เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ปีพิธีกรรมและสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปีพิธีกรรมและสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์

ปีพิธีกรรม vs. สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์

วันสำคัญในศาสนาคริสต์ (Liturgical year) ส่วนใหญ่กำหนดตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน มีบ้างที่กำหนดโดยอิงปฏิทินจันทรคติ สำหรับวันสำคัญที่มีมาแต่ศาสนายูดาห. ัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 221-2, 252-3, 395-6 (Holy Week) เป็นสัปดาห์สำคัญในปีพิธีกรรมของศาสนาคริสต์ ตรงกับสัปดาห์สุดท้ายของเทศกาลมหาพรต ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลา 1 สัปดาห์ก่อนวันอีสเตอร์ ในสัปดาห์นี้มีวันสำคัญหลายวัน ได้แก่ วันอาทิตย์ใบลาน วันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์ วันศุกร์ประเสริฐ และวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ แต่ไม่รวมวันอีสเตอร์ สำหรับนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์จะเริ่มจากวันเสาร์ลาซารัส (ก่อนวันอาทิตย์ใบลาน).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปีพิธีกรรมและสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์

ปีพิธีกรรมและสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ มี 11 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระคริสตราชาพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์การตรึงพระเยซูที่กางเขนวันศุกร์ประเสริฐวันอาทิตย์ใบลานศาสนาคริสต์อาหารค่ำมื้อสุดท้ายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์อีสเตอร์ปัสคาเทศกาลมหาพรต

พระคริสตราชา

"พระคริสตราชา" ผลงานของยัน ฟัน ไอก์ พระคริสตราชา (Christ the King) เป็นสมัญญาที่คริสต์ศาสนิกชนถวายแด่พระเยซู ในฐานะที่ทรงเป็นพระคริสต์และเป็นกษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งหล.

ปีพิธีกรรมและพระคริสตราชา · พระคริสตราชาและสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์

ีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 248 หรือพิธีมหาสนิท(Eucharist; Holy Communion) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิก, อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์บางคณะเรียกว่าศีลมหาสนิท เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ เพื่อแสดงถึงการร่วมสนิทกับพระเยซู โดยการรับประทานขนมปัง (สัญลักษณ์แทนพระกายของพระองค์) และไวน์ (สัญลักษณ์แทนพระโลหิต) การประกอบพิธีมหาสนิท เพื่อให้ชาวคริสต์ระลึกถึงคุณของพระเป็นเจ้า เพื่อการประกาศยอมรับว่าพระเจ้าได้สถิตอยู่ในกายตน เพื่อแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ และเพื่ออยู่ร่วมกันด้วยความรักในประชาคมเดียวกัน ในนิกายโปรเตสแตนต์ กล่าวคำที่ใช้ในพิธีมหาสนิทตามพระวรสารนักบุญลูกา ส่วนนิกายโรมันคาทอลิก กล่าวคำที่ใช้ในพิธีมหาสนิทเฉพาะตามที่พระศาสนจักรคาทอลิกกำหน.

ปีพิธีกรรมและพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ · พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

การตรึงพระเยซูที่กางเขน

“การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดยซิโมน วูเอท์ (Simon Vouet) ที่ เจนัว (ค.ศ. 1622) การตรึงพระเยซูที่กางเขน (Crucifixion of Jesus) เป็นเหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูที่ถูกบันทึกในพระวรสารทั้งสี่ฉบับ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากที่พระเยซูถูกจับและถูกพิพากษา ในทางเทววิทยาศาสนาคริสต์ การสิ้นพระชนม์ของพระองค์เป็นเหตุการณ์หัวใจสำคัญ ส่งอิทธิพลให้เกิดเหตุการณ์อื่น ๆ ต่อเนื่องมา นอกจากนั้นการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ก็เป็นสัญลักษณ์สำคัญทางปรัชญาความเชื่อ เป็นการเสียชีวิตของผู้ที่มาช่วยโลก เห็นได้จากการรับทรมานและความตายของพระเมสสิยาห์เพื่อไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ตามด้วยพันธสัญญาใหม่ที่กล่าวถึง การคืนชีพในสามวันหลังจากสิ้นพระชนม์ และทรงปรากฏพระกายต่ออัครทูตก่อนพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ การทรมานและการเสียชีวิตของพระเยซูบนกางเขนมักจะเรียกกันว่า “พระทรมานของพระเยซู” (Passion) เทววิทยาศาสนาคริสต์ถือว่าพระเยซูพลีชีพเพื่อเป็นการไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ดังปรากฏในพระธรรมที่รู้จักกันในนาม “พิธีทดแทนบาป” (Substitutionary atonement) กล่าวกันว่าความตายของพระองค์ถูกทำนายไว้ล่วงหน้าในพันธสัญญาเดิม เช่น เพลงของอิสยาห์ที่กล่าวถึง การทรมานของผู้รับใช้พระเจ้.

การตรึงพระเยซูที่กางเขนและปีพิธีกรรม · การตรึงพระเยซูที่กางเขนและสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

วันศุกร์ประเสริฐ

วันศุกร์ประเสริฐราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 221-2 (Good Friday) หรือวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Friday) เป็นวันสำคัญทางศาสนาคริสต์ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ในตรีวารปัสคา (ก่อนวันอีสเตอร์) ของสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อระลึกถึงการตรึงพระเยซูที่กางเขน พระวรสารในสารบบระบุว่าพระเยซูทรงถูกตรึงกางเขนในวันเตรียมวันสะบาโตซึ่งตรงกับวันศุกร์ และกลับคืนพระชนม์ในเช้าวันอาทิตย์หลังจากนั้น.

ปีพิธีกรรมและวันศุกร์ประเสริฐ · วันศุกร์ประเสริฐและสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

วันอาทิตย์ใบลาน

“พระเยซูเข้ากรุงเยรูซาเลม” ภาพวาดบนการ์ดไบเบิลสมัยต้นศตวรรษที่ 20 วันอาทิตย์ใบลาน (คาทอลิก), อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ หรือ วันอาทิตย์ทางตาล (โปรเตสแตนต์), กรมการศาสนา หรือ วันอาทิตย์ใบปาล์ม (อีสเทิร์นออร์โธด็อกซ์) (Palm Sunday) เป็นวันสมโภชสำคัญวันหนึ่งในศาสนาคริสต์ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ก่อนอีสเตอร์ เป็นวันฉลองเหตุการณ์ที่ระบุบันทึกในพระวรสารทั้งสี่ฉบับ ในโอกาสที่พระเยซูเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเลมก่อนรับพระทรมาน โบสถ์คาทอลิกจะแจกใบลานที่ผูกกับกางเขนในโอกาสนี้แต่ในบางท้องถิ่นที่ไม่มีใบปาล์มก็จะแจกใบไม้อย่างอื่นที่มีในท้องถิ่น ถ้าเช่นนั้นก็จะเรียกตามใบไม้ที่แจกเช่น “วันอาทิตย์ช่อยู" สำหรับที่ที่แจกช่อยูเป็นต้น หรือเรียกอย่างกว้างๆ ว่า “วันอาทิตย์กิ่งไม้” (Branch Sunday).

ปีพิธีกรรมและวันอาทิตย์ใบลาน · วันอาทิตย์ใบลานและสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ปีพิธีกรรมและศาสนาคริสต์ · ศาสนาคริสต์และสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

อาหารค่ำมื้อสุดท้าย

“อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” โดย ไซมอน อูชาคอฟ (Simon Ushakov) ราว ค.ศ. 1685 อาหารค่ำมื้อสุดท้าย (Last Supper, Lord's Supper, Mystical Supper) ตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนคืออาหารมื้อสุดท้ายที่พระเยซูเสวยร่วมกับสาวกของพระองค์ ก่อนจะมีการตรึงพระเยซูที่กางเขน “อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันในการสร้างงานจิตรกรรม ภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดคือภาพที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ตามคำกล่าวของนักบุญเปาโลอัครทูตในหนังสือโครินธ์ ระหว่างเสวยพระกระหารที่มีขนมปังและเหล้าองุ่น พระเยซูตรัสต่อสาวกว่า “จงดื่มเป็นที่ระลึกถึงเรา” เหตุการณ์อื่นและบทสนทนาบันทึกในพระวรสารสหทรรศน์และพระวรสารนักบุญยอห์น คริสต์ศาสนิกชนบางคนถือว่าเป็นรากฐานของศีลมหาสนิท ถ้วยที่ใช้ใส่ไวน์บางทีก็เรียกว่าจอกศักดิ์สิทธิ์ (Holy Chalice) และเป็นหนึ่งในวรรณกรรมเกี่ยวกับเรื่องถ้วยศักดิ์สิทธิ์ (Holy Grail) ในปรัมปราวิทยาในศาสนาคริสต.

ปีพิธีกรรมและอาหารค่ำมื้อสุดท้าย · สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์และอาหารค่ำมื้อสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

อาสนวิหารพระโลหิตของพระผู้ช่วยให้รอด เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ (Eastern Orthodox Church) เรียกโดยย่อว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ (The Orthodox Church) หรือคริสตจักรไบแซนไทน์ (The Byzantine Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก คริสตจักรนี้ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนจักรนี้เชื่อว่าคริสตจักรออร์โธด็อกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริงเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งโดยพระผู้เป็นเจ้า โดยสืบเนื่องมาจากอัครทูตของพระเยซูคริสต์ ออร์ทอดอกซ์ (Orthodox) หมายความว่า หลักคำสอนที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ orthos แปลว่าถูกต้อง และ doxa แปลว่าคำสอน เมื่อในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก ได้มีการเผยแพร่หลักคำสอนที่ผิด ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของศาสนาจักร ซึ่งทางศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ จึงได้เรียกตนเองว่าออร์ทอดอกซ์ เพื่อความเป็นศาสนจักรดั้งเดิม และต่อต้านหลักคำสอนนอกรีต อาจจะทำให้เกิดความแตกแยก ชาวออร์โธดอกซ์ถือว่าศาสนจักรออร์โธดอกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริง ดั้งเดิม ศักดิ์สิทธิ์ สากล มีหลักคำสอนที่แท้จริงและดั้งเดิม มาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกโดยไม่เคยเปลี่ยนหลักคำสอนใดๆ คริสตจักรออร์ทอดอกซ์แบ่งเป็นคริสตจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดร (หรือชาวอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช) เป็นประมุข ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักร และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญอันดรูว์ คริสตจักรในกลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มักจะไม่เรียกตนเองว่า “อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์” แต่จะใช้ชื่อเฉพาะของกลุ่มที่บอกที่ตั้งของกลุ่มเช่น “คริสตจักรรัสเซียนออร์ทอดอกซ์” หรือ “คริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์” "คริสตจักรเซอเบียร์ออร์ทอดอกซ์ หรือชาติอื่น ๆ คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และจะเรียกตัวเองว่า ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ.

ปีพิธีกรรมและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ · สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์และอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อีสเตอร์

นางมารีย์ชาวมักดาลากับพระเยซูที่ฟื้นคีนพระชนม์แล้ว อีสเตอร์ หรือ วันพระเยซูคริสต์ทรงคืนพระชนม์ (Easter; Ēostre หรือ date; Pascha ปัสคา; Πάσχα, Paskha; פַּסחא Pasḥa; มาจาก פֶּסַח Pesaḥ) คริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่า วันสมโภชปัสกาพระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ เป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญมากที่สุดในศาสนาคริสต์ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการคืนพระชนม์ของพระเยซูหลังจากที่ทรงถูกตรึงกางเขนและสิ้นพระชนม์ไปแล้วสามวัน โดยวันที่จะเปลี่ยนไปในแต่ละปีแต่กำหนดให้ทุกปีต้องจัดขึ้นในวันอาทิตย์ (เพราะเป็นวันที่ทรงถูกตรึงกางเขนตามพระคัมภีร์) เรียก วันอีสเตอร์ นอกจากนี้วันอีสเตอร์ถือเป็นวันสิ้นสุดเทศกาลมหาพรตซึ่งเป็นช่วงเวลา 40 วันที่คริสต์ศาสนิกชนถือศีลอดและสวดภาวนาเป็นพิเศษ สัปดาห์สุดท้ายของเทศกาลมหาพรตเรียกว่าสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ วันศุกร์ของสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์เรียกวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ (หรือที่ชาวโปรเตสแตนต์เรียกวันศุกร์ประเสริฐ) เป็นวันที่พระเยซูโดนตรึงกางเขน หลังจากวันอีสเตอร์เป็นเทศกาลปัสกา (Eastertide) 50 วัน และจบเทศกาลในวันอาทิตย์สมโภชพระจิตเจ้า ประเพณีในการเฉลิมฉลองแตกต่างกันทั่วโลก แต่การตกแต่งไข่อีสเตอร์และกิจกรรมค้นหาไข่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดในหมู่เด็ก.

ปีพิธีกรรมและอีสเตอร์ · สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์และอีสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปัสคา

อาหารที่ชาวยิวรับประทานในเทศกาลปัสกา ปัสคา หรือ ปัสกา (פֶּסַח, Pesach; Passover - แปลว่า ผ่านเว้น) เป็นเทศกาลที่ชาวยิวระลึกถึงการที่พระยาห์เวห์ทรงนำพวกเขาออกจากการเป็นทาสในอียิปต์ ในช่วงประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล โดยในคืนก่อนที่ฟาโรห์จะยอมปล่อยวงศ์วานอิสราเอลให้ออกเดินทาง พระยาห์เวห์ทรงสำแดงปาฏิหาริย์ให้เกิดภัยพิบัติประการที่ 10 หลังจากที่ฟาโรห์ปฏิเสธที่ปล่อยพวกอิสราเอล ตามคำบัญชาของพระเจ้ามาแล้ว 9 ครั้ง ภัยพิบัติประการที่ 10 คือ ทูตมรณะจะเข้าไปในทุกครัวเรือนของชาวอียิปต์ เพื่อปลิดชีพของบุตรหัวปีของทุกครอบครัว ยกเว้นแต่ครอบครัวที่เชื่อฟังพระยาห์เวห์ โดยการนำเอาโลหิตของลูกแกะปัสคา มาทาไว้ที่ประตูบ้านของตน บ้านใดได้กระทำตามที่พระยาห์เวห์ทรงบัญชา ทูตมรณะก็จะไม่เข้าไปในบ้าน แต่จะ "ผ่านไป" (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ Passover) และบุตรหัวปีของครอบครัวนั้นก็จะรอดต.

ปัสคาและปีพิธีกรรม · ปัสคาและสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลมหาพรต

ผ้าคลุมไม้กางเขนที่โบสถ์แห่งหนึ่งในประเทศเยอรมนี เทศกาลมหาพรต (คาทอลิก) หรือเทศกาลเข้าสู่ธรรม (โปรเตสแตนต์) ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 314-5 (Lent; Quadragesima แปลว่า ที่สี่สิบ เว็บไซต์อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ) เป็นหนึ่งในเทศกาลสำคัญของศาสนาคริสต์ เริ่มต้นจากวันพุธรับเถ้าและสิ้นสุดวันอีสเตอร์ รวม 40 วัน โดยเทศกาลนี้มีไว้เพื่อระลึกถึงพระทรมานและการคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ โดยกิจที่คริสต์ศาสนิกชนปฏิบัติในช่วงนี้คือการอธิษฐาน การบริจาคสิ่งของ การอดอาหาร และการไม่ฟุ่มเฟือย ทั้งนี้ระยะเวลา 40 วันมีความสำคัญเนื่องจากเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลมีความเกี่ยวข้องกับตัวเลข 40 ไม่ว่าจะเป็น การบำเพ็ญเพียรอดอาหารของพระเยซูเป็นเวลา 40 วัน โมเสสอยู่บนเขากับพระเจ้า 40 วัน เกิดน้ำท่วมโลกในสมัยโนอาห์ 40 วัน และการอพยพของชาวยิวเข้าสู่ดินแดนแห่งพันธสัญญาก็ใช้เวลายาวนานถึง 40 ปี อย่างไรก็ดีเมื่อนับวันจริง ๆ แล้วจะเป็น 46 วัน เนื่องจากชาวคริสต์จะไม่จำศีลอดอาหารในวันอาทิตย์ จึงเหลือเพียง 36 วันและต้องเพิ่มวันจำศีลอีก 4 วันให้ครบ 40 วัน เทศกาลมหาพรตจึงเลื่อนมาเริ่มในวันพุธ (วันพุธรับเถ้า) ต่างกับเทศกาลอื่น ๆ ที่เริ่มจากวันอาทิตย์แรกธรรมเนียมนี้ปฏิบัติกันในเฉพาะฝั่งศาสนาคริสต์ตะวันตก ส่วนในศาสนาคริสต์ตะวันออกจะเริ่มต้นวันจันทร์ เรียกว่า "วันจันทร์สะอาด" (Clean Monday) เว็บไซต์คริสตจักรวัฒนา ชาวคริสต์หมู่มากฉลองเทศกาลนี้ (เช่น โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และแองกลิคัน) ขณะที่บางกลุ่มเริ่มให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้มากขึ้น (เช่น คริสตจักรแบปทิสต์).

ปีพิธีกรรมและเทศกาลมหาพรต · สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์และเทศกาลมหาพรต · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปีพิธีกรรมและสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์

ปีพิธีกรรม มี 84 ความสัมพันธ์ขณะที่ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ มี 27 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 11, ดัชนี Jaccard คือ 9.91% = 11 / (84 + 27)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปีพิธีกรรมและสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: