โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฝีรอบทอนซิลและโรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ฝีรอบทอนซิลและโรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส

ฝีรอบทอนซิล vs. โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส

ฝีรอบทอนซิล (peritonsillar abscess, quinsy, quinsey) เป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของทอนซิลอักเสบ ทำให้เกิดหนองคั่งเป็นฝีขึ้นที่ฐานของทอนซิล ในบริเวณที่เรียกว่าช่องว่างรอบทอนซิล (peritonsillar space) ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ เจ็บคอ อ้าปากลำบาก และเสียงเปลี่ยน ส่วนใหญ่จะเจ็บมากเพียงข้างเดียว ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือการอุดกั้นทางเดินหายใจ และปอดอักเสบจากการสำลัก ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด โดยเฉพาะคอหอยอักเสบจากเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส ส่วนใหญ่จะไม่เกิดในผู้ที่เคยตัดทอนซิลออกไปแล้ว การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากประวัติและผลการตรวจร่างกาย บางครั้งอาจจำเป็นต้องถ่ายภาพรังสีเพื่อตรวจหาภาวะแทรกซ้อนในกรณีที่สงสัย การรักษาทำได้โดยการผ่าตัดเอาหนองออกจากฝี ให้ยาปฏิชีวินะ สารน้ำ และยาแก้ปวดลดไข้ บางครั้งอาจต้องใช้สเตียรอยด์ร่วมด้วย ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล ในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยประมาณ 3 ต่อ 10,000 คน-ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นวัยผู้ใหญ่ตอนต้น. รคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส (infectious mononucleosis, IM) หรือ โมโน เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์หรืออีบีวี ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเด็ก ซึ่งมักมีอาการไม่รุนแรง หากผู้ป่วยเป็นวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ตอนต้น มักมีอาการไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และอ่อนเพลีย อาการมักดีขึ้นภายใน 2-4 สัปดาห์ แต่อาจอ่อนเพลียต่อได้หลายเดือน บางรายมีตับโตหรือม้ามโตร่วมด้วย อาจพบการฉีดขาดของม้ามได้ แต่พบน้อย ไม่ถึง 1% เชื้อทีเป็นสาเหตุหลักของโรคนี้คือเชื้อไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์หรืออีบีวี มีอีกชื่อว่าไวรัสเฮอร์ปีส์ในมนุษย์ ชนิดที่ 4 ซึ่งอยู่ในแฟมิลีไวรัสเฮอร์ปีส์ นอกจากนี้ยังมีเชื้ออื่นอีกแต่พบไม่บ่อย ส่วนใหญ่ติดต่อผ่านทางน้ำลาย ช่องทางอื่นที่พบได้น้อยคือทางน้ำอสุจิและทางเลือด ผู้ป่วยอาจติดเชื้อผ่านการสัมผัสวัตถุที่ปนเปื้อน เช่น แก้วน้ำ แปรงสีฟัน ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 สัปดาห์ ก่อนเริ่มแสดงอาการ การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากอาการเป็นหลัก บางครั้งอาจจำเป็นต้องตรวจยืนยันโดยการตรวจหาแอนติบอดีในเลือด ผลการตรวจนับเม็ดเลือดมักพบว่ามีเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟซัยต์สูงกว่าปกติ โดยเป็นลิมโฟซัยต์แบบผิดปกติ (atypical) มากกว่า 10% ในสมัยก่อนเคยมีชุดตรวจสำเร็จรูปเช่น monospot แต่ปัจจุบันไม่แนะนำให้ใช้แล้ว เนื่องจากมีความแม่นยำต่ำ ยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันเชื้อนี้ การป้องกันโรคยังคงเน้นไปที่การงดใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน และงดจูบกับผู้ป่วย ผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นได้เอง การรักษาเป็นการบรรเทาอาการและการรักษาประคับประคองโดยทั่วไป ได้แก่ การดื่มน้ำ พักผ่อนให้เพียงพอ ใช้ยาแก้ปวดลดไข้เพื่อบรรเทาอาการไข้และอาการปวด เช่น พาราเซตามอล หรือไอบูโปรเฟน ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอายุประมาณ 15-24 ปี ส่วนในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กเล็ก ซึ่งมักมีอาการไม่รุนแรง หากพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยอายุ 16-20 ปี ที่มีอาการเจ็บคอ จะพบว่ามีสาเหตุจากโรคนี้ราว 8% ในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 45 ต่อประชากรแสนคน คนทั่วไปราว 95% จะเคยมีการติดเชื้ออีบีวีมาก่อน โรคนี้พบได้ตลอดปี ได้รับการบรรยายรายละเอียดของโรคเป็นครั้งแรกเมื่อช่วงปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฝีรอบทอนซิลและโรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส

ฝีรอบทอนซิลและโรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ไข้

ไข้

้ หรือ อาการตัวร้อน ปรับปรุงเมื่อ 6..

ฝีรอบทอนซิลและไข้ · โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิสและไข้ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ฝีรอบทอนซิลและโรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส

ฝีรอบทอนซิล มี 10 ความสัมพันธ์ขณะที่ โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส มี 14 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 4.17% = 1 / (10 + 14)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ฝีรอบทอนซิลและโรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »