เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ป๋วย อึ๊งภากรณ์และสหรัฐ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ป๋วย อึ๊งภากรณ์และสหรัฐ

ป๋วย อึ๊งภากรณ์ vs. สหรัฐ

ตราจารย์ พันตรี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (ชื่อจีน: 黃培謙 Huáng Péiqiān 9 มีนาคม พ.ศ. 2459 — 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย เป็นอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีอายุน้อยที่สุด ด้วยวัย 43 ปี 3 เดือน และได้ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดถึง 12 ปี 2 เดือน 4 วัน เป็นสมาชิกขบวนการเสรีไทย อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนที่ 10 และเป็นผู้แต่งหนังสือ "คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน" ป๋วย เกิดและเติบโตจากคนจีน ด้วยฐานะที่ไม่ร่ำรวย เขาจึงดิ้นรนต่อสู้อุปสรรคในชีวิตต่างๆ จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาธรรมศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยเข้าร่วมพันธมิตรกับญี่ปุ่น ป๋วยก็ได้ร่วมก่อตั้งคณะเสรีไทยขึ้นในอังกฤษ และได้พยายามเจรจาไกล่เกลี่ยกับรัฐบาลอังกฤษให้ยอมรับขบวนการเสรีไทย มีครั้นหนึ่งที่ป๋วยเสี่ยงชีวิตในการลอบกระโดดร่มเข้าไทย ณ บ้านวังน้ำขาว จังหวัดชัยนาท จนได้ชื่อว่าเป็น “วีรบุรุษวังน้ำขาว” เมื่อสงครามยุติลง ประเทศไทยจึงไม่ถือเป็นผู้แพ้สงคราม ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เขาก็ได้รับหน้าที่เป็นทั้งผู้ว่าธนาคารแห่งชาติ รวมถึงยังได้รับตำแหน่งทั้งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ป๋วยได้แสดงความกล้าหาญ หลายครั้งโดยเฉพาะการส่งจดหมายในนาม "นายเข้ม เย็นยิ่ง" ถึงจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยให้กับสังคม จุดประกายให้กับขบวนการ 14 ตุลาคม 2516 ด้วยความที่เขาได้รับการชื่นชมมากมายจากสังคม ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ป๋วยก็ถูกทั้งฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา ออกมาโจมตีกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ จนในที่สุดก็ต้องออกเดินทางลี้ภัยไปต่างประเทศ และเสียชีวิตลงในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 ที่ประเทศอังกฤษ สเตฟาน คอลินยองส์ (Stefan Collingnon) นักวิชาการร่วมสมัยชาวเยอรมัน ได้กล่าวยกย่องป๋วยว่าเป็น "บิดาของเมืองไทยสมัยใหม่" (Founding Father of Modern Thailand) ในฐานะผู้วางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ป๋วยได้รับ รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ในปี พ.ศ. 2508 และได้รับการยกย่องจากองค์กรยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในปี พ.ศ. 2558. หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ป๋วย อึ๊งภากรณ์และสหรัฐ

ป๋วย อึ๊งภากรณ์และสหรัฐ มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองภาษาฝรั่งเศสลัทธิคอมมิวนิสต์สหราชอาณาจักรสงครามโลกครั้งที่สองประเทศอินเดียปริญญาตรี

ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง

"สามผู้ยิ่งใหญ่": (ซ้าย) โจเซฟ สตาลิน แห่งโซเวียต(กลาง) แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ แห่งสหรัฐ(ขวา) วินสตัน เชอร์ชิล แห่งสหราชอาณาจักรในการประชุมเตหะราน เมื่อ ค.ศ. 1943 ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นกลุ่มประเทศที่ต่อสู้กับฝ่ายอักษะช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามาพัวพันในสงครามโลกครั้งที่สองเพราะประเทศเหล่านี้ถูกรุกรานก่อน ถูกคุกคามโดยตรงจากการรุกรานของฝ่ายอักษะหรือเพราะประเทศเหล่านี้กังวลว่าฝ่ายอักษะจะควบคุมโลกอย่างใดอย่างหนึ่ง แนวร่วมต่อสู้เยอรมนีช่วงสงครามเริ่มต้น (1 กันยายน ค.ศ. 1939) ประกอบด้วยฝรั่งเศส โปแลนด์ สหราชอาณาจักร ชาติเครือจักรภพอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพแอฟริกาใต้ (กำลังสหภาพแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สู้รบภายใต้การบัญชาของเครือจักรภพแม้จะเป็นชาติอธิปไตยนับแต่ ค.ศ. 1931) หลัง..

ป๋วย อึ๊งภากรณ์และฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง · ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ป๋วย อึ๊งภากรณ์และภาษาฝรั่งเศส · ภาษาฝรั่งเศสและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.

ป๋วย อึ๊งภากรณ์และลัทธิคอมมิวนิสต์ · ลัทธิคอมมิวนิสต์และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ป๋วย อึ๊งภากรณ์และสหราชอาณาจักร · สหรัฐและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ป๋วย อึ๊งภากรณ์และสงครามโลกครั้งที่สอง · สงครามโลกครั้งที่สองและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ประเทศอินเดียและป๋วย อึ๊งภากรณ์ · ประเทศอินเดียและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ปริญญาตรี

ปริญญาตรี หรือ ปริญญาบัณฑิต เป็นระดับการศึกษาย่อยในการอุดมศึกษา ต่อเนื่องจากชั้นมัธยมศึกษา คำว่า ตรี หมายถึง ชั้นที่สาม (ใช้เกี่ยวกับลำดับชั้นหรือขั้นของยศตำแหน่ง คุณภาพ หรือ วิทยฐานะ ต่ำกว่า โท สูงกว่า จัตวา) ระดับปริญญาตรี โดยทั่วไปเวลาสี่ปี แต่สามารถช่วง 2-6 ปีขึ้นอยู่กับภูมิภาคของโลก.

ปริญญาตรีและป๋วย อึ๊งภากรณ์ · ปริญญาตรีและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ป๋วย อึ๊งภากรณ์และสหรัฐ

ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มี 115 ความสัมพันธ์ขณะที่ สหรัฐ มี 556 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 1.04% = 7 / (115 + 556)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ป๋วย อึ๊งภากรณ์และสหรัฐ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: