีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 หนึ่งสัปดาห์ให้หลังการลงนามสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ขณะที่การบุกครองของโซเวียตเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1939 หลังความตกลงโมโลตอฟ-โตโก ซึ่งยุติความเป็นปรปักษ์ระหว่างสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่นในภาคตะวันออกเมื่อวันที่ 16 กันยายน การทัพดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมด้วยเยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแยกและผนวกโปแลนด์ทั้งประเทศตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาเขตแดนเยอรมนี–โซเวียต กำลังเยอรมนีบุกครองโปแลนด์จากทิศเหนือ ใต้ และตะวันตกในเช้าหลังเกิดกรณีกลิวิซ ขณะที่เวร์มัคท์รุกคืบ กำลังโปแลนด์ถอนจากฐานปฏิบัติการส่วนหน้าติดกับพรมแดนโปแลนด์–เยอรมนีไปแนวป้องกันที่จัดตั้งดีกว่าทางตะวันออก หลังโปแลนด์แพ้ยุทธการที่บึซราเมื่อกลางเดือนกันยายน ทำให้เยอรมนีได้เปรียบแน่นอน จากนั้นกำลังโปแลนด์ถอนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ที่ซึ่งพวกเขาเตรียมการป้องกันระยะยาวที่หัวสะพานโรมาเนียและคอยการสนับสนุนและการช่วยเหลือที่คาดจากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ทั้งสองประเทศมีสนธิสัญญากับโปแลนด์และประกาศสงครามกับเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 กันยายน แต่สุดท้ายแล้วทั้งสองช่วยเหลือโปแลนด์แต่เพียงเล็กน้อย การบุกครองโปแลนด์ตะวันออกของกองทัพแดงโซเวียตเมื่อวันที่ 17 กันยายนตามพิธีสารลับในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ทำให้แผนการตั้งรับของโปแลนด์ต้องเลิกไป เมื่อเผชิญกับแนวรบที่สอง รัฐบาลโปแลนด์สรุปว่าการป้องกันหัวสะพานโรมาเนียเป็นไปไม่ได้อีกต่อไปและสั่งอพยพกำลังพลฉุกเฉินทั้งหมดไปยังประเทศโรมาเนียที่เป็นกลาง วันที่ 6 ตุลาคม หลังโปแลนด์ปราชัยที่ยุทธการที่ค็อก (Kock) กำลังเยอรมนีและโซเวียตก็ควบคุมโปแลนด์อย่างสมบูรณ์ ความสำเร็จของการบุกครองนี้เป็นจุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง แม้โปแลนด์จะไม่เคยยอมจำนนอย่างเป็นทางการก็ตาม วันที่ 8 ตุลาคม หลังสมัยการบริหารทหารทหารช่วงต้น เยอรมนีได้ผนวกโปแลนด์ตะวันตกและอดีตนครเสรีดันซิกโดยตรง และกำหนดให้ดินแดนส่วนที่เหลืออยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลทั่วไป (General Government) สหภาพโซเวียตรวมพื้นที่ที่เพิ่งได้มาเข้ากับสาธารณรัฐองค์ประกอบเบลารุสและยูเครนของตน และเริ่มการรณรงค์ปลูกฝังความเป็นโซเวียตทันที หลังการบุกครองดังกล่าว องค์การขัดขืนใต้ดินหลายกลุ่มได้ตั้งรัฐใต้ดินโปแลนด์ขึ้นในดินแดนของอดีตรัฐโปแลนด์ ในเวลาเดียวกับที่ทหารลี้ภัยจำนวนมากซึ่งสามารถหลบหนีออกนอกประเทศได้ก็เข้าร่วมกับกองทัพโปแลนด์ในทิศตะวันตก ซึ่งเป็นกองทัพที่ภักดีต่อรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลน.

การบุกครองโปแลนด์และพ.ศ. 2482 · การบุกครองโปแลนด์และลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1939) · ดูเพิ่มเติม »

กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ

นื้อหาของข้อตกลงลับ (เป็นภาษาเยอรมัน) กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ (Molotov–Ribbentrop Pact) เป็นสนธิสัญญาที่ได้ชื่อตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของโซเวียต วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของนาซีเยอรมนี โยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ โดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า กติกาสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนีกับสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (German–Soviet Non-aggression Pact) และได้รับการลงนามในกรุงมอสโก เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 24 สิงหาคม 1939 (แต่ในกติกาสัญญาระบุเป็นวันที่ 23 สิงหาคม)Blank Pages by G.C.Malcher ISBN 1-897984-00-6 Page 7 ความตกลงดังล่าวเป็นการประกาศวางตัวเป็นกลางหากภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกโจมตีโดยประเทศที่สาม ภาคีผู้ลงนามทั้งสองสัญญาจะไม่เข้าร่วมกลุ่มกับอำนาจอื่นซึ่ง "พุ่งเป้าหมายไปยังคู่เจรจาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยตรงหรือโดยอ้อม" กติกาสัญญาดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในหลายชื่อด้วยกัน ซึ่งรวมไปถึง กติกาสัญญานาซี–โซเวียต (Nazi–Soviet Pact), กติกาสัญญาฮิตเลอร์–สตาลิน, กติกาสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนี–โซเวียต หรือบางครั้งก็เรียกว่า พันธมิตรนาซี–โซเวียตBenjamin B. Fischer, "", Studies in Intelligences, Winter 1999–2000, last accessed on 10 December 2005 กติกาสัญญามีผลจนถึงวันที่ 22 มิถุนายน 1941 เมื่อเยอรมนีเริ่มปฏิบัติการบาร์บารอสซา นอกเหนือจากการกำหนดเงื่อนไขในการไม่รุกรานระหว่างกันแล้ว กติกาสัญญาดังกล่าวยังรวมไปถึงข้อตกลงลับ ซึ่งแบ่งยุโรปตะวันออกให้อยู่ภายใต้เขตอิทธิพลของเยอรมนีและโซเวียต เพื่อให้มีการจัดระเบียบทางดินแดนและทางการเมืองในพื้นที่ดังกล่าวใหม่ หลังจากนั้น เยอรมนีและสหภาพโซเวียตได้ร่วมกันบุกครองโปแลนด์ ตามด้วยการผนวกเอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนียและดินแดนทางตอนเหนือของโรมาเนียเข้าไปอยู่ในเขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียต รวมไปถึงการผนวกดินแดนทางตะวันออกของฟินแลนด์ หลังจากความพยายามรุกรานของสหภาพโซเวียตในสงครามฤดูหนาว ภาคผนวกลับดังกล่าวถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ และเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดสงครามแห่งการรุกราน.

กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพและพ.ศ. 2482 · กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพและลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1939) · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

พ.ศ. 2482และสหภาพโซเวียต · ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1939)และสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สงครามฤดูหนาว

ทหารสกีของฟินแลนด์ในสงครามฤดูหนาว ทิศทางการโจมตีของกองทัพแดงและการวางกำลังหลักของสองฝ่าย สงครามฤดูหนาว (อังกฤษ: Winter War, ฟินแลนด์: talvisota, สวีเดน: vinterkriget, รัสเซีย: Советско-финская война, และอาจรู้จักกันในชื่อ สงครามโซเวียต-ฟินแลนด์ หรือ สงครามรัสเซีย-ฟินแลนด์) เป็นสงครามระหว่างสหภาพโซเวียตกับประเทศฟินแลนด์ เกิดในช่วงต้น ๆ ของสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อฟินแลนด์ปฏิเสธไม่ยอมยกดินแดนบางส่วนและไม่ยอมให้โซเวียตสร้างฐานทัพเรือในดินแดนของตน การโจมตีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) เมื่อทหารในกองทัพแดงราวหนึ่งล้านคนบุกเข้าจู่โจมตามแนวรบหลายจุดบริเวณพรมแดนระหว่างสหภาพโซเวียตกับฟินแลนด์ กองทัพฟินแลนด์บัญชาการโดยจอมพลมานเนอร์ไฮม์ สามารถต่อต้านการโจมตีได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ว่าจะมีกำลังพลน้อยกว่าฝ่ายโซเวียตมาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ทหารรัสเซียเข้าไปในฟินแลนด์ได้สำเร็จ หลังใช้ปืนใหญ่ระดมโจมตีแนวป้องกันตามคอคอดคาเรเลียซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของฟินแลนด์รวมทั้งการโจมตีทางอากาศตามเมืองสำคัญต่างๆ สงครามสิ้นสุดลงในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) เมื่อมีการลงนามในสัญญาสันติภาพมอสโก โดยฟินแลนด์ยอมยกดินแดนบางส่วนให้โซเวียตและยอมให้โซเวียตก่อสร้างฐานทัพเรือบนคาบสมุทรฮังโก การรุกรานฟินแลนด์ในครั้งนี้ทำให้สหภาพโซเวียตถูกขับออกจากสันนิบาตชาติ เพราะละเมิดสนธิสัญญาที่จะไม่รุกรานฟินแลน.

พ.ศ. 2482และสงครามฤดูหนาว · ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1939)และสงครามฤดูหนาว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟินแลนด์

ประเทศฟินแลนด์ (ซูโอมี) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐฟินแลนด์ เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป เขตแดนด้านตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลบอลติก ทางด้านใต้จรดอ่าวฟินแลนด์ ทางตะวันตกจรดอ่าวบอทเนีย ประเทศฟินแลนด์มีชายแดนติดกับประเทศสวีเดน นอร์เวย์ และรัสเซีย สำหรับหมู่เกาะโอลันด์ที่อยู่ห่างจากชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้นั้น อยู่ภายใต้การปกครองของฟินแลนด์ แต่เป็นเขตปกครองตนเอง เคยถูกรัสเซียยึดครองและเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย ฟินแลนด์มีประชากรเพียง 5 ล้านคน ในพื้นที่ 338,145 ตารางกิโลเมตร นับว่ามีประชากรที่เบาบาง แต่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ตามสถิติของสหประชาชาติ พ.ศ. 2549 อยู่ในลำดับที่ 11 ฟินแลนด์เคยเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนหลายศตวรรษ หลังจากนั้นก็อยู่ภายใต้จักรวรรดิรัสเซียจนถึงปี พ.ศ. 2460 ปัจจุบันฟินแลนด์เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย ภาษาฟินแลนด์เป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฮังการี และภาษามอลตา ตั้งแต่ประมาณ 2,700 ปีก่อนพุทธกาล ดินแดนฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากทางใต้ของอ่าวฟินแลนด์ โดยเข้ามาทางตะวันตกเฉียงใต้ของฟินแลนด์ มีหลักฐานของเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะเฉพาะ ต่อมาในยุคสำริด พื้นที่ทางชายฝั่งของฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลจากสแกนดิเนเวียและยุโรปกลาง ในขณะที่พื้นที่ที่อยู่ห่างจากทะเลเข้าไป ได้รับอิทธิพลการใช้สำริดมาจากทางตะวันออกมากกว่า ในพุทธศตวรรษที่ 5 พบว่ามีการค้าขายแลกเปลี่ยนกับสแกนดิเนเวียมากขึ้น และการค้นพบวัตถุแบบโรมันจากยุคนี้ด้วย ปรากฏการกล่าวถึงชาวฟินแลนด์ในเอกสารของชาวโรมันในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 7.

ประเทศฟินแลนด์และพ.ศ. 2482 · ประเทศฟินแลนด์และลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1939) · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ประเทศฝรั่งเศสและพ.ศ. 2482 · ประเทศฝรั่งเศสและลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1939) · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลัตเวีย

ลัตเวีย (Latvia; Latvija) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐลัตเวีย (Republic of Latvia; Latvijas Republika) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับอีก 2 รัฐบอลติก คือ เอสโตเนียทางทิศเหนือ และลิทัวเนียและเบลารุสทางทิศใต้ จดรัสเซียทางทิศตะวันออก ส่วนทางทิศตะวันตกนั้น ลัตเวียมีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับสวีเดน กรุงรีกา เมืองหลวงของลัตเวียเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาเมืองที่อยู่ในกลุ่มรัฐบอลติก.

ประเทศลัตเวียและพ.ศ. 2482 · ประเทศลัตเวียและลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1939) · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลิทัวเนีย

ลิทัวเนีย (Lithuania; Lietuva เลฺยียทุวะ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐลิทัวเนีย (Republic of Lithuania; Lietuvos Respublika) ตั้งอยู่กลางทวีปยุโรป ทางฝั่งตะวันออกของทะเลบอลติก ทิศเหนือจรดลัตเวีย ทิศตะวันออกและทิศใตัจรดเบลารุส และทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดโปแลนด์และรัสเซีย (แคว้นคาลินินกราด) เคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซี.

ประเทศลิทัวเนียและพ.ศ. 2482 · ประเทศลิทัวเนียและลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1939) · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเอสโตเนีย

อสโตเนีย (Estonia; Eesti) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเอสโตเนีย (Republic of Estonia; Eesti Vabariik) เป็นรัฐอธิปไตยในภูมิภาคบอลติก ในยุโรปเหนือ มีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับอ่าวฟินแลนด์ ทิศตะวันตกติดกับทะเลบอลติก มีพรมแดนทางทิศใต้ติดกับประเทศลัตเวีย (ระยะทาง 343 กิโลเมตร) และทางทิศตะวันออกติดกับประเทศรัสเซีย (ระยะทาง 338.6 กิโลเมตร) เอสโตเนียมีพื้นที่ 45,227 ตารางกิโลเมตร (17,462 ตารางไมล์) (อันดับที่ 131 ของโลก) ประเทศเอสโตเนียปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นเทศมณฑลจำนวน 15 เทศมณฑล โดยมีเมืองหลวงชื่อว่า ทาลลินน์ โดยเอสโตเนียมีจำนวนประชากรของประเทศที่น้อยที่สุดในประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป เอสโตเนียประกาศเอกราชครั้งแรกในปีพ.ศ. 2461 ก่อนจะถูกยึดครองโดยสหภาพโซเวียต นาซีเยอรมนี และสหภาพโซเวียตอีกครั้งหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เอสโตเนียกลับมาเป็นรัฐเอกราชอีกครั้งหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ต่อมาเอสโตเนียก็เข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือและสหภาพยุโรป.

ประเทศเอสโตเนียและพ.ศ. 2482 · ประเทศเอสโตเนียและลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1939) · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

นาซีเยอรมนีและพ.ศ. 2482 · นาซีเยอรมนีและลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1939) · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พ.ศ. 2482และลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1939)

พ.ศ. 2482 มี 95 ความสัมพันธ์ขณะที่ ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1939) มี 54 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 10, ดัชนี Jaccard คือ 6.71% = 10 / (95 + 54)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พ.ศ. 2482และลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1939) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »