โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านและมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านและมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร

ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน vs. มาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร

ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านล้อมรอบพระเยซู วาดราว ค.ศ. 850 โดย แฮริกาเรียสแห่งทัวรส์ (Haregarius ofTours) ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านบนเพดานบริเวณสงฆ์ในวัดเซ็นต์โมริทซ (St. Moritz) ที่โรทเท็นเบิร์กอัมเนคคาร์ (Rottenburg am Neckar) ประเทศเยอรมันจากบนซ้ายนักบุญมัทธิว (มนุษย์) นักบุญมาระโก (สิงโต) นักบุญลูกา (วัว) และนักบุญยอห์น (อินทรี) ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน (Four Evangelists) หมายถึงผู้ประพันธ์พระวรสารสี่เล่มซึ่งเป็นเอกสารส่วนหนึ่งของพันธสัญญาใหม่ในคัมภีร์ไบเบิล วรสาร แปลว่า ข่าวประเสริฐ ซึ่งหมายถึงข่าวการเสด็จมาของพระเยซู หรือชีวประวัติของพระองค์นั่นเอง อย่างไรก็ดีพระวรสารเขียนขึ้นประมาณหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ไปแล้วเกือบหนึ่งร้อยปี. มาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร (Mark the Evangelist; מרקוס; Μάρκος) เป็นหนึ่งในผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน อีกสามท่านได้แก่มัทธิว ยอห์น และลูกา เชื่อกันว่าเป็นผู้ประพันธ์พระวรสารนักบุญมาระโกซึ่งเป็นเอกสารส่วนหนึ่งของพันธสัญญาใหม่และเป็นเพื่อนกับซีโมนเปโตร นักบุญมาระโกได้ร่วมเดินทางกับเปาโลและบารนาบัสเมื่อนักบุญเปาโลเริ่มเดินทางไปเผยแพร่ศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากที่มีข้อขัดแย้งกัน บารนาบัสก็แยกตัวจากเปาโลโดยเอามาระโกไปไซปรัสด้วย (กิจการของอัครทูต 15:36-40) การแยกตัวครั้งนี้ทำให้เกิดพระวรสารนักบุญมาระโกขึ้น ต่อมาเปาโลเรียกตัวมาระโกกลับมา ฉะนั้นมาระโกจึงกลับมาเป็นผู้ติดตามเปาโลอีกครั้ง คริสตจักรคอปติกออร์ทอดอกซ์ถือว่ามาระโกเป็นผู้วางรากฐานคริสต์ศาสนาในทวีปแอฟริกา เป็นคนแรกที่ดำรงตำแหน่งบิชอปแห่งอะเล็กซานเดรีย เช่นเดียวกับผู้นิพนธ์พระวรสารอีกสามองค์นักบุญมาระโกมักจะปรากฏในภาพเขียนทางคริสต์ศาสนาใช้สัญลักษณ์สิงโต ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ตามหนังสือดาเนียลบทที่ 7 (Book of Daniel).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านและมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร

ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านและมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระวรสารนักบุญมาระโกพันธสัญญาใหม่มัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสารยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสารลูกาผู้นิพนธ์พระวรสารซีโมนเปโตรเปาโลอัครทูต

พระวรสารนักบุญมาระโก

ระวรสารนักบุญมาระโก (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณมาระโก (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of Mark) เป็นพระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ และเป็นพระวรสารหนึ่งใน “พระวรสารสหทรรศน์” สามฉบับ ผู้เขียนไม่ได้ระบุนามของตนเองไว้ แต่เชื่อกันทั่วไปว่าเขียนโดยมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร ซึ่งเป็นบุตรชายของมารีย์ และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับบารนาบัส มาระโกได้ร่วมเดินทางกับเปาโลและบารนาบัสในการเดินทาง เพื่อทำการประกาศข่าวดีครั้งแรก เปาโลกล่าวถึงมาระโกในฐานะของเพื่อนในกรุงโรมและยกย่องการรับใช้ของเขาเป็นอย่างสูง เชื่อกันว่าในบรรดา “พระวรสารในสารบบ” ทั้งสี่เล่ม พระวรสารนักบุญมาระโก ถูกเขียนขึ้นเป็นฉบับแรก ในช่วงก่อนสงครามกลางเมืองในกรุงโรม เพราะฉะนั้นหนังสือเล่มนี้น่าจะถูกเขียนในราว..55 คริสตจักรยุคแรกมีความเห็นตรงกันว่า เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ถอดแบบมาจากคำสอนของเปโตร โดยเน้นที่การบันทึกข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จากลีลาการเขียนแสดงถึงการเขียนขึ้นอย่างเร่งรีบ ไม่ถูกผ่านการขัดเกลาให้สละสลวย ทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่า หลายเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที การกระทำต่าง ๆ ที่ได้บันทึกไว้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสังเกตได้จากคำว่า "ในทันใดนั้น" ถูกใช้มากกว่า 40 ครั้ง แม้ว่า พระวรสารนักบุญมาระโก จะมีความยาวน้อยที่สุดในบรรดาพระวรสารทั้งสี่เล่ม แต่ในบางเหตุการณ์กลับถูกบันทึกไว้โดยละเอียด นอกจากนี้ ยังมีบางบทที่ได้อธิบายถึงขนบธรรมเนียมของชาวยิวไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านชาวโรมันจะเข้าใจได้ วัตถุประสงค์ของ พระวรสารนักบุญมาระโก มีอยู่ 4 ประการ โดยประการแรกสำคัญที่สุดคือ มาระโกต้องการให้ผู้อ่านทราบว่า ข่าวดีคืออะไร นั่นคือการที่พระเยซูสิ้นพระชนม์เพื่อไถ่บาปของเรา ถูกฝังไว้แล้วเป็นขึ้นมาอีกครั้ง ดังนั้นมาระโกจึงให้ความสำคัญของเรื่องราวตั้งแต่การสิ้นพระชนม์ จนถึงการคืนพระชนม์ของพระเยซูมากกว่าเรื่องอื่น หนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 16 บท ใน 10 บทแรก บันทึกเรื่องราวตั้งแต่พระเยซูรับบัพติศมา จนถึงเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งเป็นระยะเวลาประมาณ 3 ปี ในขณะที่อีก 6 บทที่เหลือ เป็นการบันทึกเรื่องราวช่วงสุดท้ายของชีวิตพระเยซู ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียงแค่สัปดาห์เดียว แสดงให้เห็นว่ามาระโกต้องการเน้นว่า ข่าวดีคือหัวใจของหนังสือเล่มนี้ ประการที่สองที่มาระโกต้องการกล่าวคือ แม้ว่าพระเยซูคือพระบุตรพระเป็นเจ้า แต่พระเยซูทรงเป็นมนุษย์ พระองค์มีความรู้สึกเหน็ดเหนื่อย หิวโหย อ่อนล้า ฯลฯ เหมือนกับมนุษย์ พระเยซูจึงทรงเป็นแบบอย่างในการตอบสนองต่อความรู้สึกต่าง ๆ ดังนั้นในฐานะของคริสต์ศาสนิกชน ทุกคนควรเรียนรู้จากพระองค์และตอบสนองด้วยท่าทีอย่างเดียวกัน ประการที่สาม มาระโกเขียนเพื่อหนุนใจคริสเตียนที่ถูกกดขี่ข่มเหง เมื่อพระเยซูทรงยืนหยัดในขณะที่ถูกต่อต้าน จะเป็นกำลังใจให้กับคริสเตียนที่อยู่ในภาวะเดียวกันได้ ประการสุดท้าย มาระโกต้องการให้ผู้อ่านทราบถึงฤทธิ์อำนาจของพระเยซู ซึ่งมีชัยชนะเหนือผี โรคร้าย และความตายได้ พระวรสารนักบุญมาระโก ใช้ “มาระโก” หรือ “มก” ในการอ้างอิง.

ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านและพระวรสารนักบุญมาระโก · พระวรสารนักบุญมาระโกและมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

พันธสัญญาใหม่

ันธสัญญาใหม่ หรือ พระคริสตธรรมใหม่ (Καινή Διαθήκη; New Testament) เป็นภาคที่สองของคัมภีร์ไบเบิล จากทั้งหมด 2 ภาค ประกอบด้วยหนังสือภาษากรีกทั้งสิ้น 27 เล่ม ทุกเล่มเขียนโดยนักบุญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอัครทูตและนักบุญในช่วงเวลาเดียวกัน และทุกเล่มเขียนขึ้นหลังการตรึงพระเยซูที่กางเขน แม้ว่าพระเยซูจะไม่ได้ทรงเขียนด้วยพระองค์เอง แต่คริสต์ศาสนิกชนก็เชื่อว่าผู้เขียนได้เขียนขึ้นจากการดลใจและการทรงนำของพระเป็นเจ้าและพระเยซูผ่านทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ ส่วนชาวมุสลิมแม้จะนับถือพระเยซูเป็นนบีอีซา แต่ก็ไม่ยอมรับคัมภีร์ไบเบิลในปัจจุบันว่าเป็นพระวจนะของพระเจ้า เพราะนักวิชาการอิสลามเห็นว่าคัมภีร์นี้ถูกตัดเสริมแต่งและสังคายนากันหลายครั้ง.

ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านและพันธสัญญาใหม่ · พันธสัญญาใหม่และมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

มัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร

มัทธิว (Matthew the Evangelist; מתי - ของขวัญของพระเจ้า; ภาษาฮีบรูมาตรฐาน และ ภาษาฮีบรูไทบีเรียน “Mattay”; Μαθθαίος, “Matthaios”) เป็นอัครทูตของพระเยซู และเป็นหนึ่งในผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน (อีกสามท่านคือ มาระโก ยอห์น และลูกา) เชื่อกันว่าท่านเป็นผู้ประพันธ์พระวรสารนักบุญมัทธิวซึ่งเป็นพระวรสารฉบับหนึ่งในพันธสัญญาใหม่ และเชื่อกันว่าเป็นคนเดียวกับ “เลวี” (Levi) ผู้เก็บภาษี.

ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านและมัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร · มัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสารและมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

ยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร

อห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร (John the Evangelist; “יוחנן” (The LORD); ภาษาฮีบรูมาตรฐาน: “Yoḥanan”, ภาษาฮีบรูไทบีเรียน: “Yôḥānān”) หรือที่เรียกว่า “สาวกผู้เป็นที่รัก” (Beloved Disciple)) (เสียชีวิตประมาณปี..

ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านและยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร · มาระโกผู้นิพนธ์พระวรสารและยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

ลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร

ลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร (Luke the Evangelist; לוקא; Loukas) เกิดที่แอนติออก ประเทศตุรกีปัจจุบัน เสียชีวิตประมาณปี..

ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านและลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร · มาระโกผู้นิพนธ์พระวรสารและลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

ซีโมนเปโตร

ซีโมนเปโตร (Σιμων Πέτρος ซีมอน เปโตฺรส) หรืออัครทูตเปโตร (Απόστολος Πέτρος อะโปสโตโลส เปโตฺรส) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญเปโตร (Saint Peter) เดิมชื่อซีโมน เป็นชาวประมงคนหนึ่งของตำบลเบทไซดา (ลก. 5:3;ยน.1:44) แต่ว่าต่อมาได้ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม (มก. 1: 21.29) นักบุญอันดรูว์ น้องชายของท่านได้เป็นคนแนะนำให้ท่านติดตามพระเยซู (ยน. 1:42) และอาจเป็นนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาที่ได้เป็นผู้ตระเตรียมจิตใจของท่านสำหรับการพบปะครั้งสำคัญของท่านกับพระเยซู พระเยซูทรงได้เปลี่ยนชื่อท่านใหม่ว่าเปโตร ซึ่งแปลว่า "ศิลา" (มธ. 16: 17-19) ครั้งหนึ่งพระเยซูตรัสถามท่านว่า "ท่านคิดว่าเราเป็นใคร" และเปโตรได้ทูลว่า "พระองค์คือพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า" พระเยซูจึงตรัสว่า "เราจะตั้งเราเป็นหัวหน้าแทนท่าน ทั้งจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์" (มธ. 16: 15-19) สัญลักษณ์ที่เห็นเด่นชัดในภาพคือ มือของท่านมีลูกกุญแจ เปโตรเป็นพยานบุคคลผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ (ยน. 20:6) และได้เห็นการคืนพระชนม์ของพระเยซู (ลก. 23:34) หลังจากที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน (กจ. 1: 15; 15:7) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) (กจ. 2:14-41) และท่านเองเป็นคนแรกที่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดคริสตจักรไปสู่พวกคนต่างชาติ (กจ.10-11) เปโตรเขียนจดหมาย 2 ฉบับที่ทรงคุณค่าอย่างมากคือ 1 และ 2 เปโตร ท้ายที่สุดเปโตรได้เสียสละชีวิตเพื่อพระเยซูตามคำทำนายของพระองค์ (ยน 21.18-19) ภารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่าง ๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ (มธ.10: 41; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31) เปาโลอัครทูตเองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองแอนติออก (กจ.15; กท. 2:11-14) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว ในเรื่องนี้รู้สึกว่าเปโตร ยังตัดสินใจช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว (กจ. 6: 1-2) ต่อเมื่อเปโตรได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครทูตของทุก ๆ คน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น "ศิลาหัวมุม" ของคริสตจักรของพระเยซูโดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกัน และท่านได้ประทับตราภารกิจหน้าที่นี้ด้วยการหลั่งโลหิตของท่านตามแบบพระอาจารย์ คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่าท่านเป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ท่านถูกจับตรึงกางเขน และได้ขอร้องให้หันศีรษะท่านลง เพราะคิดว่าไม่สมควรที่จะตายในลักษณะเดียวกับพระเยซูผู้เป็นพระอาจาร.

ซีโมนเปโตรและผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน · ซีโมนเปโตรและมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

เปาโลอัครทูต

นักบุญเปาโลอัครทูต (St.) หรือนักบุญเปาโลแห่งทาร์ซัส (St.; San Paolo di Tarso) หรือนักบุญเปาโล มาจาก ภาษากรีก “Šaʾul HaTarsi” หมายถึง “เซาโลแห่งทาร์ซัส” มาจาก “Σαουλ” “Saul” หรือ “Σαῦλος” “Saulos” หรือ “Παῦλος” “Paulos” เป็น “อัครทูตถึงชนต่างชาติ” (Apostle to the Gentiles) พร้อมกับนักบุญเปโตรและนักบุญยากอบผู้ชอบธรรม (James the Just), เป็นมิชชันนารีที่สำคัญที่สุดในศาสนาคริสต์ยุคแรก แต่ไม่เคยพบพระเยซูดังเช่นอัครทูตท่านอื่นๆ ไม่มีหลักฐานใดที่กล่าวว่านักบุญเปาโลเคยพบพระองค์ด้วยตนเองก่อนที่จะถูกตรึงกางเขนตามที่กล่าวใน “กิจการของอัครทูต” นักบุญเปาโลมานับถือศาสนาคริสต์ระหว่างที่เดินทางไป ดามัสกัส จากการที่ได้เห็นพระเยซูผู้ฟื้นคืนพระชนม.

ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านและเปาโลอัครทูต · มาระโกผู้นิพนธ์พระวรสารและเปาโลอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านและมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร

ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน มี 22 ความสัมพันธ์ขณะที่ มาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร มี 33 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 12.73% = 7 / (22 + 33)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านและมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »