โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ป่าดิบชื้นและป่าพรุ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ป่าดิบชื้นและป่าพรุ

ป่าดิบชื้น vs. ป่าพรุ

ป่าดิบชื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรโยค ป่าดิบชื้น หรือ ป่าฝนเขตร้อน (tropical rain forest) จัดเป็นป่าประเภทไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่มีสีเขียวตลอดทั้งปี ต้นไม้จะไม่ผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก ต้นไม้ไม่มีความจำเป็นต้องผลัดใบเพื่อลดการคายน้ำ ป่าชนิดนี้มักจะเรียกกันว่าป่าดงดิบ เป็นป่าที่อยู่ในเขตมรสุมพัดผ่านเกือบตลอดทั้งปี ขึ้นอยู่ตามที่ราบลุ่ม ที่ราบเชิงเขาที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 0-100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (บางครั้งอาจพบอยู่สูงถึงระดับ 250 เมตร) และมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,000 มม./ปี พบมากทางภาคใต้และแถบจังหวัดชายทะเลภาคตะวันออก เช่น จังหวัดระยอง จันทบุรี และตร. ป่าพรุ ป่าพรุ (Swamp forest, Peat swamp forest) เป็นประเภทของป่าดิบชื้นประเภทหนึ่ง ที่อยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม เกิดจากแอ่งน้ำจืดเกิดขังตัวติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน มีการสะสมของชั้นดินอินทรีย์วัตถุ เช่น ซากพืช, ซากสัตว์, เศษซากของต้นไม้ ใบไม้ ต่าง ๆ จนย่อยสลายช้า ๆ กลายเป็นดินพีตหรือดินอินทรีย์ที่มีลักษณะหยุ่นยวบเหมือนฟองน้ำที่มีความหนาแน่นน้อยอุ้มน้ำได้มาก และพบว่ามีการสะสมระหว่างดินพีตกับดินตะกอนทะเลสลับกันชั้นกัน 2-3 ชั้น เนื่องจากน้ำทะเลเคยมีระดับสูงขึ้นจนท่วมป่าพรุ เกิดการสะสมของตะกอนน้ำทะเลถูกขังอยู่ด้านใน พันธุ์ไม้ในป่าพรุตายลงไป และเกิดเป็นป่าชายเลนขึ้นมาแทนที่ เมื่อระดับน้ำทะเลลดลง และมีฝนตกลงมาสะสมน้ำที่ขังอยู่จึงจืดจางลง และเกิดป่าพรุขึ้นมาอีกครั้ง ดินพรุชั้นล่างมีอายุถึง 6,000-7,000 ปี ส่วนดินพรุชั้นบนอยู่ระหว่าง 700-1,000 ปี สภาพโดยทั่วไปของป่าพรุ นั้น คือ พื้นด้านล่างจะเป็นพรุมีน้ำขังตลอดทั้งปี น้ำจะมีสีเขียวหรือน้ำตาลเข้ม อันเกิดจากการหมักหมมตัวมาอย่างยาวนานของซากพืช ซากสัตว์ น้ำจะมีสภาพเป็นกรดมากกว่าค่าของน้ำปกติ (pH ต่ำกว่า 7) ระบบนิเวศในป่าพรุนั้นมีความหลากหลาย และเกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันกัน ไม้ยืนต้นจะมีระบบรากแขนงแข็งแรงแผ่ออกไปเกาะเกี่ยวกันเพื่อจะได้ช่วยพยุงลำต้นของกันและกัน และให้ยืนตัวทรงอยู่ได้ ดังนั้นต้นไม้ในป่าพรุจึงอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หากต้นใดต้นหนึ่งล้ม ต้นอื่นจะล้มตามไปด้วย สำหรับในประเทศไทย พื้นที่ที่มีป่าพรุเกิดขึ้นนั้น มักจะเป็นที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป และพบในบางส่วนบ้างของภาคกลาง ในปัจจุบัน พื้นที่ป่าพรุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ป่าพรุสิรินธร หรือป่าพรุโต๊ะแดง ในจังหวัดนราธิวาส มีเนื้อที่กว่า 125,625 ไร่ ในอดีต เคยมีป่าพรุในประเทศไทยมากถึงกว่า 400,000 ไร่ กินเนื้อที่กว่า 50 ล้านไร่ แต่ได้ค่อย ๆ ลดปริมาณลงจากการถูกบุกรุกแผ้วถางทำการเกษตร จนปัจจุบันเหลือไม่ถึง 60,000 ไร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ป่าดิบชื้นและป่าพรุ

ป่าดิบชื้นและป่าพรุ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ป่าดิบชื้นและป่าพรุ

ป่าดิบชื้น มี 27 ความสัมพันธ์ขณะที่ ป่าพรุ มี 27 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (27 + 27)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ป่าดิบชื้นและป่าพรุ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »