โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ป่าชายเลนและเสือโคร่งเบงกอล

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ป่าชายเลนและเสือโคร่งเบงกอล

ป่าชายเลน vs. เสือโคร่งเบงกอล

ป่าชายเลน ป่าชายเลน คือเป็นกลุ่มสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุดและน้ำขึ้นสูงสุด บริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำหรืออ่าว อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง สังคมพืชที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดหลายตระกูล และเป็นพวกที่มีใบเขียวตลอดปี (evergreen species) ซึ่งมีลักษณะทางสรีรวิทยาและความต้องการสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้สกุลโกงกาง (Rhizophora spp.) เป็นไม้สำคัญและมีไม้ตระกูลอื่นบ้าง ได้มีการค้นพบป่าประเภทนี้มาตั้งแต่เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางมาบริเวณชายฝั่งตะวันตกของเกาะคิวบา ต่อมา เซอร์ วอลเตอร์ เรลห์ ได้พบป่าชนิดเดียวกันนี้อยู่บริเวณปากแม่น้ำในตรินิแดดและเกียนา คำว่า "mangrove" เป็นคำจากภาษาโปรตุเกสคำว่า "mangue" ซึ่งหมายถึงกลุ่มสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลดินเลน และใช้กันแพร่หลายในประเทศแถบลาตินอเมริกา ส่วนประเทศอื่น ๆ ก็ใช้เรียกตามภาษาของตัวเอง เช่น ประเทศมาเลเซียใช้คำว่า "manggi-manggi" ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเรียกป่าชายเลนว่า "mangrove" ส่วนภาษาไทยเรียกป่าชนิดนี้ว่า "ป่าชายเลน" หรือ "ป่าโกงกาง" บริเวณที่พบป่าชายเลนโดยทั่วไป คือตามชายฝั่ง ทะเล บริเวณปากน้ำ อ่าว ทะเลสาบ และเกาะ ซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึงของประเทศ ในแถบภูมิภาคเขตร้อน ส่วนเขตเหนือหรือใต้เขตร้อน จะพบป่าชายเลนอยู่บ้างแต่ไม่มาก โดยพื้นที่ที่พบป่าชายเลนเช่น ในกลุ่มประเทศของภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า และ ไทย เป็นต้น สำหรับพื้นที่ป่าชายเลนของโลกทั้งหมดมีประมาณ 113,428,089 ไร่ อยู่ใน เขตร้อน 3 เขตใหญ่ คือ เขตร้อนแถบเอเชียพื้นที่ประมาณ 52,559,339 ไร่ หรือร้อยละ 46.4 ของป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศอินโดนีเซียมีป่าชายเลนมากที่สุด ถึง 26,568,818 ไร่ สำหรับในเขตร้อนอเมริกามีพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมดประมาณ 39,606,250 ไร่ หรือร้อยละ 34.9 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด ในเขตร้อนอเมริกาประเทศที่มีพื้นที่ โดยประเทศบราซิล มีพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 15,625,000 ไร่ รองจากอินโดนีเซีย ส่วนเขตร้อนอัฟริกามีพื้นที่ ป่าชายเลนน้อยที่สุดประมาณ 21,262,500 ไร่ หรือร้อยละ 18.7 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศไนจีเรีย มีพื้นที่ป่าชายเลน 6,062,500 ไร่ มากที่สุดในโซนนี้ โดยป่าชายเลนที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ ซันดาร์บานส์ ซึ่งเป็นปากแม่น้ำคงคาระหว่างประเทศอินเดียกับบังกลาเทศ ซึ่งมีเนื้อที่ 10,000 ตารางกิโลเมตร (3,900 ตารางไมล์) ซึ่งถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติโดยองค์การยูเนสโก. ือโคร่งเบงกอล (เบงกาลี:বাঘ, ฮินดี: बाघ; Bengal tiger, Royal bengal tiger) เป็นเสือโคร่งชนิดย่อยชนิดหนึ่ง นับเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของบรรดาเสือโคร่งทั้งหมด รองจากเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) ที่พบในแถบไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย เสือโคร่งเบงกอลตัวผู้เมื่อมีขนาดใหญ่เต็มที่อาจยาวได้ถึง 360 เซนติเมตร หนัก 180-270 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า และมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 140–180 กิโลกรัม การกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ ในประเทศอินเดีย, เนปาล, บังกลาเทศ และกระจายเข้าไปในแถบประเทศพม่าด้วย สถานะในธรรมชาติ จัดเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการถูกล่าเพื่อทำหนังเป็นเครื่องประดับ และกระดูก, อวัยวะ เป็นยาสมุนไพรตามความเชื่อ อย่างไรก็ตาม เสือโคร่งเบงกอลนั้นนับได้ว่าเป็นเสือโคร่งชนิดที่ยังมีเหลืออยู่มากที่สุดในธรรมชาติ คาดว่ามีอยู่ประมาณ 2,000 ตัวในธรรมชาติ ในเขตป่าอนุรักษ์และอินเดียและเนปาล และเป็นเสือที่มนุษย์นำมาเลี้ยงและขยายพันธุ์ได้มากและแพร่หลายที่สุด ในสถานที่เลี้ยง พบว่า เสือโคร่งเบงกอลเป็นเสือโคร่งที่มีความเชื่องและดุร้ายน้อยที่สุด จนสามารถฝึกหัดให้เล่นละครสัตว์ได้ เสือโคร่งเบงกอลขึ้นชื่อว่าเป็นเสือโคร่งที่กินมนุษย์มาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะในอินเดีย การล่าเสือเป็นเกมกีฬาของราชวงศ์ชั้นสูง แม้แต่ในยุคที่อังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย โดยการขี่หลังช้างออกล่าในตามทุ่งหญ้าทั้งหญ้าสูงและหญ้าต่ำ ในคริสต์ทศวรรษที่ 20 มีเสือโคร่งเบงกอลคร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่า 1,600 รายต่อปี แม้แต่ในปัจจุบันที่การล่าเสือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และผู้คนเข้าใจถึงการอนุรักษ์สัตว์ป่ามากขึ้น แต่ทว่าก็ยังคงมีการโจมตีมนุษย์อยู่เป็นระยะ ๆ ของเสือ โดยเฉพาะในสุนทรพนะซึ่งเป็นพื้นที่ป่าชายเลน เสือโคร่งเบงกอลที่นี่มีความดุร้ายและไม่เกรงกลัวมนุษย์ มักจะโจมตีมนุษย์เสมอ ๆ โดยเฉพาะการจู่โจมจากด้านหลัง ชาวพื้นเมืองที่นี่จึงต้องสวมหน้ากากไว้ด้านหลังเพื่อป้องกัน ด้วยการทำให้เสือเข้าใจผิดว่ากำลังถูกจ้องดูอยู่ เสือที่โจมตีมนุษย์ส่วนมากเป็นตัวเมียในช่วงฤดูเก็บน้ำผึ้ง ซึ่งตรงกับฤดูที่เสือโคร่งเบงกอลจะมีลูกพอดี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ป่าชายเลนและเสือโคร่งเบงกอล

ป่าชายเลนและเสือโคร่งเบงกอล มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ประเทศพม่า

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ประเทศพม่าและป่าชายเลน · ประเทศพม่าและเสือโคร่งเบงกอล · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ป่าชายเลนและเสือโคร่งเบงกอล

ป่าชายเลน มี 20 ความสัมพันธ์ขณะที่ เสือโคร่งเบงกอล มี 27 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 2.13% = 1 / (20 + 27)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ป่าชายเลนและเสือโคร่งเบงกอล หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »