โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฝ่ายค้านซีเรียและรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ฝ่ายค้านซีเรียและรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

ฝ่ายค้านซีเรีย vs. รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

ฝ่ายค้านซีเรีย (المعارضة السورية al-Muʕaraḍah as-Sūrīyah) เป็นคำรวม ๆ สำหรับเอนทิตีการเมืองอันมีแนวร่วมแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Coalition) และกลุ่มซีเรียต่อต้านรัฐบาลเป็นตัวแทน โดยมีการควบคุมดินแดนบางส่วนและเป็นรัฐบาลซีเรียทางเลือก โดยอ้างว่าแทนสาธารณรัฐอาหรับซีเรียอย่างชอบธรรม ฝ่ายค้านซีเรียวิวัฒนานับแต่เริ่มสงครามกลางเมืองซีเรีย ตั้งแต่กลุ่มที่เรียกร้องให้เปลี่ยนรัฐบาลในซีเรียและผู้ที่คัดค้านรัฐบาลบะอัธ ก่อนหน้าสงครามกลางเมือง คำว่า "ฝ่ายค้าน" ใช้เรียกตัวแสดงทางการเมืองตามประเพณี ตัวอย่างเช่น คณะกรรมการประสานงานแห่งชาติเพื่อการเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตย (National Coordination Committee for Democratic Change) กล่าวคือ กลุ่มและปัจเจกชนที่มีประวัติขัดแย้งกับรัฐซีเรีย ระยะการก่อการกำเริบซีเรีย ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 ถึงต้นเดือนสิงหาคม 2554 มีลักษณะการต่อสู้ปราศจากความรุนแรงในหมู่ผู้เข้าร่วมการก่อการกำเริบเหมือนกัน ฉะนั้น ความขัดแย้งจึงยังไม่มีลักษณะเป็น "สงครามกลางเมือง" จนเริ่มมีการจัดระเบียบการต่อสู้ด้วยอาวุธในฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ซึ่งเกิดเริ่มตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2554 ทำให้ความขัดแย้งนี้เข้ากับนิยามการเมืองระหว่างประเทศของสงครามกลางเมือง กลุ่มค้านในซีเรียเปลี่ยนทิศทางในปลายปี 2554 ระหว่างสงครามกลางเมืองซีเรีย เมื่อกลุ่มรวมกันตั้งสภาแห่งชาติซีเรีย (SNC) ซึ่งได้รับการสนับสนุนและรับรองระหว่างประเทศอย่างสำคัญเป็นคู่เจรจา สภาแห่งชาติซีเรียได้รับการรับรองหรือสนับสนุนบ้างโดยรัฐสมาชิกสหประชาติอย่างน้อย 17 รัฐ โดยมีสามรัฐ (ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักรและสหรัฐ) เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สภาแห่งชาติซีเรียถือว่าได้รับอิทธิพลจากภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood) และมีสมาชิกของกลุ่มนี้จำนวนมาก แนวร่วมอิสลาม (Islamic Front) ทหารอาสาสมัครซุนนีอิสลามต่อต้านรัฐบาลสำคัญระหว่างสงครามซีเรีย เข้ากับสภาแห่งชาติซีเรีย กลุ่มรวมฝ่ายค้านที่ใหญ่กว่า คือ แนวร่วมกำลังปฏิวัติและฝ่ายค้านซีเรียแห่งชาติ (National Coalition for Syrian Revolutionary and Opposition Forces) ตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 สภาความร่วมมืออ่าวรับรองว่าเป็น "ผู้แทนโดยชอบของชาวซีเรีย" และสันนิบาตอาหรับรับรองว่าเป็น "ผู้แทนความปรารถนาของชาวซีเรีย" แนวร่วมแห่งชาติซีเรียต่อมาได้นั่งแทนซีเรียในสันนิบาตอาหรับ ส่วนผู้แทนของบะอัธซีเรียถูกระงับ สภาแห่งชาติซีเรีย ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของแนวร่วมแห่งชาติซีเรีย ถอนตัวเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2557 เพื่อประท้วงการตัดสินใจของแนวร่วมในการเข้าประชุมการเจรจาเจนีวา กลุ่มฝ่ายค้านจัดการเจรจาปรองดองในอัสตานา ประเทศคาซัคสถาน ในเดือนตุลาคม 2558. รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (Islamic State of Iraq and the Levant, ย่อ: ISIL) หรือเรียก รัฐอิสลามอิรักและซีเรีย (Islamic State of Iraq and Syria; ย่อ: ISIS), รัฐอิสลามอิรักและอัชชาม (Islamic State of Iraq and ash-Sham) หรือรัฐอิสลาม (Islamic State; ย่อ: IS) เป็นกลุ่มนักรบสุดโต่งวะฮาบีย์/ญิฮัดสะละฟีย์ซึ่งตั้งตนเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์และรัฐอิสลาม กลุ่มนี้มีชาวอาหรับนิกายซุนนีย์จากประเทศอิรักและซีเรียเป็นผู้นำและเป็นส่วนใหญ่ ในเดือนมีนาคม 2558 กลุ่มควบคุมดินแดนที่มีประชากร 10 ล้านคนในประเทศอิรักและซีเรีย และควบคุมเหนือดินแดนขนาดเล็กในประเทศลิเบีย ไนจีเรียและอัฟกานิถสานผ่านกลุ่มท้องถิ่นที่ภักดี กลุ่มนี้ยังปฏิบัติการหรือมีสาขาในส่วนอื่นของโลก รวมถึงแอฟริกาเหนือและเอเชียใต้ วันที่ 29 มิถุนายน กลุ่มตั้งต้นเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ทั่วโลก โดยมีอะบู บักร์ อัลบัฆดาดีเป็นเคาะลีฟะฮ์ และเปลี่ยนชื่อเป็นอัดเดาละฮ์ อัลอิสลามิยะฮ์ (الدولة الإسلامية, ad-Dawlah al-Islāmiyah "รัฐอิสลาม") ด้วยเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ กลุ่มนี้อ้างอำนาจทางศาสนา การเมืองและทหารเหนือมุสลิมทุกคนทั่วโลก และว่า "ความชอบด้วยกฎหมายของทุก ๆ เอมิเรต กลุ่ม รัฐและองค์การเป็นโมฆะโดยการแผ่ขยายอำนาจของเคาะลีฟะฮ์และทหารของรัฐเคาะลีฟะฮ์มาถึงพื้นที่ของสิ่งเหล่านี้" สหประชาชาติถือว่า ISIL รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและอาชญากรรมสงคราม และองค์การนิรโทษกรรมสากลรายงานการล้างชาติพันธุ์ของกลุ่มใน "ขนาดที่ไม่เคยมีมาก่อน" สหประชาชาติ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ อินเดียและรัสเซียประกาศให้กลุ่มนี้เป็นองค์การก่อการร้าย กว่า 60 ประเทศกำลังทำสงครามโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อ ISIL กลุ่มนี้กำเนิดเป็น "จามาต ตอฮิด วัล ญิฮัด" (Jama'at al-Tawhid wal-Jihad) ในปี 2542 ซึ่งสวามิภักดิ์ต่ออัลกออิดะฮ์ในปี 2547 กลุ่มนี้เข้าร่วมการก่อการกำเริบอิรักให้หลังการบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546 โดยกำลังตะวันตก ในเดือนมกราคม 2549 กลุ่มนี้เข้ากับกลุ่มก่อการกำเริบซุนนีย์อื่นตั้งเป็นสภาชูรามุญาฮิดีน (Mujahideen Shura Council) ซึ่งประกาศตั้งรัฐอิสลามอิรัก (ISI) ในเดือนตุลาคม 2549 หลังสงครามกลางเมืองซีเรียอุบัติในเดือนมีนาคม 2554 ISI โดยมีอัลบัฆดาดีเป็นผู้นำ ส่งผู้แทนไปซีเรียในเดือนสิงหาคม 2554 นักรบเหล่านี้ตั้งชื่อตัวเองเป็นญับฮะตุลนุศเราะฮฺลิอะห์ลิอัชชาม (Jabhat an-Nuṣrah li-Ahli ash-Shām) หรือแนวอัลนุสรา (al-Nusra Front) และเข้าไปในอยู่ในพื้นที่ของซีเรียซึ่งมีมุสลิมซุนนีย์เป็นส่วนใหญ่จำนวนมาก ในผู้ว่าราชการอัรร็อกเกาะฮ์ อิดลิบ เดอีร์เอซซอร์ และอะเลปโป ในเดือนเมษายน 2556 อัลบัฆดาดีประกาศรวม ISI กับแนวร่วมอัลนุสราแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ISIL) อย่างไรก็ดี อะบู มุฮัมมัด อัลจูลานี (Abu Mohammad al-Julani) และอัยมัน อัซเซาะวาฮิรี ผู้นำของอัลนุสราและอัลกออิดะฮ์ตามลำดับ ปฏิเสธการรวมดังกล่าว วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 หลังการแย่งอำนาจนานแปดเดือน อัลกออิดะฮ์เรียกกลุ่มนี้ว่า "สุดโต่งเกิน" และตัดความสัมพันธ์ทั้งหมดกับ ISIL โดยอ้างว่าไม่สามารถปรึกษาได้และไม่ยอมอ่อนข้ออย่างเปิดเผย" ในประเทศซีเรีย กลุ่มนี้ดำเนินการโจมตีภาคพื้นดินต่อทั้งกำลังรัฐบาลและกลุ่มแยกกบฏในสงครามกลางเมืองซีเรีย กลุ่มนี้มีความสำคัญหลังขับกำลังรัฐบาลอิรักออกจากนครสำคัญในภาคตะวันตกของอิรักในการรุกที่เริ่มเมื่อต้นปี 2557 การเสียดินแดนของอิรักแทบทำให้รัฐบาลอิรักล่มและทำให้สหรัฐรื้อฟื้นการปฏิบัติทางทหารใหม่ในอิรัก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฝ่ายค้านซีเรียและรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

ฝ่ายค้านซีเรียและรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สงครามกลางเมืองซีเรีย

สงครามกลางเมืองซีเรีย

งครามกลางเมืองซีเรีย เป็นการขัดกันด้วยอาวุธหลายฝ่ายที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศซีเรีย โดยมีต่างชาติเข้าแทรกแซง ความไม่สงบเริ่มในต้นฤดูใบไม้ผลิปี 2554 ในบริบทการประท้วงอาหรับสปริง โดยมีการประท้วงทั่วประเทศต่อรัฐบาลประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด ซึ่งกำลังของเขาสนองโดยการปราบปรามอย่างรุนแรง ความขัดแย้งค่อย ๆ กลายจากการประท้วงของประชาชนเป็นการกบฏมีอาวุธหลังการล้อมทางทหารหลายเดือน รายงานสหประชาชาติฉบับหนึ่งในปลายปี 2555 อธิบายความขัดแย้งว่า "มีสภาพนิยมนิกาย (sectarian) อย่างเปิดเผย" ระหว่างกำลังรัฐบาล ทหารอาสาสมัครซึ่งส่วนใหญ่เป็นอะละวี (Alawite) และกลุ่มชีอะฮ์อื่น ต่อสู้กับกลุ่มกบฏซึ่งมีซุนนีครอบงำเป็นส่วนใหญ่ แม้ทั้งฝ่ายค้านและกำลังรัฐบาลต่างปฏิเสธ ทีแรกรัฐบาลซีเรียอาศัยกองทัพเป็นหลัก แต่ตั้งแต่ปี 2557 หน่วยป้องกันท้องถิ่นซึ่งประกอบจากอาสาสมัครที่เรียก กำลังป้องกันชาติ (National Defence Force) ได้มีบทบาทมากขึ้น ค่อย ๆ กลายเป็นกำลังทหารหลักของรัฐซีเรีย รัฐบาลซีเรียได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิค การเงิน การทหารและการเมืองจากประเทศรัสเซีย อิหร่านและอิรักมาตั้งแต่ต้น ในปี 2556 ฮิซบุลลอฮ์ที่อิหร่านสนับสนุนเข้าร่วมสงครามโดยสนับสนุนกองทัพซีเรีย รัสเซียเข้าร่วมปฏิบัติการทางอากาศตั้งแต่เดือนกัยายน 2558 เนื่องจากการเกี่ยวพันของต่างชาติ ความขัดแย้งนี้จึงถูกเรียกว่าเป็น สงครามตัวแทน ระหว่างชาติซุนนีและชีอะฮ์ภูมิภาค ที่สำคัญที่สุดคือความขัดแย้งตัวแทนระหว่างซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน ในเดือนกันยายน 2558 รัสเซีย อิรัก อิหร่านและซีเรียตั้งห้องปฏิบัติการร่วม (ศูนย์สารสนเทศ) ในกรุงแบกแดดเพื่อประสานงานกิจกรรมของพวกตนในประเทศซีเรีย วันที่ 30 กันยายน 2558 ประเทศรัสเซียเริ่มการทัพทางอากาศของตนโดยเข้ากับฝ่ายและด้วยคำขอของรัฐบาลซีเรีย จึงเกิดสงครามตัวแทนระหว่างสหรัฐและรัสเซีย ซึ่งนักวิจารณ์บางส่วนบรรยายสถานการณ์ว่าเป็น "ก่อนสงครามโลกโดยมีประเทศเกือบโหลพัวพันในสองความขัดแย้งที่ทับซ้อนกัน" ฝ่ายค้านมีอาวุธประกอบด้วยหลายกลุ่มซึ่งก่อตั้งในห้วงความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทัพซีเรียเสรี (FSA) ซึ่งเป็นผู้แรกที่หยิบอาวุธในปี 2554 และแนวร่วมอิสลามซึ่งก่อตั้งในปี 2556 ฝ่ายทางตะวันออก รัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ (ISIL) กลุ่มนักรบญิฮัดซึ่งกำเนิดในประเทศอิรัก ได้ชัยชนะทางทหารอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศซีเรียและอิรัก จนลงเอยด้วยพิพาทกับกบฏอื่น ฝ่ายแนวร่วมนานาชาติที่มีสหรัฐเป็นผู้นำมีการสถาปนาขึ้นในปี 2557 โดยมีวัตถุประสงค์ที่ประกาศไว้ว่าเพื่อตอบโต้ ISIL และได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อ ISIL ในซีเรีย ตลอดจนเป้าหมายบะอัธซีเรียและให้การสนับสนุนต่อสหพันธรัฐประชาธิปไตยซีเรียเหนือ สหรัฐเลิกให้การสนับสนุนด้านอาวุธโดยตรงต่อ FSA ในปี 2560; ปลายปี 2560 อิทธิพลและดินแดนควบคุมของ ISIL เสื่อมลง จนซีเรียประกาศว่าประเทศได้รับการปลดปล่อยจาก ISIL แล้ว ด้านตุรกีมีความเกี่ยวข้องในสงครามตั้งแต่ปี 2559 และสนับสนุนฝ่ายค้านซีเรียอย่างแข็งขันและยึดพื้นที่ได้เป็นบริเวณกว้างทางภาคเหนือของประเทศซีเรีย องค์การระหว่างประเทศกล่าวหารัฐบาลซีเรีย ISIL และกำลังฝ่ายค้านอื่นว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง โดยเกิดการสังหารหมู่หลายครั้ง ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดการย้ายประชากรอย่างสำคัญ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 สหประชาชาติประกาศเริ่มการเจรจาสันติภาพซีเรียเจนีวาที่สหประชาชาติเป็นสื่อกลางอย่างเป็นทางการ โดยการสู้รบยังดำเนินไปโดยไม่มีทีท่าลดลง.

ฝ่ายค้านซีเรียและสงครามกลางเมืองซีเรีย · รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์และสงครามกลางเมืองซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ฝ่ายค้านซีเรียและรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

ฝ่ายค้านซีเรีย มี 3 ความสัมพันธ์ขณะที่ รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ มี 26 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 3.45% = 1 / (3 + 26)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ฝ่ายค้านซีเรียและรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »