โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปาแลร์โม

ดัชนี ปาแลร์โม

ปาแลร์โม (Palermo; ซิซิลี: Palermu) เป็นเมืองเก่าทางตอนใต้ของประเทศอิตาลี และเป็นเมืองหลักของแคว้นปกครองตนเองซิซิลี การเดินทางเข้าเมืองสะดวกสบาย มีรถไฟมาเทียบท่าถึงที่ ข้ามถนนสายหลัก พบโรงแรมหลายระดับให้เลือกเข้าพัก ปาแลร์โมเป็นเมืองที่มีประวัติยาวนานย้อนหลังไปถึง 800 ปีก่อนคริสตกาลและผ่านการยึดครองจากหลายชาติหลายภาษา ทำให้มีโบราณสถานโบราณวัตถุลักษณะและรูปแบบแตกต่างกันมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ละแห่งอยู่ไม่ห่างไกลกันนัก ที่นี่ยังมีสวนพฤกษศาสตร์ (Orte Botanica) ให้คนรักต้นไม้ ดอกไม้ได้เข้าชม มีท่าเรือ มีทะเล มีชายหาด มีสวนสาธารณะ เวลาเปิด-ปิดของร้านค้าช่วงเช้า เวลา 09.00-13.00 น. ช่วงบ่าย 17.00-19.30 น. นอกนั้นปิด และวันอาทิตย์ก็ปิดทั้งวัน ส่วนตลาดนัดจะเปิดตลอดวัน แต่ไม่ค่อยคึกคักนัก คนจะเยอะเฉพาะตอนเช้.

5 ความสัมพันธ์: ภาษาซิซิลีสหประชาชาติองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกประเทศอิตาลีแคว้นปกครองตนเองซิซิลี

ภาษาซิซิลี

ภาษาซิซิลี (Sicilian language; ภาษาซิซิลี: lu sicilianu; ภาษาอิตาลี:lingua siciliana) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์ ส่วนมากใช้พูดในเกาะซิซิลี และบางส่วนบนแผ่นดินใหญ่ในประเทศอิตาลี เช่น คาลาบรีอาตอนกลางและตอนใต้ ซาเลนโตที่อยู่ทางใต้ของอาปูลิอา เป็นสำเนียงที่อยู่ทางตอนใต้สุดของภาษากลุ่มอิตาลี มีความแตกต่างจากภาษาอิตาลีจนนับเป็นภาษาใหม่ได้ แต่ชาวซิซิลีมักคิดว่าภาษาของพวกเขาเป็นสำเนียงของภาษาอิตาลี ซิซิลี ซิซิลี.

ใหม่!!: ปาแลร์โมและภาษาซิซิลี · ดูเพิ่มเติม »

สหประชาชาติ

หประชาชาติ (United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: ปาแลร์โมและสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก

ตราสัญลักษณ์ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization; ย่อ WMO) เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลซึ่งมีรัฐและดินแดนสมาชิกจำนวนหนึ่งร้อยเก้าสิบเอ็ดราย จัดตั้งขึ้นเป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติเมื่อ..

ใหม่!!: ปาแลร์โมและองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: ปาแลร์โมและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นปกครองตนเองซิซิลี

ซิซิลี (Sicily) หรือ ซีชีเลีย (Sicilia; Sicìlia) เป็นหนึ่งในยี่สิบแคว้นและหนึ่งในห้าแคว้นปกครองตนเองของประเทศอิตาลี มีลักษณะเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางภาคใต้ของประเทศโดยมีช่องแคบเมสซีนาคั่นระหว่างตัวเกาะกับแผ่นดินใหญ่ เกาะมีพื้นที่ 25,708 ตารางกิโลเมตร นับเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของอิตาลีและในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จุดสูงสุดของเกาะคือภูเขาไฟเอตนา (3,320 เมตร) บนเกาะมีประชากรอาศัยอยู่กว่า 5 ล้านคน เมืองสำคัญได้แก่ ปาแลร์โม (เมืองหลัก) เมสซีนา กาตาเนีย ซีรากูซา ตราปานี เอนนา คัลตานิสเซตตา และอากรีเจนโต ซิซิลีมีประวัติต่อเนื่องยาวนานกว่า 4,000 ปี ด้วยเหตุที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของยุโรป ซิซิลีจึงตกเป็นเป้าหมายของการยึดครองจากชนชาติที่มีอำนาจเข้มแข็งในช่วงเวลาต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่ชาวกรีก โรมัน คาร์เทจ อาหรับ นอร์มัน เยอรมัน ฝรั่งเศส และสเปน แต่ละชาติผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาปกครองดินแดนนี้ ขณะเดียวกันก็ได้นำเอาศิลปวัฒนธรรมของตนเข้ามาด้วย เกาะนี้จึงมีสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมที่หลากหลายผสมผสานกัน หากแต่ลงตัว นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยความงามทางธรรมชาติของทั้งชายหาด ทะเล และภูเขาไฟ และด้วยความที่อยู่ห่างไกลออกมา จึงสามารถสัมผัสได้ถึงความเป็นอิตาลีดั้งเดิมอย่างที่หาไม่พบอีกแล้วตามเมืองใหญ่ในอิตาลีภาคพื้นทวีป.

ใหม่!!: ปาแลร์โมและแคว้นปกครองตนเองซิซิลี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Palermoพาแลร์โม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »