โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ผู้มีชื่อเสียงและมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ผู้มีชื่อเสียงและมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ผู้มีชื่อเสียง vs. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มารายห์ แครีและโรเบิร์ต เดอนีโร ผู้มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ ผู้มีชื่อเสียง (celebrity) หรือเรียกกันว่า คนดัง, ดารา หมายถึงบุคคลที่โด่งดัง มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักในสังคม ผู้มีชื่อเสียงมีหลายระดับหลากหลายกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่หรืออาจรวมถึงผู้มีชื่อเสียงที่มีชื่อเสียงไม่ดี ขณะที่บางคนอาจเป็นคนมีชื่อเสียงกับบางคน ในขณะที่อาจจะไม่เป็นที่รู้จักกับบางคน ยกตัวอย่างเช่น ริชาร์ด แบรนสัน ผู้บริหารบริษัทเวอร์จิ้น เป็นที่รู้จักในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แต่ไม่ใช่เป็นผู้มีชื่อเสียงที่รู้จักกันทั่วไป จนกระทั่งเขาพยายามเดินเรือรอบโลกโดยใช้บัลลูน ทำให้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณะ ผู้มีชื่อเสียงอีกประเภทหนึ่งที่เป็นเป้าสายตาของสาธารณชน คือพวกที่เรียกว่า เอ-ลิสต์ (A-list) วัดจากด้านการตลาด สื่อของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ มักจะพูดถึงผู้มีชื่อเสียงว่าเป็น เอ-ลิสต์ บี-ลิสต์ ดี-ลิสต์ หรือแซด-ลิสต์ เป็นการวัดระดับความสำคัญ อย่างไรก็ตามระดับนี้ก็มีความแตกต่างกันไปตามท้องที่ เป็นการยากที่จะแบ่งประเภท ดาราดังในนิการากัว อาจจะเป็นผู้มีชื่อเสียง บี-ลิสต์ ในสหรัฐอเมริกา แต่อาจจะเป็นดารา เอ-ลิสต์ ในสาธารณรัฐเชคก็ได้ วิธีในการวัดความดังในประเทศจาก เอ-ลิสต์ ไป เอช-ลิสต์ สามารถพิจารณาได้จากยอดจากค้นหาในกูเกิ้ล เช่นกัน แต่วิธีนี้ก็เป็นการวัดเชิงปริมาณ ใช้การสำหรับชื่อที่เป็นคนที่มีชื่อไม่มีคนใช้ชื่อซ้ำเยอะ โดยทั่วไปแล้ว ผู้มีชื่อเสียงคือคนที่ทำให้เป็นที่สนใจของสื่อและโดยมากจะเป็นคนเปิดเผย ความต้องการเป็นที่รู้จักมีนัยยะไปในส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมตะวันตก โดยเฉพาะความฝันอเมริกัน ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่วัดความสำเร็จ นอกจากนี้ยังมีคนที่ไต่เต้าความดังโดยการนำชีวิตส่วนตัวมาเปิดเผยให้เป็นที่รู้จัก อย่างเช่นความสัมพันธ์หลอก ๆ การปรากฏตัวในรายการเรียลลิตี้ การมีภาพโป๊หรือที่แย่กว่านั้นคือเทปลับ ในศตวรรษที่ 20 ความหลงใหลต่อผู้มีชื่อเสียงอย่างไม่มีขีดจำกัดบวกกับความปรารถนาในเรื่องซุบซิบผู้มีชื่อเสียง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดคอลัมน์กอสซิป แท็บลอยด์ ปาปาราซซี และบล็อกผู้มีชื่อเสียง เกิดขึ้นมา ไคลฟ์ เจมส์ นักเขียน ผู้ประกาศข่าว และนักแสดง เขียนหนังสือเกี่ยวกับปรากฏการณ์ความมีชื่อเสียงในศตวรรษที่ 20 ในชื่อ Fame in the 20th Century เขาแย้งว่าคนมีชื่อเสียงจริง เกือบจะไม่เป็นที่รู้จักก่อนศตวรรษที่ 20 เพราะขาดสื่อมวลชนที่เผยแพร่กว้างขวาง เขาระบุว่า ชาร์ลี แชปลิน ถือเป็นผู้มีชื่อเสียงระดับโลกคนแรกอย่างแท้จริง เนื่องจากมีผลกระทบจากภาพยนตร์ของเขาในคริสต์ทศวรรษ 1910 และหลังจากนั้น เขายังชี้ว่าผู้มีชื่อเสียงเป็นที่โดดเด่นขึ้นมาหลายวิธี เขาพูดถึง เอลิซาเบธ เทย์เลอร์ ว่าการใช้ชีวิตของเธอทำให้เธอโด่งดังมากกว่าผลงานการแสดงภาพยนตร์ของเธอเสียอีก. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ChiangMai Rajabhat University; ชื่อย่อ: มร.ชม. - CMRU) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของภาคเหนือ เป็นวิทยาลัยครูแห่งแรกที่ก่อตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาค และเป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2467 ในนาม "โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพ" มีบทบาทและความรับผิดชอบในฐานะสถาบันการศึกษาและวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาวิชาการในสาขาวิชาต่าง ๆ ตามความต้องการของท้องถิ่น และผลิตครูบุคลากรทางการศึกษา ทำการวิจัยส่งเสริมวิทยฐานะของครู อาจารย์ และบุคลากรประจำการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ในปี พ.ศ. 2518 "โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพ" หรือ "โรงเรียนฝึกหัดครูเชียงใหม่" ได้ยกฐานะขึ้นเป็น "วิทยาลัยครูเชียงใหม่" ตาม "พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518" ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนามวิทยาลัยครูทั่วประเทศว่า "สถาบันราชภัฏ" แปลว่า "ผู้ที่อยู่ใกล้พระราชา" ทั้งยังได้พระราชทานตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ เป็นตราประจำสถาบันราชภัฏ และเมื่อได้ประกาศใช้ "พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ" ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538 "วิทยาลัยครูเชียงใหม่" จึงมีชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏเชียงใหม่" เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมลงพระปรมาภิไธยใน "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547" อันมีผลให้สถาบันราชภัฏ 41 แห่งทั่วประเทศ เปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏ" และมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์ ยังความปลาบปลื้มยินดีแก่ชาวราชภัฏทุกคน ในปี พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีอายุครบรอบ 90 ปี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ผู้มีชื่อเสียงและมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ผู้มีชื่อเสียงและมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ผู้มีชื่อเสียงและมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ผู้มีชื่อเสียง มี 14 ความสัมพันธ์ขณะที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มี 105 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (14 + 105)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้มีชื่อเสียงและมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »