โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ผู้เผยพระวจนะและพระวรสาร

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ผู้เผยพระวจนะและพระวรสาร

ผู้เผยพระวจนะ vs. พระวรสาร

''อิสยาห์ผู้เผยพระวจนะ'' วาดโดยเบนจามิน เวสต์ (1782, Bob Jones University Museum and Gallery). ผู้เผยพระวจนะ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) ประกาศก (ศัพท์คาทอลิก) หรือ ศาสดาพยากรณ์ (prophet; προφήτης,: จากคำนิบาต προ- pro- แปลว่า เบื้องหน้า และ φημί แปลว่า พูด, กล่าวออกไป) หมายถึง ผู้ที่พระเป็นเจ้าทรงเจิมตั้งไว้เพื่อการรับพระดำรัสของพระองค์มาถ่ายทอดสู่มวลมนุษย์ เป็นผู้ที่ทำนายอนาคต ผู้บอกเล่าอนาคต หรือประกาศคำสั่งสอนของพระเป็นเจ้า ปรากฏในความเชื่อของศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ภาคผนวกจากพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับอมตธรรมร่วมสมัยได้อธิบายคำว่า “ผู้เผยพระวจนะ” ไว้ว่า “กระบอกเสียงของพระเจ้า คนที่ได้รับข่าวสารหรือพระดำรัสของพระเจ้าและประกาศให้แก่กลุ่มคนที่เจาะจง”. ระวรสาร (โรมันคาทอลิก) หรือพระกิตติคุณ (โปรเตสแตนต์) (Gospels) เป็นหนังสือหมวดแรกในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ รู้จักในอีกนามหนึ่งว่า พระวรสารในสารบบ (Canonical gospels) เพราะเป็นพระวรสารที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคริสตจักรให้รวมในสารบบคัมภีร์ไบเบิลได้ คำว่า “gospel” มาจากภาษาอังกฤษเก่า แปลว่า “ข่าวดี” (คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยของชาวโปรเตสแตนต์แปลว่า "ข่าวประเสริฐ") มีนัยความหมายในคติของศาสนาคริสต์ถึง "การประกาศข่าวดี" ว่าบัดนี้ พระยาห์เวห์ได้ทรงประทานพระบุตรของพระองค์มารับสภาพมนุษย์เป็นพระเยซูแล้ว เพื่อประทานความรอดแก่มวลมนุษย์ ให้พ้นจากบาปและความทุกข์ และกลับเข้าสนิทกับพระเจ้าเช่นเดิม สู่แผ่นดินสวรรค์ ตามคำพยากรณ์ของผู้เผยพระวจนะในพันธสัญญาเดิม พระวรสารในสารบบมีอยู่ 4 เล่ม ในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ที่มีเนื้อหาโดยตรงเกี่ยวกับพระเยซู บรรยายถึงกำเนิด คำเทศนา การตรึงกางเขน และการคืนพระชนม์ ทั้ง 4 เล่มถูกตั้งชื่อตามชื่อผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้เขียน โดยเขียนขึ้นเมื่อระหว่าง ค.ศ. 65 ถึง ค.ศ. 100 ได้แก่ สามเล่มแรกเรียกว่าพระวรสารสหทรรศน์ เนื่องจากมีมุมมองในชีวิตของพระคริสต์ที่คล้ายกัน ขณะที่พระวรสารนักบุญยอห์น มีแง่มุมทางเทววิทยาและจิตวิญญาณที่ต่างออกไป.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ผู้เผยพระวจนะและพระวรสาร

ผู้เผยพระวจนะและพระวรสาร มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระบุตรพระเป็นเจ้าพระยาห์เวห์พันธสัญญาเดิมการประกาศข่าวดีศาสนาคริสต์ผู้เผยพระวจนะคัมภีร์ไบเบิล

พระบุตรพระเป็นเจ้า

ระเจ้าพระบิดาและพระวิญญาณบริสุทธิ์ประทับบนพระกุมารเยซู วาดโดย บาร์โตโลเม เอสเตบัน มูรีโย ราวคริสต์ทศวรรษ 1670 ตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนส่วนมากซึ่งถือแนวคิดแบบตรีเอกภาพนิยมถือว่า พระบุตรพระเป็นเจ้า หรือ พระบุตรของพระเจ้า (Son of God) หมายถึงพระเยซู โดยมีพระยาห์เวห์เป็นพระเจ้าพระบิดา โดยนัยนี้ พระเยซูมีสถานะเป็นพระเจ้าพระบุตรด้วย แต่คริสต์ศาสนิกชนกลุ่มอตรีเอกภาพนิยม (เช่น พยานพระยะโฮวา) แม้จะถือว่าพระเยซูคือพระบุตรของพระเป็นเจ้าเช่นกัน แต่ไม่ยอมรับว่าเป็นพระเจ้าพระบุตร ในประวัติศาสตร์ชาติต่าง ๆ จักรพรรดิมักถือว่าตนเองคือพระโอรสของเทพเจ้าหรือโอรสสวรรค์ จักรพรรดิเอากุสตุสแห่งจักรวรรดิโรมันก็อ้างว่าตนเองมีพระราชบิดาบุญธรรมคือเทพเจ้า จักรพรรดิจูเลียส ซีซาร์และจักรพรรดิโดมิเชียนเรียกตนเองว่า "ดีวีฟีลิอุส" (Divi filius โอรสเทพเจ้า) แต่ความเชื่อนี้ต่างจาก "พระบุตรพระเป็นเจ้า" ที่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ในพันธสัญญาใหม่ระบุถึงการเรียกพระเยซูว่า "พระบุตรของพระเจ้า" อยู่หลายครั้งเพื่อชี้ให้เห็นว่าพระเยซูเป็นพระเจ้า นับตั้งแต่การเสด็จลงมารับสภาพมนุษย์จนถึงการถูกตรึงที่กางเขน เช่น เมื่อพระเยซูทรงรับบัพติศมาเสร็จก็มีพระวจนะของพระเจ้าดังมาจากฟ้าว่า "ท่านผู้นี้เป็นบุตรที่รักของเรา" สาวกของพระเยซูก็เรียกพระเยซูว่าพระบุตรของพระเจ้.

ผู้เผยพระวจนะและพระบุตรพระเป็นเจ้า · พระบุตรพระเป็นเจ้าและพระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

พระยาห์เวห์

หรียญเงินราวสี่ศตวรรษก่อนคริสตกาลที่พบในอิสราเอล เชื่อว่าบุคคลที่ประทับอยู่บนสุริยบัลลังก์มีปีกนั้นคือพระยาห์เวห์ พระยาห์เวห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 647-8 (Yahweh) พระเยโฮวาห์ (Jahovah) พระยะโฮวา (ศัพท์พยานพระยะโฮวา) (Yahova) ยฮวฮ (ศัพท์ศาสนายูดาห์) (יהוה; YHWH) เป็นพระนามของพระเป็นเจ้าที่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม (ทานัค) ในคัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยเล่มเก่านั้นปรากฏพระนามนี้อยู่หลายครั้ง ในคัมภีร์ดั้งเดิมเขียนด้วยอักษร 4 ตัว แต่เนื่องจากอักษร 4 ตัว (ยฮวฮ|YHWH) นั้นผู้เขียนไม่ได้ใส่สระไว้ ทำให้การออกเสียงที่ถูกต้องถูกถ่ายทอดต่อกันมาโดยการพูด คัมภีร์ดั้งเดิมหรือต้นฉบับปรากฏพระนามนี้ประมาณ 7 พันครั้ง ในฉบับภาษาไทยเล่มเก่า ๆ ยังปรากฏพระนามนี้อยู่ การแปลในยุคต่อ ๆ มาได้เปลี่ยนพระนามมา 3 ครั้ง ปัจจุบันสะกดพระนามนี้ว่า ยาห์เวห์ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Yahweh การทับศัพท์ เยโฮวาห์ มีต้นกำเนิดมาจากการที่นักวิชาการชาวยุโรปถอดอักษรฮีบรู יהוה เป็นอักษรโรมัน 4 ตัวได้เป็น YHWH แล้วผสมสระจึงได้การออกเสียงเป็น "เยโฮวาห์" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Jehovah การทับศัพท์นี้แพร่หลายไปในภาษาต่าง ๆ รวมทั้งพระคัมภีร์ไบเบิลภาษาไทยฉบับเก่า ๆ เช่น ฉบับ 1971 ยังปรากฏพระนาม "เยโฮวาห์" นี้อยู่ นอกจากนี้ยังมีการทับศัพท์ว่า "ยะโฮวา" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Yahovah ในคัมภีร์ไบเบิล ฉบับ 1940 อีกด้วย แต่ในปัจจุบันนักวิชาการนิยมทับศัพท์ใหม่ว่า ยาห์เวห์ ตามหลักฐานที่ค้นพบและเป็นที่ยอมรับมากที่สุด ยฮวฮ คือพระนามของพระเป็นเจ้าสูงสุด ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1940 หรือ "เยโฮวาห์" ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1971 หรือ "ยาห์เวห์" ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 2011 แต่เพื่อให้เกิดความเป็นสากลในทุกนิกาย ทั้งใน โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เมื่อออกพระนามพระเป็นเจ้าจะออกเสียงว่า "พระเจ้า" และ "ยฮวฮ" ในคัมภีร์ฮีบรู (ทานัค) ทุกฉบับ ในภาษาฮีบรู ยาห์เวห์ แปลว่า เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น หรือแปลได้อีกว่า เราอยู่(ด้วย) ซึ่งก็คือ พระองค์ทรงฤทธิ์ที่จะเป็นอะไรก็ได้ตามพระประสงค์ของพระอง.

ผู้เผยพระวจนะและพระยาห์เวห์ · พระยาห์เวห์และพระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

พันธสัญญาเดิม

ันธสัญญาเดิม (Old Testament) เป็นศัพท์ศาสนาคริสต์ใช้เรียกคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งเป็นชุดคัมภีร์ของชาววงศ์วานอิสราเอลโบราณ ที่รวมกันเป็นส่วนแรกของคัมภีร์ไบเบิลในศาสนาคริสต์ จำนวนหนังสือในพันธสัญญาเดิมจะแตกต่างกันตามแต่ละนิกายในศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ยอมรับเฉพาะหนังสือ 24 เล่มในคัมภีร์ทานัคว่าเป็นพันธสัญญาเดิม แต่แบ่งใหม่เป็น 39 เล่ม ส่วนนิกายโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ คอปติกออร์ทอดอกซ์ และคริสตจักรแห่งเอธิโอเปีย มีจำนวนหนังสือที่รับเข้าในสารบบพันธสัญญาเดิมของตนมากกว.

ผู้เผยพระวจนะและพันธสัญญาเดิม · พระวรสารและพันธสัญญาเดิม · ดูเพิ่มเติม »

การประกาศข่าวดี

การประกาศข่าวดี (ศัพท์คาทอลิก) หรือ การประกาศข่าวประเสริฐ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Evangelism) คือการเผยแพร่พระวรสารหรือประกาศข่าวดีตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนว่าพระเยซูเป็นพระเจ้าผู้มารับสภาพมนุษย์และถูกตรึงกางเขนจนสิ้นพระชนม์ เพื่อไถ่มนุษย์ผู้เชื่อจากบาป หลังจากนั้น 3 วัน ก็ทรงคืนพระชนม์แล้วเสด็จขึ้นสวรรค์ คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าผู้เชื่อข่าวดีนี้จะถูกไถ่จากบาปทันทีและได้ขึ้นสวรรค์หลังจากเสียชีวิต จนถึงการพิพากษาครั้งสุดท้ายก็จะได้รับบำเหน็จจากพระเจ้า การประกาศข่าวดีถือเป็นพันธกิจสำคัญที่พระเยซูฝากไว้แก่สาวกของพระองค์ก่อนจะเสด็จขึ้นสวรรค์ ดังปรากฏในพระวรสารนักบุญมัทธิวว่า "ท่านทั้งหลายจงออกไปและนำชนทุกชาติมาเป็นสาวกของเรา จงบัพติศมาพวกเขาในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์" ผู้อุทิศตนทำงานประกาศข่าวดีเรียกว่า ผู้ประกาศข่าวดี (ศัพท์โรมันคาทอลิก) หรือ ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Evangelist).

การประกาศข่าวดีและผู้เผยพระวจนะ · การประกาศข่าวดีและพระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ผู้เผยพระวจนะและศาสนาคริสต์ · พระวรสารและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ผู้เผยพระวจนะ

''อิสยาห์ผู้เผยพระวจนะ'' วาดโดยเบนจามิน เวสต์ (1782, Bob Jones University Museum and Gallery). ผู้เผยพระวจนะ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) ประกาศก (ศัพท์คาทอลิก) หรือ ศาสดาพยากรณ์ (prophet; προφήτης,: จากคำนิบาต προ- pro- แปลว่า เบื้องหน้า และ φημί แปลว่า พูด, กล่าวออกไป) หมายถึง ผู้ที่พระเป็นเจ้าทรงเจิมตั้งไว้เพื่อการรับพระดำรัสของพระองค์มาถ่ายทอดสู่มวลมนุษย์ เป็นผู้ที่ทำนายอนาคต ผู้บอกเล่าอนาคต หรือประกาศคำสั่งสอนของพระเป็นเจ้า ปรากฏในความเชื่อของศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ภาคผนวกจากพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับอมตธรรมร่วมสมัยได้อธิบายคำว่า “ผู้เผยพระวจนะ” ไว้ว่า “กระบอกเสียงของพระเจ้า คนที่ได้รับข่าวสารหรือพระดำรัสของพระเจ้าและประกาศให้แก่กลุ่มคนที่เจาะจง”.

ผู้เผยพระวจนะและผู้เผยพระวจนะ · ผู้เผยพระวจนะและพระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

คัมภีร์ไบเบิลและผู้เผยพระวจนะ · คัมภีร์ไบเบิลและพระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ผู้เผยพระวจนะและพระวรสาร

ผู้เผยพระวจนะ มี 20 ความสัมพันธ์ขณะที่ พระวรสาร มี 39 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 11.86% = 7 / (20 + 39)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้เผยพระวจนะและพระวรสาร หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »