เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ผังอาสนวิหารและมหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ผังอาสนวิหารและมหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์

ผังอาสนวิหาร vs. มหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว. ซิลิกาซานโลเร็นโซ หรือ บาซิลิกาเซนต์ลอว์เรนซ์แห่งฟลอเรนซ์ (Basilica of San Lorenzo, Florence, Basilica di San Lorenzo) เป็นวัดคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นมหาวิหารที่ตั้งอยู่กลางเมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบฟื้นฟูศิลปวิทยา บาซิลิกาซานโลเร็นโซเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณตลาดเก่าในใจกลางเมืองฟลอเรนซ์และเป็นวัดที่ใช้ในการบรรจุศพบุคคลสำคัญๆ หลายคนของตระกูลเมดิชิตั้งแต่โคสิโม เดอ เมดิชิผู้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1464 มาจนถึงโคสิโม เดอ เมดิชิที่ 3 แกรนดยุคแห่งทัสเคนี (Cosimo III de' Medici, Grand Duke of Tuscany) ผู้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1723 บาซิลิกาซานโลเร็นโซเป็นวัดหนึ่งที่อ้างตนเองว่าเป็นวัดที่เก่าที่สุดในฟลอเรนซ์ที่เดิมสร้างในปี ค.ศ. 393 นอกกำแพงเมือง และเป็นมหาวิหารแห่งเมืองฟลอเรนซ์อยู่ 300 ปี ก่อนที่จะย้ายไปเป็นวัดซานตาเรพาราตา นอกจากนั้นแล้วบาซิลิกาซานโลเร็นโซก็ยังเป็นวัดประจำตระกูลเมดิชิ ในปี ค.ศ. 1419 จิโอวานนิ ดิ บิชชิ เดอ เมดิชิ (Giovanni di Bicci de' Medici) อาสาออกเงินให้สร้างวัดใหม่แทนวัดโรมาเนสก์เดิมที่สร้างมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 โดยจ้างให้ฟีลิปโป บรูเนลเลสกีผู้เป็นสถาปนิกคนสำคัญของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นผู้ออกแบบ แต่ไม่ได้สร้างเสร็จจนกระทั่งจิโอวานนิเสียชีวิตไปแล้ว บาซิลิกาซานโลเร็นโซเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคริสต์ศาสนสถานที่เป็นของสำนักสงฆ์ ที่ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างสำคัญๆ อื่นๆ ที่รวมทั้งห้องเก็บสมบัติเก่า (Sagresta Vecchia) โดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี, ห้องสมุดบาซิลิกาซานโลเร็นโซ (Laurentian Library) โดยมีเกลันเจโล, ห้องเก็บสมบัติใหม่โดยมีเกลันเจโล และชาเปลเมดิชิ (Medici Chapel) โดยมัตเตโอ นิเก็ตติ (Matteo Nigetti).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ผังอาสนวิหารและมหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์

ผังอาสนวิหารและมหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์ มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บริเวณกลางโบสถ์ช่องทางเดินมุขโค้งด้านสกัดสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตกสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ห้องเก็บเครื่องพิธีโบสถ์คริสต์โบสถ์น้อย

บริเวณกลางโบสถ์

ริเวณกลางโบสถ์แบบกอธิคมองไปสู่บริเวณพิธีทางมุขตะวันออกภายในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์และเซนต์พอลแห่งนองซ์ในประเทศฝรั่งเศส แผนผังแสดงส่วนที่เป็น “บริเวณกลางโบสถ์” ที่เป็นสีชมพู บริเวณกลางโบสถ์ยุคต้นเรอเนสซองซ์ในบาซิลิกาซานโลเร็นโซโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี - คริสต์ทศวรรษ 1420 บริเวณกลางโบสถ์ (nave) คือช่องทางเดิน (aisle) ที่ตั้งอยู่กลางคริสต์ศาสนสถานที่เริ่มตั้งแต่จากประตูทางเข้าไปสู่บริเวณพิธีและแท่นบูชาเอก ที่บางครั้งก็อาจจะขนาบด้วยช่องทางเดินข้างซ้ายขวาข้างละช่องหรืออาจจะมากกว่าก็ได้ถ้าเป็นวัดใหญ่ๆ เช่นมหาวิหารแซงต์เอเตียนน์แห่งบูร์กที่มีช่องทางเดินทั้งหมดห้าช่องที่ประกอบด้วยบริเวณกลางโบสถ์ที่ขนาบด้วยช่องทางเดินข้างๆ ละสองช่อง.

บริเวณกลางโบสถ์และผังอาสนวิหาร · บริเวณกลางโบสถ์และมหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ช่องทางเดิน

“ช่องทางเดิน” ของกุดังเก็บสินค้าคอสท์โคที่ซานฟรานซิสโก ช่องทางเดิน (aisle) โดยทั่วไปหมายถึงช่องว่างที่ใช้เป็นทางเดินระหว่างแนวที่นั่ง, ผนัง, แนวแสดงหรือเก็บสินค้า หรืออื่นๆ ช่องทางเดินอาจจะปรากฏในสถาปัตยกรรมเช่นคริสต์ศาสนสถาน (เช่นในมหาวิหาร), โรงละคร, ห้องประชุม, ห้องเรียน, ศาล, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ตลาด, โรงงาน, รถประจำทาง และอื่นๆ ในกุดังเก็บสินค้าหรือโรงงานสองข้างของช่องทางเดินอาจจะเป็นชั้นที่ต่อขึ้นสูงสองข้างสำหรับเก็บสินค้า การจัดวางองค์ประกอบภายในอาคารที่วางสิ่งของหรือเครื่องมือเป็นแนวโดยมีช่องว่างระหว่างแนวที่ใช้เป็นทางเดิน ช่องนี้จะเรียกว่า “ช่องทางเดิน” เช่นในสถานที่สำหรับออกกำลังกายที่จัดเครื่องออกกำลังเป็นแนวแยกกันโดย ช่องทางเดิน “ช่องทางเดิน” ต่างจาก “ระเบียงทางเดิน” (corridor) หรือโถงทางเดิน (hallway), “ทางเท้า” (footpath/pavement/sidewalk), “ทางเดินนอกสถานที่” (trail) และ “ทาง” (path) หรือ โถงภายในอาคาร (enclosed หรือ open area).

ช่องทางเดินและผังอาสนวิหาร · ช่องทางเดินและมหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

มุขโค้งด้านสกัด

ลักษณะโดยทั่วไปของมุขโค้งสมัยคริสเตียนตอนต้น/ไบแซนไทน์ที่เป็นโค้งครึ่งโดม มุขโค้งสามมุขด้านตะวันออกของบาซิลิกาซานตาจูเลียทางตอนเหนือของอิตาลี มุขด้านตะวันออกของแอบบีแซงต์อูน (Abbey church of Saint-Ouen) แสดงให้เห็น “ชาเปลดาวกระจาย”, รูออง มุขด้านตะวันออกของมหาวิหารมอนริอาเลในซิซิลีที่เต็มไปด้วยลวดลายตกแต่ง มุขโค้งด้านสกัด หรือ มุขตะวันออก (Apse หรือ Apsis) คือส่วนที่เป็นโค้งครึ่งวงกลมที่มีหลังคาครึ่งวงกลมหรือครึ่งโดมที่ยื่นออกมาจากสิ่งก่อสร้าง “มุขโค้งด้านสกัด” มาจากภาษาอังกฤษว่า “Apse” ที่มาจากภาษาละติน “absis” ที่แปลว่า “โค้ง” หรือ “เพดานโค้ง” ในสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์, สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ และ สถาปัตยกรรมกอธิคของแอบบี, มหาวิหาร และคริสต์ศาสนสถานอื่นๆ คำนี้หมายถึงมุขครึ่งวงกลมหรือหลายเหลี่ยมที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของสิ่งก่อสร้างที่ภายในเป็นที่ตั้งของแท่นบูชาเอก และไม่ว่าหลังคาจะเป็นทรงใด: ราบ, ลาด, โดม หรือครึ่งวงกลม.

ผังอาสนวิหารและมุขโค้งด้านสกัด · มหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์และมุขโค้งด้านสกัด · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

Tempietto di San Pietro in Montorio (ค.ศ. 1502) โรม โดย โดนาโต ดันเจโล บรามันเต ซึ่งเป็นวัดที่สร้างบนที่ที่เชื่อกันว่าเป็นที่ที่นักบุญปีเตอร์สิ้นชีวิด มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรมในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือ สถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์ (Renaissance architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มขึ้นเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่15 และรุ่งเรืองไปจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อบางประเทศในทวีปยุโรปหันมาฟื้นฟูความสนใจเกี่ยวกับปรัชญากรีก และ โรมันโบราณ และวัตถุนิยม สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาจะเน้นความมีความสมมาตร (symmetry) ความได้สัดส่วน (proportion) การใช้รูปทรงเรขาคณิต และลักษณะที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมคลาสสิก เช่นสถาปัตยกรรมสมัย โรมัน การวางโครงสร้างจะเป็นไปอย่างมีแบบแผนไม่ว่าจะเป็นเสา หรือ คานรับเสา และการใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลม การใช้โดม มุข (niche) หรือ aedicule ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เข้ามาแทนที่จะเป็นแบบตรงกันข้ามกับรูปทรงที่ซับซ้อนและไม่เป็นระเบียบ (irregular profile) ที่เป็นที่นิยมของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิก สถาปนิกคนแรกที่เริ่มแบบแผนของสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาคือ ฟีลิปโป บรูเนลเลสกีหลังจากนั้นไม่นานลักษณะสถาปัตยกรรมที่ว่านี้ก็แพร่หลายไปทั่วประเทศอิตาลี และต่อไปยังฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ รัสเซีย และประเทศอื่น.

ผังอาสนวิหารและสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · มหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์และสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก

อาสนวิหารโคโลญ, ประเทศเยอรมนี มีหอสูงที่สุดในโลก อาสนวิหารซอลสบรี (1220-1380) จากมุมตะวันออก มีหอสูงที่สุดในอังกฤษ อาสนวิหารเบอร์มิงแฮม (Birmingham Cathedral) อังกฤษ อาสนวิหารเกิร์ค (Gurk Dom) ออสเตรีย สถาปัตยกรรมการก่อสร้างอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก เป็นบทความที่บรรยายถึงลักษณะสิ่งก่อสร้างของอาสนวิหารทางคริสต์ศาสนา ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก อาสนวิหาร คือโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลมุขนายกตามที่กำหนดไว้ อาสนวิหารเป็นที่เป็นที่ตั้งของ “คาเทดรา” (bishop's cathedra) และเป็นสถานที่ทางคริสต์ศาสนาที่ใช้ในการนมัสการ (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ หรือแองกลิคัน) ขนาดของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาสนวิหารไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตเสมอไป อาจจะมีขนาดเล็กอย่างเช่นอาสนวิหารอ๊อกซฟอร์ด หรือ อาสนวิหารเชอร์ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วอาสนวิหารมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเด่นที่สุดในท้องถิ่นที่ตั้งอยู.

ผังอาสนวิหารและสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก · มหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์และสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

ผังอาสนวิหารและสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ · มหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์และสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

ห้องเก็บเครื่องพิธี

ห้องเก็บเครื่องพิธี ห้องเก็บเครื่องพิธีภายในมหาวิหารซันตาโกรเชที่ฟลอเรนซ์ ห้องเก็บเครื่องพิธี (Sacristy) คือห้องที่ตั้งอยู่ภายในคริสต์ศาสนสถานที่ใช้เป็นที่เก็บอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ (Vestment) อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ และบันทึกเอกสารของคริสต์ศาสนสถาน ห้องเก็บเครื่องพิธีมักจะตั้งอยู่ภายในตัวคริสต์ศาสนสถาน แต่ในบางกรณีก็อาจจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างติดกับตัววัด หรือ อาจจะเป็นสิ่งก่อสร้างอิสระจากตัวโบสถ์ เช่นในบางอาราม ในโบสถ์โบราณห้องเก็บเครื่องพิธีมักจะตั้งอยู่ทางด้านข้างของแท่นบูชา หรืออาจจะตั้งอยู่ทางด้านข้างหรือด้านหลังของบริเวณแท่นบูชาเอก หรือ บริเวณร้องเพลงสวด ในโบสถ์สมัยใหม่ห้องเก็บเครื่องพิธีมักจะตั้งอยู่ในตำแหน่งอื่น เช่นใกล้ประตูทางเข้า คริสต์ศาสนสถานบางแห่งก็จะมีห้องเก็บเครื่องพิธีมากกว่าหนึ่งแต่ละแห่งก็จะมีวัตถุประสงค์ต่างกัน นอกจากนั้นแล้วห้องเก็บเครื่องพิธีก็ยังเป็นสถานที่สำหรับนักบวชและผู้ช่วยใช้ในการเตรียมตัวประกอบคริสต์ศาสนพิธี เมื่อประกอบพิธีเสร็จก็จะกลับมาที่ห้องนี้เพื่อถอดเครื่องแต่งกายออก และ เก็บอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการประกอบพิธี ห้องเก็บเครื่องพิธีมักจะมีอ้างล้างมือพิเศษที่เรียกว่า อ่างซาคราเรียม (Piscina หรือ sacrarium) ที่มีท่อระบายที่ให้น้ำจากการประกอบพิธีจากการล้างมือที่ถือเป็นน้ำที่ใช้ในการประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ไหลลงดินโดยตรงแทนที่จะลงไปในท่อหรือถังน้ำเสีย อ่างซาคราเรียมใช้ในการซักผ้าลินินที่ใช้ในพิธีมิสซาและสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้ในการประกอบพิธี ส่วนใหญ่แล้วห้องเก็บเครื่องพิธีจะเป็นสถานที่ที่ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้า ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลบริหารห้องเก็บเครื่องพิธีเรียกว่า “Sacristan” หรือ “Sacrist” ผู้มักจะมีหน้าที่ดูและตัวสิ่งก่อสร้างและบริเวณรอบๆ ด้ว.

ผังอาสนวิหารและห้องเก็บเครื่องพิธี · มหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์และห้องเก็บเครื่องพิธี · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์คริสต์

อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

ผังอาสนวิหารและโบสถ์คริสต์ · มหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์และโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์น้อย

น้อยในประเทศเบลเยียม โบสถ์น้อย หรือ วัดน้อย (chapel) เป็นสิ่งก่อสร้างอิสระหรือโครงสร้างภายในสิ่งก่อสร้างของคริสต์ศาสนสถาน ถ้าเป็นสิ่งก่อสร้างอิสระก็มีขนาดต่างๆ ตั้งแต่ใหญ่ขนาดมหาวิหารย่อย ๆ ไปจนถึงโบสถ์น้อยเล็ก ๆ ข้างทาง เช่นเดียวกับถ้าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างขนาดก็ขึ้นอยู่กับฐานะของผู้สร้าง โบสถ์น้อยที่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิหาร, โบสถ์ใหญ่ ๆ, ปราสาท, วัง, คฤหาสน์, วิทยาลัย, โรงพยาบาล คุก หรือสุสาน บางครั้งโบสถ์น้อยที่สร้างในมหาวิหารจะสร้างเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น "โบสถ์น้อยแม่พระ" ที่มักจะสร้างเป็นโบสถ์น้อยที่อยู่ทางตะวันออกสุดของโบสถ์ หรือ "โบสถ์น้อยศีลศักดิ์สิทธิ์" ที่ตั้งติดกับโบสถ์และใช้เป็นที่เก็บไวน์ และขนมปังที่ใช้ในพิธีศีลมหาสนิท ถ้าโบสถ์น้อยมีขนาดค่อนข้างเล็กที่สร้างเป็นคูหาภายในทางด้านข้างหรือทางด้านหลังของมหาวิหารหรือโบสถ์ก็อาจจะเรียกว่า "คูหาสวดมนต์" ความหมายเป็นนัยยะของโบสถ์น้อยคือเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นส่วนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่ใช่สถาบันศาสนา เช่น โบสถ์น้อยของปราสาท หรือโบสถ์น้อยส่วนตัวภายในมหาวิหารเป็นต้น.

ผังอาสนวิหารและโบสถ์น้อย · มหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์และโบสถ์น้อย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ผังอาสนวิหารและมหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์

ผังอาสนวิหาร มี 39 ความสัมพันธ์ขณะที่ มหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์ มี 44 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 10.84% = 9 / (39 + 44)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ผังอาสนวิหารและมหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: