โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 2363

ดัชนี พ.ศ. 2363

ทธศักราช 2363 ใกล้เคียงกั.

13 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2410พ.ศ. 2480พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระราชพิธีอาพาธพินาศพระนครพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรมหาศักราชหม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร)อหิวาตกโรคจักรพรรดิเต้ากวัง12 มิถุนายน29 มกราคม31 กรกฎาคม

พ.ศ. 2410

ทธศักราช 2410 ตรงกั.

ใหม่!!: พ.ศ. 2363และพ.ศ. 2410 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2480

ทธศักราช 2480 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1937.

ใหม่!!: พ.ศ. 2363และพ.ศ. 2480 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

งเรือหลวงในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พระราชสมภพ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 - สวรรคต 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ครองราชย์ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน เวลาเช้า 5 ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพัน..

ใหม่!!: พ.ศ. 2363และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย · ดูเพิ่มเติม »

พระราชพิธีอาพาธพินาศ

ระราชพิธีอาพาธพินาศ เป็นพระราชพิธีที่เกิดขึ้นในต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในพุทธศักราช ๒๓๖๓ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๒ เมื่อเกิดอหิวาตกโรคระบาดทั่วพระนคร มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากจนเผาศพแทบไม่ทัน ศพกองสุมกันอยู่ที่วัดสระเกศ และมีอีแร้งลงมาจิกกินเป็นที่น่าสังเวชใจเป็นอย่างมาก จนมีคำกล่าวว่า "แร้งวัดสระเกศ" มีจดหมายเหตุเล่าถึงการะบาดของอหิวาตกโรคในครั้งนั้นว่า พระราชพิธีนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อปลุกปลอบใจราษฎร และเป็นการปัดรังควานแก่พระนคร โดยประกอบพิธีที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทคล้ายพระพิธีตรุษ มีการยิงปืนใหญ่รอบพระนครตลอดคืน มีการอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) และพระบรมสารีริกธาตุออกจากที่ประดิษฐานภายในพระอุโบสถพระบรมมหาราชวังแห่รอบพระนคร นับเป็นครั้งแรกที่มีการอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรออกจากที่ประดิษฐานเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์นับตั้งแต่อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ มีการนิมนต์สมเด็จพระสังฆราช (สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)) และพระสงฆ์รูปอื่น ๆ จำนวน ๕๐๐ รูป สวดพระปริตรประพรมน้ำพระปริตรไปในขบวนแห่นั้นด้วย องค์พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงรักษาศีล สละพระราชทรัพย์ ซื้อชีวิตสัตว์สี่เท้าสองเท้า ปล่อยนักโทษ และห้ามราษฎรทำปาณาติบาต หลังพระราชพิธีนี้เสร็จ ฝนก็ตกลงมาห่าใหญ่ อหิวาตกโรคระบาดหนักอยู่ ๑๕ วัน ก็ค่อยหายไป หลังจากเกิดอหิวาตกโรคในครานั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสังเวชสลดพระราชหฤทัยที่กรรมบันดาลให้เกิดภัยพิบัติแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเป็นอันมาก จึงทรงบำเพ็ญพระราชกุศลหลายอย่างหลายประการ.

ใหม่!!: พ.ศ. 2363และพระราชพิธีอาพาธพินาศ · ดูเพิ่มเติม »

พระนคร

ระนคร อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2363และพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร

ระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร (George III of the United Kingdom) (4 มิถุนายน ค.ศ. 1738 – 29 มกราคม ค.ศ. 1820) เป็นพระมหากษัตริย์ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และราชอาณาจักรไอร์แลนด์สมัยราชวงศ์แฮโนเวอร์ ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม..

ใหม่!!: พ.ศ. 2363และพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

มหาศักราช

มหาศักราช (ตัวย่อ ม.ศ.; อังกฤษ: Shalivahana era, Saka era) เป็นศักราชที่ใช้ตามปีครองราชย์ของ พระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรกุษาณะ หรือ พระเจ้าสลิวาหนะ ศากยะวงศ์องค์หนึ่ง ที่มีอาณาเขตยิ่งใหญ่ปกครองอาณาเขตถึงบริเวณที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ อินเดียส่วนเหนือ อัฟกานิสถาน ทาจิกิสถาน และส่วนตะวันตกของจีน ปีมหาศักราชนั้นในหนังสือไทยจะอ้างถึงปีที่เริ่มครองราชย์คือ พ.ศ. 621 (ค.ศ. 78) ในขณะที่บันทึกต่างประเทศระบุว่าครองราชย์ในปี ค.ศ. 127 (พ.ศ. 670) ด้านสารานุกรมบริเตนนิการะบุว่าไม่ทราบปีครองราชย์ที่แน่นอน คาดว่าอยู่ในช่วง ค.ศ. 78 - 144 เมื่อมหาศักราชแพร่เข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้จารึกต่าง ๆ ในสมัยสุโขทัยและอาณาจักรใกล้เคียงต่างใช้มหาศักราชเป็นส่วนใหญ่ คาดว่าไทยเลิกใช้มหาศักราชในปี พ.ศ. 2112 โดยเปลี่ยนไปใช้จุลศักราชแทน อย่างไรก็ตามมีการใช้มหาศักราชอยู่บ้างหลังจากนั้น ดังปรากฏในจารึกวัดไชยวัฒนาราม (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) ปัจจุบันการแปลงมหาศักราช เป็นพุทธศักราช ให้นำ 621 บวกปีมหาศักราชนั้น จะได้ปีพุทธศักร.

ใหม่!!: พ.ศ. 2363และมหาศักราช · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร)

หม่อมราโชทัย นามเดิม หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร (12 มิถุนายน พ.ศ. 2363 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2410) เป็นบุตรของพระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชอุ่ม กรมหมื่นเทวานุรักษ์ เป็นนัดดาของสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเกศ กรมขุนอิศรานุรักษ์ และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 เป็นปนัดดาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งเป็นพระพี่นางในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร เกิดตอนปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อเจริญวัย บิดาได้นำไปถวายตัวอยู่กับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นยังดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ สมมุติเทวาวงศ์ พงศาอิศวรกระษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎผนวช หม่อมราชวงศ์กระต่ายก็ได้ตามเสด็จไปรับใช้ ต่อมาเมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎทรงสนพระราชหฤทัยในภาษาอังกฤษ หม่อมราชวงศ์กระต่ายก็ได้ศึกษาตามพระราชนิยม โดยมีมิชชันนารีที่เข้ามาสอนศาสนาเป็นผู้สอน จนได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้ภาษาอังกฤษดี จนเจ้าฟ้ามงกุฎทรงใช้ให้เป็นตัวแทนเชิญกระแสรับสั่งไปพูดจากับชาวต่างชาติได้เป็นอย่างดี ครั้นเมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หม่อมราชวงศ์กระต่ายก็ติดตามสมัครเข้ารับราชการ ความสามารถของหม่อมราชวงศ์กระต่ายที่ช่วยราชกิจได้ดี จึงได้รับพระราชทานเลื่อนอิสริยยศเป็น "หม่อมราโชทัย" และด้วยความรู้ในภาษาอังกฤษดี พ.ศ. 2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราโชทัยเป็นล่ามหลวงไปกับคณะราชทูตไทยที่เชิญพระราชสาสน์และเครื่องมงคลราชบรรณาการ เดินทางไปถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย การเดินทางไปในครั้งนั้นเป็นที่มาของหนังสือนิราศเมืองลอนดอน ซึ่งแต่งหลังจากเดินทางกลับได้ 2 ปี ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราโชทัยขึ้นเป็นอธิบดีพิพากษาศาลต่างประเทศเป็นคนแรกของไทย หม่อมราโชทัยถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2410 ขณะมีอายุ 47 ปี พิธีพระราชทานเพลิงศพจัดขึ้นที่เมรุวัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2410.

ใหม่!!: พ.ศ. 2363และหม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) · ดูเพิ่มเติม »

อหิวาตกโรค

อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า (cholera) คือ โรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae ที่ลำไส้เล็ก ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียนเป็นหลัก เรียกว่า "ลงราก" จึงเรียกโรคนี้ว่า "โรคลงราก" ก็มี และถ้าเกิดแก่สัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ วัว ควาย เรียก "กลี" ร่างกายจะขับน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก ในผู้ป่วยรุนแรงอาจทำให้มีผิวสีออกเทา-น้ำเงินได้ การแพร่เชื้อเกิดขึ้นจากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ติดเชื้อเป็นหลัก ซึ่งผู้นั้นแม้ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้ ความรุนแรงของอาการท้องร่วงและอาเจียนสามารถนำไปสู่ภาวะขาดน้ำและเสียสมดุลเกลือแร่อย่างรวดเร็ว กระทั่งเสียชีวิตในบางราย การรักษาหลักคือการชดเชยสารน้ำโดยการกิน ซึ่งมักทำโดยให้ดื่มสารละลายชดเชยการขาดน้ำและเกลือแร่ ถ้าไม่ได้ผลหรือได้ผลเร็วไม่เพียงพอหรือดื่มไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ สำหรับผู้ป่วยบางรายที่เป็นรุนแรงอาจใช้ยาปฏิชีวนะช่วยเพื่อลดระยะเวลาและความรุนแรงของการป่ว..

ใหม่!!: พ.ศ. 2363และอหิวาตกโรค · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเต้ากวัง

ักรพรรดิเต้ากวัง พงศาวดารไทยเรียก สมเด็จพระเจ้าเตากวาง เป็นองค์ชายรองในจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง เดิมมีพระนามว่า เหมียนหนิง (綿寧) (แปลว่า อาทิตย์อัสดง) แต่ได้เปลี่ยนพระนามใหม่ภายหลังขึ้นครองราชย์ว่า หมิ่นหนิง (旻宁) (แปลว่า ท้องฟ้า หรือ จักรวาล) จักรพรรดิเต้ากวัง ประสูติจากมเหสีที่มีชื่อว่า จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย(孝淑皇后) แต่พระมารดาได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่พระองค์ยังเยาว์วัย จักรพรรดิเจี่ยชิงพระราชบิดาจึงได้สถาปนาพระมเหสีองค์ใหม่ขึ้นเป็นจักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย (孝和皇后) ซึ่งเป็นบุตรสาวของอูนาลา ขุนนางพวกเดียวกับเหอเซิน ที่ทรงไม่ไว้วางพระทัย แต่ทรงทำไปด้วยด้วยเหตุผลทางการเมือง นั่นทำให้จักรพรรดิเต้ากวังเมื่อยังทรงพระเยาว์ก็ไม่โปรดในตัวพระนางด้วยเช่นกัน แม้จะมีศักดิ์เป็นพระมารดาเลี้ยงก็ตาม แต่ได้ทรงเปลี่ยนทัศนะที่มีต่อพระนางใหม่ เมื่อครั้งหนึ่งที่ได้เสด็จไปไหว้บรรพกษัตริย์ที่สุสานราชวงศ์ชิงด้วยกัน และได้มีโจรกบฏกลุ่มหนึ่งมาจับตัวพระองค์และพระนางไปพร้อมกับสามัญชนกลุ่มหนึ่ง พวกกบฏบังคับให้พระองค์และพระนางบอกว่าใครเป็นใคร หากเงียบ ก็จะให้จ้วงแทงพระนางด้วยมีด พระนางก็ปิดปากเงียบไม่ยอมบอก นั่นจึงทำให้พระองค์ซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระนางเสี้ยวเหอมากและยอมรับพระนางในที่สุด จักรพรรดิเต้ากวัง ขึ้นครองราชย์ภายหลังการสวรรคตอย่างกะทันหันของจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานหลบร้อนไปยังเมืองเฉิงเต๋อ ซึ่งได้มีพระราชโองการแต่งตั้งไว้ในพินัยกรรม แต่เนื่องจากการที่สวรรคตในที่ห่างไกลเมืองหลวง จึงทำให้ องค์ชายสี่ เหมี่ยนซิน พระโอรสองค์เล็กพระนางเสี้ยวเหอของคัดค้านว่า เป็นพินัยกรรมปลอม และเตรียมการจะก่อกบฏ พระองค์จึงทรงวางแผนโยนไปให้พระนางเสี้ยวเหอตัดสินและได้ขอกำลังทหารส่วนหนึ่งมาคุ้มกัน ซึ่งพระนางเสี้ยวเหอได้ยอมรับว่า พินัยกรรมนั้นเป็นของจริง และได้พระราชทานอภัยโทษประหารองค์ชายเหมี่ยนซินไว้ ในรัชสมัยจักรพรรดิเต้ากวัง ได้ทรงหาทางกำจัดขุนนางกังฉินและบรรดาขุนนางที่ไม่เอาการเอางาน จึงทำให้เหล่าขุนนางลับหลังจะนินทาพระองค์อยู่เสมอ ๆ และทำให้ขุนนางแบ่งแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่ายต่างก็สนับสนุนพระโอรสอันเกิดจากพระมารดาที่เป็นชนเผ่าเดียวกับตน แต่พระองค์ก็ได้หาทางบริหารประเทศอย่างเต็มที่ ในรัชสมัยของพระองค์ประเทศเป็นปึกแผ่น ดูเหมือนเข้มแข็ง แต่ภายในอ่อนแออันเกิดจากการฉ้อราฎร์บังหลวงที่เป็นระบบกันมานานแต่สมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ในรัชสมัยนี้พระองค์ได้ออกนโยบายให้ทุกคนในวังประหยัด โดยมีพระองค์เป็นแบบอย่าง และเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดคือ สงครามฝิ่นกับอังกฤษในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) และ พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) ยุคล่าอาณานิคม ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และนำมาสู่การสูญเสียเกาะฮ่องกงและการล่มสลายของราชวงศ์ชิงในภายหลัง จักรพรรดิเต้ากวังมีอุปนิสัยส่วนพระองค์คือ โปรดปรานปืนเป็นพิเศษ ได้สวรรคตในปี พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) และผู้ครองราชย์สืบไปคือ องค์ชายอี้จู่ภายหลังขึ้นครองราชย์ใช้พระนามว่า จักรพรรดิเสียนเฟิง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2363และจักรพรรดิเต้ากวัง · ดูเพิ่มเติม »

12 มิถุนายน

วันที่ 12 มิถุนายน เป็นวันที่ 163 ของปี (วันที่ 164 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 202 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2363และ12 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

29 มกราคม

วันที่ 29 มกราคม เป็นวันที่ 29 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 336 วันในปีนั้น (337 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: พ.ศ. 2363และ29 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

31 กรกฎาคม

วันที่ 31 กรกฎาคม เป็นวันที่ 212 ของปี (วันที่ 213 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 153 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2363และ31 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 1820

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »